ไทยแลนด์
Sunday 24th of November 2024
0
نفر 0

วะเราะอ์ และระดับขั้นต่างๆ

 วะเราะอ์ และระดับขั้นต่างๆ

ท่านอิมามอลีเคยถามท่านนบีว่า "โอ้ ท่านร่อซูลุลลอฮ์ การปฏิบัติใดที่ประเสริฐสุดสำหรับเดือนนี้ (เดือนรอมฏอน) ?

ท่านนบีกล่าวตอบว่า "โอ้ บิดาของฮะซันเอ๋ย กิจที่ประเสริฐสุดในเดือนนี้คือ วะเราะอ์ (ความยำเกรงและหลีกเลี่ยง) จากสิ่งที่เป็นฮะรอม



วะเราะอ์และความยำเกรงนั้นมีหลายระดับขั้นด้วยกัน

วะเราะอ์ของตาอิบีน
ระดับแรก ซึ่งเป็นระดับล่างสุดและพื้นฐานที่สุดนั้นก็คือ วะเราะอ์ของผู้กลับใจเตาบะฮ์ ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงการทำบาป

และมีการสำนึกผิดในความผิดพลาดที่เคยกระทำไป และมุ่งหน้าสู่การภักดีต่อพระองค์อัลลอฮ์



วะเราะอ์ของศอลิฮีน
วะเราะอ์หรือความยำเกรงที่สูงขึ้นไปกว่านั้นก็คือ วะเราะอ์ของศอลิฮีน (ผู้บำเพ็ญตน) ซึ่งไม่เพียงแต่จะหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นฮะรอม

แต่พวกเขาหลีกเลี่ยงในสิ่งที่เคลือบแคลงสงสัยว่าอาจเป็นฮะรอมด้วย ท่านนบีเคยกล่าวไว้ว่า "จงละสิ่งที่ท่านเคลือบแคลงสงสัย และจงยึดในสิ่งที่พวกท่านไม่เคลือบแคลงสงสัยเถิด"

สิ่งที่เคลือบแคลงสงสัยว่าอาจเป็นฮะรอมนั้น อาจเป็นอาหารที่เราไม่แน่ใจว่าฮะลาลหรือไม่ คำพูดที่เราไม่มั่นใจว่าพูดได้หรือไม่

สิ่งเหล่านี้แม้ว่าในเชิงฟิกเกาะฮ์ (บทบัญญัติ) จะอนุโลมให้กระทำได้

แต่ตราบใดที่ยังเป็นที่เคลือบแคลงสงสัย ก็ควรงดเว้นเสีย และนี่คือวะเราะอ์หรือความยำเกรงในระดับของศอลิฮีนนั่นเอง.



วะเราะอ์ของมุตตะกีน
ระดับขั้นที่สูงไปกว่านั้นก็คือ วะเราะอ์หรือความยำเกรงของมุตตะกีน (ผู้ดำรงตักวา) พวกเขาไม่เพียงแต่ละเว้นสิ่งฮะรอมรวมถึงสิ่งที่เคลือบแคลงว่าฮะรอมหรือไม่

ทว่าพวกเขาละเว้นแม้สิ่งที่เป็นฮะลาลปกติที่อาจนำไปสู่ฮะลาลที่เคลือบแคลงสงสัยอีกด้วย

ยกตัวอย่างเช่น บางครั้งคนเราสนทนากันในเรื่องปกติ แต่เมื่อเริ่มรู้สึกว่าการสนทนานั้นอาจจะนำไปสู่จุดที่สงสัยว่าอาจเป็นการนินทาผู้อื่น ก็ควรจะหลีกเลี่ยงเสีย

หรือในกรณีของการค้าขายที่จะนำไปสู่รายได้ที่น่าสงสัย(ว่าอาจเป็นรายได้ที่ต้องห้าม) ก็ควรหลีกเลี่ยงเสียตั้งแต่แรก

สรุปคือ วะเราะอ์ระดับมุตตะกีนคือการหลีกเลี่ยงสิ่งฮะลาลที่อาจนำไปสู่ฮะลาลที่เคลือบแคลงนั่นเอง



วะเราะอ์ของศิดดีกีน
แต่ที่สูงไปกว่านั้นก็คือ วะเราะอ์หรือความยำเกรงในระดับของ ศิดดีกีน ซึ่งพวกเขาจะละเว้นทุกสิ่งทุกอย่างที่นอกเหนือจากพระประสงค์ของอัลลอฮ์ทั้งหมด

ฉะนั้น หากหัวใจของผู้ใดปฎิเสธทุกสิ่งที่นอกเหนือจากอัลลอฮ์ หัวใจนั้นก็คือ หัวใจของศิดดีกีน นั่นเอง

อัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ว่า "อัลลอฮ์มิได้กำหนดให้บุคคลใดมีสองหัวใจในทรวงของเขา"

หัวใจก็คือความละมุนละไมและชีวิตชีวา(ที่เป็นกรรมสิทธิ)ของพระองค์นั่นเอง ฉะนั้น ในคนๆเดียวกันจึงไม่อาจจะมีสองหัวใจได้

ครูบาอาจารย์ของพวกเราก็กำชับให้เราขอดุอาจากพระองค์ว่า "ขอทรงอย่าปล่อยให้มีสิ่งใดเข้าสู่หัวใจของเรานอกจากความรักที่มีต่อพระองค์เลย" (วะก็อลบี บิฮุบบิกะ มุตัยยะมา/ดุอากุเมล)




ถอดความจากคำบรรยายของอายะตุลลอฮ์ อัลอุซมา เชคอับดุลลอฮ์ ญะวาดี ออโมลี

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ความพอเพียงในอิสลาม
อิมามมุฮัมมัด บากิร (อ) ...
ฮะดีษนี้น่าเชื่อถือหรือไม่? : ...
ศาสดาและวงศ์วานผู้ทรงเกียรติ
ถ้าหากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ...
สถานภาพสตรีในอิสลาม
วันอีดกุรบาน ...
ยะกีนมีกี่ระดับ?
การปฏิบัติตามหน้าที่ในกัรบะลา ...
...

 
user comment