ไทยแลนด์
Monday 25th of November 2024
0
نفر 0

อิสลามอนุญาตให้ซัจญะดะฮ์สิ่งอื่นที่ไม่ใช่พระเจ้าได้หรือไม่ ตอนที่ 2

อิสลามอนุญาตให้ซัจญะดะฮ์สิ่งอื่นที่ไม่ใช่พระเจ้าได้หรือไม่ ตอนที่ 2

 

อิสลามอนุญาตให้ซัจญะดะฮ์สิ่งอื่นที่ไม่ใช่พระเจ้าได้หรือไม่ ตอนที่ 2

 

การซัจญะดะฮ์ต่อศาสดายูซุฟ (อ.)

 

อัลกุรอาน กล่าวถึงการซัจญะดะฮ์สองครั้งที่มิได้กระทำเพื่อพระเจ้าเอาไว้  ได้แก่ การซัจญะดะฮ์ของมวลมลาอิกะฮฺที่มีต่อศาสดาอาดัม (อ.)[8] และการซัจญะดะฮ์ของบรรดาพี่น้องและบิดามารดาของศาสดายูซุฟ (อ.) ที่มีต่อศาสดา  ทั้งที่ทั้งสองซัจญะดะฮ์ นั้นเป็นประเภทเดียวกัน ด้วยเหตุนี้  จึงขอตอบเฉพาะซัจญะดะฮ์ที่มีต่อศาสดายูซุฟเท่านั้น ซึ่งจะทำให้กฎเกณฑ์ในการซัจญะดะฮ์ต่อศาสดาอาดัมชัดเจนตามไปอีกด้วย

 

อัลกุรอานกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า

 

وَرَفَعَ أَبَوَيْهِ عَلَى الْعَرْشِ وَخَرُّوا لَهُ سُجَّدًا ۖ وَقَالَ يَا أَبَتِ هَٰذَا تَأْوِيلُ رُؤْيَايَ مِنْ قَبْلُ قَدْ جَعَلَهَا رَبِّي حَقًّا

 

“เขาได้ให้พ่อแม่ของเขาขึ้นนั่งบนบัลลังก์ แล้วพวกเขาก็ก้มกราบคารวะ พร้อมกับกล่าวว่า โอ้ พ่อของฉัน นี่คือ การทำนายฝันของฉันแต่ก่อนนี้” [9]

 

เกี่ยวกับประเด็นนี้ มีความเป็นไปได้หลายกรณีด้วยกัน กล่าวคือ :

 

1.นักตัฟซีร บางท่านกล่าวว่า : เรามีซัจญะดะฮ์อยู่ 2 ลักษณะด้วยกันกล่าวคือ หนึ่ง การซัจญะดะฮฺที่เป็นอิบาดะฮ์และเป็นการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า ซึ่งตรงกันข้ามกับการซัจญะดะฮ์ที่มีต่อดวงตะวัน หมู่ดวงดาว รูปปั้นและสิ่งอื่นที่บรรดาผู้ตั้งภาคีได้กระทำกัน  ส่วนซัจญะดะฮ์อีกอย่างหนึ่งก็คือ การแสดงความเคารพหรือแสดงความยิ่งใหญ่ที่แสดงต่อบรรดากษัตริย์ต่างๆ ผู้ปกครอง บรรดาศาสดา  หรือต่อบรรดาผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย ซึ่งสิ่งนี้เป็นไปตามคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ของพระเจ้า  ซึ่งตามคำสอนของอิสลามได้เน้นย้ำถึงการห้ามปรามเอาไว้ และถือว่าการซัจญะดะฮ์ดังกล่าวเป็นสิ่งฮะรอม แต่ไม่ถือว่าเป็นชิริก ซึ่งอัลลอฮ์ (ซบ.) ได้ทำให้การซัจญะดะฮ์ดังกล่าว เป็นวาญิบ สำหรับศาสดาอาดัม (อ.) ขณะเดียวกันก็เป็นการทำอิบาดะฮ์ต่อพระเจ้าด้วย ด้วยเหตุนี้ ชัยฏอนจึงได้ถูกเนรเทศออกมาเนื่องจากฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์  แต่ส่วนกฎเกณฑ์ ตามคำสอนของศาสนาอิบรอฮีมและศาสดาท่านอื่นๆ แห่งวงศ์วานอิสรออีลถือว่า อนุญาต  ทว่าได้รับการสรรเสริญด้วยซ้ำไป หลักฐานสำหรับการกล่าวอ้างข้างต้นคือ คำกล่าวของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ที่ว่า ถ้าแม้นว่าการซัจญะดะฮ์สิ่งอื่นนอกเหนือจากพระเจ้าได้รับอนุญาตแล้วละก็ ฉันจะกำชับให้เหล่าภรรยาซัจญะดะฮ์ต่อสามีของนาง ความหมายของประโยคดังกล่าวนี้ มิได้หมายความว่า เหล่าบรรดาภรรยาได้แสดงความเคารพภักดีต่อสามี  ทว่าการซัจญะดะฮ์ลักษณะนี้เท่ากับเป็นการยกย่องและให้เกียรติสามีของนางต่างหาก[10]

 

2.วัตถุประสงค์ของโองการข้างต้นตามคำสั่งของศาสดายูซุฟ (อ.) จะเห็นว่าพวกเขาได้รับเกียรติและความเคารพอย่างมากมาย ซึ่งได้พำนักอยู่ในพระราชวังอันเฉพาะและประทับอยู่บนบังลังก์ของกษัตริย์ เมื่อยูซุฟได้เข้ามาเนื่องจากรัศมีอันเจิดจรัสของประกายแสงแห่งการเป็นศาสดาได้ส่องประกายรัศมีสว่างไสว ทำให้ลืมตัวและก้มลงกราบแนบพื้นดิน

 

แต่การซัจญะดะฮ์ลักษณะนี้มิได้จัดว่าเป็นการอิบาดะฮ์แต่อย่างใด ด้วยเหตุผลที่ว่า การซัจญะดะฮ์ที่แสดงให้เห็นถึงการแสดงความเคารพภักดีหรือการอิบาดะฮ์นั้น เฉพาะเจาะจงสำหรับอัลลอฮ์เท่านั้น ซึ่งไม่อนุญาตให้ซัจญะดะฮ์สิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ ไม่ว่าจะเป็นคำสอนของศาสนาหรือนิกายใดก็ตาม  ดังจะเห็นว่า เตาฮีดอิบาดีย์ ซึ่งถือว่าเป็นเตาฮีดที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากบรรดาศาสดาทั้งหลายได้เชิญชวนมนุษย์ไปสู่เตาฮีดดังกล่าวโดยพร้อมเพียงกัน

 

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่า ยูซุฟ (อ.) ในฐานะที่เป็นศาสดาแห่งพระเจ้าก็มิได้อนุญาตให้ผู้ใดซัจญะดะฮ์ท่าน หรืออิบาดะฮ์ต่อท่าน หรือแม้แต่ศาสดายิ่งใหญ่อย่าง ศาสดายะอ์กูบ (อ.) ผู้เป็นบิดาของยูซุฟก็มิได้กระทำสิ่งดังกล่าว แม้แต่อัลกุรอานที่กล่าวว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นสิ่งดีงาม ก็มิได้อนุญาตแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม

 

ดังนั้น การซัจญะดะฮ์ดังกล่าวจึงเป็นได้เพียงการซัจญะดะฮ์ขอบคุณพระเจ้า พระผู้ซึ่งประทานความโปรดปรานและความเมตตาต่างๆ ตลอดจนตำแหน่งอันยิ่งใหญ่ และฐานันดรอันสูงส่งแด่ยูซุฟ อีกทั้งได้ขจัดปัญหานานัปการให้หมดไปจากครอบครัวของศาสดายะอ์กูบ  ในกรณีนี้การซัจญะดะฮ์เท่ากับเป็นการซัจญะดะฮ์ต่ออัลลอฮ์โดยตรง เนื่องจากความยิ่งใหญ่และความเมตตาต่างๆ ที่พระองค์ประทานแก่ยูซุฟ และยังถือเป็นการแสดงความเคารพและการให้เกียรติอย่างสูงอีกด้วย ในทัศนะนี้ จะเห็นว่า คำสรรพนามที่กล่าวในประโยคที่ว่า “ละฮู” ซึ่งย้อนกลับไปหายูซุฟอย่างแน่นอน จะให้ความหมายที่เข้ากันและลงตัวพอดี

 

ผู้เขียนตัฟซีรเนะมูเนะฮ์กล่าวว่า : ความหมายนี้มีความใกล้เคียงที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รายงานจำนวนมากมายจากบรรดาอิมามมะอ์ซูม (อ.) กล่าวว่า : การซัจญะดะฮ์ของพวกเขาคือการอิบาดะฮ์ต่อพระเจ้า

 

รายงานฮะดีษบางบทกล่าวว่า : การซัจญะดะฮ์ของเหล่าพี่น้องของยูซุฟกระทำในฐานะของการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระเจ้า และการให้เกียรติต่อยูซุฟ

 

ดังเช่น เรื่องราวของศาสดาอาดัม (อ.) จะเห็นว่า มวลมลาอิกะฮ์ได้ซัจญะดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) พระผู้ทรงเกรียงไกร พระผู้ทรงสร้างสรรค์สิ่งที่มากด้วยสติปัญญาขึ้นมา ซึ่งการซัจญะดะฮ์ของพวกเขาเท่ากับเป็นการอิบาดะฮ์ต่อพระเจ้า และเป็นเหตุผลที่ยืนยันถึงการให้เกียรติในความยิ่งใหญ่ของท่านศาสดาอาดัม (อ.) อีกด้วย ประหนึ่งบุคคลหนึ่งได้กระทำงานอย่างหนึ่งที่ดีและมีความสำคัญยิ่ง และเราได้ซัจญะดะฮ์ขอบคุณต่อพระเจ้าที่พระองค์ทรงสร้างบ่าวเฉกเช่นนี้ขึ้นมา ซึ่งการซัจญะดะฮ์ดังกล่าวเท่ากับเป็นการอิบาดะฮ์ต่อพระเจ้า และยังเป็นการให้เกียรติต่อบุคคลดังกล่าวอีกด้วย[11]

 

3.วัตถุประสงค์ของการซัจญะดะฮ์มีความหมายกว้างมาก กล่าวคือ หมายถึง การนอบน้อมถ่อมตน อันสืบเนื่องจากว่า การซัจญะดะฮ์จะไม่ให้ความหมายแน่นอนตามคำ ทว่าหมายถึงทุกการนอบน้อมถ่อมตน  ด้วยเหตุนี้เอง นักตัฟซีรบางท่านจึงกล่าวว่า การนอบน้อมถ่อมตนจะบังเกิดขึ้นในวันที่เราโค้งน้อมรับในความยิ่งใหญ่ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการซัจญะดะฮ์ในโองการข้างต้นก็ให้ความหมายตามกล่าวมา  แต่เมื่อพิจารณาประโยคที่ว่า “ค็อรรู” ทำให้เข้าใจได้ถึงการก้มกราบคารวะบนพื้นดิน ซึ่งบ่งบอกให้เห็นว่า การซัจญะดะฮ์ของพวกเขามิได้หมายถึงการก้มศีรษะกราบกรานด้วยความนอบน้อมแต่อย่างใด [12]

 

4.นักตัฟซีรบางท่านกล่าวว่า : อิบาดะฮ์ หมายถึงการที่บ่าวคนหนึ่งได้แสดงตนในฐานะบ่าวที่แสดงความเคารพภักดีต่อนาย เพื่อพิสูจน์การอิบาดะฮ์ของตน และพิสูจน์การเป็นบ่าวที่แท้จริงของตน

 

ด้วยเหตุนี้ การแสดงความเคารพภักดีจึงต้องมีความคู่ควรและความเหมาะสมที่จะเผยให้เห็นถึง ความเป็นนายหรือบ่งบอกให้เห็นความเป็นบ่าวที่แท้จริงของตน เช่น การซัจญะดะฮ์ การรุกูอ์ หรือการยืนขึ้นต่อหน้าเจ้านาย หรือการเดินตามหลัง และ…

 

 แน่นอนว่า ถ้ามีความเหมาะสมมากเท่าใดก็เท่ากับว่าการอิบาดะฮ์ของเขานั้นมีมาก และการแสดงความเคารพของเขาก็เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้ หรือทุกการกระทำที่บ่งบอกให้เห็นถึงเกียรติยศของเมาลา หรือความต้อยต่ำของบ่าว อันเป็นที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งบ่งบอกให้เห็นด้วยการซัจญะดะฮ์ เนื่องจากในการซัจญะดะฮ์นั้นบ่าวต้องก้มกราบหมอบตัวลงแนบกับพื้นดิน  แต่ไม่ถือว่า เป็นการซัจญะดะฮ์อิบาดะฮ์ซาตีย์,ทว่าจำเป็นต้องตั้งเจตคติเพื่อการอิบาดะฮ์  ดังนั้น ถ้าการซัจญะดะฮ์บังเกิดอุปสรรคขึ้นอันถือเป็นการห้ามทั้งในแง่ศาสนบัญญัติ(ชัรอีย์)และสติปัญญา ซึ่งสิ่งที่ชัรอีย์และสติปัญญาห้ามไว้คือ ห้ามมิให้มนุษย์ทำการซัจญะดะฮ์ต่อสิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮ์  หรือการซัจญะดะฮ์ของตนมีจุดประสงค์ต้องการพิสูจน์การเป็นผู้อภิบาลอื่นนอกเหนือจากพระองค์  แต่ถ้าจุดประสงค์ของการซัจญะดะฮ์ เพียงแค่ต้องการให้เกียรติหรือแสดงความเคารพ โดยไม่มีเจตนาเพื่อพิสูจน์การเป็นผู้อภิบาลของเขา ทว่า จุดประสงค์ต้องการทำไปตามหน้าที่หรือแสดงความยินดีเท่านั้น ในกรณีนี้ทั้งชัรอีย์และสติปัญญามิได้ห้ามปรามไว้

 

ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่นอกเหนือไปจากนี้ นั้นคือ รสนิยมในศาสนาซึ่งบรรดาผู้สำรวมตนทั้งหลายได้แสดงออกจากการรู้จักด้านในโดยเปิดเผยมาสู่ภายนอกของศาสนา ซึ่งการกระทำดังกล่าวได้จำกัดเฉพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าเท่านั้น ซึ่งสำหรับบุคคลอื่นที่นอกเหนือจากพระเจ้า แม้จะเป็นการแสดงความยินดี หรือการให้เกียรติก็จะไม่หมอบกราบลงกับพื้นดินเด็ดขาด ซึ่งรสนิยมดังกล่าวในศาสนาไม่อาจปฏิเสธได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ทุกการงานที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยความบริสุทธิ์ใจเกี่ยวกับพระเจ้า จะถูกห้ามมิให้กระทำกับผู้อื่นด้วย[13]

 

การซัจญะดะฮ์ของศาสดายะอ์กูบ (อ.) มารดาและเหล่าพี่น้องของศาสดายูซุฟ (อ.) ได้กระทำลงไปเพื่อพระเจ้า เพียงแต่ว่ายูซุฟอยู่ในฐานะกะอ์บะฮ์สำหรับพวกเขา ด้วยเหตุนี้ ตามคำจำกัดความของอาหรับ บางครั้งก็กล่าวว่า “ชายคนนั้นได้นมาซไปทางกิบละฮ์”

 

ดังเช่นที่เราได้อิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ และให้กะอ์บะฮ์เป็นทิศทาง ซึ่งเราทำอิบาดะฮ์และนมาซโดยหันหน้าไปทางกิบละฮ์นั้น ดังนั้น ด้วยกับการซัจญะดะฮ์ ณ เบื้องหน้ากะอ์บะฮ์เท่ากับเราได้อิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ มิใช่กะอ์บะฮ์ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ว่า สัญลักษณ์ของพระเจ้าในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ ตัวของมันจะไม่เป็นอิสระ ดังนั้น ถ้าการซัจญะดะฮ์ก็เท่ากับว่าเราได้ซัจญะดะฮ์ต่อพระเจ้า มิใช่สัญลักษณ์ของพระองค์[14]

 

เมื่อพิจารณาประเด็นดังกล่าวข้างต้นเป็นที่ประจักษ์ว่า ตามคำสอนของอิสลามไม่อนุญาตให้ซัจญะดะฮ์ต่อสิ่งอื่น ที่นอกเหนือไปจากอัลลอฮ์ แม้แต่จะเป็นการให้เกียรติหรือแสดงความเคารพก็ตาม

 

ดังรายงานบางบทกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวข้างต้นไว้ว่า มีสหายบางท่านของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการซัจญะดะฮ์ต่อท่านศาสดา ท่านได้ตอบเขาว่า “อย่าทำเช่นนั้นเด็ดขาด ทว่า จงซัจญะดะฮ์ต่ออัลลอฮ์เท่านั้น” [15]

 

แหล่งอ้างอิง

[1] อัลกุรอาน บทนิซาอ์ โองการที่ 13 “จงรำลึกถึงเมื่อลุกมานได้กล่าวแก่บุตรของเขา ขณะที่เขากำลังสั่งสอนบุตรว่า โอ้ ลูกเอ๋ย เจ้าจงอย่าตั้งภาคีเทียบเคียงอัลลอฮ์ เพราะแท้จริงการตั้งภาคีนั้นเป็นความผิดอย่างมหันต์”

[2] อัลกุรอาน บทนิซาอ์ โองการที่ 48 “แท้จริงอัลลอฮ์ จะไม่ทรงอภัยต่อการตั้งภาคีขึ้นแก่พระองค์ และพระองค์ทรงอภัยให้แก่สิ่งอื่นจากนั้นสำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์”

[3] ตัฟซีรเนะมูเนะฮ์ เล่ม 27,หน้า 447

[4] ตัฟซีรเนะมูเนะฮ์ เล่ม 22 หน้า 287

[5] อัลกุรอาน บทซาริยาต โองการที่ 56

[6] แม้ว่าทุกการซัจญะดะฮ์จะไม่ถือว่าเป็นอิบาดะฮ์ก็ตามหมายถึง มิได้หมายความว่า การซัจญะดะฮ์จะเป็นอิบาดะฮ์ซาตีย์ และนอกจากอิบาดะฮ์แล้วไม่อาจกล่าวเรียกเป็นอย่างอื่นได้ ศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือตัฟซีรอัลมีซาน เล่ม 1 หน้า 190

[7] มะการิมชีรอซีย์ ชีอะฮ์มีคำตอบ พิมพ์ครั้งที่ 3 ปี 1385 หน้า 143

[8] ศึกษาเพิ่มเติมได้จากนัจญ์มีย์ ฮาชิมซอเดะฮ์ ฮะรีซีย์ อธิบายปัญหาต่างๆ ของอัลกุรอาน,หน้า 620

[9]  อัลกุรอาน บทยูซุฟ โองการ 100

 [10] ฏ็อยยิบ ซัยยิดอับดุลฮุเซน อะฏีบุลบะยานฟีตัฟซีริลกุรอาน เล่ม 7 หน้า 280

[11] ตัฟซีรเนะมูเนะฮ์  เล่ม 10  หน้า 82

[12] อ้างแล้วเล่มเดิม

[13] อัลมีซาน เล่ม 1หน้า 189 และ 190

[14] ตัฟซีรอัลมีซาน ตัฟซีรฟัครุรรอซีย์ ตอนอธิบายโองการดังกล่าว ตัฟซีรมีซาน เล่ม 11 หน้า 339

[15] อัลมุซตัดร็อกวะซาอิล มุอัซซะซะฮฺอาลุลบัยตฺ (อ.) กุม ฮ.ศ. 1408  เล่ม 4 หน้า 480

 

ขอขอบคุณ เว็บไซต์อิสลามเควสท์

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ในอัล-กุรอาน
อัลกุรอาน คัมภีร์แห่งทางนำ
...
คุณลักษณะของมนุษย์ผู้สมบูรณ์
...
การเป็นศาสดาคนสุดท้ายของโลก
ความโลภคือรากของความชั่วร้าย
...
...
ทำไมอิสลามห้ามดื่มสุรา

 
user comment