ไทยแลนด์
Saturday 21st of December 2024
0
نفر 0

ฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ (อ.) ผู้นำสตรีแห่งโลกทั้งผอง

ฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ (อ.) ผู้นำสตรีแห่งโลกทั้งผอง

ฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ (อ.) ผู้นำสตรีแห่งโลกทั้งผอง

 

  ในอดีตประชาชาติต่างๆ มองสตรีเหมือนสัตว์เดรัจฉานหรือทรัพย์สินส่วนตัว ที่อยู่ในการครอบครองของบุรุษเพศ ชนชาติอาหรับในยุคที่ยังไร้อารยธรรมมองว่า สตรีเป็นสัญลักษณ์แห่งความอับยศ ดังนั้น อาหรับบางเผ่าถึงกับฝังลูกสาวของตนเองทั้งเป็นก็มี

 

      เมื่อแสงสว่างของอิสลามทอแสงประกายขึ้น ก็มีการส่งเสริมสิทธิสตรี และกำหนดสิทธิในด้านต่างๆ ของนางขึ้น เช่น สิทธิความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับบุรุษ ในฐานะมารดา ภรรยาและบุตร เราเคยรับฟังวจนะอันทรงเกียรติบทหนึ่งของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ซึ่งมีใจความว่า “สวรรค์อยู่ใต้ฝ่าเท้าของมารดา”

 

      และอีกบทหนึ่งมีใจความว่า “ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮ์ อยู่ที่ความพึงพอใจของบิดามารดา” และสตรีก็คือบุคคลในวจนะนั่นเอง

 

      อิสลามให้ฐานะความเป็นมนุษย์แก่สตรี อีกทั้งวางระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อปกป้องเกียรติยศของสตรี ฉะนั้น การคลุมฮิญาบ จึงมิได้เป็นคุกที่กักขังจิตวิญญาณของสตรี แต่เป็นสัญลักษณ์แห่งเกียรติยศ และศักดิ์ศรีต่างหาก

 

      เราจะพบว่าทรัพย์สินที่มีค่าทั้งหลาย ล้วนถูกเก็บรักษาไว้ในสถานที่ที่มั่นคง เพชรเม็ดงามต้องอยูในตัวเรีอนที่แข็งแรง แม้แต่ผลไม้ก็ยังถูกรักษาไว้ในชะลอม ฉะนั้น สำหรับสตรีมุสลิม อัลลอฮ์ ผู้ทรงมหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ จึงทรงกำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นมา เพื่อปกป้องคุ้มครองสตรี นั่นคือการคลุมฮิญาบ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการปกป้องรักษาเกียรติของนางเท่านั้น แต่ยังเพิ่มคุณค่าและความงามให้แก่นางอีกด้วย

 

      ส่วนชาวตะวันตก มักจะมองสตรีดังเช่น วัตถุชนิดหนึ่ง สำหรับเอาไว้โฆษณาธุรกิจและแสวงหากำไรทางวัตถุ สตรีกลายเป็นเพียงส่วนประกอบของงานที่ไม่มีความสำคัญใดๆ เช่น เป็นพริตตี้ โคโญตี้ เป็นตุ๊กตาบาร์บี้ เป็นต้น ทั้งๆ ที่บุคลิกภาพและเกียรติยศของสตรีคือความเป็นมนุษย์ ทัศนะการมองสตรีเชิงวัตถุเช่นนี้ ทำให้ความตกต่ำเกิดขึ้นกับสตรี

 

      สตรีในโลกตะวันตก จึงถูกเปลี่ยนสภาพให้เหลือแต่เรือนร่างที่เป็นมนุษย์ โดยไม่มีคุณค่าใดๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นในหมู่ของเหล่าดาราภาพยนตร์ นางแบบโฆษณาขายสินค้า หรือผู้ที่เข้าประกวดความงาม ต่างเหมือนกันทั้งหมด

 

      ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะรออ์ (อ.) ถือกำเนิดหลังจากที่บิดาของนางถูกแต่งตั้งเป็นศาสนทูต 5 ปี และหลังจากเหตุการณ์อัลอิสรออ์และมิอ์รอจ 3 ปี ญิบรออีลนำข่าวดีเกี่ยวกับการถือกำเนิดของนางมาแจ้งให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ทราบ นางถือกำเนิดที่นครมักกะฮ์ เมื่อวันศุกร์ที่ 20 เดือนญุมาดิลอาดิร

 

      ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ได้รับการเลี้ยงดูให้เจริญวัยในบรรยากาศแห่งกลิ่นอายของวะฮ์ยูและสภาวะการเป็นศาสดา ซึ่งอยู่ภายในบ้านที่เต็มไปด้วยพจนารถแห่งอัลลอฮ์ และโองการอัลกุรอานอันไพโรจน์

 

     วันหนึ่งท่านหญิงอาอิชะฮ์ถามท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ว่า เพราะเหตุใดท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงมีความรักต่อท่านหญิงฟาฏิมะฮ์มากเช่นนี้ เพราะท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะลุกขึ้นยืนต้อนรับท่านหญิงฟาติมะฮ์เสมอในยามที่นางเข้าพบท่าน และท่านจะจุมพิตศีรษะและมือของนางทุกครั้งอีกด้วย

 

     ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) จึงกล่าวตอบท่านหญิงอาอิชะฮ์ว่า “โอ้ อาอิชะฮ์ แน่นอนที่สุด ถ้าหากเธอรู้ในสิ่งที่ฉันรู้ เธอก็จะต้องรักนางเหมือนที่ฉันรัก ฟาฏิมะฮ์เป็นเลือดเนื้อก้อนหนึ่งของฉัน ผู้ใดที่ทำให้นางโกรธ แน่นอนเท่ากับเขาทำให้ฉันโกรธ และผู้ใดทำให้นางมีความพึงพอใจก็เท่ากับเขาทำให้ฉันพอใจ”

 

     บรรดามุสลิมต่างเคยรับทราบวจนะที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวไว้ว่า “การที่ฟาฏิมะฮ์ถูกขนานนามว่า “ฟาฏิมะฮ์” ก็เนื่องจากอัลลอฮ์ ผู้ทรงเกริกเกียรติผู้ทรงเกรียงไกร จะทรงปกป้องคุ้มกันบุคคลที่ให้ความรักแก่นาง รอดพ้นจากไฟนรก”

 

     ฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รออ์ มีลักษณะคล้ายคลึงกับศาสดา (ซ็อลฯ) ทั้งด้านบุคลิกและจริยธรรม ท่านหญิงอุมมุสะลามะฮ์ภรรยาของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวไว้ว่า “ฟาฏิมะฮ์ เป็นผู้ที่ละม้ายคล้ายคลึงกับท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มากที่สุด”

 

     ท่านหญิงอาอิชะอ์ก็กล่าวเช่นกันว่า “แท้จริงฟาฏิมะฮ์เป็นผู้ที่คล้ายกับท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มากที่สุด ทั้งในด้านการใช้คำพูดและการเจรจาพาที”

 

     ท่านทำหน้าที่ดูแลบิดาของท่านตั้งแต่มีอายุเพียง 6 ปี เพราะนับตั้งแต่มารดาของท่านคือท่านหญิงคอดีญะฮ์สตรีผู้ยิ่งใหญ่เสียชีวิตไปแล้ว ท่านทำหน้าที่เติมช่องว่างที่เกิดขึ้นให้แก่ครอบครัว เนื่องจากการสูญเสียมารดาของท่าน

 

     ท่านมีส่วนร่วมในการถูกทดสอบอย่างขมขื่นกับบิดาตั้งแต่อายุยังน้อย นั่นคือการเผชิญหน้ากับภัยอันตรายต่างๆ จากพวกตั้งภาคีในเมืองมักกะฮ์ ท่านทำหน้าที่รักษาบาดแผลของบิดา และชำระล้างสิ่งปฏิกูลต่างๆ ที่บรรดาคนโง่เขลาในหมู่ชาวกุเรชกระทำให้บิดาของท่านแปดเปื้อนและเจ็บปวด

 

     ท่านพูดปลอบโยนบิดาของท่านในยามทุกข์ เพื่อที่จะนำความสุขเข้าสู่จิตใจของบิดา ด้วยในขณะที่ตัวท่านเองกลับต้องสะอื้นไห้ด้วยความเจ็บปวดร้าวรานต่อสภาพการณ์ที่บิดาของท่านต้องเผชิญ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ขนานนามนางอีกฉายาหนึ่งว่า “ผู้เป็นมารดาแห่งบิดาของนาง”

 

      ทั้งนี้ก็เพราะท่านทุ่มเทความห่วงหาอาทรและความห่วงใยต่อบิดาของท่านนั่นเอง

 

      ฟาฏิมะฮ์ อัซซะรออ์คือบุตรีของศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ)

      ฟาฏิมะฮ์ อัซซะรออ์คือบุตรีของท่านหญิงคอดิยะฮ์ อัลกุบรอ

      ฟาฏิมะฮ์ อัซซะรออ์คือภรรยาของอิมามอะลี (อ.)

      ฟาฏิมะฮ์ อัซซะรออ์คือมารดาของฮาซัน ฮูเซนและซัยนับ

      ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์เปรียบเสมือนเทียนที่ถูกจุดเปลวไฟอยู่ แล้วมอดไปทีละน้อย จากนั้นแสงก็ค่อยๆ หรี่ลงตามลำดับ

 

      ท่านจึงไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นานหลังจากบิดาของนางอำลาจากโลกไปแล้ว และท่านไม่พึงปรารถนาที่จะมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ความเศร้าโศกจะเกิดขึ้นเสมอในทุกๆ โอกาสที่ท่านได้ยินเสียงอะซานประโยคที่ว่า “ฉันขอปฏิญาณว่ามุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์”

 

      เสมือนความเจ็บปวดรวดร้าวที่บิลาล อิบนิรอบา มุอัซซินของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มี่ เมื่อท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จากไป จนไม่อาจอะซานได้อีกเลย

 

      ท่านญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ ต้องการพบบิดาของท่าน ด้วยความถวิลอยู่ทุกวัน จนร่างกายซูบผอมลง มิอาจรับจิตวิญญาณของท่านที่ปรารถนาจะอำลาจากโลกไว้ได้ต่อไป

      ท่านอำลาจากโลกนี้ไป อำลาจากฮาซัน ในขณะที่มีอายุ 7 ปี ฮูเซนมีอายุ 6 ปี ชัยนับมีอายุ 5 ปีและอุมมุลกุลซุมมีอายุ 3 ปี

 

      ความทุกข์ระทมที่เกิดจากการที่ท่านอำลาจากโลกนี้ไปประสบแก่สามีของท่าน ซึ่งเป็นผู้ร่วมชีวิตกับบิดาของท่านในการต่อสู้เสียสละและเป็นผู้ร่วมชีวิตของท่านด้วย

      ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะรออ์หลับตาของท่านลงอย่างสนิท หลังจากสั่งเสียสามีในเรื่องเกี่ยวกับลูกที่ยังเป็นเด็กเล็กอยู่ ขณะเดียวกันก็สั่งเสียว่าให้ทำพิธีศพและฝังท่านอย่างลับที่สุด ไม่ให้คนภายนอกเข้ามาร่วมเด็ดขาด

 

      ฉะนั้น สุสานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รออ์ จึงเป็นควา ลับอยู่จนกถึงทุกวันนี้ เท่ากับท่านทำเครื่องหมายคำถามอันยิ่งใหญ่ไว้ในหน้าประวัติศาสตร์อิสลาม

 

      ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะรออ์ ยังคงตั้งคำถามไว้ในประวัติศาสตร์ อันหมายความว่า ท่านยังเรียกร้องสิทธิของท่านอยู่ และบรรดามุสลิมก็ยังคงไต่ถามเกี่ยวกับที่ตั้งของสุสานที่ไม่มีใครรู้จักอยู่ตลอดมา

 

      ท่านอิมามอะลี (อ.) นั่งลงข้างๆ สุสานของภรรยาอย่างผู้สิ้นหวัง ในขณะที่ความมืดปกคลุมเข้ามา พลางปลอบประโลมวิญญาณของท่านว่า :

      “ขอความสันติสุขพึงประสบแด่ท่านด้วยเถิด โอ้ ศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ เป็นสลามจากฉัน และจากบุตรสาวของท่านเอง ที่บัดนี้มาพำนักอยู่ใกล้เคียงกับท่านแล้ว โดยนางติดตามมาอยู่กับท่านอย่างรวดเร็วที่สุด โอ้ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ความอดทนของฉันมีน้อยเหลือเกิน สำหรับการจากไปของสุดที่รักของท่าน

 

       ประหนึ่งว่าเนื้อหนังของฉันฉีกขาดไปแล้ว... บุตรสาวของท่านคงจะบอกเล่าให้ท่านทราบถึงเรื่องราวของประชาชาติของท่าน ที่กระทำการละเมิดต่อนาง... ขอความสันติสุขจากดวงใจที่อำลาพึงประสบแด่ท่านทั้งสองด้วยเถิด”

      

บทความโดย : Fareed Denyingyoch

ขอขอบคุณเว็บไซต์อิสลามิคสทาดี้ยส์

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

พิธีฮัจญ์ของอิมามฮุเซน (อ) ณ ...
ที่พำนักนิรันดร์ สวรรค์และนรก
“ผู้ที่ประเสริฐที่สุด”
ชะฮีด” ...
...
“ความเมตตาของพระองค์”
...
การขัดเกลาจิตวิญญาณในอิสลาม ...
ค้นหาอิสรภาพในเดือนรอมฏอน
...

 
user comment