ไทยแลนด์
Monday 25th of November 2024
0
نفر 0

อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 25 เดือนรอมฎอน

อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 25 เดือนรอมฎอน

อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 25 เดือนรอมฎอน

 

بسم الله الرحمن الرحيم
اللّهمّ اجْعَلْني فیهِ محبّاً لأوْلیائِك
ومُعادیاً لأعْدائِك
مُسْتَنّاً بِسُنّةِ خاتَمِ انْبیائِك
یا عاصِمَ قُلوبِ النّبیین

 

 
ความหมาย
 

โอ้ อัลลอฮ์ โปรดทำให้ข้าฯเป็นผู้ที่มีความรักต่อมวลมิตรของพระองค์  และเป็นศัตรูกับผู้ที่เป็นศัตรูกับพระองค์  โปรดให้ข้าฯเป็นผู้เคร่งครัดต่อแบบฉบับของท่านนบี  โอ้ พระผู้ทรงคุ้มครองจิตใจของบรรดานบีทั้งหลาย

 
คำอธิบาย

 

اللَّهُمَّ اجْعَلْنِي فِیهِ مُحِبّاً لِأَوْلِیائِك وَ مُعَادِیاً لِأَعْدَائِك

 

โอ้ อัลลอฮ์ ในเดือนรอมฎอนนี้โปรดทำให้ข้าฯเป็นผู้ที่มีความรักต่อมวลมิตรของพระองค์  และเป็นศัตรูกับผู้ที่เป็นศัตรูกับพระองค์ด้วยเถิด  หากฉันรักสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ขอให้สิ่งนั้นสามารถช่วยเหลือฉันในวันกิยามัตด้วยเถิดด้วยเหตุนี้ฉันจึงรักมวลมิตรของพระองค์  รักบรรดาผู้มีความยำเกรง และหวังว่าพวกท่านคงเป็นเช่นนี้   หากลูกหลานของท่าน คนหนึ่งเป็นผู้เคร่งครัดในการนมาซ ทำอิบาดะห์ และอีกคนไม่มีความยำเกรงและไม่ค่อยนมาซ... พวกท่านต้องรักลูกที่เคร่งครัดศาสนาเป็นพิเศษ

 
สัญลักษณ์ของผู้รอดพ้น

 

ท่านอิมามบาเกร(อ)กล่าวว่า

 

إِذَا أَرَدْتَ أَنْ تَعْلَمَ أَنَّ فِیك خَیراً   
 فَانْظُرْ إِلَی قَلْبِك فَإِنْ کانَ یحِبُّ أَهْلَ طَاعَةِ اللَّهِ
وَ يُبْغِضُ أَهْلَ مَعْصِيَتِهِ فَفِيكَ خَيْرٌ وَ اللَّهُ يُحِبُّكَ

 

ความว่า หากต้องการรู้ว่าพวกท่านเป็นชาวสวรรค์หรือชาวนรก ก็จงหันไปดูหัวใจของพวกท่าน  หากพวกท่านรักมวลมิตรของพระองค์ รักบรรดาผู้ทำความดี รักบรรดาผู้มีความยำเกรง  รักผู้ทำการนมาซศอลาตุลลัยน์ และเป็นศัตรูกับผู้ที่เป็นศัตรูกับพระองค์  พึงรู้ว่าพวกท่านอยู่ในหมู่ผู้ดีงาม อัลลอฮ์ทรงรักพวกท่าน และอินชาอัลลอฮ์ จะได้รับความปลอดภัยและประสบความสำเร็จ (วะซาอิลุลชีอะฮ์  เล่ม 16   หน้า 140)

 

ฮะดีษรายงาน ว่า ในวันกิยามัต มนุษย์จะถูกฟื้นคืนชีพร่วมกับบุคคลที่เขารัก  แม้นแต่หากเขารักก้อนหินเขาก็จะถูกฟื้นคืนชีพร่วมกับก้อนหิน

 
เอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์คือใคร ?

 

จากโองการและฮะดีษสามารถเข้าใจว่า เอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ คือ บรรดาผู้ช่วยเหลือ มวลมิตรและบ่าวผู้บริสุทธิ์ของพระองค์ ซึ่งพวกเขาไม่เคยฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์แม้แต่น้อย

อาจจะเกิดคำถามว่า แล้วเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์จะครอบคลุมบุคคลประเภทใดบ้าง ?

 

คำตอบคือ บรรดาศาสดา  อิมามมะอ์ศูม(อ)  บรรดาชะฮีดในแนวทางของพระองค์ และบรรดาบ่าวผู้บริสุทธิ์(มุคละศูนและมุคลิศีน)ของพระองค์ เหล่านี้คือ เอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์

แต่ทั้งนี้ในด้านความประเสริฐและตำแหน่งจะมีความต่างกัน  เช่น ท่านศาสดาก็เป็นหนึ่งในเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์  ซึ่งในด้านตำแหน่งและสถานะภาพของท่านนั้นสูงส่งยิ่ง พระองค์กล่าวว่า

 

 قل ان کنتم تحبون الله فاتبعوني یحببکم الله و یغفرلکم ذنوبکم والله غفور رحیم

 

ความว่า จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า หากพวกท่านรักอัลลอฮ์ ก็จงปฏิบัติตามฉัน อัลลอฮ์ก็จะทรงรักพวกท่าน และจะทรงอภัยให้แก่พวกท่านซึ่งโทษทั้งหลายของพวกท่าน และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ

 

لَقَدْ كَانَ لَكُمْ فِي رَسُولِ اللَّهِ أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ لِّمَن كَانَ يَرْجُو اللَّهَ وَالْيَوْمَ الْآخِرَ وَذَكَرَ اللَّهَ كَثِيرًا

 

ความว่า โดยแน่นอน ในรอซูลของอัลลอฮ์มีแบบฉบับอันดีงามสำหรับพวกเจ้าแล้ว สำหรับผู้ที่หวังจะพบอัลลอฮ์และวันปรโลกและรำลึกถึงอัลลอฮ์อย่างมาก

 

พึงรู้ว่า บรรดาศาสนทูตของอัลลอฮ์ ล้วนเป็นเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ทั้งสิ้น  แต่ในด้านตำแหน่งและสถานะภาพมีความต่างกัน เช่น ในอัลกุรอาน กล่าวว่า

 

تِلْكَ الرُّسُلُ فَضَّلْنَا بَعْضَهُمْ عَلَىٰ بَعْضٍ ۘ مِّنْهُم مَّن كَلَّمَ اللَّهُ ۖ وَرَفَعَ بَعْضَهُمْ دَرَجَاتٍ

 

ความว่า บรรดารอซูลเหล่านั้น เราได้ให้บางคนในหมู่พวกเขาประเสริฐกว่าอีกบางคน ในหมู่พวกเขานั้น มีผู้ทีอัลลอฮ์ตรัสด้วย และได้ทรงยกบางคนในหมู่พวกเขาขึ้นหลายขั้น(ดะรอญาต)

ชัยฏอนคือใคร?

 

ชัยฏอน ซาตานมารร้าย : คำว่า ชัยฏอน มาจากคำว่า ชะฏะนะ และ ชาฏินะ หมายถึง สิ่งที่เป็นความชั่วร้ายและเกเรดื้อรั้น ไม่เชื่อฟังดื้อดึง ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ ญิน หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ก็ตาม หรือให้ความหมายว่า จิตวิญญาณชั่วร้ายที่ออกห่างจากจริงก็มี ซึ่งหมายความว่าในแง่ที่เป็นจุดร่วม จะให้ความหมายควบคุมทั่วไปทั้งหมด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ในแง่นี้ทั้งหมดเหมือนกัน

 

ดังนั้น คำว่า ชัยฏอน จึงเป็นคำนามหนึ่ง (เพศคำนาม) ซึ่งหมายถึงเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจและอันตรายและก่อให้เกิดการหลงผิด ใช้ได้ทั้งกับทุกสิ่งที่มีอยู่ (ไม่ว่าจะมนุษย์หรือไม่ใช่มนุษย์ก็ตาม)

 

ในพระคัมภีร์อัลกุรอานและคำกล่าวของบรรดาอิมามมะอ์ซูม (อ.) กล่าวว่า ชัยฏอนซาตานมารร้าย ไม่ได้ระบุเจาะจงเฉพาะว่าเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทว่าบางครั้งหมายถึงมนุษย์ที่ชั่วร้าย หรือมีมารยาทหยาบคาย เช่น อิจฉาริษยา, ก็เรียกว่า ชัยฏอน เหมือนกัน[มัรฮูม เฏาะบัรระซีย์ มัจญ์มะอุลบะยาน เล่ม 1 หน้า 163 ตอนอธิบายโองการ 34  บทบะเกาะเราะฮ์)
อิบลิส : เป็นคำนามเฉพาะ (อะลัม) ซึ่งมีเพียงสิ่งเดียวที่ตรงกับความเป็นจริง เขาเป็นคนแรกบนโลกนี้ที่ได้ฝ่าฝืนและก่อบาปกรรมขึ้น และ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระเจ้าเขาได้วิวาทเพื่อเรียกร้องความเป็นอิสระ เขาได้หลงตนเองและแสดงความหยิ่งจองหอง และปฏิเสธคำสั่งของพระเจ้า และในที่สุดก็ถูกขับออกจากสวรรค์เนรมิตนั้น


นามอื่นของ อิบลิส คือคือ อะซาซีล (อัลลามะฮ์ มูฮัมมัดฮุเซน เฏาะบาเฏาะบาอีย์, ตัฟซีรอัลมีซาน, เล่ม 1, หน้า 122 เป็นต้นไป และเล่ม 8 , หน้า 20 เป็นต้นไป)


 
ส่วนคำว่า อิบลิส มาจากคำว่า "อิบลาส" ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็น ฉายานามหนึ่ง อิบลาส คือการสิ้นหวัง ซึ่งบางทีอาจเป็นไปได้ว่า เนื่องจากอิบลิส สิ้นหลังในความเมตตาของพระเจ้า จึงได้รับฉายานามนี้


เมื่อพระเจ้าทรงประสงค์ที่จะทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา มลาอิกะฮ์ได้ทูลถามพระองค์ด้วยความเคารพและความสุภาพที่สุดว่า : พวกเราเคารพและถวายสดุดีต่อพระองค์ยังจะไม่เพียงพออีกหรือ แน่นอน พระองค์จะทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาเพื่อการใด ครั้นเมื่อพระองค์สาธยายความลึกลับของการสร้างมนุษย์ แล้วตรัสว่า มนุษย์ คือ ตัวแทนของพระองค์บนหน้าแผ่นดิน มวลมลาอิกะฮฺจึงได้น้อมรับคำเชิญ (ให้ก้มกราบอาดัม (อ.)) ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนและด้วยความจริงใจ และทั้งหมดได้ก้มกราบสุญูดต่ออาดัม ในหมู่บรรดามลาอิกะฮ์ หรือดีกว่าที่จะพูดว่าชัยฏอนได้อยู่ในแถวของมลาอิกะฮ์ด้วยในเวลานั้น ซึ่งเขาได้นมัสการพระเจ้ามาอย่างช้านาน แต่ความเร้นลับที่ซ่อนอยู่ภายในจิตใจของชัยฏอนไม่มีผู้ใดล่วงรู้ได้ยกเว้นผู้ทรงอำนาจยิ่ง ความลับที่ถูกซ่อนเร้นมาอย่างยาวนาน แต่บัดนี้มันได้ถูกเปิดเผยออกแล้วในระหว่างการสร้างของอาดัม (อ.) การปฏิเสธศรัทธาของชัยฏอนนั่นเอง แน่นอน เขาได้กลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธามาอย่างช้านานแล้ว แต่ความหยิ่งยโสและความดื้อรั้นได้ถูกเปิดเผยขณะที่ไม่ยอมก้มกราบอาดัม (อ.) ซึ่งการปฏิเสธศรัทธาที่ซ่อนไว้ก็ถูกเปิดเผยออกมาด้วย


เมื่ออัลลอฮ์ตรัสแก่มลาอิกะฮ์ทั้งหมดและอิบลิส (ผู้เป็นหนึ่งในพวกเขาซึ่งได้แสดงความเคารพบูชามาอย่างช้านาน) ว่า : พวกเจ้าจงก้มกราบอาดัมเถิด มลาอิกะฮ์ทั้งหมดได้เชื่อฟังปฏิบัติตาม ยกเว้น อิบลิสผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งและไม่สุญูด ซึ่งอิบลิสได้อ้างว่า: ฉันได้ถูกสร้างขึ้นจากไฟส่วนเขาถูกสร้างขึ้นจากดิน แล้วจะให้สิ่งที่ดีกว่าก้มกราบสิ่งที่ด้อยกว่าได้อย่างไร ?


ประหนึ่งว่า ซาตาน ไม่รู้แก่นแท้ความจริงของอาดัม ! ว่าอันที่จริงแล้วจิตวิญญาณจากพระเจ้าได้ถูกเป่าเข้าไปบนอาดัม ซึ่งแก่นแห่งเป็นมนุษย์ และคุณค่าของสำคัญของโลกแห่งความเร้นลับซึ่งมาจากพระผู้อภิบาลของเขาได้ถูกเป่าไปบนอาดัมทั้งสิ้น แน่นอน ในความคิดของซาตานจึงคิดว่าธาตุไฟนั้นดีกว่าธาตุดิน กระนั้นแม้ในการเปรียบเทียบของเขาก็ยังมีความผิดพลาดอยู่ดี แต่จะยังไม่อธิบายในที่นี้ – เนื่องจากเขาเห็นอาดัมแต่เพียงทางกายภาพของความเป็นมนุษย์ แต่หลงลืมด้านจิตวิญญาณของอาดัม ด้วยเหตุนี้เอง ชัยฎอนจึงได้แสดง 2 ปฏิกิริยาที่ตรงกันข้ามกับสองการกระทำ เขาจึงได้ถูกขับออกจากสวนสวรรค์เนรมิตของพระเจ้า ผู้ทรงอำนาจสูงสุด ปฏิกิริยาแรกของชัยฏอนคือ ความภาคภูมิใจของตนที่มีต่อการสร้างมนุษย์ ส่วนปฏิกิริยาที่สอง, ความหยิ่งยโส, และขั้นสุดท้ายของความดื้อรั้นในการฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้า


ประโยคถัดมา

 

مُسْتَنّاً بِسُنَّةِ خَاتَمِ أَنْبِیائِك

 

โอ้ อัลลอฮ์โปรดให้ข้าฯเป็นผู้เคร่งครัดต่อแบบฉบับของท่านบี ทั้งในการปฏิบัติสิ่งที่เป็นวาญิบ มุสตะฮับและการละทิ้งและห่างไกลจากสิ่งที่ต้องห้ามและมักรูห์  ดังนั้นในวันนี้เราจึงวิงวอนขอจากพระองค์ให้เราเป็นหนึ่งในบุคคลที่ปฏิบัติตามแบอย่างของท่านนบีมุฮัมมัด(ซ็อลฯ)อย่างเคร่งครัด


ประโยคสุดท้าย

 

یا عَاصِمَ قُلُوبِ النَّبِیین

 

  โอ้ พระผู้ทรงคุ้มครองจิตใจของบรรดานบีทั้งหลาย โปรดตอบรับการวิงวอนขอของเราในวันนี้ ด้วยเถิด

 

บทความโดย เชคอิบรอฮิม อาแว

 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ดุอาอ์ คือ ตัวกำหนดอิหม่าน”
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือศีลอด
อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ในอัล-กุรอาน
อัลกุรอาน คัมภีร์แห่งทางนำ
...
คุณลักษณะของมนุษย์ผู้สมบูรณ์
...
การเป็นศาสดาคนสุดท้ายของโลก
ความโลภคือรากของความชั่วร้าย
...

 
user comment