ไทยแลนด์
Sunday 24th of November 2024
0
نفر 0

อัคบารีย์ คือใคร ตอนที่ 2

อัคบารีย์ คือใคร ตอนที่ 2

อัคบารีย์ คือใคร ตอนที่ 2

 


โดย เชคอับดุลญะวาด สว่างวรรณ

 

ทำไมพวกอัคบารีย์จึงปฏิเสธแนวคิดของพวกอุซูลีย์


มุฮัดดิษ อะมีนุดดีน อัลอิสติรอบาดีย์(มรณะ ฮ.ศ. 1033) เขาคือ ผู้ก่อตั้งแนวคิดอัคบารีย์ยุคใหม่ เขาได้ให้เหตุผลของเขาว่า ขอยึดริวายะฮ์ต่างๆเป็นหลักเท่านั้นและขอปฏิเสธเรื่องอิจญ์ติฮาด โดยเขาอ้างว่า


ปวงปราชญ์สายอัคบารีย์ของพวกเราในอดีตเช่น อิบนุบาบะวัยฮ์(บิดาของเชคศอดูก)และเชคศอดูก และษิเกาะตุลอิสลามเชคกุลัยนีย์ เขาได้กล่าวอย่างชัดเจนถึงเรื่องนี้ไว้ในบทนำของหนังสืออัลกาฟีย์ ตามที่เชคกุลัยนีย์ได้กล่าวมันไว้ใน บาบ(บทว่าด้วยเรื่องการ)ตักลีด, บาบ อัลเราะอ์ยุ(การใช้ความคิด) และบทว่าด้วยเรื่องการให้ยึดสิ่งที่มีรายงานบันทึกไว้ในหนังสืออัลกาฟีย์ ซึ่งนั่นคือ ข้อความที่ชัดเจนที่บ่งบอกว่า การอิจญ์ติฮาด(ในเรื่องฟิกฮ์)คือสิ่งที่ฮะร่ามต้องห้าม รวมทั้งเรื่องการตักลีดฟิกฮ์กับมุจญ์ตะฮิดด้วย และเป็นวายิบที่จะต้องยึดถือรายงานฮะดีษของอะฮ์ลุลบัยต์นบีที่บันทึกอยู่ในตำราฮะดีษทั้งสี่ (คือ อัลกาฟีย์,มันลายะฎุรุฮุลฟะกีฮ์,อัลอิสติบซ็อรและอัตตะฮ์ซีบ) เป็นหลักในการปฏิบัติ ตามที่อะฮ์ลุลบัยต์(อ)ได้สั่งไว้


นักปราชญ์ชีอะฮ์ส่วนหนึ่งได้ออกมาปฏิเสธว่า


เชคมุฮัมมัดทั้งสามคือ เชคกุลัยนีย์ เชคศอดูกและเชคตูซีย์(เจ้าของกุตุบอัรบะอะฮ์) ไม่ได้เป็นพวกอัคบารีย์ตามความหมายที่มุฮัดดิษ อัลอิสติรอบาดีย์ได้ให้นิยามเอาไว้
แนวคิดของอัคบารีย์ตามที่อัลอิสติรอบาดีย์ได้ให้ความหมายไว้คือ


“ผู้ที่เพียงพอต่อการถ่ายทอดตัวบทฮะดีษต่างๆ” และจำกัดอยู่ในการตัดสินเรื่องราวต่างๆไว้บนเนื้อหาของตัวบทฮะดีษที่รายงานไว้ เขาจะฟัตวาไปตามตัวบทฮะดีษต่างๆ โดยไม่มีการวิเคราะห์เนื้อหาของตัวบท


อุละมาอ์ชีอะฮ์ส่วนหนึ่งอธิบายว่า เหตุที่เป็นเช่นนั้น ก็ต้องย้อนกลับไปที่พวกอัคบารีย์ยุคใหม่ไม่ได้รับความสมบูรณ์ในเงื่อนไขต่างๆทางการอิจญ์ติฮาดในตัวของพวกอัคบารีย์ยุคก่อนเอง หรือเป็นเพราะพวกเขามีชีวิตอยู่ในสมัยของบรรดาอิม่าม พวกเขาจึงสามารถรับเอาหลักการปฏิบัติต่างๆทั้งหมดจากตัวบทได้โดยตรงและมีชัดเจน นั่นคือจากบรรดาอิม่าม(อ) ดังนั้นการอิจญ์ติฮาดจึงไม่จำเป็นอะไรสำหรับพวกเขา


อัสอิสติรอบาดีย์ จึงให้นิยาม อัคบารีย์ ว่าคือ


الَفَقِيْهُ الْمُسْتَنْبِطُ لِلْأَحْكاَمِ الشَّرْعِيَّةِ مِنَ الْكِتاَبِ وَالسُّنَّةِ
 

นักปราชญ์ฟิกฮ์ คือผู้ที่ทำการวิเคราะห์บทบัญญัติทางศาสนาจากกิตาบและซุนนะฮ์


แต่เชค อันซอรีย์ มัรญิอ์ชีอะฮ์ยุคหลังได้กล่าวว่า


สิ่งที่ทำให้ฉันแปลกใจในแง่ที่ตั้งชื่อคนกลุ่มนี้ว่า อัคบารีย์ ซึ่งมันคือหนึ่งในสองประการ


หนึ่ง–คนกลุ่มนี้ คือบรรดาผู้รู้เรื่องฮะดีษชนิดต่างๆทั้งหมด นั่นคือฮะดีษที่ ซอฮิฮ์ , ฮาซัน, มุวัซซักและดออีฟ โดยไม่มีการจำแนกความแตกต่างด้านสถานะของมันในการนำมาใช้ ซึ่งตรงกันข้ามกับบรรดามุจญ์ตะฮิด ที่จะวิเคราะห์สถานะฮะดีษก่อนนำมาใช้


สอง-หลักในการอิสตินบ๊าฏฮุก่มนั้นได้มาจาก((กิตาบ,ซุนนะฮ์,อักล์,อิจญ์มาอ์))แต่พวกอัคบารีย์ได้ปฏิเสธสามหลักฐานคือกิตาบ,อักล์,อิจญ์มาอ์ โดยพวกอัคบารีย์เจาะจงใช้หลักฐานเพียงอย่างเดียวคือ อัคบาร(ฮะดีษหรือซุนนะฮ์) ด้วยสาเหตุนี้พวกเขาจึงถูกเรียกว่า พวกอัคบารีย์


อัลอิสติรอบาดีย์ ได้ชี้แจงว่า พวกอัคบารีย์นั้นมิได้ปฏิเสธหลักฐานอัลกุรอาน และเขาถือว่ามันคือ หลักฐานแรกของการประมวลบทบัญญัติศาสนา แต่พวกเขาจะรับหลักฐานอัลกุรอานจากอะฮ์ลุลบัยต์(อ)อีกทอดหนึ่ง เพราะอะฮ์ลุลบัยต์ย่อมรู้เรื่องกุรอ่านดีกว่าผู้อื่น เนื่องจากโองการกุรอ่านนั้นมีรายงานไว้ทั้งที่เป็นนัยยะคลุมเครือและชัดเจน ไม่มีผู้ใดมีความรู้คลอบคลุมกุรอ่านทุกด้าน ดังนั้นเพื่อความสมบูรณ์จึงต้องย้อนกลับไปหาอะฮ์ลุลบัยต์ อนึ่งอะฮ์ลุลบัยต์นั้นคือ ผู้ที่มีความสามารถที่จะปฏิบัติภารกิจสำคัญนี้ได้ เพราะพวกเขาคือสิ่งหนักประการหนึ่ง ส่วนคัมภีร์กุรอานก็คือสิ่งหนักอีกประการหนึ่ง

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ประวัติย่อของอิมามมุฮัมมัด ...
คุณสมบัติของอัล-กุรอาน
สานสัมพันธ์กับอิมามซะมาน
...
...
...
...
อิมามญะอฺฟัรกับวิทยาศาสตร์
ผู้ป่วยแห่งกัรบาลาอฺ (ตอนที่2)
อิมามริฎอ คือ ผู้ค้ำประกันกวาง

 
user comment