ไทยแลนด์
Friday 27th of December 2024
0
نفر 0

กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือศีลอด

หนึ่งในข้อบังคับประจำปี หรือแนวทางการขัดเกลาจิตวิญญาณอีกประการหนึ่งของอิสลาม คือ การถือศีลอด หมายถึง การหลีกเลี่ยงจากภารกิจบางประการ ตลอดจนการละเว้นการกินและการดื่มเพื่อปฏิบัติตามพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า ตั้งแต่อะซานซุบฮฺจนถึงอะซานมัฆริบ สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงเงื่อนไขบางส่วนที่จำเป็นต้องรับรู้ มิใช่เงื่อนไขทั้งหมดของการถือศีลอด
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือศีลอด

หนึ่งในข้อบังคับประจำปี หรือแนวทางการขัดเกลาจิตวิญญาณอีกประการหนึ่งของอิสลาม คือ การถือศีลอด หมายถึง การหลีกเลี่ยงจากภารกิจบางประการ ตลอดจนการละเว้นการกินและการดื่มเพื่อปฏิบัติตามพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า ตั้งแต่อะซานซุบฮฺจนถึงอะซานมัฆริบ    

 สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงเงื่อนไขบางส่วนที่จำเป็นต้องรับรู้ มิใช่เงื่อนไขทั้งหมดของการถือศีลอด

 

การถือศีลอดคือ การละเว้นการกิน การดื่มตั้งแต่ก่อนอะซานศุบฮฺจนถึงอะซานมัฆริบ

 

เงื่อนไขเกี่ยวกับการถือศีลอดที่เป็นวาญิบ

 

1.ต้องบรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ

 

การถือศีลอดจึงไม่เป็นข้อบังคับสำหรับเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ (เด็กผู้ชายต้องมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์หรือมีสัญลักษณ์อื่นๆ ส่วนเด็กผู้หญิงต้องมีอายุครบเก้าปีบริบูรณ์ตามฮิจเราะฮ์ศักราชหรือปฏิทินอิสลาม)

 

2. ต้องมีสติสัมปชัญญะครบบริบูรณ์

 

การถือศีลอดจึงไม่เป็นข้อบังคับสำหรับคนที่วิกลจริต แม้ว่าอาการวิกลจริตจะเกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่งในเวลากลางวันก็ตาม

 

3. ผู้ที่ไม่ได้เดินทางไกล

หมายถึง บุคคลที่มีสถานที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งและต้องพักอยู่ ณ สถานที่ของตนไม่น้อยกว่าสิบวัน ดังนั้นผู้ที่เดินทางไกล หรือพำนักอยู่ ณ ที่หนึ่งที่ใดไม่เกินสิบวันเขาจึงไม่สามารถถือศีลอดได้ และนมาซของเขาต้องทำแบบย่อ (นมาซสี่รอกะอัตให้ทำแค่สองรอกะอัต)

 

แต่กรณีที่จำเป็นต้องเดินทางไกล เขาสามารถเดินทางได้หลังจากอะซานซุฮฺร์ ถือว่าศีลอดไม่เสีย และถ้าเขาสามารถเดินทางกลับมาถึงที่พักของตนได้ก่อนอะซานซุฮฺร์ของวันใหม่เขาสามารถถือศีลอดต่อได้ (กรณีที่ยังไม่ได้กระทำในสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสีย)

 

4.ต้องไม่เมาหรือหมดสติ

 

5.ต้องไม่ใช่ผู้เจ็บป่วย

เพราะการถือศีลอดอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพกรณีที่ไม่สบาย

 

6.ต้องไม่มีรอบเดือนหรือมีเลือดหลังจากการคลอดบุตร

 

ดังนั้น บุคคลใดก็ตามที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กล่าวมา ถือว่าเป็นวาญิบสำหรับเขาที่จะต้องถือศีลอด

 

เงื่อนไขที่ถูกต้องของการถือศีลอด

 

เนียต (ตั้งเจตนา) ถือศีลอด

 

1. การถือศีลอด เป็นอิบาดะฮฺ(การปฏฺิบัติ)ประเภทหนึ่ง จะต้องปฏิบัติเพื่อที่ได้ปฏิบัติไปตามพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว

 

2.ผู้ถือศีลอด สามารถเนียตได้ทุกคืนของเดือนรอมฎอนเพื่อถือศีลอดในวันรุ่งขึ้น แต่ดีกว่าให้เนียตตั้งแต่คืนแรกว่า จะถือศีลอดตลอดทั้งเดือนรอมฎอน

 

3. ศีลอดวาญิบที่กำหนดไว้ชัดเจน ไม่ควรเนียตให้ล่าหลังอะซานซุบฮฺโดยที่ไม่มีสาเหตุ

 

4.ศีลอดวาญิบที่กำหนดไว้ชัดเจน หากมีอุปสรรค เช่น ลืม หรือเดินทางไกลโดยไม่ได้เนียต จนกระทั่งถึงซุฮรฺ ถ้ายังไม่ได้ทำสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดบาฏิล สามารถเนียตถือศีลอดได้

 

5. เนียตถือศีลอด ไม่จำเป็นต้องกล่าวออกมาเป็นคำพูด เพียงแค่รู้ว่ากำลังปฏิบัติตามคำบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า ตั้งแต่อะซานซุบฮฺจนถึงอะซานมัฆริบ โดยละเว้นสิ่งที่เป็นเหตุทำให้ศีลอดเสีย ถือว่าเพียงพอ

 

เงื่อนไขที่ถูกต้อง หมายถึง การถือศีลอดของบุคคลที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ถือว่าถูกต้องตามศาสนบัญญัติ

 

1. ต้องไม่ใช่คนวิกลจริต

 

2.ต้องไม่อยู่ในสภาพที่หมดสติหรือมึนเมา

 

3.ต้องไม่เจ็บป่วย

 

4. ต้องไม่เป็นผู้เดินทางไกล

 

5.  ต้องสะอาดปราศจากรอบเดือนหรือเลือดหลังการคลอดบุตร

 

6. ต้องไม่อยู่ในสภาพมีญุนูบ (หลังจากอสุจิได้เคลื่อนออกมาแล้วยังไม่ได้อาบน้ำตามศาสนบัญญัติ)

 

7.ต้องมีอายุถึงวัยบาลิฆ (บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ)

 

8. ต้องเป็นผู้ศรัทธา (มุอ์มิน)

 

สิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสีย

 

หมายถึง ผู้ถือศีลอดคนใดคนหนึ่งได้กระทำในสิ่งดังต่อไปนี้ถือว่า ศีลอดของเขาเสียทันที และจะต้องถือศีลอดชดเชยภายหลังจากเดือนรอมะฎอนได้ผ่านพ้นไปแล้ว

สิ่งที่ทำให้ศีลอดเสียมี 10 ประการดังต่อไปนี้

 

1-2. ตั้งใจกินและดื่ม ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม

 

3.การร่วมประเวณี ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

 

4. เจตนากล่าวเท็จที่พาดพิงไปยังอัลลอฮฺ (ซบ.) ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) บรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) รวมไปถึงท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) และบรรดาศาสดาทั้งหลาย เช่น กล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า..ซึ่งไม่มีอยู่ในอัล-กุรอาน..หรือกล่าวว่า ท่านศาสดา หรือบรรดาอิมามมะอฺซูมสั่งให้ทำ...ซึ่งไม่มีอยู่จริงและไม่มีหลักฐานยืนยันคำพูดนั้น

 

5. ตั้งใจดำน้ำโดยให้ศีรษะทั้งหมดอยู่ใต้น้ำ

 

6.ตั้งใจให้ฝุ่นละออง หรือควัน หรือไอน้ำที่มีจำนวนมากเข้าไปในลำคอ

 

7. ตั้งใจคงสภาพการมีญูนุบ (หมายถึงภายหลังจากได้ร่วมหลับนอนกับภรรยา หรือหลังจากที่อสุจิได้เคลื่อนออกมาแล้วยังไม่ได้อาบน้ำตามศาสนบัญญัติ) หรือแม้แต่จะไม่ตั้งใจคงสภาพดังกล่าวแต่เป็นเพราะหลงลืมถือว่าศีลอดเสียและต้องถือศีลอดชดเชยภายหลัง

 

8. การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง (อิสติมนาอ์) อันเป็นสาเหตุให้อสุจิเคลื่อนออกมา และการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองของหญิง

 

9. การสวนทวารด้วยของเหลวทุกชนิด

 

10. การตั้งใจอาเจียน

 

บทบัญญัติสิ่งทีเป็นเหตุทำให้ศีลอดบาฏิล

 

1-2. กินและดื่ม

 

1. ผู้ถือศีลอด ถ้าตั้งใจกินบางสิ่งบางอย่างหรือดื่ม ศีลอดบาฏิล

 

2.ถ้าตั้งใจกลืนเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันลงไป ศีลอดบาฏิล

 

3. การกลืนน้ำลายในปาก ศีลอดไม่บาฏิล ไม่ว่าจะมากเพียงใด

 

3.ขณะถือศีลอด ได้ลืม (ไม่รู้ว่ากำลังถือศีลอด) กินบางอย่างหรือดื่ม ศีลอดไม่บาฏิล

 

4.ผู้ที่ถือศีลอดไม่สามารถกินหรือดื่มได้ เพราะความอ่อนเพลีย แต่ถ้ามีความอ่อนเพลียมากเกินปกติทั่วไป และไม่สามารถอดทน อนุญาตให้กินและดื่มได้ ไม่เป็นไร แต่ศีลอดบาฏิล

 

5.การฉีดยา ถ้าไม่ได้แทนที่อาหาร ศีลอดไม่บาฏิล ถึงแม้ว่าจะทำให้อวัยวะบางส่วนชาหมดความรู้สึกก็ตาม

 

3. ทำให้ฝุ่นละอองเข้าไปในลำคอ

 

1. ผู้ที่ถือศีลอด ถ้าตั้งในทำให้ฝุ่นละอองเข้าไปในลำคอ ศีลอดบาฏิล ไม่ว่าฝุ่นละอองนั้นจะเป็นอาหาร เช่น แป้ง หรือ ไม่ใช่อาหาร เช่น ฝุ่นดิน

 

2. แต่บางกรณีศีลอดจะไม่บาฏิล เช่น

 

- ฝุ่นละอองไม่หนาจนเกินไป

 

- ฝุ่นละออง เข้าไปไม่ถึงลำคอ (เข้าไปแค่ช่องปาก)

 

- ถูกบังคับ ทำให้ฝุ่นละอองเข้าไปในลำคอ

 

- ไม่รู้ว่ากำลังถือศีลอดอยู่ (ลืม)

 

- กรณีที่สงสัยว่า ฝุ่นละอองได้เข้าไปถึงลำคอหรือไม่

 

4. การดำน้ำ

 

1. ถ้าผู้ถือศีลอดตั้งใจดำน้ำโดยให้ศีรษะและอวัยวะทุกส่วนอยู่ใต้น้ำ ศีลอดบาฏิล

 

2. การดำน้ำบางกรณีศีลอดไม่บาฏิลได้แก่

 

- ลืมว่าถือศีลอดและได้ดำน้ำ

 

- ดำน้ำโดยศีรษะบางส่วนอยู่ใต้น้ำ

 

- ดำน้ำที่ละด้านของศีรษะ

 

- ถูกบังคับให้ดำน้ำ (หรือตกน้ำโดยไม่ได้ตั้งใจ)

 

- ถูกจับกดน้ำโดยผู้อื่น

 

- สงสัยว่าได้ดำศีรษะทั้งหมดลงในน้ำหรือไม่

 

5. การอาเจียน

 

1. ถ้าผู้ถือศีลอด ตั้งใจอาเจียน แม้จะเป็นเพราะไม่สบายก็ตาม ศีลอดบาฏิล

 

2.ถ้าผู้ถือศีลอด ไม่รู้ว่ากำลังถือศีลอด หรือถูกบังคับให้อาเจียน ศีลอดไม่บาฏิล

 

6. การอิซติมนาอฺ (สำเร็จความใคร่ ด้วยตัวเอง)

 

1. ถ้าผู้ถือศีลอด ทำอิซติมนาอฺ หมายถึงสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองจนมะนี (อสุจิ) เคลื่อนออกมา ศีลอดบาฏิล

 

2.ถ้าไม่ตั้งใจ และมะนีได้เคลื่อนออกมา เช่น นอนหลับและฝันจนกระทั่งมะนีได้เคลื่อนออกมา ศีลอดไม่บาฏิล

 

7. คงสภาพการมีญูนุบจนถึงอะซานซุบฮฺ

 

ถ้าบุคคลหนึ่งมีญูนุบจนถึงอะซานซุบฮฺ โดยไม่ฆุซลฺ หรือหน้าที่ต้องตะยัมมุมแต่ไม่ทำ บางกรณีศีลอดบาฏิล ซึ่งกรณีได้แก่

 

1. ผู้ที่ตั้งใจคงสภาพการมีญูนุบจนถึงอะซานซุบฮฺ หรือหน้าที่ต้องตะยัมมุม แต่ไม่ทำ

 

- ถ้าเป็นศีลอดเดือนรอมฎอน ศีลอดบาฏิล

 

- ถ้าเป็นศีลอดเกาะฏอเดือนรอมฎอน ศีลอดบาฏิล

 

- ถ้าเป็นศีลอดอื่น ๆ ถือว่าถูกต้อง

 

2. ถ้าลืมฆุซุลฺหรือตะยัมมุม หลังจากนั้นสองหรือสามวันนึกขึ้นได้

 

- ถ้าเป็นศีลอดเดือนรอมฎอน ต้องเกาะฎอทั้งหมด

 

- ถ้าเป็นศีลอดเกาะฎอเดือนรอมฎอน อิฮฺติยาฏวาญิบ ให้เกาะฎอทั้งหมด

 

-ถ้าเป็นศีลอดอื่นที่ไม่ใช่ศีลอดศีลอดเดือนรอมฎอน หรือศีลอดเกาะฎอเดือนรอมฎอน เช่น ศีลอดนะซัร หรือกัฟฟาเราะฮฺ ศีลอดถือว่าถูกต้อง

 

3. ถ้าผู้ถือศีลอดนอนหลับและฝันจนกระทั่งอสุจิได้เคลื่อนออกมา ไม่วาญิบต้องรีบฆุซุลฺในทันที ศีลอดถือว่าถูกต้อง

 

4.ถ้ามีญูนุบตอนกลางคืนเดือนรอมฎอน ซึ่งรู้ดีว่าจะไม่ตื่นฆุซุลฺก่อนอะซานซุบฮฺแน่นอน ดังนั้นจะต้องไม่นอน ถ้าหากนอนหลับและไม่ตื่น ศีลอดถือว่าบาฏิล (เสีย)

 

การกระทำที่มักรูฮฺสำหรับผู้ถือศีลอด

 

1. การกระทำทุกประเภทที่เป็นเหตุทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เช่น บริจาคเลือด

 

2. การสูดดมดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม (แต่การฉีดน้ำหอมไม่เป็นมักรูฮฺ)

 

3. การทำให้เสื้อผ้าที่สวมใส่อยู่เปียกชื้น

 

4.แปรงฟันด้วยไม้ที่มีเปียกชื้น

 

บางประเด็นเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้ศีลอดเสีย

 

1.ไม่อนุญาตให้กลืนเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟัน ถ้าหากกลืนลงไปเป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสีย

 

2. อนุญาตให้บ้วนปาก ล้างจมูก และชิมอาหารได้แต่จะต้องไม่ลงไปถึงลำคอ

 

3.อนุญาตให้กลืนน้ำลายที่ไม่มีเศษอาหาร หรือน้ำลายที่ยังไม่ได้กระทบกับสิ่งอื่นภายนอกปาก

 

4. อนุญาตให้ฉีดยา (ต้องไม่ใช่วิตตามิน หรือยาบำรุงที่ทำให้รู้สึกอิ่ม) ยอดยาที่ตาหรือหู

 

5. ถ้าลืมไปว่าถือศีลอด และเขาได้กินหรือดื่มถือว่าศีลอดไม่เสียแต่ถ้านึกได้เมื่อใดต้องคายอาหารและเครื่องดื่มนั้นทันที

 

6. ไม่อนุญาตให้หลับนอนกับภรรยาในเวลากลางคืน ถ้าหากรู้ว่ามีเวลาไม่พอสำหรับการทำฆุสลฺญินาบะฮฺหรือทำตะยัมมุม

 

7. ถ้าอสุจิได้เคลื่อนออกมา และไม่สามารถอาบน้ำญินาบะฮฺก่อนอะซานศุบฮฺได้ ดังนั้นเป็นวาญิบให้ทำตะยัมมุมแทนการอาบน้ำฆุสลฺ

 

8. กรณีที่หญิงหมดรอบเดือนหรือเลือดหลังการคลอดบุตรก่อนอะซานศุบฮฺ จำเป็นต้องรีบทำฆุซุลฺ ถ้าหากเธอปล่อยทิ้งไว้จนกระทั่งถึงเวลาอะซาน กฎของเธอเหมือนกับผู้ที่ตั้งใจคงสภาพญินาบะฮฺจนถึงอะซานศุบฮฺ ศีลอดของเธอเสียและต้องถือศีลอดชดเชยภายหลัง

 

9. ถ้าตั้งใจละศีลอดในตอนกลางวัน ถือว่าศีลอดเสียและเขาต้องถืออด (อิมซาก) ไปจนถึงช่วงพระอาทิตย์ตกดิน

 

บุคคลที่ศีลอดไม่เป็นวาญิบสำหรับเขา

 

บุคคลที่ศีลอดไม่เป็นวาญิบสำหรับเขา แต่ต้องมีการปฏิบัติอย่างอื่นเพื่อเป็นการชดเชย ได้แก่

 

1.ชายและหญิงชรา

 

ถ้าหากทั้งสองไม่สามารถถือศีลอดได้ เนื่องจากความยากลำบาก หรืออาจมีอันตรายต่อสุขภาพได้ ดังนั้น ให้ทั้งสองจ่ายศ่อดะเกาะฮฺทดแทนทุกวันที่ไม่ได้ถือศีลอด เป็นอาหารจำนวน 3 กิโลกรัม

 

2. หญิงที่มีรอบเดือนหรือเลือดหลังการคลอดบุตร

 

ให้เธอละศีลอดขณะที่เธอได้เห็นเลือด แม้ว่าจะก่อนอะซานมัฆริบเพียงเล็กน้อยก็ตาม และให้ถือศีลอดชดเชยภายหลังจากเดือนรอมฎอนตามจำนวนวันที่ได้ขาดไป

 

3.บุคคลที่มีความกระหายอย่างรุนแรง

หมายถึง บุคคลที่กระหายน้ำอย่างรุนแรง และการถือศีลอดเป็นความลำบากอย่างยิ่งสำหรับเขา หรืออาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น ให้เขาบริจาคอาหารจำนวน 3 กิโลกรัม และต้องถือศีลอดชดเชย ถ้าหากเขามีความสามารถในภายหลัง

 

4. หญิงตั้งครรภ์

 

การถือศีลอดอาจมีผลกระทบหรือเป็นอันตรายต่อทารกที่อยู่ในครรภ์หรือต่อตัวเธอเอง อนุญาตให้เธอไม่ต้องถือศีลอดได้ แต่ต้องชดเชยภายหลัง และต้องบริจาคอาหารจำนวน 3 กิโลกรัมทุกวันตามจำนวนวันที่ขาด

 

5.แม่ลูกอ่อนที่มีน้ำนมน้อย

 

ถ้าหากเธอเกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อทารก หรือต่อตัวเธออนุญาตให้เธอไม่ต้องถือศีลอดในช่วงนั้น แต่ต้องถือศีลอดชดเชยในภายหลังและต้องจ่ายอาหารจำนวน 3 กิโลกรัม

 

เงื่อนไขการเดินทางไกล

 

การเดินทางไกลที่เป็นสาเหตุให้ไม่อาจถือศีลอดได้นั้นมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

 

1.การเดินทางที่เป็นสาเหตุให้เขาต้องทำนมาซย่อ (นมาซที่มีสี่รอกะอัตให้ทำแค่สองรอกะอัต) ซึ่งเขาต้องถือศีลอดชดเชยภายหลังจากเดือนรอมฎอนได้ผ่านพ้นไป

 

2.ไม่อนุญาตให้ผู้เดินทางถือศีลอด เว้นเสียแต่ว่าเขาได้เดินทางหลังจากอะซานซุฮฺร์ซึ่งเขาต้องถือศีลอดต่อเนื่องไปตลอดไม่อนุญาตให้ละศีลอด

 

3. ถ้าเดินทางออกจากที่พักก่อนอะซานซุฮฺร์ถือว่าศีลอดเสีย

 

4. ถ้าตั้งใจจะออกเดินทางตั้งแต่ตอนกลางคืน กรณีนี้ต้องถือศีลอดชดเชยภายหลังเช่นกัน

 

5. ถ้ากลับถึงที่พักก่อนอะซานซุฮฺร์และยังไม่ได้กระทำในสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสีย ดังนั้น เป็นวาญิบเขาต้องถือศีลอดในวันนั้น

 

6.ถ้ากลับถึงที่พักหลังจากอะซานซุฮฺร์ ไม่ว่าเขาจะทำในสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสียหรือไม่ก็ตามถือว่าศีลอดของเขาเสียและต้องถืออด (อิมซาก) ไปจนถึงอะซานมัฆริบพร้อมทั้งต้องถือศีลอดชดเชยภายหลัง

 

7. ระยะทางของการเดินทางทั้งไปและกลับคือ 44 กิโลเมตร ดังนั้นถ้าเขาเดินทางไปถึงระยะทางดังกล่าวเขาต้องละศีลอด และต้องถือศีลอดชดเชยภายหลังจากนั้น แต่ต้องไม่ใช่การเดินทางไปเพื่อกระทำในความผิดบาป เช่น ทำซินา ลักขโมย การเดินทางเช่นนี้ต้องถือศีลอดชดเชยภายหลัง

 

8.บุคคลที่มีอาชีพเดินทางเช่นบุคคลที่สถานที่ทำงานอยู่คนละเมืองกับที่พักอาศัย หรือคนขับรถ ขับเครื่องบิน หรือครู-นักเรียน เขาต้องถือศีลอด

 

การชดเชยศีลอด

 

กรณีที่วาญิบเกาะฎอศีลอดอย่างเดียวไม่ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ ได้แก่

 

1. ตั้งใจอาเจียนขณะถือศีลอด

 

2. ลืมฆุซุลฺญินาบะฮฺเดือนรอมฎอน หรือถือศีลอดในสภาพมีญูนุบหลายวัน

 

3. เดือนรอมฎอนไม่ได้สอบถามว่าถึงเวลาซุบฮฺหรือยัง และได้ทำในสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดบาฏิล เช่น ดื่มน้ำ ต่อมารู้ว่าถึงเวลาซุบฮฺแล้ว

 

4. ถ้ามีผู้บอกกว่ายังไม่ถึงเวลาซุบฮฺ ผู้ถือศีลอดได้ทำสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดบาฏิล หลังจากนั้นรู้ว่าถึงเวลาแล้ว

 

5.ถ้าตั้งใจไม่ถือศีลอดเดือนรอมฎอนหรือตั้งใจทำให้ศีลอดบาฏิล วาญิบต้องเกาะฎอและจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ

 

บทบัญญัติการเกาะฎอและจ่ายกัฟฟาเราะฮ์

 

1.ไม่จำเป็นต้องรีบเกาะฎอศีลอดที่ขาดไปทันที แต่อิฮฺติยาฏวาญิบ ให้เกาะฎอก่อนที่จะถึงรอมฎอนปีหน้า

 

2. ถ้ามีศีลอดเกาะฎอเดือนรอมฎอนหลายเดือน จะเกาะฎอเดือนใดก่อนก็ได้ไม่เป็นไร แต่ถ้าเวลาเกาะฎอของเดือนสุดท้ายกระชั้นชิดเกินไป เช่น มีศีลอดเกาะฎอเดือนสุดท้ายอยู่ 10 วันและอีก 10 วันจะถึงเดือนรอมฎอน ดังนั้น ให้ถือศีลอดเกาะฎอเดือนสุดท้ายก่อน

 

3. ต้องไม่ปล่อยกัฟฟาเราะฮฺให้ล่าออกไปหรือเพิกเฉย แต่ไม่จำเป็นต้องรีบทำทันทีทันใด

 

4. ถ้าการกัฟฟาเราะฮฺ วาญิบสำหรับบุคคลหนึ่ง แต่เขาไม่ได้ทำและปล่อยเวลาให้ผ่านไปหลายปี ไม่มีสิ่งใดเพิ่มมากไปกว่านั้น

 

5. ถ้าไม่ได้ถือศีลอดเดือนรอมฎอน เพราะมีอุปสรรค์บางประการ เช่น เดินทางไกล หรือไม่สบาย เมื่อสิ้นเดือนรอมฎอนอุปสรรคก็หมดไปด้วย แต่ตั้งใจไม่เกาะฎอศีลอดจนกระทั่งถึงเดือนรอมฎอนปีหน้า ดังนั้น นอกจากต้องเกาะฎอแล้ว ต้องจ่ายอาหารแก่คนจนวันละ 1 มุดด้วย

 

6. ถ้าได้ทำให้ศีลอดบาฏิลโดยการกระทำที่ฮะรอม เช่น ทำอิซติมนาอฺ อิฮฺติยาฏวาญิบ ต้องจ่ายกะฟาเราะฮฺรวมทั้งสามประเภทกล่าวคือ ต้องปล่อยทาสหนึ่งคนให้เป็นอิสระ ถือศีลอดสองเดือนติดต่อกัน และต้องจ่ายอาหารแก่คนยากจน 60 คน แต่ถ้าไม่สามารถทำทั้งสามประเภทได้ ประเภทใดมีความสามารถต้องทำประเภทนั้น

 

7. ถ้าไม่ได้ถือศีลอดเดือนรอมฎอนเนื่องจากไม่สบาย และอาการป่วยได้ยาวนานจนถึงรอมฎอนปีหน้า การเกาะฎอศีลอดหมดไปจากเขาซึ่งวาญิบ ต้องจ่ายอาหารแก่คนจนวันละ 1 มุด

 

กรณีต่อไปนี้ไม่เป็นวาญิบต้องเกาะฎอและจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ

 

1. ก่อนเข้าสู่วัยบรรลุนิติภาวะตามศาสนาบัญญัติ ไม่ได้ถือศีลอด

 

2. ไม่ได้ถือศีลอดช่วงที่ยังเป็นกาฟิรกล่าว คือ ถ้าหากกาฟิรได้เป็นมุสลิมไม่วาญิบต้องเกาะฎอศีลอดช่วงที่ผ่านมา

 

3. บุคคลที่ไม่สามารถถือศีลอดเพราะความแก่ชรา และหลังจากเดือนรอมฎอนได้ผ่านพ้นไปก็ไม่สามารถถือศีลอดได้อีก และถ้าการถือศีลอดเป็นเรื่องยากลำบาก ดังนั้น ให้จ่ายอาหารแก่คนยากจนทุกวัน ๆ ละ 1 มุด

 

การถือศีลอดชดเชยของบุคคลดังต่อไปนี้ถือเป็นวาญิบ

 

1. บุคคลที่ได้ละศีลอดในเดือนรอมฎอน เนื่องจากป่วย หรือเดินทางไกล

 

2.บุคคลที่ถูกบังคับให้ละศีลอดในเดือนรอมฎอน หรือมีเหตุจำเป็นต้องละศีลอด

 

3. สตรีมีรอบเดือนขณะถือศีลอดในเดือนรอมฎอน

 

4.  มีเจตนาที่จะทำให้ศีลอดเดือนรอมฎอนเสีย แต่ยังไม่ได้กระทำถือว่าศีลอดเสียและต้องถือศีลอดชดเชย

 

5. ผู้ที่รับประทานอาหารจนถึงอะซานศุบฮฺในเดือนรอมฎอนโดยไม่ได้คำนึงถึงเวลา

 

6. เขาได้ทำการละศีลอดตามคำบอกกล่าวของคนอื่น ต่อมารู้ว่ายังไม่ถึงเวลาละศีลอด ดังนั้นเขาต้องถือศีลอดชดเชยภายหลัง

 

7. ถ้ามีคนบอกว่าถึงเวลาอะซานศุบฮฺแล้ว แต่เขาคิดว่าพูดเล่นและได้กระทำในสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสีย ต่อมารู้ว่าเป็นเวลาอะซานศุบฮฺจริง ดังนั้น เขาต้องถือศีลอดชดเชยภายหลัง

 

8.  เขาได้ละศีลอดด้วยกับความมั่นใจว่าถึงเวลาแล้ว เนื่องจากอากาศมืดครึ้ม แต่ต่อมารู้ว่ายังไม่ถึงเวลาละศีลอด ดังนั้น เขาต้องถือศีลอดชดเชยภายหลัง

 

9. ถ้าได้บ้วนปากหรือใช้น้ำเพื่อความสดชื่นและอื่น ๆ และน้ำได้ไหลลงคอโดยไม่ได้เจตนา ดังนั้น เป็นวาญิบต้องถือศีลอดชดเชยภายหลัง

 

10. ผู้ที่ได้ฝันโดยมีอสุจิเคลื่อนออกมา แล้วได้ตื่นขึ้นหลังจากนั้นได้นอนหลับไปอีกโดยตั้งใจว่าจะทำฆุสลฺหลังจากตื่นนอนอีกครั้ง แต่เขาได้นอนหลับจนกระทั่งนมาซศุบฮฺได้ผ่านพ้นไป ดังนั้น เป็นวาญิบต้องถือศีลอดชดเชยภายหลัง

 

11. ถ้าลืมอาบน้ำฆุซุลฺญินาบะฮฺเป็นเวลาหลายวันติดต่อกัน เป็นวาญิบต้องถือศีลอดชดเชยเท่าจำนวนวันที่ผ่านมา

 

12.ถ้ามีเจตนาว่าจะละศีลอด หรือไม่แน่ใจว่าจะถือศีลอดต่อไปหรือไม่ แต่ยังไม่ได้ทำสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสียถือว่าศีลอดไม่ถูกต้อง เป็นวาญิบต้องถือศีลอดชดเชยภายหลัง

 

13.สำหรับเด็ก คนวิกลจริต คนหมดสติ และการฟิรฺโดยกำเนิด ไม่จำเป็นต้องถือศีลอดชดเชยที่เขาไม่ได้ถือในช่วงนั้น

 

14.สำหรับผู้ที่มึนเมาในขณะถือศีลอด ต้องถือศีลอดชดเชยในภายหลัง

 

15. สำหรับคนป่วยที่อาการป่วยของเขาไม่ได้ต่อเนื่องจนถึงเดือนรอมฎอนปีต่อมา เป็นวาญิบต้องถือศีลอดชดเชย

 

การจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ

 

กัฟฟาเราะฮฺ หมายถึงอะไร การกระทำที่เปรียบเสมือนการไถ่โทษต่อสิ่งที่เขาได้กระทำขัดแย้งกับบทบัญญัติทางศาสนา

 

วิธีการจ่ายกัฟฟาเราะฮฺมีสามวิธีดังนี้

 

1.ปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระ 1 คน

 

2. ถือศีลอดอย่างต่อเนื่องทุกวันเป็นเวลา 2 เดือนติดต่อกัน

 

3.บริจาคอาหารแก่คนยากจนจำนวน 60 คน

 

สำหรับการจ่ายกัฟฟาเราะฮฺนั้นสามารถเลือกจ่ายหนึ่งในสามได้ขึ้นอยู่กับความผิดที่ผู้นั้นได้กระทำ แต่ในบางครั้งจำเป็นต้องจ่ายรวมทั้งสามอย่าง

 

1. ถ้าหากมีเจตนากระทำในสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสีย เป็นวาญิบต้องจ่ายหนึ่งกัฟฟาเราะฮฺพร้อมกับถือศีลอดชดเชย

 

2.ถ้าหากในค่ำคืนเดือนรอมฎอนได้หลับนอนกับภรรยา หรืออสุจิได้เคลื่อนออกมาเนื่องจากฝันและตั้งใจไม่ทำฆุซุลฺก่อนอะซานศุบฮฺ หรือคิดว่าจะตื่นนอนก่อนอะซานศุบฮฺแต่ตั้งใจไม่ทำฆุซุลฺ หรือไม่แน่ใจว่าจะทำฆุซุลฺหรือไม่ แล้วในที่สุดเขาไม่ได้ทำฆุซุลฺหลังจากตื่นนอน ดังนั้น เป็นวาญิบต้องจ่ายหนึ่งกัฟฟาเราะฮฺพร้อมกับถือศีลอดชดเชย

 

กรณีที่ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺรวม

 

ถ้าบุคคลใดบังคับภรรยาให้ละศีลอดด้วยการร่วมประเวณี โดยที่ภรรยาไม่ได้ยินยอม ดังนั้น เขาต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺรวมทั้งของตนเองและของภรรยาพร้อมกับถูกเฆี่ยนอีก 25 ที

 

กรณีที่ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺรวมทั้ง 3 อย่าง

 

ถ้าเจตนาละศีลอดเดือนรอมะฎอน ด้วยการกระทำสิ่งที่เป็นหะรอมเช่น ทำซินา หรือดื่มสุราทั้งที่กำลังถือศีลอดอยู่ ดังนั้นเป็นวาญิบต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺรวมทั้งสามอย่างและต้องถือศีลอดชดเชยด้วย

 

ศีลอดเกาะฎอของบิดาและมารดา

 

หลังจากบิดาได้เสียชีวิต* เป็นหน้าที่ของบุตรชายคนโตต้องเกาะฎอนะมาซและศีลอดของบิดาที่ได้ขาดไป และอิฮฺติยาฏมุสตะฮับให้เกาะฎอถือศีลอดและนะมาซของมารดาด้วย

 

หมายเหตุ *อายะตุลลอฮฺ ซัยยิดอะลี คอเมเนอี หมายถึง ทั้งบิดาและมารดาได้เสียชีวิต

 

ศีลอดของผู้เดินทางไกล

 

ผู้เดินทางที่ต้องลดจำนวนนะมาซ 4 เราะกะอัตให้เหลือ 2 เราะกะอัต ขณะเดินทางต้องไม่ถือศีลอดแต่ต้องเกาะฎอภายหลัง ส่วนผู้เดินทางที่ต้องนะมาซเต็ม เช่น ผู้ที่มีอาชีพเดินทาง ต้องถือศีลอดระหว่างการเดินทางด้วย

 

เงื่อนไขศีลอดเดินทาง

 

ขณะเดินทาง

 

1. ถ้าออกเดินทางก่อนนมาซซุฮรฺ เมื่อไปถึงเขตตะรัคคุซ(เขตพื้นที่นั้นจะต้องนมาซย่อ) ศีลอดบาฏิล และถ้าก่อนไปถึงเขตได้ทำสิ่งที่เป็นสาเหตุให้สิ่งบาฏิล อิฮฺติยาฏวาญิบ ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺด้วย

 

2. ถ้าออกเดินทาง หลังซุฮรฺ ศีลอดถูกต้อง และต้องไม่ใช้เงื่อนไขการเดินทางทำให้ศีลอดบาฏิล

 

กลับจากการเดินทาง

 

1. กลับมาถึงก่อนอะซานนมาซซุฮรฺ หมายถึง กลับถึงภูมิลำเนาของตนหรือสถานที่ซึ่งตั้งใจพำนักอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 10 วัน

 

- ถ้ายังไม่ได้กระทำสิ่งที่เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล ต้องถือศีลอดในวันนั้น ศีลอดถูกต้อง

 

- ถ้าได้ทำให้ศีลอดบาฏิลก่อนแล้ว ศีลอดวันนั้นไม่วาญิบ แต่ต้องเกาะฎอภายหลัง

 

2. หลังซุฮรฺ ถือว่าศีลอดบาฏิล และต้องเกาะฎอภายหลัง

 

หมายเหตุ การเดินทางในเดือนรอมฎอนไม่เป็นไร แต่เพื่อหนีการถือศีลอดมักรูฮฺ

 

ซะกาตฟิฏเราะฮฺ

 

หลังจากเดือนรอมฎอนอันจำเริญได้ผ่านพ้นไป หมายถึงวันอีดฟิฏรฺจำเป็นต้องบริจาคทรัพย์สินส่วนตัวเล็กน้อยในฐานะ ซะกาตฟิฏเราะฮฺ แก่คนยากจน

 

จำนวนซะกาตฟิฏเราะฮฺ

 

สำหรับตัวเองและผู้ที่อยู่อยู่ใต้ปกครอง เช่น ภรรยา หรือบุตรเป็นต้น คนละ 3 กิโลกรัม

 

ประเภทของซะกาตฟิฏเราะฮฺ

 

ประเภทของซะกาตฟิฏรฺ เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ อินทผลัม องุ่นแห้ง ข้าวสาร ข้าวโพดและอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน หรือใช้สตางค์จ่ายแทนสิ่งหนึ่งสิ่งใดเหล่านี้ ถือว่าเพียงพอ

 

แหล่งอ้างอิง

 

 

1.ตะฮฺรีรุลวะซีละฮฺ อิมามโคมัยนี

2.เตาฎีฮุลมะซาอิล อิมามโคมัยนี

3.อัลอุรวะตุลวุซกอ ซัยยิดกาซิม ยัซดี

 

ขอขอบคุณเว็บไซต์อัชชีอะฮ์

 

 

 


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

จากมักกะฮ์สู่มะดีนะฮ์ ...
นบีมุฮัมมัด พระเมตตาของพระเจ้&
ความไว้วางใจ และ ...
เรื่องเล่าในกุรอาน ตอนที่ 1
ค่ำคืนแห่งความมุ่งหวัง ...
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือศีลอด
...
...
ฮิดายะฮ์ (การชี้นำ)ในอัลกุรอาน
เตาฮีด (เอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า)

 
user comment