ไทยแลนด์
Friday 27th of December 2024
0
نفر 0

19 จุดจากอัลกุรอานกับอิมามฮุเซน (อ.)

19 จุดจากอัลกุรอานกับอิมามฮุเซน (อ.)

๑. มาตรว่าอัลกุรอานเป็นซัยยิดุ้ลกะลาม(๑)  อิมามฮุเซน (อ) คือ ซัยยิดุชชุฮะดา(๒)

 

๒. ในเศาะฮีฟะฮ์อัซซัจญาดียะฮฺกล่าวถึงอัลกุรอานว่า “เป็นตราชั่งที่ทรงความยุติธรรม”

ท่านอิมามฮุเซน (อ) กล่าวว่า “ฉันได้กำชับพวกท่านให้ธำรงในความยุติธรรม” (๓)

 

๓. มาตรว่าอัลกุรอานเป็นคำเตือนจากพระผู้เป็นเจ้า (موعظة من ربّكم) (๔)

ท่านอิมามฮุเซน (อ) ได้กล่าวในวันอาชูรอว่า ( (لا تعجلوا حتّى اعظكم بالحقّ (๕) “พวกท่านไม่ต้องรีบร้อน จนกว่าฉันจะเชิญชวนท่านด้วยสัจธรรมความจริง”

 

๔. มาตรว่าอัลกุรอานได้ชี้นำมนุษย์ไปสู่ทางที่ถูกต้อง (يهدي الى الرشد) (๖) ท่านอิมามฮุเซน (อ.) กล่าวว่า “ฉันจะขอเชิญชวนพวกท่านไปสู่หนทางที่ถูกต้อง” (๗)

 

๕. มาตรว่าอัลกุรอานนั้นคือ ความยิ่งใหญ่ (๘) ท่านอิมามฮุเซนคือผู้ที่มีอดีตที่ยิ่งใหญ่ (๙)

 

๖. มาตรว่าอัลกุรอาน คือ ความจริงอันเที่ยงแท้ (๑๐) ในซิยารัตอิมามฮุเซน (อ) อ่านว่า “ท่านนั้นทำอิบาดะฮฺด้วยความบริสุทธิ์ใจ และซื่อสัตย์จนกระทั่งถึงขั้นบรรลุธรรม” (๑๑)

 

๗. มาตราว่าอัลกุรอานคือชะฟาอ์ ให้การเยียวยาและการอนุเคราะห์แก่สิ่งอื่น (๑๒)

ท่านอิมามฮุเซน (อ)  อยู่ในฐานะของผู้ให้ชะฟาอัตเช่นกันในซิยารัตอาชูรอ กล่าวว่า ขอให้เราได้รับชะฟาอัตของท่านอิมามฮุเซน (๑๓)

 

๘. ริวายะฮฺได้กล่าวว่า “อัลกุรอานคือสัญลักษณ์ของการช่วยเหลือ”ในซิยารัตท่านอิมามฮุเซน อ่านว่า

“อิมามฮุเซน (อ) คือสัญลักษณ์ของการชี้นำ” (๑๔)

 

๙. อัลกุรอานเป็นผู้ให้การเยี่ยวยาแก่สิ่งอื่นริวายะฮฺกล่าวว่า “อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาเพื่อเป็นชะฟาอฺ” ขณะที่ตุรบัตอิมามฮุเซน

(ดินอิมามฮุเซน) เป็นชะฟาอัตเช่นกัน (๑๕)

 

๑๐. มาตรว่าอัลกุรอานเป็นคลังแห่งความรู้ ท่านอิมามฮุเซน (อ) เป็นประตูแห่งความรู้ขององค์พระผู้อภิบาลเช่นกัน (๑๖)

 

๑๑. อัลกุรอานคือแบบอย่างในการกำชับความดี และห้ามปรามชั่ว (๑๗)ท่านอิมามฮุเซน(อ.) กล่าวว่า “เป้าหมายในการเดินทางไปกัรบะลาอฺ ของฉันเพื่อกำชับความดี และห้ามปรามความชั่ว” (๑๘)

 

๑๒. มาตรว่าอัลกุรอานเป็นนูรรัศมี) (نور ท่านอิมามฮุเซน (อ) ก็เป็นนูรเช่นกัน ในซิยารัตอิมามฮุเซน เขียนว่า “ท่านคือ นูรที่ฝังอยู่ในไขสันหลังของผู้ที่มีความสูงส่ง (๑๙)

 

๑๓. อัลกุรอานคือหลักฐานที่ชัดแจ้งสำหรับประวัติศาสตร์ และมวลมนุษย์ทั้งหลาย ดังริวายะฮฺ (รายงาน)กล่าวว่า “พระองค์มิได้มอบให้

อัลกุรอานจำกัดอยู่แค่เวลาใดเวลาหนึ่ง และสำหรับประชาชาติใดเฉพาะ”

เรื่องราวการสังหารท่านอิมามฮุเซน (อ) อย่างโหดเหี้ยมในกัรบะลาก็มิได้จำกัดอยู่แค่เวลาหนึ่ง แต่อยู่เหนือมิติของประวัติศาสตร์ (๒๐)

 

๑๓.มาตรว่าอัลกุรอานคือความจำเริญ “คัมภีร์ (อัลกุรอาน) เราได้ประทานลงมาให้แก่เจ้ามีความจำเริญ” (๒๑)การเป็นชะฮีดของท่านอิมามฮุเซน (อ) เป็นสาเหตุของความจำเริญและการเติบโตของอิสลามเช่นกัน

ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)กล่าวว่า “โอ้อัลลอฮ์ พระองค์ได้นำความจำเริญแก่ข้าด้วยการสังหารเขา” (๒๒)

 

๑๔. อัลกุรอานนั้นปราศจากการแก้ไขเปลี่ยนแปลง “กุรอานเป็นภาษาอาหรับ ไม่มีการเบี่ยงเบน” (๒๓)

ท่านอิมามฮุเซน (อ.) ไม่เคยเบี่ยงเบนจากสัจธรรมไปสู่การหลงผิดแม้เพียงเสี้ยววินาที

“ฉันไม่มีความปรารถนาที่จะออกจากความจริงไปสู่ความเท็จ”๒๔)

 

๑๕. อัลกุรอานเป็นคัมภีร์อันทรงเกียรติเสมอ “นั่นคือ กุรอานอันทรงเกียรติ” (๒๕)

ท่านอิมามฮุเซน(อ.) คือ เกียรติยศแห่งจริยธรรม

 

๑๖. อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่ทรงพลัง “แท้จริงอัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่มีอำนาจยิ่ง” (๒๖)

ท่านอิมามฮุเซน(อ) กล่าวว่า “ฉันจะไม่ก้มศรีษะให้กับความต่ำทรามอย่างเด็ดขาด” (๒๗)

 

๑๗. อัลกุรอานเป็นสายเชือกที่เหนียวแน่น ริวายะฮฺ (รายงาน) กล่าวว่า “แท้จริงแล้วอัลกุรอาน คือ สายเชือกอันมั่นคง” (๒๘) แท้จริงท่านอิมามฮุเซน (อ) “เป็นเรือที่ยังความปลอดภัย และเป็นสายเชือกที่มีความเหนียวแน่น” (๒๙)

 

๑๘. อัลกุรอานเป็นเหตุผลที่ชัดแจ้ง “ได้มีมายังเจ้าคำอธิบายที่ชัดแจ้งจากพระผู้อภิบาลของเจ้า” (๓๐)

ท่านอิมามฮุเซน (อ) เป็นเหตุผลที่ชัดแจ้งเช่นกันดังที่อ่านในซิยารัตที่ว่า “ขอยืนยันว่าแท้จริงท่านเป็นคำอธิบายที่มาจากพระผู้อภิบาลของท่าน”

 

๑๙. มาตรว่าอัลกุรอานต้องอัญเชิญด้วยความนอบน้อมเป็นจังหวะ “หรือมากกว่านั้น และจงอ่านอัลกุรอานช้า ๆ เป็นจังหวะ (ชัดถ้อยชัดคำ)” ในการซิยารัตฮะรอมของท่านอิมามฮุเซน (อ) จำเป็นต้องทำด้วยความนอบน้อมอย่างช้าๆ และเรียบง่าย” แน่นอนท่านอิมามฮุเซน (อ) นั้นเป็นอัล-กุรอานที่พูดได้ และเป็นฉายาลักษณ์ของอัลกุรอาน.

 

 

 

ที่มา

(๑)มัจญ์มะอุลบะยาน เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๓๖๑

(๒) กามิลลุซซิยาราต

(๓) ญามิอุลอะฮาดีษุชชีอะฮฺ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๔๘๑

 

(๔) “แท้จริงข้อตักเตือน (อัลกุรอาน) จากพระผู้อภิบาลของพวกท่าน” (ยูนุส ๕๗)

(๕) ละวาอิญุล อัชญาน หน้าที่ ๒๖

(๖)นำไปสู่ทางที่ถูกต้อง

(๗) ادعوكم الى سبيل الرشد

 (๘)  والقرآن العظيم

(๙) عظيم السوابق

(๑๐) وانّه لحق اليقين

(๑๑) حتّى اتاك اليقين

(๑๒) نعم الشفيع القرآن

(๑๓) وارزقنى شفاعة الحسين

(๑๔) انّه راية الهدى

(๑๕) طين قبر الحسين شفاء

(๑๖) السلام عليك يا باب حكمة ربّ العالمين

(๑๗) فالقرآن آمرُ وزاجر

(๑๘)  اريد ان آمر بالمعروف وانهى عن منكر   

(๑๙)  كنت نورا فى الاصلاب الشامخة   

(๒๐) لم يحعل القرآن لزمان دون زمان ولا للناس دون الناس

(๒๑)  كتاب انزلناه اليك مبارك (ศอด โองการที่ ๒๙)

(๒๒) اللهم فبارك لى في قتله

(๒๓) غير ذي عوج (อัซซุมัรโองการที่ ๒๘)

(๒๔) لم تمل من حق الى الباطل (ฟุรูอ์ อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๕๖๑)

(๒๕)  انّه لقرآن الكريم (อัลวากิอะฮ์ โองการ ๗๗)

(๒๖) انّه لكتاب عزيز (อัลฟุศศิลัต  โองการที่ ๔๑)

(๒๗) هيهات منا الذّلة   

(๒๘) انّ هذا القرآن..العروة الوثقي (บิฮารุลอันวารฺ เล่มที่ ๙๒ หน้าที่ ๔๑)

(๒๙) انّ الحسين سفينة النجاة و العروة الوثقي

(๓๐) جائكم بينة من ربكم

 

โดย อบูอะลี

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือศีลอด
...
...
ฮิดายะฮ์ (การชี้นำ)ในอัลกุรอาน
เตาฮีด (เอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า)
ความหมายของตักวาในอัลกุรอาน
ชีวประวัติของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...
...
กำเนิดจักรวาล
"ฝน"ในอัลกุรอาน

 
user comment