ไทยแลนด์
Wednesday 6th of November 2024
0
نفر 0

การตักลีดในทัศนะอิสลาม

การตักลีดในทัศนะอิสลาม

การตักลีดในอุศูลุดดีนหรือหลักศรัทธา

เป็นที่รู้จักกันดีว่า การตักลีด(ยึดถือปฏิบัติตามผู้อื่น) ในอุศูลุดดีนหรือหลักศรัทธานั้น ไม่เป็นที่อนุญาตและเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

อุศูลุดดีน(รากฐานศาสนา) และ อุศูลุลมัศฮับ(หลักความศรัทธาในนิกาย) คือประมวลหลักศรัทธา อันได้แก่

เตาฮีด (หลักเอกภาพในพระผู้เป็นเจ้า) อัดล์ (หลักความยุติธรรมในพระผู้เป็นเจ้า) นุบูวะฮ์ (หลักความเป็นเว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลามศาสดาของบรรดาศาสนทูตแห่งพระเจ้า) อิมามะฮ์ (หลักความเป็นผู้นำหลังจากศาสดาองค์สุดท้าย) และมะอาด (หลักความเชื่อในวันแห่งการฟื้นคืนชีพหรือวันกิยามะฮ์) ทั้งหมดนั้นคือ รากฐานและโครงสร้างที่สำคัญของศาสนาอิสลาม

ด้วยเหตุนี้ ในทุกยุคทุกสมัยนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รูปแบบความเชื่อต่างๆ มากมาย ได้ปรากฏให้เห็นในหมู่มนุษยชาติทั้งหลาย กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ แต่ละกลุ่มชนต่างเรียกร้องเชิญชวนมนุษยชาติไปสู่รูปแบบการศรัทธาและความเชื่อถืออันเป็นเฉพาะ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เอง จึงเป็นสิ่งจำเป็นเหนือมนุษย์ทุกคนที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับหลักการต่างๆในการศรัทธาและเชื่อถือของตนเอง เพื่อจะได้สามารถปกป้องหลักการศรัทธาของตนเองจากการโฆษณาชวนเชื่อที่ผิดๆของผู้ที่มีเจตนาร้าย และเพื่อให้ยืนหยัดอยู่บนหลักการแห่งการเชื่อถือของตนเองได้อย่างมั่นคง โดยสรุปคือเ ขาจะไม่ถูกชักจูงไปสู่ทิศทางต่างๆ ในทุกๆวัน

แท้ที่จริงแล้ว คำกล่าวที่ว่า แต่ละบุคคลจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับหลักศรัทธาและความเชื่อถือของตนเอง จากเหตุผลและข้อพิสูจน์ต่างๆ นั้นมิได้หมายความว่า เขาจะต้องทุ่มเทเวลาในชีวิตของเขาเป็นเวลาหลายปี สำหรับการศึกษาวิชาการต่างๆ ทางด้านศาสนา และอ่านหนังสือในเชิงพิสูจน์ หรือในแนวปรัชญาเป็นจำนวนมาก  แต่เป็นการเพียงพอแล้วที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับหลักการศรัทธาของตน โดยอาศัยเหตุผลอย่างง่ายๆ  แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นเหตุผลที่มีความหนักแน่นและก่อให้เกิดความมั่นใจอย่างแท้จริง ดังเช่นเรื่องเล่าที่รู้จักกันดี ซึ่งหญิงชราผู้หนึ่งถูกถามในขณะที่นางกำลังง่วนอยู่กับการปั่นกรอด้ายว่า
“ท่านมีหลักฐานอันใด สำหรับการพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้า"
ทันทีหญิงชราผู้นั้นก็ละมือของนางจากกงล้อที่ใช้ปั่นด้าย และเมื่อกงล้อหยุดนิ่งจากการหมุน นางก็ได้กล่าวขึ้นว่า

“ในเมื่อกงล้อเล็กๆ นี้ยังไม่อาจที่จะหมุนต่อไปได้ โดยปราศจากผู้ที่หมุนมัน ดังนั้นเราจะสามารถกล่าวได้อย่างไรว่า โลกและจักรวาลที่มีความยิ่งใหญ่ ซึ่งกำลังเคลื่อนตัวและหมุนอยู่นี้ มันหมุนได้เองโดยปราศจากผู้หมุนและผู้บริหารมัน หรือว่ามันจะหมุนต่อไปโดยปราศจากผู้กระทำการหมุน”

การตักลีด เป็นที่อนุญาตเฉพาะในเรื่องของฟูรูอุดดีน (ศาสนปฏิบัติ)

เมื่อมนุษย์รู้จักกับการศรัทธาต่างๆ ของตนเอง ด้วยเหตุผลและข้อพิสูจน์ที่ชัดแจ้งแล้ว ในเรื่องที่เกี่ยวกับฟุรูอุดดีน ตัวอย่างเช่น ประเด็นที่เกี่ยวกับการนมาซ การถือศีลอด การประกอบพิธีฮัจญ์ การติดต่อสัมพันธ์กันในระหว่างเพื่อนมนุษย์ และอื่นๆ นั้น มนุษย์สามารถที่จะตักลีดตามมุจญ์ตะฮิด ญามิอุชชะรออิฏ ผู้ซึ่งชำนาญเป็นพิเศษในสาขาวิชาฟิกฮ์ (หลักนิติศาสตร์อิสลาม) และในการอิสตินบาฏ (การนำเอาข้อบัญญัติต่างๆ ของพระผู้เป็นเจ้าออกมาจากหลักฐานและตัวบททั้งหลาย)
 จุดประสงค์ของคำว่า “ตักลีด” นั้นก็คือ การย้อนกลับไปยังผู้มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ หมายความในทำนองเดียวกันที่ว่าในทุกๆ กิจการงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ซึ่งมนุษย์ไม่มีความรู้เพียงพอในกิจการนั้นๆ เขาจะต้องไปขอคำปรึกษาหารือ และขอความช่วยเหลือจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ตัวอย่างเช่น เมื่อใดก็ตามที่เขาป่วยไข้ เขาก็ย่อมจะต้องไปหาแพทย์ หรือถ้าเขาปรารถนาที่จะสร้างบ้านสักหลังหนึ่ง เขาก็ต้องไปหาวิศวกรและช่างก่อสร้าง ในทำนองเดียวกันนี้เองสำหรับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับฟุรูอุดดีน และข้อบัญญัติต่างๆ ของพระผู้เป็นเจ้า ถ้าหากตัวเขาไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ หมายถึงเขาไม่ใช่มุจญ์ตะฮิด จำเป็นที่เขาจะต้องย้อนกลับไปหามุจญ์ตะฮิด ญามิอุชชะรออิฏ เพื่อขอคำปรึกษาหารือจากท่าน และเขาจะยึดถือเอาทัศนะและการจำแนกแยกแยะของท่านเกี่ยวกับบทบัญญัติต่างๆทางศาสนา โดยนำมันมาเป็นรูปแบบแห่งการปฏิบัติในการดำเนินชีวิตของตนเอง

 


อธิบายคำศัพท์

อุศูลุดดีน  คือบรรดาหลักการศรัทธาต่างๆของศาสนา ซึ่งอาจถูกนำมาใช้ได้ 2 ความหมายได้แก่

1.ความหมายโดยทั่วไป

มักใช้ตรงข้ามกับคำว่า ฟุรูอุดดีน (ศาสนปฏิบัติ) อันเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติต่างๆ และความหมายโดยทั่วไปของคำว่า อุศูลุดดีน นี้จะครอบคลุมบรรดาหลักการศรัทธาทั้งหมด

2.ความหมายเฉพาะ

จะจำกัดอยู่แต่เพียงหลักการศรัทธาที่สำคัญที่สุด ซึ่งบรรดาศาสนาที่ถูกประทานลงมาจากพระผู้เป็นเจ้านั้น จะมีส่วนร่วมกันในหลักการศรัทธาดังกล่าว อันได้แก่หลักการศรัทธา 3 ประการคือ เตาฮีด นุบูวะฮ์ และมะอาด

อุศูลุลมัซฮับ คือบรรดาหลักการศรัทธาของแต่ละนิกายทางศาสนา ตัวอย่างเช่น อัดล์และอิมามะฮ์ ซึ่งจะถูกรวมเข้ากับหลักการศรัทธา 3 ประการดังกล่าว โดยทั่วไปแล้ว อุศูลุลมัซฮับ นั้น จะเป็นผลพวงมาจากความขัดแย้งทางความเชื่อในระหว่างมัซฮับ แต่ละมัซฮับจะกำหนดอุศูลุลมัซฮับของตนเองขึ้นมา เพื่อที่จะจำแนกตนเองออกจากแนวทางอื่นๆ ถ้าหากเราจะพิจารณาให้ดีแล้ว อุศูลุลมัซฮับ ก็คือ อุศูลุดดีน ตามความหมายทั่วๆไป

มุจญ์ตะฮิด คือ นักวิชาการศาสนาชั้นสูง ผู้สามารถวินิจฉัย หรือวิจัยบทบัญญัติทางศาสนา
มุจญ์ตะฮิด ญามิอุชชะรออิฏ คือมุจญตะฮิด ผู้ซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขทั้งมวล ซึ่งประชาชนสามารถกระทำการยึดถือปฏิบัติตาม(ตักลีด) ได้

อิสตินบาฏ การดึงหรือการนำเอาข้อบัญญัติต่างๆ ของพระผู้เป็นเจ้าออกมาจากหลักฐานและตัวบททั้งหลาย อันได้แก่ คัมภีร์อัล กุรอาน และ วจนะ (ฮะดีษ) ต่างๆของท่านศาสดามุฮัมมัด ตลอดจนบรรดาทายาทผู้บริสุทธิ์ (มะอ์ซูม) ของท่าน

โดย เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ขอขอบคุณเว็บไซต์ซอฮิบซะมาน

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
...
ซุฟยานี ศัตรูหมายเลข 1 ...
วันที่ 25 ซุลฮิจญะฮ์ : วันประทานบท ...
อัลกุรอาน ...
เปิดรายชื่อ 7 ชาติ ...
ผิดด้วยหรือที่เราหลั่งน้ำตา
ผู้ป่วยแห่งกัรบะลาอฺ (ตอนที่5)
วจนะท่านผู้นำสูงสุด ...
ชัมซุดดีน มุฮัมมัด ฮาฟิซ

 
user comment