ไทยแลนด์
Thursday 10th of October 2024
0
نفر 0

ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัลอัลอิคลาศ ตอนที่ 1

ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัลอัลอิคลาศ    ตอนที่ 1


ความประเสริฐของซูเราะฮ์ อัลอิคลาศ  


 ซูเราะฮ์อัลอิคลาศ   เป็นซูเราะฮ์ที่ดีที่สุด ได้มีริวายะฮ์แนะนำไว้ว่า “ในหนึ่งวัน การทำนมาซในหนึ่งระกะอัต ควรอ่านซูเราะฮ์อัต-เตาฮีด ทั้งนี้เพื่อท่านจะได้เป็นผู้ดำรงนมาซอย่างแท้จริง”


ซูเราะฮ์อัต-เตาฮีด  มีความประเสริฐเท่ากับ 1 ใน 3 ของอัล-กุรอาน และหมายรวมไปถึง 1 ใน 3 ของคัมภีร์เตารอต  อินญีล และซะบูร  และซูเราะฮ์นี้มิได้ถูกแนะนำในอ่านเฉพาะในนมาซเท่านั้น ทว่าหลังจากนมาซก็ถูกแนะนำให้อ่านด้วยเช่นกันในฐานะของการซิกร์หลังนมาซ  ผลบุญของการอ่านอัลลอฮ? (ซ.บ.) จะประทานความเมตตาให้กับผู้อ่านทั้งโลกนี้และโลกหน้า

แม้ว่า ซูเราะฮ์อัต-เตาฮีด  จะเป็นซูเราะฮ์เล็ก ๆ แต่ทว่า ความหมายของมันยิ่งใหญ่ยิ่งนัก ดังที่ ท่านอิมามสัจญาด (อ.) กล่าวว่า “อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงหยั่งรู้ถึงอนาคตว่า  จะมีผู้มีความลุ่มลึกและมีความละเอียดอ่อน  พระองค์จึงได้ประทานซูเราะฮ์นี้  และโองการแรกของซูเราะฮ์ อัล-หะดีด ลงมา”


การอ่านซูเราะฮ์ อัต-เตาฮีด   ซ้ำเป็นประจำจะทำให้รอดพ้นจากความชั่วร้ายของผู้อธรรมที่มีความประพฤติเลวร้าย และเป็นหลักประกันให้บ้านหลังนั้นรอดพ้นจากอันตรายต่าง ๆ
สะอฺด์ อิบนิ มะอาซ  สหายท่านหนึ่ง และเป็นแม่ทัพของท่านศาสดา  (ศ็อล ฯ) ร่างของท่านได้ถูกฝังอยู่ที่สุสานญันนะตุลบะกีย์ นครมะดีนะฮฺ  ในพิธีฝังศพนั้น  ท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) ได้เดินเท้าเปล่าร่วมแห่ศพไปด้วย  และท่านกล่าวว่า  “ได้มีมะลาอิกะฮฺ จำนวน 90000 องค์  ลงมาร่วมแห่ศพของสะอฺด์  ท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) กล่าวว่าฉันได้ถามญิบรออีลว่า ทำไมท่านและมะลาอิกะฮฺองค์อื่น ๆ จึงได้ลงมาร่วมแห่ศพของสะอฺด์ ?  ญิบรออีลได้กล่าวตอบว่า  เป็นเพราะว่าเขาได้อ่านซูเราะฮ์  อัต-เตาฮีดเป็นประจำ  ไม่ว่าเขาจะยืน  จะกิน  จะนั่ง  หรือขณะขับขี่ยานพาหนะ”


สาเหตุของการประทานซูเราะฮ์ อัต-เตาฮีด


 สืบเนื่องมาจากว่า บรรดายะฮูดี  คริสเตียน  และบรรดามุชริกีน  ได้สอบถามท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) เกี่ยวกับอัลลอฮฺ (ซบ.)  และต้องการให้ท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) อธิบายคุณลักษณะของพระองค์  ท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) ได้ตอบพวกเขาโดยการอ่านซูเราะฮ์ อัตเตาฮีด  ดังนั้น  ซูเราะฮ์นี้จึงเปรียบเสมือนบัตรประจำองค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.)


قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ

“จงประกาศเถิด อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นหนึ่งเดียว”


เตาฮีด คือ แก่นแท้ของพื้นฐานทางศาสนาทุกศาสนา  ซึ่งบรรดาศาสดาทุกองค์ ได้ถูกประทานลงมาเพื่อถอดถอนการตั้งภาคี (ชิกรฺ)  และการบูชาเทวรูปในศาสนาต่าง ๆ ออกไปพร้อมกับเชิญชวนมนุษย์ไปสู่การเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว


เตาฮีด  คือ  จิตวิญญาณของการอบรมสั่งสอนของบรรดาศาสดาทั้งหลาย  ฉะนั้น เตาฮีดมิได้ถูกจำกัดอยู่แค่เรื่องของความเชื่อศรัทธา  แต่ทว่าเรื่องของการปฏิบัติ และจริยธรรมก็มีเตาฮีดครอบคลุมอยู่ด้วยเช่นกัน


เตาฮีด  คือ พรมแดนระหว่างความศรัทธา กับ การปฏิเสธ  และการบรรลุไปสู่จุดสุดยอดของอีมาน  ถ้าปราศจากการยอมรับบนเตาฮีด  ถือว่าเป็นไปไม่ได้  ริวายะฮฺกล่าวว่า 

“คือ ป้อมปราการแห่งอัลลอฮฺ (ซบ.)  ถ้าผู้ใดได้เข้ามาสู่ป้อมปราการของข้า ฯ เขาจะปลอดภัยจากการลงโทษของข้า ฯ”  (บิฮารุลอันวาร  เล่มที่ 3 หน้าที่ 13)


ซูเราะฮ์อัตเตาฮีด  ถือว่าเป็นความบริสุทธิ์ที่สุดบนความศรัทธาที่มีต่อความเป็นเอกะของพระองค์  ด้วยเหตุนี้ซูเราะฮ์นี้จึงถูกเรียกอีกอย่างว่า  ซูเราะฮ์อัลอิคลาศ    เพราะซูเราะฮ์นี้ได้ทำการปฏิเสธความเชื่อของคริสเตียน ที่เกี่ยวกับ  พระบุตร  พระจิต  และพระวิญญาณ  ปฏิเสธการตั้งภาคีของบรรดายะฮูดี  และความเชื่อแบบอนารยชนของอาหรับในยุคก่อน  ที่เชื่อว่ามวลมะลาอิกะฮฺ  คือบุตรีของพระผู้เป็นเจ้า


เตาฮีด  คือการทำให้ความคิด  และการกระทำของตนปลอดพ้นจากการตั้งภาคี  และสรรหาสิ่งอื่นใดมาเทียบเคียงกับอัลลออฺ (ซบ.)  และไม่ใช่เฉพาะการตั้งภาคีทางความคิด  และทางการกระทำเท่านั้น  ทว่าเจตนารมณ์และเป้าหมายของเราคือ อัลลอฮฺ (ซบ.)  แต่เพียงผู้เดียว หมายถึง  พระองค์เท่านั้นที่ทรงเป็นหนึ่งเดียว โดยไม่มีที่สอง  ไม่มีสิ่งคล้ายคลึง หรือเสมอเหมือน  ไม่มีส่วนประกอบและองค์เรือนร่าง เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เป็นที่เคารพภักดี  และมีอยู่ในทุกสิ่ง  ด้วยเหตุนี้ มนุษย์จึงไม่อาจเข้าใจถึง ซาต (อาตมันสากล) ที่แท้จริงของพระองค์ได้


เหตุผลที่แสดงความเป็นเอกะของพระองค์  คือ หากมีพระเจ้าองค์อื่นที่นอกเหนือจากพระองค์  พระเจ้าองค์นั้นก็ต้องส่งศาสดาลงมาเหมือนกัน  เพื่อแนะนำให้ประชาชนรู้จัก และภักดีต่อพระองค์


ยามที่ประชาชนทั้งหมดตกอยู่ในอันตราย  พวกเขาจะมุ่งจิตไปยังสิ่ง ๆ หนึ่ง  ซึ่งจิตทั้งหมดจะยืนยันว่า  มีสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวที่ให้ความหวังกับพวกเขาเมื่อยามอยู่ในอันตราย

 

ขอขอบคุณ เว็บไซต์ทีวีชีอะฮ์

 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ชีวประวัติอิมามซัยนุลอาบิดีน ...
บุคลิกของผู้เรียน
มนุษย์เรามีหน้าที่อะไรบ้าง ...
บทบาทของบรรดาอิมาม (อ.) ...
การปฏิบัติตามความไว้วางใจ ...
อิมามฮุเซน (อ.) ...
กำเนิดจักรวาล
...
อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ ...
อัลกุรอานที่อยู่ในมือของเรา ณ ...

 
user comment