ไทยแลนด์
Tuesday 26th of November 2024
0
نفر 0

“อิศมัต” (ความบริสุทธิ์) ที่แท้จริงคืออะไร

“อิศมัต” (ความบริสุทธิ์) ที่แท้จริงคืออะไร

นะบูวะห์ (ตอนที่ 9 )

สภาวะความเป็นศาสดา


 “อิศมัต” (ความบริสุทธิ์) ที่แท้จริงคืออะไร


 ผู้ที่สามารถเรียกว่า “อิศมัต” ได้นั้น นอกจากไม่ทำบาปแล้ว ยังต้องมีความบริสุทธิ์ที่วางอยู่บนพื้นฐานคุณสมบัติอุปนิสัยด้านบวกของ “มวลมะลาอิกะฮฺ” หมายถึง สิ่งๆนั้นกลายเป็นเรือนร่างเดียวกับตัวของเขา ซึ่งอุปนิสัยอันนี้ได้มาจากการที่เขาได้เสริมสร้างมันขึ้นมา และเขายังสามารถควบคุมตัวเองจากการทำบาปในทุกๆสภาพได้ อีกทั้งอุปนิสัยการเป็นมะลาอิกะฮฺที่ดี ที่เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในตัวเขา จนกระทั่งคุณลักษณะนั้นไม่สามารถที่จะแยกออกจากตัวเขาได้

 

ความบริสุทธิ์ที่ขึ้นอยู่กับ“ชะรีอัต” ของแต่ละยุคของบรรดาศาสดา ในที่นี้หมายถึง การไม่ทำบาปตามหลัก “ชารีอัต” บทบัญญัติทางศาสนาของตนเอง คือ ชารีอัตในยุคศาสดาแต่ละท่านมีความแตกต่างกัน เช่นในยุคสมัยศาสดาอาดัม (อ) อนุญาตให้พี่กับน้องสามารถแต่งงานได้ แต่ในยุคศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ) กลายเป็นสิ่งที่ต้องห้ามตามหลักศาสนา


ดังนั้น จึงไม่สามารถกล่าวได้ว่า การกระทำสิ่งนี้ในยุคศาสดาอาดัม(อ)เป็นบาป เพราะไม่ได้ขัดกับชารีอัตในยุคสมัตของท่าน และไม่ได้ขัดกับความเป็น “มะอฺศูม” ผู้บริสุทธิ์ด้วย
 

ในแต่ละศาสดามีคำสั่งใช้ทั้งที่เป็น “ชะรีอัต” (เป็นข้อบังคับ) และมีคำสั่งใช้ที่ไม่ได้เป็น “ชะรีอัต” (ไม่ได้เป็นข้อบังคับ) และมีคำสั่งห้ามที่เป็นชารีอัตและคำสั่งห้ามที่ไม่ได้เป็นชะรีอัต

 

คำว่า “ซัมบุน”(ذنب) และ “อิศยาน”))(عصيان) ซึ่งทั้งสองคำแปลว่า “บาป” ซึ่งคำว่า “บาป”ในอัลกุรอาน จะใช้รวมกันระหว่างบาปที่หมายถึงการละเมิดชะรีอัต และบาปที่หมายถึงการละเมิดสิ่งที่ไม่ใช่เป็นชะรีอัต


เมื่อพิจารณาบางครั้งใช้กับการละเมิดที่เป็นชารีอัต บางครั้งใช้กับการละเมิดที่ไม่เป็นชารีอัต บางครั้งเมื่อคำเหล่านี้ใช้กับศาสดาบางท่าน ก็ไม่ได้หมายความว่าศาสดาทำบาป เพราะไม่ได้เป็นการละเมิดชารีอัต แต่เรียกว่า “ตัรกุลเอาลา”


“ตัรกุลเอาลา” หมายถึง การละทิ้งสิ่งที่ดีกว่า หรือการละทิ้งสิ่งที่ดีที่สุดไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้ถูกนำเสนอจาก อัลลอฮ์(ซ.บ) ซึ่งการละทิ้งสิ่งนี้ไม่ได้เป็นบาปตามหลักชะรีอัต เช่นตัวอย่างของท่านศาสดาอาดัม (อ) ในวันนั้นศาสดาอาดัม (อ) อยู่ ณ สรวงสวรรค์หนึ่ง อัลลอฮ์ (ซ.บ) ได้ตรัสกับศาสดาอาดัม (อ)


ในซูเราะฮฺอัลบากอเราะฮฺ โองการที่ 35

 

وَ لَا تَقْرَبَا هَاذِهِ الشَّجَرَةَ فَتَكُونَا مِنَ الظَّالِمِين

“และเจ้าทั้งสอง จงอย่าเข้าใกล้ต้นไม้ต้นนั้น มันจะทำให้เจ้าทั้งสองกลายเป็นผู้อธรรม”

 

ทว่าศาสดาอาดัม(อ)ได้เข้าใกล้ต้นไม้ต้นนั้นและได้กินผลของมัน ซึ่งเป็นการละเมิดข้อเสนอที่ดีกว่าของพระองค์แต่ไม่ได้ถือว่าเป็นการทำผิดชะรีอัต ดังนั้น ความหมายอีกประการหนึ่งของ”อิศมัต” (ความบริสุทธิ์) คือ การไม่ละเมิดบทบัญญัติทางศาสนาที่เป็น “ชะรีอัต”นั่นเอง


 “อิศมัต” (ความบริสุทธิ์) ที่แท้จริงประการสุดท้าย คือ อิศมัตที่สูงสุด เป็นความเร้นลับแห่งความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดาซึ่งสิ่งนั้นเป็นความรู้ประจักษ์ แม้แต่ความรู้ ความคิด การรู้อนาคต การรู้ในเหตุการณ์ต่างๆ บ่งชี้ถึงความรู้ที่ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดที่เป็นแก่นแท้ของวิชาการทั้งปวง

 

ขอขอบคุณสถาบันศึกษาศาสนาอัลมะฮ์ดี

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

กุรอานกับเรื่องฟ้าผ่า
28 ซอฟัร ...
ความเป็นพี่น้องในอิสลาม
กุรอานกับการแต่งกาย
ถุงเท้ามุสลิมะฮ์
ดุอาอ์ คือ ตัวกำหนดอิหม่าน”
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือศีลอด
อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ในอัล-กุรอาน
อัลกุรอาน คัมภีร์แห่งทางนำ
...

 
user comment