อรรถาธิบายดุอา ประจำวันที่ 3 เดือนรอมฎอน
بسم الله الرحمن الرحيم
اَللّـهُمَّ ارْزُقْنِى فِيهِ الذِّهْنَ وَالتَّنْبِيهَ وَبَاعِدْنِى فِيهِ مِنَ السَّفَاهَةِ وَالْتَّمْوِيهِ
وَاجْعَلْ لِى نَصِيباً مِنْ كُلِّ خَيْر تُنْزِلُ فِيهِ بِجُودِكَ يَا اَجْوَدَالاَجْوَدِينَ
ความหมาย :
โอ้ อัลลอฮฺ โปรดประทานสติปัญญาที่สมบูรณ์แก่ข้า ฯ โปรดให้ข้า ฯ ห่างไกลจากความโง่เขลา และได้รับคุณงามความดีที่พระองค์ประทานลงมา
ด้วยความกรุณาของพระองค์ โอ้ พระผู้ทรงเป็นเลิศในหมู่ผู้กรุณาทั้งหลาย
อรรถาธิบาย :
اللَّهُمَّ ارْزُقْنِی فِیهِ الذِّهْنَ وَ التَّنْبِیهَ وَ بَاعِدْنِی فِیهِ مِنَ السَّفَاهَةِ وَ التَّمْوِیهِ
โอ้ อัลลอฮฺ โปรดประทานสติปัญญาที่สมบูรณ์แก่ข้า ฯ โปรดให้ข้า ฯ ห่างไกลจากความโง่เขลา
หากมนุษย์มีการตื่นตัวอยู่เสมอเขาย่อมมีจะความสุข แต่มนุษย์ส่วนใหญ่จะละเลยและเพิกเฉย ด้วยเหตุนี้ในเดือนรอมฎอนอันจำเริญจึงวิงวอนขอจากพระองค์ให้ตื่นจากความหลับใหล
สาเหตุที่ความจำไม่ดี (ความจำเสื่อม)
หนึ่งในความโปรดปรานและนิอ์มัตที่พระองค์ทรงประทาน คือ “สติปัญญา” ในดุอาอ์บทนี้ได้ทำการวิงวอนขอสติปัญญา(ความจำ)ที่สมบูรณ์จากพระองค์ หากเห็นแล้วว่าความจำของเราไม่ดีก็พึงรู้ว่ามันเกิดมาจากความผิดบาปที่ได้กระทำไป เกิดจากการมองไปยังนอมะห์รอม (บุคคลที่แต่งงานได้)และ.... ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้ความจำเสื่อมและความจำไม่ดี
มีชายคนหนึ่งได้ขอคำแนะนำจากนักวิชาการผู้อาวุโส และเล่าว่า ฉันความจำเสื่อม จะหาวิธีแก้ไขอย่างไร ? นักวิชาการผู้อาวุโสกล่าววา จงอย่าทำบาป..... และก็ได้บอกสาเหตุและเหตุผลในเรื่องนี้ว่า ความรู้จัดอยู่ในสถานะของความประเสริฐและความสูงส่ง ซึ่งพระองค์จะไม่ประทานความรู้ที่สูงส่งให้กับผู้ทำบาป และผู้ทำบาปจะไม่มีวันไปถึงขั้นมุจญตะฮิด ดังนั้นหากจะเป็นมุจญตะฮิดและประชาชนได้รับประโยชน์จากสิ่งนี้ จำต้องมีความจำที่ดีและสิ่งที่สำคัญในการได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้คือการละทิ้งและการห่างไกลจากการทำบาป
บทความโดย เชคอิบรอฮีม อาแว