ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

ความสำรวมตนไปสู่เอกภาพในมุมมองอัลกุรอาน

ความสำรวมตนไปสู่เอกภาพในมุมมองอัลกุรอาน

ความสำรวมตนไปสู่เอกภาพในมุมมองอัลกุรอาน
เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

หนึ่งในหน้าที่หลักของบรรดาศาสดาที่ถูกประทานลงมาสั่งสอนมนุษย์ ก็เพื่อเชิญชวนมนุษย์ไปสู่ความยำเกรงต่อพระเจ้าและหลีกเลี่ยงออกจากอบายมุขทั้งปวง อัล-กุรอานหลายโองการกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวเอาไว้ เช่น โองการที่ 102 และ 103 ในบทอาลิอิมรอนกล่าวว่า

“โอ้ บรรดาศรัทธาเอ๋ย จงสำรวมตน ต่ออัลลอฮฺอย่างแท้จริง และจงอย่าตาย เว้นแต่สูเจ้าจะเป็นมุสลิม และสูเจ้าทั้งหลาย จงยึดมั่นสายเชือกของอัลลอฮฺโดยพร้อมเพรียงกัน จงอย่าแตกแยก และจงรำลึกถึงความโปรดปรานของอัลลอฮฺแก่สูเจ้า ขณะที่พวกเจ้าเป็นศัตรูกัน แล้วพระองค์ได้ทรงสมานระหว่างหัวใจของสูเจ้า  ด้วยความโปรดปรานของพระองค์ เพื่อให้สูเจ้าเป็นพี่น้องกันและสูเจ้าเคยอยู่บนปากหลุมแห่งไฟนรก แล้วพระองค์ได้ทรงช่วยสูเจ้าให้พ้นจากที่นั้น ในทำนองนั้น อัลลอฮฺ ได้ทรงทำให้โองการทั้งหลายของพระองค์ชัดแจ้งแก่สูเจ้าเพื่อบางที่สูเจ้าอาจจะได้รับทางนำ”

       สาเหตุที่โองการดังกล่าวประทานลงมา เนื่องจากว่าวันหนึ่งมีชาย 2 คน จากเผ่าอูซ และค็อซรัจญ์ ชื่อ ซะอ์บละบะฮ์ บุตรของ เฆาะนัม และอัซอัด บุตรของซุรรอเราะฮฺ ได้เผชิญหน้ากัน ต่างฝ่ายต่างชื่นชมและยกย่องเผ่าของตนหลังจากที่เข้ารับอิสลาม ซะอ์ละบะฮ์ กล่าวว่า คุซัยมะฮฺ บุตรของ ซาบิต (ซุลชะฮาดะตัยน์) และฮันเซาะละฮฺ (ฆุซีล อัลมลาอิกะฮฺ) ทั้งสองเป็นผู้ทีเกียรติยิ่งในอิสลาม ซึ่งมาจากเผ่าของเรา ทำนองเดียวกัน อาซิม บุตรของซาบิต ซะอด์ บุตรของ มะอาซ ก็มาจากเผ่าของเรา และอัซอัด บุตรของซุรรอเราะฮฺ กล่าวว่า 4 คนที่มาจากเผ่าของเราได้เรียนและสอนอัล-กุรอาน ได้แก่ อุบัย บุตรของ กะอับ มะอาซ บุตรของญะบัล ซัยด์ บุตรของ ซาบิต อบูซัยด์ และซะอด์ บุตรของ อิบาดะฮฺ ซึ่งเป็นหัวหน้ากล่าวเทศนาประจำเมืองมะดีนะฮฺ ก็มาจากเผ่าเรา การโต้เถียงกันเลยเถิดไปถึงการวิวาท ทำให้สองเผ่าเกือบจะจับอาวุธเข้าฟาดฟันกัน ไฟแห่งความโกรธกริ้วได้ลุกขึ้นอีกครั้ง ข่าวการวิวาทได้ล่วงเลยไปถึงศาสดา (ซ็อล ฯ) ท่านรีบเดินทางมาเพื่อปรับความเข้าใจในหมู่พวกเขา ยุติข้อขัดแย้งและเชิญชวนสู่ความเป็นเอกภาพ

โองการแรกเชิญชวนไปสู่ความสำรวมตนจากความชั่ว เพื่อเป็นปฐมบทของการเชิญชวนไปสู่ความเป็นเอกภาพ ซึ่งในความเป็นจริงการเชิญชวนไปสู่เอกภาพถ้าปราศจาก พื้นฐานอันมั่นคงที่มาจากจริยธรรม และความเชื่อแล้วสิ่งนั้นจะไม่มีผล ด้วยเหตุนี้ โองการจึงเชิญชวนไปสู่การสำรวมตน เพื่อลดปัจจัยสำคัญที่สร้างความแตกแยก ทั้งในเรื่องความศรัทธา และศีลธรรม ฉะนั้น โองการจึงกล่าวกับบุคคลที่มีศรัทธาโดยตรงว่า โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงสำรวมตน ต่ออัลลอฮฺอย่างแท้จริง

จุดประสงค์ของ การสำรวมตน อย่างแท้จริงหมายถึงอะไร บรรดานักอรรถาธิบายอัล-กุรอาน แสดงทัศนะที่แตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เป็นที่คลางแคลงใจ คือ สำรวมตนอย่างแท้จริงเป็นระดับสุดท้ายของผู้มีความยำเกรง เป็นการหลีกเลี่ยงจากทุกความผิด การล่วงละเมิด การหลงลืม และการหันเหออกจากสัจธรรมความจริง

 อิมามซอดิก  (อ.) อธิบายประโยคที่ว่า การสำรวมตนอย่างแท้จริง ว่าหมายถึง การเชื่อฟังปฏิบัติตามบัญชาของพระองค์ ต้องไม่กระทำความผิด รำลึกถึงพระองค์ตลอดเวลาทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ต้องไม่ลืมเลือนพระองค์ ต้องขอบคุณพระองค์ และต้องไม่เนรคุณความโปรดปรานของพระองค์

โองการแม้จะกล่าวกับเผ่า อูซ และค็อซรัจญ์โดยตรง แต่ขอบข่ายของโองการมิได้เฉพาะเจาะจงอยู่เพียงแค่นั้น จุดประสงค์ของโองการครอบคลุมมุสลิมทั้งหมดและกล่าวกับพวกเขาตลอดเวลาว่า จงระวังรักษาบั้นปลายสุดท้ายให้ดี อย่าให้บั้นปลายสุดท้ายของชีวิตต้องเผชิญกับความอับโชคและความเลวร้ายทั้งปวง ด้วยเหตุนี้ โองการจึงกล่าวว่า และจงอย่าตาย เว้นแต่สูเจ้าจะเป็นมุสลิม

ขอขอบคุณเว็บไซต์อัชชีอะฮ์

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ในประโยคคำปฏิญาณ (อัชฮะดุ อันลา ...
เตาฮีด (เอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า)
ชีอะฮ์และซุนนีปากีฯ ...
...
...
...
...
...
แบบอย่างแห่งการเสียสละ(อีษาร)
ความสมบูรณ์ของศาสนาอิสลาม

 
user comment