คุณค่าของสลาม
وَ إِذَا حُيِّيتُم بِتَحِيَّةٍ فَحَيُّوا بِأَحْسنَ مِنهَا أَوْ رُدُّوهَا إِنَّ اللَّهَ كانَ عَلى كلِّ شىْءٍ حَسِيباً(86)
เมื่อผู้อื่นอำอวยพรสูเจ้าที่ดี (กล่าวสลามหรือแสดงมิตรภาพที่ดี) ดังนั้น สูเจ้าจงตอบคำอวยพรที่ดีกว่า หรือ (อย่างน้อย) ตอบคำอวยพรที่คล้ายกัน แท้จริง อัลลอฮฺ ทรงตรวจสอบทุกสิ่ง
คำอธิบาย จงสนองตอบมิตรภาพทุกประเภท
โองการนี้กล่าวถึงกฎเกณฑ์สำคัญ อันเป็นกฎสากลทางสังคมกล่าวคือ การอวยพร หรือการแสดงมิตรภาพจากผู้คนหลากหลายในสังคม โองการกล่าวว่า เมื่อผู้อื่นอำอวยพรสูเจ้าที่ดี (กล่าวสลามหรือแสดงมิตรภาพที่ดี) ดังนั้น สูเจ้าจงตอบคำอวยพรที่ดีกว่า
คำว่า ตะฮียะฮฺ มาจากคำว่า ฮะยาต หมายถึง การขอพรเพื่อชีวิตอื่น แต่ปกติแล้วคำ ๆ นี้ หมายถึงการเปิดเผยมิตรภาพ ที่บุคคลหนึ่งได้แสดงออกแก่อีกคนหนึ่ง อาจเป็นคำพูด หรือการกระทำก็ได้ ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายที่สุดคือ การกล่าวสลามกันและกัน เมื่อมุสลิมสองคนพบกัน
อิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า จุดประสงค์ของ การตะฮียะฮฺ ในโองการหมายถึง การกล่าวสลาม และการกระทำดีทุกประเภท
สุดท้ายโองการสอนประชาชนว่าสมควรกล่าวอวยพร และตอบคำอวยพรนั้นอย่างไร โองการกล่าวว่า ควรกล่าวให้ดีกว่า หรืออย่างน้อยควรกล่าวที่เหมือนกัน และที่สำคัญทุกสิ่งที่กระทำไม่ว่าจะมีเจตนาดีหรือไม่ก็ตาม ไม่อาจปกปิดพระเจ้าได้ แท้จริง อัลลอฮฺ ทรงตรวจสอบทุกสิ่ง
สลามเป็นการอวยพรที่ยิ่งใหญ่ของอิสลาม
โองการข้างต้นดังกล่าวไปแล้วว่ามีความหมายกว้าง แต่หนึ่งในจุดประสงค์สำคัญของโองการคือ การกล่าวสลาม ดังนั้น ตามความหมายของโองการมุสลิมทุกคนมีหน้าที่กล่าวสลามที่ดีที่สุดต่อกันและกัน หรืออย่างน้อยสุดกล่าวตอบให้คล้ายหรือใกล้เคียงกัน
1. การกล่าวให้สลามแก่อีกคนหนึ่งเป็นสิ่งดีงามที่ได้รับการกล่าวเน้นไว้อย่างยิ่ง (มุซตะฮับ) ส่วนการตอบรับสลามเป็นข้อบังคับ (วาญิบ)
2. ดีกว่าให้เด็กกล่าวสลามแก่ผู้ใหญ่ หรือคนยืนกล่าวให้คนนั่ง คนที่ขี่พาหนะกล่าวให้คนเดิน และเมื่อคนสองกลุ่มพบกัน ให้คนกลุ่มน้อยกล่าวให้สลามคนกลุ่มมาก
3. เป็นสิ่งดี (มุซตะฮับ) ควรกล่าวให้หรือรับสลามด้วยเสียงดัง
4. ขณะที่กล่าวสลามควรจับมือกันด้วย
5. เมื่อคนหนึ่งกล่าวฝากสลามไปยังอีกคนหนึ่ง ถ้าตอบรับ ดังนั้น เป็นวาญิบ (ข้อบังคับ) สำหรับตนต้องนำสลามไปบอกกล่าว
6. เมื่อเข้าไปยังสถานที่หนึ่งที่ไม่มีผู้คน เป็นการดีให้กล่าวสลามแก่ตนเอง
7. เป็นสิ่งดี (มุซตะฮับ) การกล่าวให้หรือรับสลาม ร่างกายต้องสะอาดปราศจากมลทิน หรือมีวุฎูอ์ เนื่องจากจะได้รับผลบุญมากกว่า
8. บางกรณีต้องไม่กล่าวให้สลาม เช่น กล่าวสลามแก่ผู้ปฏิเสธ หรือกล่าวให้สลามแก่ประชาชนขณะที่อิมามญุมุอะฮฺกำลังกล่าวคำเทศนา หรือกล่าวให้สลามผู้ที่กำลังนมาซ หรือกล่าวขอพร
9. เมื่อกล่าวให้สลามแก่กลุ่มชน การตอบรับเป็นวาญิบกิฟายะฮฺ หมายถึง ถ้าคนหนึ่งคนใดตอบรับแล้ว ไม่เป็นวาญิบสำหรับคนอื่นอีก
10. การตอบรับสลามเป็นข้อบังคับที่เร่งด่วน อย่างปล่อยให้ล่าออกไป
11. ควรตอบรับสลามให้ผู้ให้สลามได้ยิน
ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัชชีอะฮ์