ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

ทูตแห่งความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า ณ ประตูบ้านของเรา

ทูตแห่งความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า ณ ประตูบ้านของเรา

“ชั้นฟ้าทั้งหลายแทบจะพังทลายลงมาจากเบื้องบนของมัน ขณะที่มะลาอิกะฮ์ต่างก็แซ่ซ้องสรรเสริญสดุดีต่อองค์พระผู้อภิบาลของพวกเขา และขออภัยให้แก่ผู้ที่อยู่ในโลกนี้ พึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้น พระองค์เป็นผู้ทรงอภัยยิ่ง ผู้ทรงเมตตาเสมอ”

 

 

 

 

 

 

الَّذِینَ یحْمِلُونَ الْعَرْشَ وَ مَنْ حَوْلَهُ یسَبِّحُونَ بحَمْدِ رَبِّهِمْ وَ یؤْمِنُونَ بِهِ وَ یستَغْفِرُونَ لِلَّذِینَ آمَنُوا رَبَّنَا وَسِعْتَ کلَّ شَىْءٍ رَحْمَةً وَ عِلْماً فَاغْفِرْ لِلَّذِینَ تَابُوا وَ اتَّبَعُوا سبِیلَک وَ قِهِمْ عَذَاب الجَْحِیمِ

 

“ผู้แบกบัลลังก์และผู้ที่อยู่รอบๆ มัน ต่างก็แซ่ซ้องสรรเสริญสดุดีต่อองค์พระผู้อภิบาลของพวกเขา และศรัทธาต่อพระองค์ และวิงวอนขออภัยโทษให้แก่บรรดาผู้ศรัทธา ข้าแต่องค์พระผู้อภิบาลของเรา พระองค์ทรงแผ่ความเมตตาและความรอบรู้ไปทั่วทุกสิ่ง ดังนั้นขอพระองค์ทรงโปรดอภัยแก่บรรดาผู้สำนึกผิด และดำเนินตามแนวทางของพระองค์ และโปรดทรงคุ้มครองพวกเขาให้พ้นจากการลงโทษของไฟนรกด้วยเถิด” (1)

 

ความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า นำหน้าความโกรธกริ้วของพระองค์

     

จากตัวบทต่างๆ ทางศาสนาสามารถรับรู้ถึงข้อเท็จจริงประการหนึ่ง นั่นก็คือ พระเมตตาของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งนั้นนำหน้าความโกรธกริ้วของพระองค์

 

یا من سبقت رحمته غضبه

 

“โอ้ พระผู้ซึ่งความเมตตาของพระองค์นั้น นำหน้าความโกรธกริ้วของพระองค์”

     

พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงมหาบริสุทธิ์ยิ่งนั้น ทรงมีทั้งความเมตตาและความโกรธกริ้ว แต่ความเมตตา (เราะห์มัต) ของพระองค์ซึ่งเป็นพระนามและเป็นคุณลักษณะแห่งความสมบูรณ์และความสวยงามแห่งอาตมัน (อัซซิฟัต อัลกะมาลียะฮ์ อัลญะมาลียะฮ์ อัซซาตียะฮ์) ของพระองค์ ส่วนความโกรธกริ้วนั้นเป็นส่วนหนึ่งจากพระนามและคุณลักษณะแห่งการกระทำ (อัซซิฟัต อัลเฟี๊ยะฮ์ลียะฮ์) ของพระองค์ ความเมตตาของพระองค์เกิดจากอาตมัน (ซาต) ของพระองค์ ส่วนความโกรธกริ้วของพระองค์เป็นผลผลิตจากพฤติกรรมการละเมิดฝ่าฝืนของสิ่งถูกสร้าง (มนุษย์) (2)

 

บรรดามะลาอิกะฮ์ (ทูตสวรรค์) และการอภัยโทษของพระผู้เป็นเจ้า 

     

หนึ่งในภาพปรากฏของร่องรอยแห่งการนำหน้าของความเมตตาเหนือความโกรธกริ้ว นั้นคือการที่มีกลุ่มหนึ่งของมะลาอิกะฮ์ (ทูตสวรรค์) ของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งจะคอยวิงวอนขอการอภัยโทษจากพระผู้เป็นเจ้าให้แก่มนุษย์อย่างถาวรและต่อเนื่อง และมะลาอิกะฮ์ (ทูตสวรรค์) เหล่านั้นจะส่งมอบการอภัยโทษนี้ให้แก่พวกเขา ในความเป็นจริงแล้วภารกิจอีกประการหนึ่งของมะลาอิกะฮ์ (ทูตสวรรค์) เกี่ยวกับมวลมนุษย์ทั้งหลาย นั้นก็คือ การวิงวอนขออภัยโทษจากพระผู้เป็นเจ้าและการส่งมอบมันให้กับมวลมนุษย์

     

มะลาอิกะฮ์ (ทูตสวรรค์) กลุ่มนี้ คือภาพปรากฏแห่งพระนามอันวิจิตรของพระผู้เป็นเจ้า "อัลฆอฟูร" (ผู้ทรงอภัยโทษยิ่ง) และเป็นสื่อกลางของการอภัยโทษ (ฆุฟรอน) นั้น มะลาอิกะฮ์ (ทูตสวรรค์) เหล่านี้ ในมุมมองหนึ่งคือภาพปรากฏของความเมตตา (เราะห์มัต) และในอีกมุมมองหนึ่ง คือภาพปรากฏของการอภัยโทษ (ฆุฟรอน) ทั้งนี้เนื่องจากด้วยผลของการอภัยโทษนี้เองที่ความเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้าจะมาสู่มวลมนุษย์ แม้มนุษย์จะไม่ล่วงรู้ถึงข้อเท็จจริงและการช่วยเหลือนี้ก็ตาม

     

การมีบัญชาให้มะลาอิกะฮ์ (ทูตสวรรค์) กลุ่มหนึ่งทำหน้าที่วิงวอนขอการอภัยโทษจากพระผู้เป็นเจ้าและส่งมอบให้กับมวลมนุษย์ที่มีสภาพเงื่อนไขต่างๆ และมีสิทธิ์ที่จะได้รับการอภัยโทษนั้น เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่ว่า ความรอดพ้นของมนุษย์ชาวดินและการที่พวกเขาจะไปถึงซึ่ง “ชีวิตอันบริสุทธิ์” (ฮะยาตุน ฏ็อยยิบะฮ์) นั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก และเพื่อที่จะบรรลุถึงสิ่งนี้ในเส้นทางของการเชื่อฟัง (ฏออัต) และการมอบตนเป็นบ่าว (อุบูดียะฮ์) ต่อพระผู้เป็นเจ้านั้น จำเป็นจะต้องมีการช่วยเหลือมาจากพระองค์ และมะลาอิกะฮ์ (ทูตสวรรค์) กลุ่มนี้เป็นผู้รับบัญชาและรับผิดชอบหน้าที่ดังกล่าว ด้วยเหตุนี้เองจะต้องไม่หลงกลต่อการกระซิบกระซาบและการล่อลวงต่างๆ ของมารร้าย (ชัยฏอน) เกี่ยวกับกรณีที่ว่าอาคิเราะฮ์ (ปรโลก) นั้นเป็นเรื่องที่ง่ายดาย และอย่าได้ปลักใจเชื่อในคำพูดของผู้ที่อ้างตนว่าเป็นอาริฟ (นักรหัสยะ) และปรมาจารย์ที่กล่าวอ้างถึงความง่ายดายในการที่จะไปถึง (ชีวิตที่ดีงามใน) วันชาติหน้า (กิยามะฮ์)

     

ในบทดุอาอ์ (คำขอพร) ของค่ำคืนลัยละตุลก็อดริ์ (ค่ำคืนอันทรงเกียรติของเดือนรอมฎอน) ภายหลังจากสาบานต่อพระนามต่างๆ แห่งพระผู้เป็นเจ้า และต่อคัมภีร์อัลกุรอานแล้ว เราจะวิงวอนขอว่า :

 

«ان تجعلنی من عتقائک من النار»

“ได้โปรดบันดาลให้ข้าฯ เป็นหนึ่งจากบรรดาผู้ที่ถูกปลดปล่อยของพระองค์จากไฟนรกด้วยเถิด”

     

นี่คือคำวิงวอนและคำพูดของผู้ที่มีศรัทธามั่นและผู้เคร่งครัดในการปฏิบัติตนตามอิสลาม ไม่ใช่คำพูดของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาและพวกตั้งตั้งภาคี การที่เราได้วิงวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าในบทดุอาอ์ (ขอพร) ในค่ำคืนของวันอีดิลฟิฏรีว่า “โปรดช่วยให้ข้าฯ รอดพ้นจากไฟนรกด้วยเถิด” นั้นก็เนื่องด้วยเหตุผลของอุปสรรคของเส้นทางและความยากลำบากในการไปถึงยัง “ชีวิตที่ดีงาม” (ฮะยาตุน ฏ็อยยิบะฮ์) อย่างไรก็ตามภารกิจของมะลาอิกะฮ์ (ทูตสวรรค์) กลุ่มนี้คือการรับใช้และคอยช่วยเหลือบรรดาผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) เพื่อให้บรรลุสิ่งที่มุ่งหวัง

 

หลักฐานต่างๆ ในเรื่องนี้

พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสูงส่ง ได้ทรงตรัสว่า :


تکادُ السَّمَاواتُ یتَفَطَّرْنَ مِن فَوْقِهِنَّ وَ الْمَلائکةُ یسَبِّحُونَ بحَمْدِ رَبِّهِمْ وَ یستَغْفِرُونَ لِمَن فى الأرْضِ أَلا إِنَّ اللَّهَ هُوَ الْغَفُورُ الرَّحِیمُ

 

“ชั้นฟ้าทั้งหลายแทบจะพังทลายลงมาจากเบื้องบนของมัน ขณะที่มะลาอิกะฮ์ต่างก็แซ่ซ้องสรรเสริญสดุดีต่อองค์พระผู้อภิบาลของพวกเขา และขออภัยให้แก่ผู้ที่อยู่ในโลกนี้ พึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้น พระองค์เป็นผู้ทรงอภัยยิ่ง ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (3)

 

     

บนพื้นฐานของโองการนี้ ด้วยกับการสำแดงความเกรียงไกร (ญะล้าล) ของพระผู้เป็นเจ้า ชั้นฟ้าทั้งหลายจะพังทลาย และในตำแหน่งของการสำแดงความเกรียงไกรนี้ มวลมะลาอิกะฮ์ (ทูตสวรรค์) ก็จะทำการสรรเสริญสดุดีต่อพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงมหาบริสุทธิ์ยิ่งด้วย และขณะเดียวกันก็จะวิงวอนขออภัยโทษให้แก่มวลมนุษย์ด้วย แต่ไม่ใช่สำหรับทุกคน ทว่าเฉพาะสำหรับกลุ่มคนที่มีคุณสมบัติคู่ควรเพียงเท่านั้น

 

พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสูงส่ง ได้ทรงตรัสว่า :


الَّذِینَ یحْمِلُونَ الْعَرْشَ وَ مَنْ حَوْلَهُ یسَبِّحُونَ بحَمْدِ رَبِّهِمْ وَ یؤْمِنُونَ بِهِ وَ یستَغْفِرُونَ لِلَّذِینَ آمَنُوا رَبَّنَا وَسِعْتَ کلَّ شىْءٍ رَحْمَةً وَ عِلْماً فَاغْفِرْ لِلَّذِینَ تَابُوا وَ اتَّبَعُوا سبِیلَک وَ قِهِمْ عَذَاب الجَْحِیمِ

 

“บรรดาผู้แบกบัลลังก์ และผู้ที่อยู่รอบๆ มัน ต่างก็แซ่ซ้องสรรเสริญสดุดีต่อองค์พระผู้อภิบาลของพวกเขา และศรัทธาต่อพระองค์ และวิงวอนขออภัยโทษให้แก่บรรดาผู้ศรัทธา ข้าแต่องค์พระผู้อภิบาลของเรา พระองค์ทรงแผ่ความเมตตาและความรอบรู้ไปทั่วทุกสิ่ง ดังนั้นขอพระองค์ทรงโปรดอภัยแก่บรรดาผู้สำนึกผิด และดำเนินตามแนวทางของพระองค์ และโปรดทรงคุ้มครองพวกเขาให้พ้นจากการลงโทษของไฟนรกด้วยเถิด” (4)

 

      โองการนี้หมายถึงมวลมะลาอิกะฮ์ (ทูตสวรรค์) ผู้ซึ่งมีศรัทธามั่นต่อพระผู้เป็นเจ้าและเป็นผู้กระทำการสรรเสริญสดุดีต่อพระองค์ พวกเขาจะวิงวอนขออภัยโทษจากพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงกรุณาธิคุณให้แก่บรรดาผู้ศรัทธา จำเป็นจะต้องรับรู้ว่า การวิงวอนขออภัยโทษโดยมะลาอิกะฮ์ (ทูตสวรรค์) กลุ่มนี้นั้นไม่ใช่เป็นการวิงวอนขออย่างปกติธรรมดาโดยไม่มีเหตุผล ทว่าเป็นไปตามแบบแผน (ซุนนะฮ์) ของโลกอันสูงส่ง ความใกล้ชิดและสถานะตำแหน่งของมวลมะลาอิกะฮ์ (ทูตสวรรค์) นั้น การวิงวอนขอของพวกเขาย่อมหมายถึงการหลั่งไหลและการพรั่งพรูของความเมตตาและการอภัยโทษต่างๆ สำหรับมวลผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) และผู้ที่กลับตัวกลับใจ (เตาบะฮ์) อย่างแท้จริง โองการนี้ได้กล่าวถึงการวิงวอนขอการอภัยโทษของมะลาอิกะฮ์ (ทูตสวรรค์) กลุ่มนี้ว่าเป็นสิทธิเฉพาะสำหรับบรรดาผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) และผู้ที่กลับตัวกลับใจ (เตาบะฮ์) อย่างแท้จริงเพียงเท่านั้น ซึ่งโองการนี้จะเป็นเงื่อนไขและเป็นตัวจำกัดความหมายที่ครอบคลุมของโองการแรก

 

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า :


«من کتم صومه قال [الله] عز وجل للملائکته: عبدی استجار من عذابی فاجیروه و وکل الله عز و جل ملائکة بالدعاء للصائمین و لم یأمرهم بالدعاء لاحد الا استجاب لهم فیه»

 

“ผู้ใดที่ปกปิดการถือศีลอด (มุสตะฮับ) ของตนเอง (ไม่ให้ผู้อื่นรู้) พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเกริกเกียรติผู้ทรงเกรียงไกรจะทรงตรัสกับมวลมะลาอิกะฮ์ว่า บ่าวของข้าได้ขอความคุ้มครองจากการลงโทษของข้า ดังนั้นพวกเจ้าจงให้การคุ้มครองแก่เขาเถิด แล้วพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเกริกเกียรติผู้ทรงเกรียงไกรได้ทรงมอบหมายให้มวลมะลาอิกะฮ์วิงวอนขอพรให้แก่บรรดาผู้ถือศีลอด และพระองค์จะไม่ทรงมอบหมายให้พวกเขาวิงวอนขอพรให้ใครนอกจากพระองค์จะทรงตอบรับพวกเขาในการวอนขอนั้น” (5)

 

      จากริวายะฮ์ (คำรายงาน) บทนี้ทำให้สรุปได้ว่า พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงบัญชาให้มะลาอิกะฮ์ (ทูตสวรรค์) กลุ่มหนึ่งทำการวิงวอนขอพรและขอการอภัยโทษให้แก่บรรดาผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) และคำรายงานนี้ยังชี้ให้เห็นอีกด้วยว่า การวิงวอนขอของบรรดามะลาอิกะฮ์นั้นเคียงคู่อยู่กับการตอบรับ กล่าวคือ การวิงวอนขอของมะลาอิกะฮ์ก็เท่ากับเป็นการตอบรับของพระผู้เป็นเจ้านั่นเอง

 

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า :


      มะลัก (ทูตสวรรค์) ท่านหนึ่งได้ทูนขออนุญาตจากพระผู้เป็นเจ้าลงมาสู่โลกมนุษย์ เพื่อที่จะจำแลงเป็นมนุษย์ ดังนั้นพระผู้เป็นเจ้าจึงอนุญาตแก่เขา มะลัก (ทูตสวรรค์ ในรูปของมนุษย์) ได้ไปพบชายผู้หนึ่งซึ่งกำลังยืนอยู่หน้าประตูบ้านหลังหนึ่ง โดยเรียกถามหาเจ้าของบ้านจากผู้ที่อยู่ในบ้าน ดังนั้นมะลัก (ทูตสวรรค์) จึงได้ (กล่าวกับชายผู้นั้น) ว่า “โอ้บ่าวของพระผู้เป็นเจ้า! ท่านต้องการสิ่งใดจากชายคนนี้หรือจึงได้เรียกหาเขา” เขาตอบว่า “เขาเป็นพี่น้องในอิสลามของฉัน (พี่น้องร่วมศาสนา) และฉันรักเขาในทางของพระผู้เป็นเจ้า ฉันมาเพื่อให้สลาม (ถามถึงทุกข์สุข) ของเขาเพียงเท่านั้น” มะลัก (ทูตสวรรค์) ได้ถามว่า “เขาเป็นเครือญาติของท่านหรือ หรือว่าท่านมีความต้องการอื่นใดที่ทำให้ท่านมาหาเขา” ชายผู้นั้นตอบว่า “ไม่มี (การมาของฉัน) เพียงเพื่อความมุ่งหวังในความรักจากพระผู้เป็นเจ้าเพียงเท่านั้น ดังนั้นการมาของฉันเพียงต้องการกล่าวสลามแก่เขาเพียงเท่านั้น” มะลัก (ทูตสวรรค์) จึงได้กล่าวว่า “ความจริงแล้วฉันคือมะลัก (ทูตสวรรค์) ของพระผู้เป็นเจ้าที่ถูกส่งมายังท่าน และพระองค์ทรงตรัสว่า แท้จริงข้าได้ให้อภัยแก่เจ้าแล้ว เนื่องจากการที่เจ้าได้รักชายผู้นี้เนื่องจากข้า” (6)

 

อบูบะซีร รายงานว่า ท่านอิมามซอดิก (อ.) ได้กล่าวว่า :


       “โอ้ มุฮัมมัดเอ๋ย! พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งทรงมีมะลาอิกะฮ์กลุ่มหนึ่ง (ที่รับมอบหมาย) คอยลบล้างความผิดบาปตามหลังบรรดาชีอะฮ์ (ผู้ดำเนินรอยตามอะฮ์ลุลบัยต์) ให้ร่วงล่นเหมือนกับลมที่พัดใบไม้ให้ร่วงหล่นในฤดูใบไม้ร่วง ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็คือสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเกริกเกียรติ ผู้ทรงเกรียงไกร ทรงตรัสว่า :

 

یسَبِّحُونَ بحَمْدِ رَبِّهِمْ وَ یؤْمِنُونَ بِهِ وَ یستَغْفِرُونَ لِلَّذِینَ آمَنُوا

 

“ต่างแซ่ซ้องสรรเสริญสดุดีต่อองค์พระผู้อภิบาลของพวกเขา และศรัทธาต่อพระองค์ และวิงวอนขออภัยโทษให้แก่บรรดาผู้ศรัทธา” ขอสาบานต่อพระผู้เป็นเจ้า! พระองค์มิได้ทรงประสงค์ (ผู้ศรัทธา) ในที่นี้อื่นไปจากพวกท่าน” (7)

 

       ริวายะฮ์ (คำรายงาน) บทนี้ ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนเช่นกันว่า มีมะลาอิกะฮ์กลุ่มหนึ่งซึ่งด้วยกับการวิงวอนขอการอภัยโทษให้แก่บรรดาชีอะฮ์ที่เป็นผู้ศรัทธามั่น (มุอ์มิน) ซึ่งจะทำให้ความผิดบาปของพวกเขาได้รับการอภัยโทษ

 

      ในการวิงวอนขออภัยโทษจากพระผู้เป็นเจ้านั้น จะต้องไม่หลงลืมจากการขอผ่าน (ตะวัซซุล)ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) และในความเป็นจริงแล้วก็คือการขอให้ท่านช่วยวิงวอนขอการอภัยโทษจากพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งให้แก่เรา ทั้งนี้เนื่องจากว่าประตูแห่งการอภัยโทษจะถูกเปิดโดยผ่านท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ในระดับที่สูงสุด และในระดับรองลงมาก็คือจำเป็นในการขอผ่าน (ตะวัซซุ้ล) บรรดาอะฮ์ลุลบัยติ์และบรรดาอิมาม (อ.) ผู้บริสุทธิ์ ให้ท่านเหล่านั้นวิงวอนขอการอภัยโทษต่อพระผู้เป็นเจ้าให้แก่พวกเรา การดำรงอยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์เหล่านี้ คือทางผ่านแห่งการอภัยโทษของพระผู้เป็นเจ้า การประทานสิ่งดีงามและความเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้าจะต้องผ่านพวกท่านเหล่านั้นไปสู่มวลมะลาอิกะฮ์ (ทูตสวรรค์) และจากสื่อพวกท่านเหล่านั้นจะมาถึงยังบรรดาผู้ศรัทธา ตราบที่ท่านเหล่านั้นยังไม่พึงพอใจ การอภัยโทษโดยผ่านมวลมะลาอิกะฮ์ก็จะยังไม่เกิดขึ้นสำหรับมวลผู้ศรัทธา และสิ่งนี้ก็คือข้อเท็จจริงที่มีปรากฏอยู่ในบทซิยาเราะฮ์ อัลญามิอะฮ์ ที่กล่าวว่า :

 

«یا ولی الله! ان بینی و بین الله عز وجل ذنوباً لا یأتی علیها الا رضاکم»

“โอ้วลี (ผู้ใกล้ชิด) ของพระผู้เป็นเจ้า ระหว่างข้าฯ และพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเกริกเกียรติ ผู้ทรงเกรียงไกรนั้น มีความผิดบาปที่มันจะไม่ถูกขจัดไป เว้นแต่ด้วยความพึงพอใจของพวกท่าน”

 

 

แหล่งอ้างอิง :

 

(1) อัลกุรอาน บทฆอฟิร โองการที่ 7


(2) เพื่อที่จะรับรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ โปรดอ่านจากหนังสือ “กิยาเม่ กิยามัต” (การฟื้นคืนชีพในโลกหน้า) จากผู้เขียนนี้ หน้าที่ 78 ถึง 84 และ “มะอาด” (การฟื้นคืนชีพ) หรือ “บอซกัชต์ เบฮ์ โคดา” (การกลับคืนสู่พระผู้เป็นเจ้า) จากผู้เขียนเดียวกัน เล่มที่ 1, หน้า 87 ถึง 123


(3) อัลกุรอาน บทอัชชูรอ โองการที่ 5


(4) อัลกุรอาน บทฆอฟิร โองการที่ 7


(5) บิฮารุลอันวาร, เล่มที่ 59, หน้าที่ 190, ฮะดีษที่ 44


(6) เล่มเดิม, หน้าที่ 191, ฮะดีษที่ 49


(7) เล่มเดิม, หน้าที่ 196, ฮะดีษที่ 61

 

 

ผู้เขียน : มุฮัมมะดี ที่มา : tebyan.net

 

แปล/เรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ


ขอขอบคุณเว็บไซต์ islamicstudiesth

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ตัฟซีรซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ ...
ดุอากุเมล คำอ่านพร้อมความหมาย
...
เปชวาร์ราตรี : เสวนาคืนที่ 1 ...
...
สระน้ำเกาษัรคืออะไร?
ความอธรรมในอัลกุรอาน
...
“ฟาฏิมะฮ์”แปลว่าอะไร? ...
...

 
user comment