อัรบาอีน การแสวงบุญที่ใหญ่ที่สุดในโลก
มันไม่ใช่พิธี “ฮัจญ์” ของชาวมุสลิม หรือพิธี “กุมภเมลา” ของชาวฮินดู
มันคือ “อัรบาอีน” เป็นการรวมตัวของประชาชนที่มากที่สุดในโลก และคุณอาจจะไม่เคยรู้จักมัน ไม่ใช่แค่มีผู้มาชุมนุมมากกว่าจำนวนผู้ไปเยือนนคร
มักกะฮ์เท่านั้น แต่ยังมีความยิ่งใหญ่กว่าพิธีกุมเมลาเพราะพิธีดังกล่าวมีขึ้นเพียงสามปีครั้งเท่านั้น ส่วนอัรบาอีนนั้นมีทุกปีและทำให้การชุมนุมอื่นๆ ในโลกทั้งหมดเป็นการชุมนุมเล็กๆ ไป เมื่อปีที่แล้วมีผู้เข้าร่วมมากถึงยี่สิบล้านคน นั่นเท่ากับ 60% ของประชากรทั้งหมดในอิรัก และมันกำลังเพิ่มขึ้นทุกๆปี
เหนือสิ่งอื่นใด “อัรบาอีน” มีความพิเศษตรงที่มันเกิดขึ้นท่ามกลางสภาพภูมิศาสตร์ทางการเมืองที่วุ่นวายและอันตราย ดาอิช (ไอซิส) มองว่า
ชีอะฮ์เป็นศัตรูตัวฉกาจของพวกเขา ดังนั้น จึงไม่มีสิ่งใดที่ทำให้กลุ่มก่อการร้ายนี้โกรธเป็นฟืนเป็นไฟมากไปกว่าการได้เห็นผู้แสวงบุญชาว
ชีอะฮ์มารวมตัวกันเพื่อแสดงถึงความศรัทธาอันยิ่งใหญ่ที่สุดของพวกเขา
“อัรบาอีน” มีลักษณะพิเศษเฉพาะอยู่อีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ ขณะที่มันเป็นการแสดงออกทางจิตวิญญาณของชีอะฮ์โดยเฉพาะแล้ว ทว่าทั้งชาวซุนนี หรือแม้แต่ชาวคริสเตียน ยาซีดี โซโรแอสเตอร์ และซาเบียน ก็ยังมาเข้าร่วมทั้งในส่วนของการแสวงบุญและการให้บริการแก่ผู้แสวงบุญ
นี่เป็นสิ่งที่น่าทึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา และมันมีความหมายได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น นั่นก็คือ พวกเขาเหล่านั้น ไม่ว่าจะมีสีผิวหรือลัทธิความเชื่อใด ต่างมองว่า “ฮุเซน” เป็นสัญลักษณ์แห่งเสรีภาพและความเมตตาสงสารที่เป็นสากล ไม่มีพรมแดน และก้าวข้ามศาสนา
ทำไมคุณจึงไม่เคยรู้จักมัน อาจเป็นเพราะสื่อสนใจอยู่กับข่าวในเชิงลบ นองเลือดและน่าตื่นเต้นมากกว่าข่าวในเชิงบวกและเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ถ้ามีผู้ต่อต้านการอพยพสักสองสามร้อยคนออกมาประท้วงกลางถนนใน
กรุงลอนดอน พวกเขาอาจจะได้ขึ้นหน้าหนึ่ง… หรือเป็นการเดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง หรือการเดินขบวนต่อต้านปูตินใน
รัสเซีย… แต่การรวมตัวกันของคนยี่สิบล้านคนเพื่อต่อสู้ขัดขวางการก่อการร้ายและความอยุติธรรมกลับไม่ได้เป็นแม้แต่ข่าวสั้นทางทีวี!
มีการห้ามอย่างไม่เป็นทางการไม่ให้ทำสื่อเกี่ยวกับเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่นี้ แม้ว่าเรื่องของมันจะมีมูลให้กล่าวถึงในการจับตาสถานการณ์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นจำนวนคร่าวๆ, นัยยะทางการเมือง, สารแห่งการปฏิวัติ, ฉากหลังที่ตึงเครียด และความเป็นต้นแบบ… แต่เมื่อเรื่องเช่นนี้ได้ผ่านการตัดทอนของบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์สำคัญ มันทำให้เกิดคลื่นความสั่นสะเทือนและกระทบใจประชาชนส่วนใหญ่
ในบรรดาผู้คนจำนวนนับไม่ถ้วนที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องนี้ คือชายหนุ่มชาวออสเตรเลียคนหนึ่งที่ผมได้พบเมื่อหลายปีก่อนซึ่งได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามแล้ว ไม่มีใครตัดสินใจเปลี่ยนแปลงชีวิตได้ง่ายๆ เขาเล่าให้ผมฟังว่ามันเริ่มต้นขึ้นในปี 2003 ค่ำวันหนึ่ง ขณะที่เขากำลังดูรายการข่าวอยู่นั้น ก็ถูกดึงดูดด้วยฉากที่ผู้คนนับล้านหลั่งไหลไปยังเมืองศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งที่มีชื่อว่า “กัรบาลา” ร้องเรียกชื่อของชาย
คนหนึ่งที่เขาไม่เคยได้ยินมาก่อน นั่นคือ “ฮุเซน” เป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ ที่โลกได้เห็นความศรัทธาในศาสนาอันแรงกล้าที่ก่อนหน้านี้ถูกระงับเอาไว้ในประเทศอิรัก จากเหตุการณ์รอบโลกทางโทรทัศน์
เมื่อฝ่ายปกครองพรรคบาธของซุนนีถูกโค่นล้มลงไป ผู้ชมชาวตะวันตกมีความกระหายใคร่รู้ว่าชาวอิรักจะตอบสนองต่อยุคใหม่ที่เป็นอิสระจากการข่มเหงของเผด็จการอย่างไร “สาธารณรัฐแห่งความกลัว” พังทลายไปแล้ว ยักษ์จีนี่จึงได้หลุดรอดออกมาจากตะเกียง “กัรบาลาคือที่ไหน และทำไมทุกคนจึงมุ่งหน้าไปทางนั้น?” เขาถามตัวเอง “ใครคือฮุเซนคนนี้ ที่ทำให้ผู้คนฟันฝ่าอุปสรรคอย่างไม่เกรงกลัวเพื่อมาไว้อาลัยให้แก่การเสียชีวิตของเขาทั้งที่ผ่านมาตั้งสิบสี่ศตวรรษแล้ว?”
สิ่งที่เขาได้เห็นในรายงานข่าว 60 วินาทีนั้นกระตุ้นใจเป็นพิเศษ เพราะภาพที่เห็นไม่เหมือนกับอะไรที่เขาเคยเห็นมาก่อน ความรู้สึกอันแรงกล้าของความสัมพันธ์ได้เปลี่ยนผู้แสวงบุญที่เป็นมนุษย์ให้เป็นแผงเหล็กที่รวมเข้าด้วยกันขณะที่ถูกดึงดูดให้เข้าไปใกล้สิ่งที่อธิบายได้เพียงแค่เสมือนกับสนามแม่เหล็กที่ไม่อาจต้านทานได้ของฮุเซน “ถ้าคุณต้องการจะเห็นศาสนาที่มีชีวิต มีลมหายใจ มีชีวิตชีวา ให้มาที่กัรบาลา”
เขากล่าว
เป็นไปได้อย่างไรที่ชายคนหนึ่งผู้ถูกสังหารไปเมื่อ 1,396 ปีที่แล้ว จะเหมือนกับยังมีชีวิตและปรากฏให้สัมผัสได้ในปัจจุบันเช่นนั้น จนทำให้ผู้คนเป็นล้านๆ มายืนเคียงข้างท่าน และถือว่าชะตากรรมของท่านเป็นเสมือนของตัวเอง? ไม่น่าจะมีใครถูกดึงเข้าไปสู่ความขัดแย้ง (โดยเฉพาะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในอดีตกาล) นอกเสียจากพวกเขาจะมีผลประโยชน์ส่วนตัวในเรื่องนั้น แต่ในทางกลับกัน ถ้าคุณรู้สึกว่ามีใครคนหนึ่งทำการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของคุณ เพื่อให้คุณได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม และเพื่อให้คุณมีชีวิตที่มีเกียรติ คุณจะรู้สึกว่าคุณมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเหลือล้น และจะเข้าใจความรู้สึกของเขาจนถึงจุดที่การเปลี่ยนศาสนาตามความศรัทธาของเขานั้นไม่ใช่สิ่งที่ไกลเกินจริง
ฮุเซน หลานชายของศาสดามุฮัมมัด ได้รับการนับถือจากมุสลิมว่าเป็น “เจ้าชายแห่งผู้พลีชีพ” ท่านถูกสังหารที่กัรบาลา ในวันที่ถูกเรียกว่า
อาชูรอ วันที่สิบของเดือนมุฮัรรอมของอิสลาม เพราะปฏิเสธการให้สัตยาบันแก่ยะสีด คอลีฟะฮ์ผู้ชั่วร้ายและเป็นเผด็จการ
ท่าน พร้อมกับครอบครัวและมิตรสหาย อยู่ในวงล้อมของกองทัพ 30,000 นายกลางทะเลทราย โดยขาดอาหารและน้ำ หลังจากนั้นท่านถูกตัดศีรษะในลักษณะที่น่าสยดสยองที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ถูกเล่าทบทวนอย่างละเอียดจากแท่นธรรมาสน์ทุกปีนับตั้งแต่วันที่ท่านถูกสังหาร
เอ็ดเวิร์ด กิบบอน นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษบันทึกไว้ว่า “ในยุคสมัยและภูมิประเทศที่ห่างไกล ภาพโศกนาฏกรรมแห่งการเสียชีวิตของ
ฮุเซนจะปลุกความรู้สึกสงสารเห็นใจจากผู้อ่านที่หัวใจเย็นชาที่สุดให้ตื่นขึ้น”
นับตั้งแต่นั้นมา มุสลิมชีอะฮ์ได้ไว้อาลัยให้แก่การเสียชีวิตของฮุเซน โดยเฉพาะในวันอาชูรอ หลังจากนั้น 40 วัน ในวันอัรบาอีน สี่สิบวัน
เป็นระยะเวลาแห่งการไว้อาลัยตามปกติตามประเพณีของมุสลิมส่วนใหญ่ ในปีนี้ วันอัรบาอีนตรงกับวันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม
ผมเดินทางไปกัรบาลา บ้านของบรรพบุรุษของผมเอง เพื่อหาคำตอบให้ตัวเองว่าทำไมเมืองนี้จึงน่าหลงใหลเช่นนี้ สิ่งที่ผมได้เห็นทำให้ผม
ได้ประจักษ์ว่าแม้แต่เลนส์ของกล้องมุมกว้างที่สุดก็ยังแคบเกินกว่าจะจับภาพจิตวิญญาณของการรวมตัวกันที่อึกทึกครึกโครมแต่เต็มด้วยความสงบนี้ได้
ผู้คนมหาศาลทั้งผู้ชาย ผู้หญิงและเด็ก แต่ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงในผ้าคลุมสีดำ สุดลูกหูลูกตาจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง เป็นฝูงชนที่ใหญ่มากจนทำให้ต้องปิดเส้นทางหลายร้อยไมล์
ระยะทาง 425 ไมล์ระหว่างเมืองบัสรอและกัรบาลาเป็นการเดินทางที่ยาวไกลโดยรถยนต์ แต่มันเป็นความยากลำบากอย่างคาดไม่ถึงด้วย
การเดินเท้า ผู้แสวงบุญต้องเดินถึงสองสัปดาห์เต็มๆ ผู้คนทุกกลุ่มวัยเดินทางด้วยความเหน็ดเหนื่อยท่ามกลางแสงแดดที่แผดเผาในเวลากลางวันและความหนาวเย็นจนเข้ากระดูกในเวลากลางคืน พวกเขาเดินทางผ่านภูมิประเทศที่ขรุขระ ถนนที่ไม่ราบเรียบ ผ่านที่มั่นของผู้ก่อการร้าย และเต็มไปด้วยอันตราย พวกเขาไม่มีแม้แต่เครื่องมือการเดินทางหรือเครื่องอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน พวกเขาพกพาสิ่งของไปเล็กน้อยควบคู่ไปกับความรักที่ร้อนแรงต่อฮุเซน “ผู้เป็นนาย” ธงและแผ่นป้ายเตือนใจพวกเขาและโลกถึงเป้าหมายของการเดินทางของพวกเขา :
โอ้อัตตา เจ้าช่างไร้ค่าหลังจากฮุเซน
ชีวิตและความตายของฉันเป็นหนึ่งและเหมือนกัน
ดังนั้น ช่างมันเถิดถ้าพวกเขาจะเรียกฉันว่าคนบ้า
ข้อความนี้รำลึกถึงบทกลอนที่กล่าวโดยอับบาส น้องชายต่างมารดาของฮุเซน ผู้ถูกสังหารในสมรภูมิกัรบาลาในปี 680 เช่นกัน ขณะที่พยายามไปนำน้ำมาให้หลานๆ ที่คอแห้งผากของเขา ด้วยความมั่นคงที่มีอยู่ในรัฐที่ทรุดโทรมแห่งนี้ที่ทำให้อิรักเป็นพาดหัวข่าวหมายเลขหนึ่งในโลก ไม่มีใครสงสัยเลยว่าข้อความนี้เป็นความจริงทุกประการ
ส่วนหนึ่งของการแสวงบุญที่จะทำให้ผู้มาเยือนทุกคนงุนงงก็คือ การได้เห็นเต็นท์นับพันๆ เต็นท์พร้อมกับเครื่องครัวที่จัดขึ้นโดยชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณเส้นทางการเดินของผู้แสวงบุญ เต็นท์เหล่านี้ (เรียกว่า “เมากิบ”) เป็นที่ที่ผู้แสวงบุญจะได้รับสิ่งจำเป็นพื้นฐานทุกอย่าง ตั้งแต่อาหารสดเพื่อรับประทาน และพื้นที่สำหรับการพักผ่อน ไปจนถึงโทรศัพท์ระหว่างประเทศฟรีเพื่อติดต่อกับญาติพี่น้องที่เป็นห่วง ผ้าอ้อมเด็ก
สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ทุกอย่าง ซึ่งทั้งหมดไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่จริงแล้ว ผู้แสวงบุญไม่จำเป็นต้องพกพาสิ่งใดไปเลยในการเดินทาง 400 ไมล์นี้ ยกเว้นเสื้อผ้าที่พวกเขาสวมใส่
สิ่งที่น่าทึ่งกว่านั้นคือ ผู้แสวงบุญจะได้รับการเชื้อเชิญให้รับอาหารและเครื่องดื่ม ผู้จัดเมากิบจะไปรอบนเส้นทางของผู้แสวงบุญเพื่ออ้อนวอนให้รับการนำเสนอของพวกเขา ซึ่งมักจะรวมถึงการบริการแบบครบวงจรที่เหมาะสมกับพระราชา เช่น ลำดับแรกคุณจะได้รับการนวดเท้า หลังจากนั้นจะได้รับอาหารอร่อยร้อนๆ หลังจากนั้นเขาจะเชิญให้คุณพักผ่อนในขณะที่นำเสื้อผ้าของคุณไปซัก รีด แล้วนำกลับมาให้คุณหลังจากที่คุณหลับไปงีบหนึ่งแล้ว ทั้งหมดนั้นเป็นอภินันทนาการทั้งสิ้น
ในบางแง่มุม เมื่อพิจารณาดูสิ่งนี้ หลังจากเกิดแผ่นดินไหวที่ไฮติ ทั่วโลกให้ความสงสารเห็นใจและให้ความช่วยเหลือ โครงการอาหารโลกของสหประชาชาติประกาศส่งอาหารไปให้ครึ่งล้านชุดด้วยความพยายามอย่างเต็มที่ในการบรรเทาทุกข์… กองทัพสหรัฐฯ เปิดปฏิบัติการ Operation Unified Response ขึ้นเพื่อรวบรวมหน่วยงานกลางต่างๆ และประกาศว่าภายในห้าเดือนหลังความหายนะครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษย์นี้ อาหาร 4.9 ล้านชุดจะถูกส่งไปยังชาวไฮติ แต่เมื่อเทียบกับอาหารมากกว่า 50 ล้านชุดต่อวันในช่วงอัรบาอีน เท่ากับประมาณ 700 ล้านชุดตลอดช่วงการแสวงบุญ ทั้งหมดนั้นไม่ใช่การสนับสนุนเงินจากสหประชาชาติหรือหน่วยงานการกุศลระหว่างประเทศใดๆ แต่จากคนงานและชาวไร่ชาวนาผู้ยากจนที่ยอมอดเพื่อเลี้ยงอาหารผู้แสวงบุญ และเก็บออมตลอดทั้งปีเพื่อให้ผู้มาเยือนพอใจ ทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งการรักษาความปลอดภัยส่วนใหญ่จัดให้โดยนักรบอาสาสมัครผู้ซึ่งจับตามองดาอิชด้านหนึ่งและอีกด้านปกป้องเส้นทางของการแสวงบุญ ผู้จัดเมากิบคนหนึ่งกล่าวว่า “การจะเรียนรู้ว่าอิสลามสอนอะไรบ้างนั้น อย่ามองการกระทำของผู้ก่อการร้ายป่าเถื่อนไม่กี่ร้อยคน แต่ให้มองการเสียสละโดย
ไม่เห็นแก่ตัวที่แสดงออกโดยผู้แสวงบุญนับล้านๆ คนในวันอัรบาอีน”
อันที่จริง อัรบาอีนควรจะถูกบันทึกลงในกินเนสบุ๊คในหลายด้านด้วยกัน เช่น เป็นการรวมตัวประจำปีที่ใหญ่ที่สุด โต๊ะอาหารที่ต่อกันยาวที่สุด การแจกอาหารฟรีให้แก่ผู้คนจำนวนมากที่สุด อาสาสมัครกลุ่มใหญ่ที่สุดที่ให้บริการในงานเดียว ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้อันตรายจากระเบิดพลีชีพที่อาจเกิดขึ้นเวลาใดก็ได้
การอุทิศตนอย่างหาที่เปรียบไม่ได้
แค่มองจำนวนผู้คนที่มากมายก็ทำให้คุณลืมหายใจแล้ว สิ่งที่เพิ่มความน่าตื่นตาตื่นใจก็คือ ทั้งที่สภาวะความมั่นคงย่ำแย่ลง แต่ประชาชนจำนวนมากยิ่งขึ้นถูกกระตุ้นให้ท้าทายต่อภัยอันตรายจากผู้ก่อการร้ายและเดินขบวนอย่างไม่เกรงกลัว ด้วยเหตุนี้ การแสวงบุญนี้จึงไม่ใช่แค่การปฏิบัติทางศาสนาอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นแถลงการณ์อันหนักแน่นแห่งการต้านทาน ภาพวีดิโอที่โพสต์ในสื่อออนไลน์แสดงภาพมือระเบิดพลีชีพที่ระเบิดตัวเองท่ามกลางกลุ่มผู้แสวงบุญ เพียงเพื่อทำให้ฝูงชนเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้นเท่านั้น โดยพวกเขาตะโกนคำขวัญอย่างพร้อมเพรียงกันว่า
ถ้าพวกเขาตัดแขนและขาของเรา
เราก็จะคืบคลานไปยังแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์
การระเบิดที่น่ากลัวซึ่งเกิดขึ้นตลอดทั้งปี โดยส่วนใหญ่มุ่งเป้าไปที่ผู้แสวงบุญชาวชีอะฮ์ และคร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนนับไม่ถ้วน แสดงให้เห็นถึงอันตรายที่ชาวชีอะฮ์ในอิรักกำลังเผชิญอยู่ และความไม่มั่นคงที่เกิดขึ้นในประเทศ แต่ถึงกระนั้น ภัยอันตรายถึงชีวิตที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลากลับไม่ได้เบี่ยงเบนผู้คน ทั้งหนุ่มและแก่ชรา ทั้งชาวอิรักและชาวต่างชาติ ออกไปจากการเดินทางที่แสนอันตรายไปยังเมืองศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้
มันไม่ง่ายที่คนนอกจะเข้าใจว่าอะไรที่เป็นแรงบันดาลใจของผู้แสวงบุญ คุณจะเห็นผู้หญิงอุ้มลูกในอ้อมแขน ชายชราในรถเข็น คนใช้ไม้ค้ำ และคนตาบอดที่ถือไม้เท้า ผมได้พบกับคุณพ่อคนหนึ่งที่เดินทางมาจากบัสรอพร้อมลูกชายพิการของเขา เด็กชายวัย 12 ปีมีความพิการทางสมองและไม่สามารถเดินด้วยตัวเองได้ ดังนั้น บางส่วนของเส้นทางพ่อจะวางเท้าลูกชายบนเท้าของเขาและอุ้มใต้รักแร้ของเขาแล้วเดินไปด้วยกัน มันเป็นเรื่องประเภทที่ภาพยนตร์ชนะรางวัลออสก้าชอบสร้างกัน แต่ดูเหมือนว่าฮอลลีวูดจะสนใจกับฮีโร่การ์ตูนและฮีโร่ในชีวิตจริงที่มีพลังพิเศษเป็นความกล้าหาญมากกว่า
ผู้มาเยือนฮะรัมของฮุเซนและอับบาส น้องชายของท่านไม่ได้ถูกกระตุ้นด้วยอารมณ์ความรู้สึกอย่างเดียว พวกเขาร้องไห้จากการรำลึกถึงสภาพการเสียชีวิตอย่างโหดร้ายของท่าน ในการร้องไห้ พวกเขายืนยันถึงเจตนารมณ์ในอุดมการณ์ของท่าน
สิ่งแรกที่ผู้แสวงบุญทำเมื่อไปถึงฮะรัมของท่านคือการอ่านซิยารัต บทศักดิ์สิทธิ์ที่รวบรวมสถานภาพของฮุเซน เริ่มต้นด้วยการเรียกฮุเซนว่าเป็น “ผู้สืบทอด” ของอาดัม, นูฮ์, อิบราฮีม, มูซา และอีซา มีบางสิ่งบางอย่างที่ลึกซึ้งในการประกาศนี้ มันแสดงให้เห็นว่า สารแห่งสัจธรรม,
ความยุติธรรม และความรักต่อผู้ถูกกดขี่ของฮุเซนนั้น ถูกมองว่าเป็นส่วนประกอบที่แยกออกไปไม่ได้ของบรรดาศาสดาทั้งหมดที่ได้รับการ
แต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้า
ประชาชนไปยังกัรบาลาไม่ใช่เพื่อตื่นตากับภูมิประเทศของเมือง ดื่มด่ำกับผลอินทผลัม หรือเพื่อชื่นชมความสวยงามภายนอกของสถานฝังศพ หรือเพื่อช้อปปิ้ง เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อเยี่ยมสถานที่ทางประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ พวกเขาไปเพื่อร้องไห้ เพื่อไว้อาลัยและสัมผัสกับกลิ่น
ไอแห่งสวรรค์ของฮุเซน พวกเขาเข้าสู่ฮะรัมศักดิ์สิทธิ์พลางร่ำไห้และคร่ำครวญต่อการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยเห็นมา
ราวกับว่าทุกคนได้สร้างความสัมพันธ์เป็นการส่วนตัวกับชายคนหนึ่งที่พวกเขาไม่เคยพบเจอมาก่อน พวกเขาพูดคุยกับท่านและเรียกชื่อท่าน พวกเขาเกาะกุมโครงครอบสุสานของท่าน พวกเขาจูบพื้นทางเดินไปสู่ฮะรัม พวกเขาสัมผัสผนังและประตูของฮะรัมในลักษณะเดียวกับที่จะสัมผัสกับใบหน้าของเพื่อนที่หายหน้าไปนาน สิ่งที่กระตุ้นประชาชนเหล่านี้คือบางอย่างที่จำเป็นต้องมีความเข้าใจในบุคลิกภาพและสถานภาพของอิหม่ามฮุเซน และความสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณที่บรรดาผู้ที่ได้รู้จักท่านได้พัฒนาขึ้นด้วยตำนานที่มีชีวิตของท่าน
ถ้าโลกเข้าใจฮุเซน สารของท่าน และการเสียสละของท่าน พวกเขาจะเริ่มเข้าใจรากเหง้าแต่โบราณของดาอิชและหลักความเชื่อในเรื่อง
ความตายและการทำลายล้างของมัน เมื่อหลายศตวรรษที่แล้วที่กัรบาลา มนุษยชาติได้ประจักษ์ถึงต้นกำเนิดของความโหดร้ายอย่างไร้สำนึกที่ปรากฏอยู่ในตัวผู้ลงมือสังหารฮุเซน มันคือความมืดมิดดำมืดที่ปะทะกับแสงสว่างอันสมบูรณ์ เป็นนิทรรศการแห่งความชั่วร้ายที่ปะทะกับงานเทศกาลแห่งความดีงาม นั่นคือภาพอันทรงอำนาจของฮุเซนในปัจจุบัน ท่าทีของท่านถูกถักทออยู่ในชีวิตของพวกเขาทุกแง่มุม ตำนานของท่านส่งเสริม บันดาลใจ และสนับสนุนความเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า และการปกปิดของสื่อมากเท่าไรก็ไม่อาจกลบแสงของมันลงได้
“ใครคือฮุเซนผู้นี้?” สำหรับผู้ดำเนินตามท่านหลายร้อยล้านคนแล้ว เป็นคำถามที่ลึกซึ้งที่สามารถทำให้คนเปลี่ยนศาสนาของตนได้ และสามารถหาคำตอบได้เมื่อคุณเดินทางไปยังฮะรัมของฮุเซนด้วยการเดินเท้าเท่านั้น
เขียนโดย : ซัยยิดมะฮ์ดี มุดัรริซีย์
ขอขอบคุณเว็บไซต์เอบีนิวส์ทูเดย์