ไทยแลนด์
Monday 25th of November 2024
0
نفر 0

อรรถาธิบาย ดุอา ประจำวันที่ 5 เดือนรอมฎอน

อรรถาธิบาย ดุอา ประจำวันที่ 5 เดือนรอมฎอน
อรรถาธิบาย ดุอา ประจำวันที่ 5 เดือนรอมฎอน

 

بسم الله الرحمن الرحيم

اللَّهُمَّ اجْعَلْنِي فِیهِ مِنَ الْمُسْتَغْفِرِینَ

وَاجْعَلْنِی فِیهِ مِنْ عِبَادِك الصَّالِحِینَ الْقَانِتِینَ

وَاجْعَلْنِی فِیهِ مِنْ أَوْلِیائِك الْمُقَرَّبِینَبِرَأْفَتِکك یا أَرْحَمَ الرَّاحِمِینَ

 

ความหมาย :

 

โอ้ อัลลอฮ์ โปรดทำให้ข้าฯเป็นหนึ่งในมวลผู้ขออภัย โปรดทำให้ข้าฯเป็นกัลยาณชนผู้เคร่งครัดและเป็นหนึ่งในหมู่มวลมิตรที่ใกล้ชิดของพระองค์ ด้วยความเมตตาของพระองค์ โอ้พระผู้ทรงเป็นเลิศในหมู่ผู้เมตตาทั้งหลาย

 

คำอธิบาย :

 

ท่านอยาตุลลอฮ์ มุจญตะบา เตะห์รานี ได้ทำการอรรถาธิบายดุอาอ์ประจำวันที่ 5 ของเดือนรอมฎอน ดังนี้ :

 

اللَّهُمَّ اجْعَلْنِي فِیهِ مِنَ الْمُسْتَغْفِرِینَ

 

โอ้อัลลอฮ์ ในเดือนรอมฎอนอันจำเริญนี้ โปรดทำให้ข้าฯเป็นหนึ่งในมวลผู้ที่อิสติฆฟาร (ผู้ขออภัย) ด้วยเถิด

 


สำหรับการอิสติฆฟารนั้น มีเงื่อนไขของมัน บุคคลที่กินของฮะราม แม้นว่าเขาจะทำการอิสติฆฟารก็ย่อมจะไม่ได้ผล เขาต้องไปขอฮะลาลและขอความยินยอมจากเจ้าของ แม้นว่าเขาจะร่ำรวยด้วยการกินดอกเบี้ยและสินบนก็ตาม ครั้นเมื่อต้องการอิสติฆฟารก็ต้องนำเอาทรัพย์สินเหล่านี้คืนแก่เจ้าของทั้งหมด


โอ้พระองค์ โปรดทำให้ข้าฯเป็นหนึ่งในมวลผู้ที่อิสติฆฟาร (ผู้ขออภัย)ด้วยเถิด หมายความว่า การทำอิสติฆฟารอย่างแท้จริง และมีริวายะห์กล่าวว่า หลังจากนมาซมัฆริบให้กล่าวอิสติฆฟาร 70 ครั้ง

 

“ผลของการอิสติฆฟาร”

 

บุคคลใดที่หมั่นทำการอิสติฆฟาร เขาจะได้รับสี่ประการดังนี้ :

 

ประการแรก : สามารถปลดเปลื้องความระทมทุกข์และความเศร้าหมอง

 

ประการที่สอง : จะมีความสงบมั่นในยามเกิดวิกฤติและความหวาดกลัว

 

ประการที่สาม : จะพบกับทางออกและทางแก้เมื่อเจอกับอุปสรรค์ปัญหา

 

ประการที่สี่ จะได้รับริสกีอันมากมายที่ไม่อาจคำนวณนับ

 

ดังนั้นเมื่อพบเจอกับทุกข์ยากลำบาก ความทุกข์โศก และปัญหาต่างๆนานา ก็จงทำการอิสติฆฟาร พระองค์จะทรงคลี่คลายและปลดเปลื้องอุปสรรค์ปัญหาเหล่านี้ แต่ทั้งนี้จำต้องตระหนักและปฏิบัติตามเงื่อนไขของการอิสติฆฟารด้วย

 

เงื่อนไขของการอิสติฆฟาร คืออะไร ?

 

มีชายผู้หนึ่งเข้าพบท่านอิมามอะลี(อ) แล้วพูดว่า :


استغفرالله

 

(ฉันขอแสวงหาการอภัยโทษจากอัลลอฮ์) ท่านอิมาม(อ)กล่าวว่า “ขอให้มารดาของท่านโศกเศร้าเพื่อท่านด้วย” ท่านทราบหรือไม่ว่า การอิสติฆฟาร คืออะไร แท้จริงอิสติฆฟารก็คือ ระดับของอิลลียูน และมันเป็นคำที่มีความหมายหกประการ

 

ประการแรก : คือการเศร้า ระทมและสำนึกผิดกับสิ่งที่ผ่านมา

 

ประการที่สองคือ : ตัดสินใจอย่างแน่วแน่ที่จะไม่กลับไปกระทำอีก

 

ประการที่สาม : ส่งคืนให้กับผู้คนซึ่งสิทธิต่างๆของพวกเขาที่ได้ไปแย่งชิงมาในอดีต เพื่อว่าท่านจะได้พบกับพระเจ้าในสภาพหนึ่งที่มีความบริสุทธิ์ ซึ่งจะไม่มีผู้ใดมากล่าวอ้างคัดค้านท่านได้

 

ประการที่สี่ : ต้องปฏิบัติหน้าที่ทุกประการให้ครบถ้วนในสิ่งที่ท่านละเลยเพิกเฉย

 

ประการที่ห้า : ต้องให้ความสนใจต่อเลือดเนื้อของร่างกายของท่านที่เติบโตมาจากอาหารการกินที่ไม่ถูกต้องตามหลักทำนองคลองธรรม เพื่อว่ามันจะได้ละลายหายไป อันเป็นผลมาจากความเศร้าเสียใจและเศร้าระทมจนหนังหุ้มกระดูกที่เลือดเนื้อใหม่เติบโตขึ้นในระหว่างมันทั้งสอง

 

ประการที่หก : ต้องทำให้ร่างกายของท่านได้ลิ้มรสความหวานชื่นของการเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งในลักษณะเดียวกันกับที่มันเคยลิ้มรสคามสนุกสนานของการทำบาปมาก่อน เมื่อท่านได้กระทำสิ่งต่างๆเหล่านี้แล้ว จึงค่อยกล่าวว่า :

 

استغفرالله

“ริสกี ไม่ใช่เงินทองเพียงอย่างเดียว”

 

ริสกีไม่ใช่เงินทองทั้งหมด ในบางฮะดิษ รายงานว่า หากผู้ใดกระทำในสิ่งนี้แล้วจะได้ริสกีเพิ่มขึ้น ซึ่งความหมายเช่นนี้ หมายถึงริสกีทางด้านจิตวิญญาณ การมีเพื่อนที่ดี ก็เป็นริสกีอันหนึ่ง การมีภรรยาที่ดีก็คือริสกี ทุกครั้งที่จะออกเดินทางจงทำการกล่าวอิสติฆฟารเพื่อจะได้พบเจอกับผู้ร่วมเดินทางที่ดี


ประโยคถัดมา :

 

وَاجْعَلْنِي فِیهِ مِنْ عِبَادِك الصَّالِحِینَ الْقَانِتِینَ

 

โอ้อัลลอฮ์ โปรดทำให้ข้าฯ เป็นบ่าวที่ศอและห์และกัลยาณชนผู้เคร่งครัดด้วยเถิด เป็นผู้เชื่อฟังและปฏิบัติตามพระองค์ เพราะพระองค์ทรงรักผู้ที่เชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์
บ่าวจะมีเกียรติต่อหน้าพระองค์ก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามในสิ่งที่พระองค์ทรงกำหนด ปฏิบัติในสิ่งที่เป็นวาญิบและละทิ้งและห่างไกลในสิ่งที่ต้องห้าม ครั้นเมื่อสามารถปฏิบัติแล้วก็จะกลายเป็นบ่าวที่ศอและห์ของพระองค์ และในวันนี้เราก็ได้วิงวอนขอจากพระองค์ให้เราได้เป็นหนึ่งในบ่าวที่ศอและห์ของพระองค์


ประโยคถัดมา :

 

وَاجْعَلْنِي فِیهِ مِنْ أَوْلِیائِك الْمُقَرَّبِینَ

 

และโปรดให้ข้าฯเป็นหนึ่งในหมู่มวลมิตรที่ใกล้ชิดของพระองค์ด้วยเถิด


ดั่งที่โองการและฮะดิษได้กล่าวไว้นั้น บรรดาผู้ใกล้ชิดยังพระองค์จะไม่เคยลืมในการรำลึกถึงพระองค์แม้แต่เสี้ยววินาที แม้แต่ในช่วงวินาทีสุดท้ายของชีวิต และการปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ก็ไม่มีเป้าหมายอื่นใดนอกจากแสวงหาความพึงพอพระทัยจากพระองค์


ซึ่งกรณีตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนในเรื่องนี้ คือ ท่านอิมามอะลี(อ) ที่ได้กล่าวว่า โอ้พระองค์ ฉันทำอิบาดะห์ต่อพระองค์ หาใช่เพื่อกลัวต่อนรกและหวังในสวรรค์ของพระองค์ แต่เนื่องจากพบว่าพระองค์คือผู้ที่คู่ควรและเหมาะสมยิ่ง ดังนั้นฉันจึงทำการอิบาดะห์ต่อพระองค์


ในวันนี้เช่นกัน เราวิงวอนขอให้พระองค์โปรดทำให้ข้าฯเป็นหนึ่งในมวลมิตรผู้ใกล้ชิดของพระองค์ ด้วยเถิด


“สวรรค์ของพระองค์ ต่างจากสวรรค์ทั่วไป”

 

สวรรค์ทั่วไปสำหรับบุคคลที่ต้องการอาหารและนางฟ้า แต่สำหรับบุคคลที่ทำอิบาดะห์เพียงเพื่อพระองค์เท่านั้น โดยไม่ต้องการสิ่งอื่นใด ไม่ใช่เพราะความกลัวบทลงโทษและไม่ใช่เพื่อหวังในสรวงสวรรค์ ดังนั้น อัลกุรอานได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า :

 

فادخلي فی عبادي و ادخلي جنتي

 

“แล้วจงเข้ามาอยู่ในหมู่ปวงบ่าวของข้าเถิด และจงเข้ามาอยู่ในสวนสวรรค์ของข้าเถิด”

 

ดังนั้นเราจึงวิงวอนขอจากพระองค์ให้เราได้พำนักในสรรค์เหล่านี้ สวรรค์มีหลากหลายชั้น สวรรค์ชั้นฟีรดาวส์ สวรรค์ชั้นอัดน์ และสวรรค์อื่นๆ แต่สวรรค์ของพระองค์นั้นมันสูงส่งยิ่งที่ไม่อาจพรรณนาได้


ประโยคสุดท้าย :

 

بِرَأْفَتِك یا أَرْحَمَ الرَّاحِمِینَ

 

โอ้อัลลอฮ์ ด้วยความเมตตาของพระองค์ โปรดทรงตอบรับคำวิงวอนของของข้าฯด้ยเถิด โอ้พระองค์ ผู้ทรงเป็นเลิศในหมู่ผู้เมตตาทั้งหลาย

 


บทความโดย เชคอิบรอฮีม อาแว

 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ดุอาอ์ คือ ตัวกำหนดอิหม่าน”
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือศีลอด
อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ในอัล-กุรอาน
อัลกุรอาน คัมภีร์แห่งทางนำ
...
คุณลักษณะของมนุษย์ผู้สมบูรณ์
...
การเป็นศาสดาคนสุดท้ายของโลก
ความโลภคือรากของความชั่วร้าย
...

 
user comment