ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ตอนที่ 5

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ตอนที่ 5



บทเรียนอูศูลุดดีน (รากฐานของศาสนา)

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ตอนที่ 5

 

คำถาม : มนุษย์สามารถรับรู้และจำแนกความดีความชั่วได้หรือไม่?

 

คำตอบ : ความจริงแล้ว มนุษย์สามารถสัมผัสรับรู้ ความดี ความชั่ว และจำแนกความยุติธรรม ความอธรรมได้ด้วยสติปัญญา

 

ตัวอย่างที่ 1:

สมมุติ เด็กคนหนึ่งขณะกำลังกินขนม ทันใดนั้นมีเด็กอีกคนหนึ่งได้แย่งขนมไป

กรณีเช่นนี้ โดยทั่วไป มนุษย์สามารถสัมผัสรับรู้ได้หรือไม่ว่า การกระทำของเด็กที่แย่งขนมนั้นเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี?

 

แน่นอนว่า ทุกการกระทำ มนุษย์สามารถรับรู้ได้ ดั่งตัวอย่าง เด็กที่แย่งขนมดังกล่าว ซึ่งนอกจากจะเป็นการกระทำที่ไม่ดีแล้ว ยังเป็นการละเมิดผู้อื่นด้วย และกรณีเหตุการณ์เดียวกัน หากมีเด็กอีกคนหนึ่งนำขนมนั้นไปคืนให้กับเจ้าของ เฉกเช่นเดียวกัน มนุษย์ทั่วไปย่อมสามารถรับรู้ได้ว่าสิ่งนั้นเป็นการกระทำที่ดี

 

ตัวอย่างที่ 2:

หากบุคคลหนึ่ง ฆ่าชีวิตผู้บริสุทธิ์คนหนึ่ง การกระทำเช่นนี้ด้วยสติปัญญาและสามัญสำนึก มนุษย์ทุกคนรับรู้ได้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง และหากฆาตกรถูกจับมาลงโทษได้ มนุษย์ทุกคนก็รู้ว่าเป็นสิ่งที่ดี สมควร ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งโดยธรรมชาติสามัญสำนึกของมนุษย์รับรู้ โดยไม่จำเป็นต้องมีคำสอนของศาสนาใดมาสำทับ เพราะสามัญสำนึกและสติปัญญาของมนุษย์สามารถรับรู้สิ่งต่างๆเหล่านี้และแยกแยะได้ว่าอะไรดีหรือไม่ดี

 

จะเห็นได้ว่า พื้นฐานโดยทั่วไป แม้มนุษย์สามารถรับรู้และจำแนกด้วยสติปัญญาได้ว่า สิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี ทว่าในความเป็นจริงแล้วยังมีความดีอื่นๆอีกมาก ที่ลึกซึ้งและสูงส่งกว่า ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยสติปัญญาพื้นฐาน แต่ยังไม่ขอกล่าวรายละเอียด ณ ที่นี้

 

คำถาม ทางปรัชญา

 

เบื้องต้น อะไร คือ สาเหตุที่มนุษย์สามารถรับรู้และจำแนกความดีความชั่วเหล่านั้นได้?

 

คำตอบ : โดยทั่วไป ความเชื่อสิ่งที่ดีและไม่ดี , ความดีและความชั่วนั้น คือ สิ่งที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ เมื่อมีอยู่จริง จึงทำให้สติปัญญาสามารรับรู้และจำแนกมันได้ แต่ทว่าไม่ใช่ทุกคนจะมีความเชื่อในหลักพื้นฐานเช่นนี้ได้

 

จะเห็นได้ว่ายังมีข้อโต้แย้งอยู่ ในบางทัศนะเกี่ยวกับการรับรู้และการได้มาซึ่งความรู้ของมนุษย์ ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับทัศนะต่างๆที่มีต่อข้อโต้แย้ง ดังกลุ่มต่อไปนี้

 

    ทัศนะกลุ่มแรก คือ กลุ่ม “อะชาอิเราะฮฺ

 

    กลุ่มแรก มีแนวความคิดว่า มนุษย์ไม่สามารถรับรู้และแยกแยะได้ว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี และยังเห็นว่ามนุษย์ไม่สามารถรับรู้ด้วยซ้ำไปว่า สิ่งที่เห็น คือ ความดีหรือไม่ดี และอธิบายว่า มนุษย์จะรับรู้ได้ ก็ต่อเมื่อได้รับคำสั่งสอนจากพระผู้เป็นเจ้า โดยมีกรอบคิดเบื้องต้นว่า สิ่งที่พระองค์สั่งใช้ให้ปฏิบัตินั้นคือสิ่งที่ดี และสิ่งที่พระองค์สั่งห้ามนั้นคือสิ่งที่ไม่ดี ซึ่งหากปราศจากพระดำรัสของพระองค์กำกับเป็นบรรทัดฐานแล้ว แน่นอนว่า มนุษย์ไม่สามารถที่จะรับรู้และแยกแยะได้ว่า สิ่งใดดีหรือไม่ดี

 

จะเห็นได้ว่า ทัศนะนี้ นำไปสู่ความเข้าใจที่ผิดในเรื่องความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า เพราะพวกเขาเชื่อว่า เมื่อมนุษย์ไม่สามารถที่จะรับรู้ได้ว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี มนุษย์ย่อมไม่สามารถที่จะแยกแยะได้ว่า อะไรคือความยุติธรรมและอะไรคือ ความไม่ยุติธรรม

 

ตรรกะหลักของแนวคิด “อะชาอิเราะฮฺ”

 

สิ่งใดก็ตามที่พระองค์สั่งปฏิบัตินั้นคือ สิ่งดี ยุติธรรม และกลับกัน สิ่งใดก็ตามที่พระองค์ทรงห้าม ไม่ทรงเห็นด้วย สิ่งนั้น คือ สิ่งที่ไม่ดี และยังอธิบายเชื่อมโยงไปเรื่อง กอฎอ กอฎัร(การกำหนดสภาวะ)

 

กรอบคิดของ “อะชาอิเราะฮฺ”

 

พระผู้เป็นเจ้าทรงอนุมัติทุกสรรพสิ่งให้บังเกิด หากพระองค์ไม่ทรงอนุมัติจะไม่มีสิ่งใดบังเกิดขึ้นได้ จะเห็นได้ว่าตรรกะเช่นนี้มันย้อนแย้งอยู่ในตัว เพราะเท่ากับสรุปว่า ทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้นมันย่อมผ่านการอนุมัติจากพระเผู้เป็นจ้า อีกทั้งถูกนับรวมให้เป็นสิ่งที่ดีและยุติธรรมอีกด้วย ทว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นกับมนุษย์ เช่น การมีอยู่ของพวกฏอฆูต พวกทรราชผู้กดขี่ ตัวอย่างเช่น มูอาวียะฮ์ ยาซีด ฯลฯได้ขึ้นมาเป็นผู้ปกครองนั้น เราจะอธิบายว่าเป็นการอนุมัติให้เกิดขึ้นโดยพระองค์กระนั้นหรือ? และทัศนะเช่นนี้ การอนุมัติให้บังเกิด กลับถือว่า เป็นสิ่งที่ยุติธรรม เพราะถ้าไม่ยุติธรรมพระองค์ก็จะไม่อนุมัติให้มันบังเกิดขึ้น

 

หากพิจารณาจะเห็นได้ว่า ทัศนะเช่นนี้ ย้อนแย้งในตรรกะอย่างยากจะหาคำตอบที่สติปัญญาขั้นพื้นฐานจะรับได้ นับเป็นข้อพิสูจน์หนึ่ง ซึ่งเบื้องต้นเราได้อธิบายไปแล้วว่า ความดีความชั่วนั้นมันเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติวิสัย โดยมนุษย์สามารถที่จะรับรู้และจำแนกแยกแยะได้ด้วยสติปัญญา เพราะพระองค์จะส่งเสริมสนับสนุนให้มนุษย์กระทำแต่ความดีเท่านั้น กล่าวคือ ต้องเป็นความดีเท่านั้นที่พระองค์ทรงสั่งใช้ให้ปฏิบัติ

 

ดังนั้น การกระทำใดที่มีความไม่ยุติธรรม การกดขี่ หรือ สิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง หากเกิดขึ้นนั้น มันไม่ได้เกี่ยวข้องกับพระองค์ เพราะพระองค์จะไม่ทำสิ่งเหล่านี้ แต่ที่มันมีอยู่ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเอง

 

ฉะนั้น ปรากฏการณ์ที่มีทรราชขึ้นมาปกครองนั้น มันคือการกดขี่เป็นความอธรรม และมนุษย์ไม่สามารถที่จะอ้างได้ว่า สิ่งนี้ยุติธรรมเพราะเป็นสิ่งที่พระองค์ทำให้เกิดขึ้น เช่นนี้ชัดเจนว่า เป็นทัศนะที่ไม่ถูกต้อง เพราะขัดแย้งกับนิยามข้อที่สี่ (หนึ่งในนิยามของอัดลฺ (ความยุติธรรม) นั่นคือ การวางทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในที่ที่เหมาะสมของมัน)

 

จะเห็นได้ว่า การขึ้นมาปกครองของฏอฆูต {บรรดาทรราช ผู้กดขี่ ผู้ละเมิด} ย่อมไม่ใช่ที่เหมาะสมสำหรับบุคคลประเภทนี้ เพราะจะทำให้สังคมมนุษย์มีแต่ความเดือดร้อนและเสียหาย และหากพิจารณาความยุติธรรมตามนิยามข้อที่สาม คือ การให้สิทธิตามที่ควรจะได้รับ แน่นอนว่า บรรดาทรราช ผู้กดขี่ ผู้ละเมิด ด้วยกับความอหังการ ความก้าวร้าวของพวกเขานั้น เกิดจากการมีพละกำลังทางร่างกายและอำนาจทางด้านทรัพย์สินและการเงินของพวกเขา จึงใช้อำนาจบาตรใหญ่ กดขี่ข่มเหง บรรดาผู้อ่อนแอ จึงไม่ดีพอ และไม่ควรมีสิทธ์ขึ้นมาปกครอง

 

ดังนั้น การขึ้นมาปกครองของบรรดาทรราช ชัดเจนว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพระองค์ เพราะสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี เมื่อเป็นสิ่งที่ไม่ดี จึงไม่อาจกล่าวได้ว่า มันเป็นความยุติธรรม

 

ตามที่แนวความคิด “อาชาอิเราะฮ์” อธิบายว่า การที่ทรราชเป็นผู้ปกครอง เป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากพระองค์ทำให้เขาขึ้นมาปกครอง ซึ่งตัวชี้วัดความยุติธรรมตามทัศนะของกลุ่มนี้ พิจารณาจากยังสิ่งที่พระองค์อนุมัติให้เกิดขึ้น แต่ข้อเท็จจริงไม่ใช่เช่นนั้น หากพิจารณาอย่างละเอียด จะเห็นว่าพระผู้เป็นเจ้าเป็นที่มาของความจริง ความดี ความงาม และความบริสุทธิ์ พระองค์ได้สร้างกฎธรรมชาติของสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกได้ ย่อมมีเหตุผลสำหรับความมีอยู่ของมัน

 

ฉะนั้น หากมนุษย์กระทำไปตามเหตุและเงื่อนไขของมัน ผลลัพธ์ของมัน ย่อมจะเกิดขึ้นตามนั้น ทั้งเรื่องที่ดีและไม่ดี มันเป็นกฎของธรรมชาติ อาทิเช่น ผลลัพธ์ของการดูแลสุขภาพ ใครก็ตามที่ใส่ใจดูแลสุขภาพ ผลลัพธ์ที่ออกมาร่างกายย่อมแข็งแรง ในทางกลับกัน ผลลัพธ์ของการปล่อยปละละเลยไม่ดูแลสุขภาพ จะส่งผลให้ร่างกายของเขา นอกจากจะอ่อนแอแล้ว โรคต่างๆก็อาจเกิดตามมาด้วย หรือสมมุติ มนุษย์ถูกเข็มทิ่มไปที่ดวงตา ผลลัพธ์ความน่าจะเป็นอาจส่งผลทำให้ตาบอดได้เช่นกัน

 

ดังนั้น การที่บรรดาทรราชขึ้นมาปกครองได้นั้น ย่อมมีที่มา มีเหตุ มีเงื่อนไขเป็นองค์ประกอบ ทั้งจากเล่ห์เหลี่ยม การฉ้อโกง หรืออาชญกรรมที่เขาก่อขึ้น จนทำให้พวกเขาได้ขึ้นมาปกครอง แต่สาเหตุที่ทำให้กลุ่มนี้{อาชาอิเราะห์} เชื่อว่ามันยุติธรรมแล้ว เป็นเพราะพวกเขาเชื่อว่า ความดีและไม่ดี ไม่มีอยู่จริงตามธรรมชาติและมนุษย์ไม่สามารถที่จะรับรู้และแยกแยะได้ว่า สิ่งใดดีหรือไม่ดี สิ่งใดยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม

 

ฉะนั้นในทัศนะของแนวคิดนี้ ด้วยกับกรอบคิดที่ว่า ต้องมาจากพระดำรัสของพระองค์กำกับเป็นบรรทัดฐาน คือ ผ่านการอนุมัติทุกสรรพสิ่งให้บังเกิด หากพระองค์ไม่ทรงอนุมัติจะไม่มีสิ่งใดบังเกิดขึ้นได้ อีกทั้งถูกนับรวมทังหมดให้เป็นสิ่งที่ดีและยุติธรรม ดังนั้นแล้ว เมื่อพระเจ้าอนุมัติให้บังเกิดมันย่อมดี และยุติธรรมเสมอ

 

ขอขอบคุณสถาบันศึกษาศาสนาอัลมะฮ์ดี

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
ที่มาของตัฟซีรอัลกุรอานของ ...
...
...
ฆอดีรคุม ...
ชีวิตคู่ในอิสลาม
...
ฟะดักในประวัติศาสตร์อิสลาม
...
วันสำคัญในเดือนรอบีอุลเอาวัล

 
user comment