ไทยแลนด์
Sunday 24th of November 2024
0
نفر 0

สี่สิบฮะดีษจากอิมามริฎอ ตอนที่หนึ่ง

1- قَالَ الرِّضَا (علیه السلام) فِی حَدِیثٍ: مَنْ لَمْ یقْدِرْ عَلَی مَا یکفِّرُ بِهِ ذُنُوبَهُ فَلْیکثِرْ مِنَ الصَّلاةِ عَلَی مُحَمَّدٍ وَ آلِ مُحَمَّدٍ فَإِنَّهَا تَهْدِمُ الذُّنُوبَ هَدْماً»؛ 1.ผู้ใดที่ไม่สามารถจ่ายกัฟฟาเราะฮ์ในความผิดบาปของเขา ดังนั้นเขาก็จงกล่าวศอลาวาตแด่มุฮัมมัด และวงศ์วานของมุฮัมมัด เพราะว่า แท้จริงการกล่าวศอลาวาต จะทำให้ความผิดบาปต่างๆสูญสลายจนหมดสิ้น
สี่สิบฮะดีษจากอิมามริฎอ ตอนที่หนึ่ง


 1- قَالَ الرِّضَا (علیه السلام) فِی حَدِیثٍ:

مَنْ لَمْ یقْدِرْ عَلَی مَا یکفِّرُ بِهِ ذُنُوبَهُ فَلْیکثِرْ مِنَ الصَّلاةِ عَلَی مُحَمَّدٍ وَ آلِ مُحَمَّدٍ فَإِنَّهَا تَهْدِمُ الذُّنُوبَ هَدْماً»؛


1.ผู้ใดที่ไม่สามารถจ่ายกัฟฟาเราะฮ์ในความผิดบาปของเขา ดังนั้นเขาก็จงกล่าวศอลาวาตแด่มุฮัมมัด และวงศ์วานของมุฮัมมัด เพราะว่า แท้จริงการกล่าวศอลาวาต จะทำให้ความผิดบาปต่างๆสูญสลายจนหมดสิ้น

 

 2- امام رضا (علیه السلام): من لقی فقیرا مسلما فسلم خلاف سلامه على الأغنیاء لقی الله عز وجل یوم القیامة وهو علیه غضبان؛


2.ผู้ใดก็ตามที่ได้พบกับฟะกีร(คนยากจน)และได้กล่าวให้สลาม(ทักทาย)แก่เขาซึ่งการให้สลามนั้นมีความแตกต่างกับการให้สลามแก่คนร่ำรวย เขาจะพบกับอัลลอฮ์ในวันกิยามะฮ์ ขณะที่พระองค์ทรงกริ้วโกรธต่อเขา

 

 3- عن أبی الصلت الهروی قال: سألت الرضا (علیه السلام) عن الایمان فقال: «اَلاِيمانُ عَقدٌ بِالقَلبِ وَ لَفظٌ بِاللِّسانِ وَ عَمَلٌ بِالجَوارحِ لايَكوُنُ الاِيمانُ اِلّا هَكَذا».


3.รายงานจาก อะบีซ็อล อัลฮะราวี กล่าวว่า ฉันได้ถามท่านอิมามริฎอ(อ) เกี่ยวกับ อีหม่าน (ความศรัทธา) ท่านอิมามริฎอได้ตอบว่า อีหม่าน( ความศรัทธา) คือ พันธสัญญาที่เกิดขึ้นในหัวใจ และคำพูดด้วยกับลิ้น และการกระทำด้วยอวัยวะภายนอก และความศรัทธาจะไม่เกิดขึ้นนอกจากสิ่งเหล่านี้เท่านั้น


 
 4- امام رضا (علیه السلام): مَن زارَني عَلی بُعدِ دارِي، أتَیتُهُ یَومَ القیامَةِ في ثَلاثِ مَواطِنَ حَتّی أُخَلِّصُهُ مِن أهْوالِها:

۱-إذا تَطایَرَتِ الکُتُبُ یَمیناً وشِمالاً،

۲-وعِندَ الصِّراطِ،

۳- وعِندَ المیزانِ.


4.ผู้ใดก็ตามที่เยี่ยมเยียนฉัน ขณะที่ฉันอยู่ห่างจากบ้าน(สถานที่เกิด)ของฉัน ฉันจะมาพบเขาใน สามสถานที่ ดังนี้
1.เมื่อขณะที่(เขาถูกคิด)บัญชีอะมั้ล การกระทำด้วยมือขวา และมือซ้าย
2.เมื่อขณะที่(เขา)เดินผ่านซิรอต( สะพาน)
3.เมื่อขณะที่(เขา)ถูกคิดบัญชีด้วยกับตราชั่ง (มีซาน)

 

5- امام رضا (علیه السلام) فرمود: لا یجتمع المال الا بخصال خمس:
ببخل شدید، و أمل طویل، و حرص غالب  و قطیعة الرحم  و ایثار الدنیا علی الاخرة.

 

5.ทรัพย์สินจะไม่ถูกเก็บรวม นอกจากจะมีคุณสมบัติ 5 ประการดังนี้
1.ด้วยการมีความตระหนี่อย่างมาก
2.การมีความหวังที่ยาวไกล
3.การมีความโลภมาก
4.การตัดขาดญาติสนิท
5.การเสียสละโลกนี้ด้วยกับโลกหน้า(อาคิเราะฮ์)

 

6- قال (ع): مِن عَلَاماتِ الفِقهِ الحِلمُ وَ العِلمُ و الصَّمتُ. إنَّ الصَّمتَ بَابٌ مِن أبوابِ الحِکمَةِ إنَّ الصَّمتَ یَکسِبُ المَحَبَّةَ و إنَّهُ دَلیلٌ عَلَی کُلِّ خَیر؛

 

6.สัญลักษณ์ของฟิกฮ์(ความเข้าใจ) คือ การมีความอดทน ,การมีความรู้ และการนิ่งเงียบ เพราะว่า แท้จริง การนิ่งเงียบ เป็นประตูหนึ่งแห่งวิทยปัญญา และเป็นบ่อเกิดแห่งความรัก และเป็นทางนำเหนือทุกความดีงาม

 

 7- قال: إنّ الله عز و جل امر بثلاثة مقرون بها ثلاثة اخری:

أمر بالصلاة و الزکاة، فمن صلی و لم یزک لم تقبل منه صلاته،

و أمر بالشکر له و للوالدین، فمن لم یشکر والدیه لم یشکر الله،

و أمر باتقاء الله و صِلَةِ الرحم، فمن لم یَصِل رَحِمَهُ لم یتق الله عز و جل.

 

7.ท่านอิมามริฎอ (อ)ได้กล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮ์ทรงบัญชาสิ่งสามให้อยู่คู่กัน
อัลลอฮ์ (ซ.บ)ทรงสั่งให้การนมาซคู่กับการบริจาคทาน(ซะกาต) ดังนั้น ผู้ใดก็ตามที่ทำนมาซแต่ไม่จ่ายซะกาต การนมาซของเขาจะไม่เป็นที่ยอมรับ
และอัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงสั่งให้ทำการขอบคุณพระองค์คู่กับการขอบคุณบุพการีทั้งสอง แล้วผู้ใดก็ตามที่ไม่ขอบคุณต่อบิดาและมารดาของเขา เขาก็จะไม่รู้จักการขอบคุณต่อพระองค์
และอัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงสั่งให้มีความเกรงกลัว(ตักวา)ต่อพระองค์ คู่กับการมีความสัมพันธ์กับญาติสนิท แล้วผู้ใดก็ตามที่ตัดขาดญาติสนิท เขาก็จะไม่มีความหวาดกลัวต่อพระองค์

 

 8- قال علیه السلام: لا یكون المؤمن مؤمناً حتی تكون فیه ثلاث خصال ، سنة من ربه ، و سنة من نبیه ، و سنة من ولیّه. فأمّا السنة من ربه فكتمان سرّه، و أما السنة من نبیه فمداراة الناس، و اما السنة من ولیه فالصبر فی البأساء و الضرّاء.

 

8.ผู้ศรัทธาจะยังไม่เป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง จนกว่าเขาจะมี สามคุณประการ ดังนี้
1.ซุนนะฮ์(จริยวัตร) แห่งพระผู้เป็นเจ้า 2.และจริยวัตรจากศาสนทูตของพระองค์ 3.และจริยวัตรจากวะลี(ผู้นำ)ของพระองค์
จริยวัตรของพระองค์ คือ การปกปิดความลับ และจริยวัตรของศาสนทูต คือ การไม่เอารัดเอาเปรียบมนุษย์ด้วยกัน และสุดท้ายคือ จริยวัตรของผู้นำ คือการมีความอดทนในอุปสรรคและความยากลำบาก

 

 

 9- قال: الصغائر من الذنوب طرق الي الکبائر و من لم يخف الله في القليل لم يخفه في الکثير و لو لم يخوّف الله الناس بجنّة و نار لکان الواجب علیهم أن يطيعوه و لا يعصوه لتفضّله عليهم و احسانه إليهم و ما بَدَأهم به من إنعامه الذي ما استحقّوه؛

 

9.การทำความผิดสักเล็กน้อยเป็นบ่อเกิดแห่งความผิดบาปอันใหญ่หลวง และผู้ใดก็ตามที่ไม่มีความหวาดกลัวต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ)ในบาปเล็ก เขาก็จะไม่กลัวพระองค์ในบาปใหญ่ และหากว่าพระองค์ไม่ประทานรางวัลด้วยสวรรค์และลงโทษด้วยนรก ก็จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามพระองค์ และไม่ฝ่าฝืนพระองค์ ด้วยกับความโปรดปรานแห่งพระองค์ และความดีของพระองค์ และพระองค์ทรงประทานเนี้ยะมัต( ความโปรดปราน)ทั้งหลายในขณะที่เขานั้นไม่มีความเหมาะสมที่จะได้รับมัน


 10- قال علیه السلام:
«لا يَتِمُّ عَقْلُ امْرِء مُسْلِم حَتّى تَكُونَ فيهِ عَشْرُ خِصال: أَلْخَيْرُ مِنْهُ مَأمُولٌ. وَ الشَّرُّ مِنْهُ مَأْمُونٌ. يَسْتَكْثِرُ قَليلَ الْخَيْرِ مِنْ غَيْرِهِ، وَ يَسْتَقِلُّ كَثيرَ الْخَيْرِ مِنْ نَفْسِهِ. لا يَسْأَمُ مِنْ طَلَبِ الْحَوائِجِ إِلَيْهِ، وَ لا يَمَلُّ مِنْ طَلَبِ الْعِلْمِ طُولَ دَهْرِهِ. أَلْفَقْرُ فِى اللّهِ أَحَبُّ إِلَيْهِ مِنَ الْغِنى. وَ الذُّلُّ فىِ اللّهِ أَحَبُّ إِلَيْهِ مِنَ الْعِزِّ فى عَدُوِّهِ. وَ الْخُمُولُ أَشْهى إِلَيْهِ مِنَ الشُّهْرَةِ. ثُمَّ قالَ(عليه السلام): أَلْعاشِرَةُ وَ مَا الْعاشِرَةُ؟ قيلَ لَهُ: ما هِىَ؟ قالَ(عليه السلام): لا يَرى أَحَدًا إِلاّ قالَ: هُوَ خَيْرٌ مِنّى وَ أَتْقى».

 

10.สติปัญญาของมนุษย์จะไม่สมบูรณ์จนกว่า จะมีคุณลักษณะ 10 ประการ ดังนี้
1.ความดีจากเขา นั่นคือ ความหวัง 2.ความชั่วจากเขา นั่นคือ ความปลอดภัย 3.ทำให้ความดีของผู้อื่นที่มีน้อยนิดนั้นมีมากสำหรับเขา 4.และความดีของเขาที่มีมาก ก็จงคิดว่ามันมีน้อยสำหรับเขา 5.อย่าได้หยุดนิ่งจากการวิงวอนขอต่อพระองค์ 6.จงอย่าเหน็ดเหนื่อยจาการศึกษาหาความรู้ 7.ความต้องการ(การขัดสน)ในหนทางแห่งอัลลอฮ์ นั่นเป็นที่รักมากกว่าการร่ำรวย 8. การต่ำต้อย ณ พระองค์ มีเกียรติมากว่า การร่วมอยู่กับศัตรูของพระองค์ 9.การไร้นาม ดีกว่าการมีชื่อเสียง หลังจากนั้น
ท่านอิมาม (อ) กล่าวขึ้นอีกว่า คุณลักษณะที่สิบ อะไรเล่าคือคุณลักษณะที่สิบ ? และมีผู้ถามว่า อะไรคือ คุณลักษณะที่สิบ? ท่านอิมามได้ตอบว่าอย่าเห็นผู้ใด นอกจากกล่าวว่า เขานั้นดีกว่าฉัน และมีตักวามากกว่า.


ขอขอบคุณเว็บไซต์ทีวีชีอะฮ์


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ความพอเพียงในอิสลาม
อิมามมุฮัมมัด บากิร (อ) ...
ฮะดีษนี้น่าเชื่อถือหรือไม่? : ...
ศาสดาและวงศ์วานผู้ทรงเกียรติ
ถ้าหากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ...
สถานภาพสตรีในอิสลาม
วันอีดกุรบาน ...
ยะกีนมีกี่ระดับ?
การปฏิบัติตามหน้าที่ในกัรบะลา ...
...

 
user comment