ไทยแลนด์
Wednesday 6th of November 2024
0
نفر 0

อย่าผูกหัวใจไว้กับโลกอันไม่จีรังยั่งยืนนี้



อย่าผูกหัวใจไว้กับโลกอันไม่จีรังยั่งยืนนี้


ในภาพสะท้อนที่ชัดเจนที่สุดของตักวา (ความยำเกรงและความสำรวมตนต่อพระผู้เป็นเจ้า) คือการที่มนุษย์จะไม่ผูกหัวใจของตนไว้กับโลกอันไม่จีรังยั่งยืนและหลอกลวงนี้ ด้วยเหตุผลดังกล่านี้เองส่วนหนึ่งจากคำแนะนำสั่งเสียครั้งสุดท้ายของท่านอิมามอะลี (อ.) ก่อนการเป็นชะฮีด (เสียชีวิต) ที่มีต่อบุตรชายทั้งสองของท่านคือท่านอิมามฮะซัน มุจญ์ตะบา (อ.) และท่านอิมามฮุเซน (อ.) ท่านได้กล่าวว่า

 

اوصیكما بتقوى الله و ان لا تبغیا الدنیا و ان بغتكما، و لا تأسفا على شىء منها زوى عنكما

    

"พ่อขอสั่งเสียเจ้าทั้งสองให้มีความยำเกรง (ตักวา) ต่ออัลลอฮ์ และจงอย่ามุ่งแสวงหาโลกนี้ แม้ว่าโลกนี้จะเรียกหาเจ้าทั้งสองก็ตาม และจงอย่าเศร้าเสียใจต่อสิ่งใดจากโลกนี้ (อันไม่จีรังยั่งยืน) ที่มันแยกตัวไปจากเจ้าทั้งสอง” (1)

 

     ในทำนองเดียวกับที่ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กำชับสั่งเสียไว้อย่างมากมายเกี่ยวกับเรื่องของตักวา (ความยำเกรงและความสำรวมตนต่อพระผู้เป็นเจ้า) ในระดับเดียวกันนี้ท่านได้กำชับสั่งเสียและตักเตือนไว้อย่างมากมายและชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องของการผูกหัวใจไว้กับโลกนี้ ในวจนะอีกบทหนึ่งท่านกล่าวว่า

 

فَلاَ تَنَافَسُوا فِي عِزِّ الدُّنْيَا وَ فَخْرِهَا، وَ لاَ تَعْجَبُوا بِزِينَتِهَا وَ نَعِيمِهَا، وَ لاَ تَجْزَعُوا مِنْ ضَرَّائِهَا وَ بُؤْسِهَا، فَإِنَّ عِزَّهَا وَ فَخْرَهَا إِلَى انْقِطَاع، وَ إِنَّ زِينَتَهَا وَ نَعِيمَهَا إِلَى زَوَال، وَ ضَرَّاءَهَا وَ بُؤْسَهَا إِلَى نَفَاد، وَ كُلُّ مُدَّة فِيهَا إِلَى انْتِهَاء، وَ كُلُّ حَيٍّ فِيهَا إِلَى فَنَاء

 

   “ดังนั้นพวกท่านทั้งหลายอย่าได้แข็งขันกันในเกียรติยศและความภาคภูมิใจของโลกนี้ และอย่าได้พิศวงต่อความสวยงามและปัจจัยอำนวยสุขต่างๆ ของมัน และอย่าได้เศร้าเสียใจต่อความทุกข์ยากและความคับแค้นของมัน เพราะแท้จริงเกียรติยศของดุนยาและความภาคภูมิใจของมันนั้นย่อมสิ้นสุดลง ความสวยงามและปัจจัยอำนวยสุขต่างๆ ของมันย่อมสิ้นสลายลง ความทุกข์ยากและความคับแค้นของมันย่อมหมดไป และช่วงเวลาทั้งหลายของมันย่อมดำเนินไปสู่การสิ้นสุด และสิ่งมีชีวิตทั้งมวลย่อมดับสูญ” (2)

 

أَيُّهَا النَّاسُ إِنَّمَا الدُّنْيَا دَارُ مَجَاز وَ الآْخِرَةُ دَارُ قَرَار فَخُذُوا مِنْ مَمَرِّكُمْ لِمَقَرِّكُمْ وَ لَا تَهْتِكُوا أَسْتَارَكُمْ عِنْدَ مَنْ يَعْلَمُ أَسْرَارَكُمْ وَ أَخْرِجُوا مِنَ الدُّنْيَا قُلُوبَكُمْ مِنْ قَبْلِ أَنْ تَخْرُجَ مِنْهَا أَبْدَانُكُمْ فَفِيهَا اخْتُبِرْتُمْ وَ لِغَيْرِهَا خُلِقْتُمْ إِنَّ الْمَرْءَ إِذَا هَلَكَ قَالَ النَّاسُ مَا تَرَكَ وَ قَالَتِ الْمَلَائِكَةُ مَا قَدَّمَ لِلَّهِ آبَاؤُكُمْ فَقَدِّمُوا بَعْضاً يَكُنْ لَكُمْ وَ لَا تُخْلِفُوا كُلًّا فَيَكُونَ عَلَيْكُمْ

 

     “โอ้ประชาชนเอ๋ย! แท้จริงโลกนี้คือที่พำนักที่เป็นทางผ่านและปรโลกนั้นคือที่พำนักทีมั่นคงถาวร ดังนั้นท่านทั้งหลายจงสะสมเสบียงจากโลกอันเป็นทางผ่านนี้ของพวกท่านสำหรับที่พำนักอันมั่นคงถาวรของพวกท่าน และท่านทั้งหลายอย่าได้ทำลายเกียรติของพวกท่านเอง ณ (พระผู้เป็นเจ้า) ผู้ทรงรอบรู้ความลับที่ซ่อนเร้นทั้งหลายของพวกท่าน และจงทำให้หัวใจของพวกท่านออกไปจากโลกนี้ก่อนที่ร่างกายของพวกท่านจะออกไปจากมัน ดังนั้นในโลกนี้พวกท่านจะถูกทดสอบเพื่อโลกอื่นจากมัน (ปรโลก) ที่พวกท่านถูกสร้างขึ้นมา แท้จริงมนุษย์เมื่อตายลง ประชาชนจะถามว่า : เขาละทิ้ง (ทรัพย์สมบัติ) อะไรไว้บ้าง? แต่มวลมะลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) จะถามว่า : บิดามารดาของพวกท่านกระทำสิ่งใดนำเสนอล่วงหน้าไว้แด่พระผู้เป็นเจ้าบ้าง? ดังนั้นท่านทั้งหลายจงนำเสนอบางส่วน (จากทรัพย์สมบัติของตนแด่พระผู้เป็นเจ้า) เถิด มันจะเป็นคุณประโยชน์สำหรับพวกท่านเอง และท่านทั้งหลายอย่าได้ละทิ้งทั้งหมดไว้ (ในโลกนี้) เพราะมันจะเป็นโทษทัณฑ์แก่พวกท่านเอง” (3)    

 

     ในคำพูดหนึ่งที่ชัดเจนยิ่งของท่านอิมามอะลี (อ.) ในการอรรถาธิบายคำว่า “ความสมถะ” ซึ่งนั่นก็หมายถึงการตัดใจจากการยึดติดต่อวัตถุและโลกนี้ ด้วยกับการอ้างอิงโองการหนึ่งจากคัมภีร์อัลกุรอาน ท่านกล่าวคำพูดประโยคหนึ่งสั้นๆ ที่สวยงามยิ่ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วก็คือการอธิบายอีกรูปหนึ่งของประโยคแรกในคำแนะนำสั่งเสียข้างต้นของท่าน โดยที่ท่านได้กล่าวว่า

 

الزُّهْدُ كُلُّهُ بَيْنَ كَلِمَتَينِ مِنَ الْقُرْآنِ: قَالَ اللهُ سبحانه: ﴿لِكَيْلاَ تَأْسَوْا عَلَى مَا فَاتَكُمْ وَلاَ تَفْرَحُوا بِمَا آتَاكُمْ﴾، فَمَنْ لَمْ يَأْسَ عَلَى الْمَاضِي، وَلَمْ يَفْرَحْ بالْآتِي، فَقَدْ أَخَذَ الزُّهْدَ بِطَرَفَيْهِ

    

  “ความสมถะ (และการไม่ยึดติดกับโลกแห่งวัตถุ) ทั้งหมดนั้นอยู่ในคำพูดสองประโยคของคัมภีร์อัลกุรอานที่อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงตรัสว่า  “เพื่อพวกเจ้าจะได้ไม่ต้องเสียใจต่อสิ่งที่ได้สูญเสียไปจากพวกเจ้า และไม่ดีใจต่อสิ่งที่พระองค์ทรงประทานแก่พวกเจ้า” (อัลกุรอานบทอัลฮะดีด โองการที่ 23) ดังนั้นผู้ใดที่ไม่ท้อแท้เสียใจต่อ (สิ่งที่สูญเสียไปใน) อดีต และไม่รู้สึกปีติยินดีต่อสิ่งที่จะได้รับในอนาคต แน่นอนยิ่งเขามีความสมถะในทั้งสองด้านของมัน” (4)

 

เชิงอรรถ :

 

1 – นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ คำสั่งสียที่มีต่อท่านอิมามฮะซัน (อ.)

2 – นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ซุบฮี ซอและห์ คุฏบะฮ์ที่ 96

3 – นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ฟัยฎ์ อัลอิสลาม คุฏบะฮ์ที่ 194

4 – นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ซุบฮี ซอและห์ ฮิกมะฮ์ที่ 439

 

บทความโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ชีวประวัติของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...
ใครคือซัยนับ?
คัมภีร์ของศาสดาอิบรอฮีม (อ.)
ความเชื่อในมะฮ์ดี ...
คำว่า ฟิตนะฮ์ ในอัลกุรอาน
ทำไมต้องอ่าน ...
ลำดับเหตุการณ์อาชูรอ ณ ...
ท่านหญิงซัยนับ บินอะลี ...
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัลอัลอิคลาศ ...
อิมามที่สิบสอง การซ่อนเร้นกาย ...

 
user comment