ไทยแลนด์
Sunday 24th of November 2024
0
نفر 0

ชัยฏอน คือ สื่อการทดสอบมนุษย์ของพระผู้เป็นเจ้า

ชัยฏอน คือ สื่อการทดสอบมนุษย์ของพระผู้เป็นเจ้า



ชัยฏอน คือ สื่อการทดสอบมนุษย์ของพระผู้เป็นเจ้า

 

มนุษย์ คือสิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐที่สุด ของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งโดยสัญชาตญาณทางธรรมชาติแล้ว เป็นผู้แสวงหาความสำเร็จ (ซะอาดะฮ์) และความสมบูรณ์ (กะมาลาต) ขั้นสูงสุดในชีวิต แต่ทว่าสิ่งที่สำคัญและเลวร้ายที่สุด ที่จะเป็นอุปสรรคกีดขวางไม่ให้มนุษย์บรรลุสู่ความสำเร็จ และความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ได้นั้น ก็คือการกระซิบกระซาบของมาร (ชัยฏอน) โดยที่มาร หรือชัยฎอนนี้ได้สาบานต่อพระผู้เป็นเจ้า หลังจากที่ถูกขับไล่ ออกจากสวนสวรรค์ว่า จะล่อ ลวงมนุษย์ ลูกหลานของอาดัม (อ.) ทั้งหมดให้หลงออกจากทางนำของพระองค์

 

قَالَ فَبِعِزَّتِكَ لَأُغْوِيَنَّهُمْ أَجْمَعِينَ إِلَّا عِبَادَكَ مِنْهُمُ الْمُخْلَصِينَ

 

มัน (อิบลีส) ได้กล่าวว่า ดังนั้นขอสาบานด้วยพระอำนาจของพระองค์ แน่นอนข้าพระองค์ จะล่อลวงพวกเขาทั้งหมดให้หลงทาง นอกจากปวงบ่าวของพระองค์ ในหมู่พวกเขาที่มีใจบริสุทธิ์เพียงเท่านั้น

 

(อัลกุรอาน บทซ๊อด โองการที่ 82 และ 83)

 

ดังนั้นมาร (ชัยฏอน) จะพยายามทุกวิธีการ ที่จะล่อ ลวง และกีดขวางมนุษย์จากความสำเร็จ (ซะอาดะฮ์) และความสมบูรณ์ (กะมาลาต) ทางด้านจิตวิญญาณ

 

ปัจจัยสำคัญ ที่จะช่วยให้มนุษย์ดำรงตนอยู่ในความดีงาม และย่างก้าวไปในเส้นทางของความสมบูรณ์ทางด้านจิตวิญญาณได้นั้น

 

คือ การอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า การรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า แต่เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์ออกห่างจากพระผู้เป็นเจ้า หลงลืมจากการรำลึกถึงพระองค์ ก็จะเป็นโอกาสของมาร (ชัยฏอน) ที่จะพิชิตเหนือพวกเขา ทำให้เขาหมกมุ่น และหลงระเริงอยู่กับวัตถุ และชีวิตทางโลก กระทั่งว่าบางครั้ง การกระทำที่ชั่วร้ายจะถูกประดับประดาแก่เขา ให้เห็นเป็นสิ่งที่สวยงาม

 

وَمَن يَعْشُ عَن ذِكْرِ الرَّحْمَٰنِ نُقَيِّضْ لَهُ شَيْطَانًا فَهُوَ لَهُ قَرِينٌ وَإِنَّهُمْ لَيَصُدُّونَهُمْ عَنِ السَّبِيلِ وَيَحْسَبُونَ أَنَّهُم مُّهْتَدُونَ

 

และผู้ใด หันหลังจากการรำลึก ถึงพระผู้ทรงเมตตา เราจะกำหนดชัยฏอน (มาร) ตัวหนึ่งแก่เขา แล้วมันก็จะเป็นสหายร่วมเคียงของเขา และแท้จริงพวกมันจะขัดขวางพวกเขาจากทางที่ถูกต้อง แต่พวกเขาคิดว่า พวกเขานั้น เป็นผู้ได้รับทางนำแล้ว

 

(อัลกุรอาน บท อัซซุครุฟ โองการที่ 36 และ 37)

 

لَقَدْ أَرْسَلْنا إِلى أُمَمٍ مِنْ قَبْلِكَ فَزَینَ لَهُمُ الشَّیطانُ أَعْمالَهُم

 

โดยแน่นอน เราได้ส่ง (บรรดาศาสนทูต) ไปยังประชาชาติต่างๆ ก่อนหน้าเจ้า แต่แล้วชัยฏอนได้ประดับประดา การงานของพวกเขาให้ดูสวยงาม

แก่พวกเขา

 

(อัลกุรอานบทอันนะห์ลุ โองการที่ 63)

 

บางคนอาจจะถามว่า ทำไมพระผู้เป็นเจ้า จึงทรงสร้างชัยฏอน (มาร) ขึ้นมา?

 

เราต้องเข้าใจฮิกมะฮ์ (วิทยปัญญา) หรือเป้าหมายประการหนึ่ง ของการที่พระผู้เป็นเจ้า ได้ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาในโลกนี้ มาใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้ นั่นคือการทดสอบ การขัดเกลาและการพัฒนาจิตวิญญาณ

 

الَّذِي خَلَقَ الْمَوْتَ وَالْحَيَاةَ لِيَبْلُوَكُمْ أَيُّكُمْ أَحْسَنُ عَمَلًا

 

(พระองค์คือ) ผู้ทรงสร้างความตาย และการมีชีวิตอยู่ เพื่อพระองค์จะทรงทดสอบพวกเจ้าว่าผู้ใดในหมู่พวกเจ้าที่มีการกระทำ (ผลงาน)ที่ดีงามยิ่ง

 

(อัลกุรอาน บทอัลมุลก์ โองการที่ 2)

 

ฉะนั้นเหตุผลประการหนึ่ง ของการมีอยู่ของมาร(ชัยฏอน) ก็คือเป็นสื่อหนึ่งในการทดสอบมนุษย์ เพื่อให้เขาทำการต่อสู้ ขัดเกลา และยกระดับจิตวิญญาณของคนเอง พระองค์มิได้ทรงทอดทิ้งมนุษย์ให้อยู่ในสนามแห่งการทดสอบนี้ โดยปราศจากอาวุธ

 

อาวุธที่พระผู้เป็นเจ้า มอบให้แก่มนุษย์สำหรับการต่อสู้ กับอุปสรรคและสิ่งกีดขวาง (อันได้แก่ การกระซิบกระซาบของมาร หรือกิเลสตัณหา และอารมณ์ใฝ่ต่ำ)

 

ในเส้นทางแห่งความสำเร็จ และการขัดเกลาตนนั้น คือ สติปัญญา (อักล์) และวิวรณ์จากฝากฟ้า (วะห์ยู) ที่ถูกนำมาแจ้ง และสั่งสอนแก่มนุษย์โดยปวงศาสดาและบรรดาอิมาม (ผู้นำ) แห่งพระผู้เป็นเจ้า ท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.) ได้กล่าวว่า

 

إِنَّ لِلَّهِ عَلَى النَّاسِ حُجَّتَيْنِ حُجَّةً ظَاهِرَةً وَ حُجَّةً بَاطِنَةً فَأَمَّا الظَّاهِرَةُ فَالرُّسُلُ

وَ الْأَنْبِيَاءُ وَ الْأَئِمَّةُ ع وَ أَمَّا الْبَاطِنَةُ فَالْعُقُول

 

"แท้จริงอัลลอฮ์ทรงมีข้อพิสูจน์ 2 ประการ สำหรับมนุษย์ คือข้อพิสูจน์ด้านนอกและข้อพิสูจน์ด้านใน (ของมนุษย์)

 

ข้อพิสูจน์ด้านนอกนั้น คือบรรดาศาสนทูต บรรดาศาสดา และบรรดาอิมาม (ผู้นำ) และข้อพิสูจน์ด้านในคือสติปัญญา

 

(อัลกาฟี เล่มที่ 1หน้าที่ 16)

 

บทความโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ถ้าหากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ...
สถานภาพสตรีในอิสลาม
วันอีดกุรบาน ...
ยะกีนมีกี่ระดับ?
การปฏิบัติตามหน้าที่ในกัรบะลา ...
...
อิคลาศ(ความบริสุทธิ์ใจ)ในอิสลาม
ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ...
...
ข้อเท็จจริง (ฮะกีกัต) ...

 
user comment