ไทยแลนด์
Wednesday 6th of November 2024
0
نفر 0

การให้ความสำคัญต่อการอ่านอัล-กุรอาน

การให้ความสำคัญต่อการอ่านอัล-กุรอาน
การให้ความสำคัญต่อการอ่านอัล-กุรอาน


จะมีสิ่งใดสวยงามไปกว่าการที่มนุษย์ได้รำพันพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้า การเข้าสู่พระองค์ด้วยการอ่านโองการต่าง ๆ ของพระองค์ และการพันธนะการตนเองให้เข้ากับความเมตตาของพระองค์

ถ้าหากไม่มีความโปรดปรานใดถูกประทานลงมาให้มนุษย์ นอกจากการอนูญาตให้อ่านพระดำรัสของพระองค์เพียงอย่างเดียว เท่านี้ก็ถือว่าเพียงพอแล้วต่อการที่มนุษย์จะทำการสูญูด (กราบ)ขอบคุณพระองค์ตลอดไปเว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

แน่นอนการรู้จักพระดำรัสของพระองค์ และการได้อ่านถ้อยคำเหล่านั้นเป็นความโปรดปรานที่ยิ่งใหญ่ที่พระองค์ได้มอบให้กับบ่าวบางคนของพระองค์ ดังนั้น จะเห็นว่าโองการแรกที่ถูกประทานให้กับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า

اقْرَأْ بِاسْمِ رَبِّكَ الَّذِي خَلَقَ  خَلَقَ الْإِنسَانَ مِنْ عَلَقٍ  اقْرَأْ وَرَبُّكَ الْأَكْرَمُ  

จงอ่านด้วยพระนามแห่งพระผู้อภิบาลของเจ้าผู้ทรงบังเกิด ทรงบังเกิดมนุษย์จากก้อนเลือด จงอ่านเถิด และพระเจ้าของเจ้านั้นผู้ทรงใจบุญยิ่ง (อัล-อะลัก/๑-๓)

โองการอัล-กุรอานและฮะดีษจำนวนมากมายจากอิมามมะอฺซูม(ผู้บริสุทธิ์) (อ.) ได้กล่าวเน้นเรื่องการอ่านอัล-กุรอาน และได้เตือนสำทับในรูปแบบต่าง ๆ ถึงความสำคัญในการอ่าน

อัล-กุรอานกล่าวว่า ดังนั้นสูเจ้าจงอ่านอัล-กุรอานตามสะดวกเถิด (อัล-มุซซัมมิล/๒๐)

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า อัล-กุรอานเป็นเสมือนงานเลี้ยงของพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นท่านจงตักตวงตามความสามารถ (มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๗๔)

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าว่า เป็นการดีสำหรับผู้ศรัทธาที่จะไม่ตายจนกว่าจะได้เรียนรู้อัล-กุรอาน หรืออยู่ระหว่างการเรียนรู้ (อุซูลุลกาฟียฺ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๔๔๔ พิมพ์ที่ มักตะบะตุล อิสลามียะฮฺ)

ท่านอิมาม (อ.) ยังได้กล่าวต่ออีกว่า ระดับของสรวงสวรรค์ขึ้นอยู่กับจำนวนโองการอัล-กุรอาน ดังนั้น จะมีเสียงกล่าวกับนักอ่านอัล-กุรอานว่าจงขึ้นมา (มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๗๔)

มารยาทการอ่านอัล-กุรอาน

อาดาบ ความหมายตามพจนานุกรมหมายถึง การรักษาขอบเขตของทุกสิ่ง

ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่านักตัฟซีรบางท่านกล่าวว่า อาดาบหมายถึงลักษณะ หรือภาพลักษณ์ที่เป็นที่ ๆ ยอมรับ (วิธีการที่ดี) และมีความเหมาะสมที่จะปฏิบัติตามทั้งในแง่ของศาสนาและสติปัญญา
 (ตัฟซีรอัล-มีซาน เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๔ / ๒๗๓)

ดังนั้น อาดาบ (มารยาท) ของงานทุกอย่างจึงหมายถึง ลักษณะและภาพลักษณ์ที่ดีที่ถูกปฏิบัติ และมนุษย์ไม่สามารถผิดกฎหรือออกนอกขอบเขตได้

อัล-กุรอานได้กล่าวถึงอาดาบ (มารยาท) อันเป็นแหล่งและเป็นแก่นแท้แห่งความปรารถนาไว้อย่างกว้างขวาง ประกอบกับคำแนะนำของอิมามผู้บริสุทธิ์ เช่น

๑. เป็นคำสั่งของอัล-กุรอาน เช่น ให้สงบและนิ่งเงียบเมื่ออ่านกุรอาน

๒. คำแนะนำของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ) เกี่ยวกับอารอ่านอัล-กุรอาน เช่น กล่าวบิซมิลลาฮฺ หรื่อกล่าวดุอาอฺทั้งก่อนและหลังการอ่าน

๓. คำตัดสินของสติปัญญา และบรรดานักปราชญ์ทั้งหลายที่ว่าต้องให้เกียรติต่ออัล-กุรอาน และต้องป้องกันการดูถูกที่อาจเกิดขึ้นเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ลึกซึ้งและดีกว่า

๔. การตัดสินของจิตใจ เนื่องจากความรักทีมีต่อพระองค์ จึงมีความรักต่อพระดำรัสของพระองค์ หมายถึงมนุษย์ส่วนใหญ่มักรักสิ่งที่มีความสวยงาม และยอมจำนนต่อความสวยงาม ซึ่งสิ่งที่มีความสวยงามที่สุดคืออัลลอฮฺ และทุกสิ่งที่เป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ ดังนั้น อัล-กุรอานเป็นพระดำรัสของพระองค์จึงเป็นหนึ่งในความสวยงามที่สุด

ด้วยเหตุนี้ มนุษย์จึงมีความรักในพระดำรัสของพระองค์ ให้เกียรติ แสดงความนอบน้อม และอ่านอย่างไพเราะ

และบนพื้นฐานดังกล่าวจะเห็นว่ามารยาทในการอ่านอัล-กุรอานเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เหมื่อนการงานอย่างอื่นทีมีความสำคัญ ที่การเริ่มต้น และมีเงื่อนไขต่าง ๆ มากมาย ซึ่งเรียกสิงเหล่านี้ว่า อาดาบ (มารยาท) การอ่านอัล-กุรอาน เนื่องจากว่าเป็นการแสดงตน ณ พระพักตร์ของพระองค์มารยาทจึงเป็นสิ่งจำเป็น

มารยาทการอ่านอัล-กุรอานแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนดังนี้ มารยาทด้านนอก และมารยาทด้านใน

มารยาทด้านนอกในการอ่านอัล-กุรอาน

เป็นธรรมดาเมื่อคนเราอยู่ต่อหน้าบุคคลสำคัญจำเป็นต้องแสดงมารยาทที่ดีงามเพื่อเป็นการให้เกียรติและให้ความเคารพต่อบุคคลนั้น

การอ่านอัล-กุรอานถือเป็นหนึ่งในการให้เกียรติต่ออัล-กุรอาน และพระผู้เป็นเจ้าของดำรัส หมายถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) เนื่องจากการอ่านอัล-กุรอานเท่ากับเป็นการสนทนากับพระองค์

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า บุคคลใดปรารถนาจะพูดคุยกับอัลลอฮฺจงอ่านอัล-กุรอาน
 (กันซุลอุมาล เล่มที่ ๑๑ ฮะดีซที่ ๒๒๕๗ หน้าที่ ๕๑๐)

อีกนัยหนึ่ง ผู้อ่านอัล-กุรอานนั้นถือว่าเป็นผู้สนทนาร่วมระหว่างตนกับอัลลอฮฺ (ซบ.) ดังนั้น เมื่ออัลลอฮฺ (ซบ.) สนทนาด้วยจำเป็นต้องใส่ใจต่อบทนำ มารยาท และเงื่อนไขต่าง ๆ ในการอ่านอัล-กุรอาน เพื่อว่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์มากที่สุด และที่สำคัญไปกว่านั้นเพื่อว่าจะได้อยู่ในความเมตตาและความรักของพระองค์

 มารยาทภายนอกทั่วไปในการอ่านอัล-กุรอาน เช่น

๑. ความสะอาด (วุฎูอฺหรือฆุซลฺ)

อัล-กุรอานกล่าวว่า ไม่มีผู้ใดสัมผัสอัล-กุรอานได้ นอกจากบรรดาผู้บริสุทธิ์เท่านั้น (อัล-วากิอะฮฺ/๗๙)

ด้วยเหตุนี้ บางริวายะฮฺ และฟิกฮฺบางเล่มได้ถืฮโองการข้างต้นเป็นพื้นฐานพิสูจน์ว่า การสัมผัสอัล-กุรอานขณะที่ร่างกายปราศจากวุฎูอฺเป็นฮะรอม
 (มุซตัมซัก อัล-อุรวะตุลวุซกอ ซัยยิดมุฮฺซิน เฏาะบา เฏาะบาอียฺ ฮะกีม เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๗๒, วะซาอิลุชชีอะฮฺ บาบที่ ๑๒ บาบวุฎูอฺ ฮะดีซที่ ๓)

ความสะอาดของผู้อ่านเป็นมารยาทสำคัญเมื่ออยู่ต่อหน้าอัล-กุรอาน เพราะเป็นพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้า การให้เกียรติและแสดงความนอบน้อมถือเป็นความจำเป็นสำหรับผู้อ่านทุกคน และสำหรับความสะอาดนั้นสามารถจำแนกออกเป็น

วุฎูและฆุซลฺวาญิบ ทุกครั้งที่ต้องการสัมผัสอัล-กุรอานเป็นวาญิบต้องทำวุฎ แต่ถ้ามีญูนุบหรือสตรีที่หมดรอบเดือนเป็นวาญิบต้องฆุซลฺก่อน

วุฎูอฺและฆุซลฺมุซตะฮับ วุฎูอฺถือเป็นเงื่อนไขที่สมบูรณ์สำหรับการอ่านอัล-กุรอาน ดัวยเหตุนี้เมื่อต้องการควรมีวุฎุอฺ

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ถ้าบุคคลใดอ่านอัล-กุรอานนอกเวลานะมาซ โดยมีวุฎูอฺจะได้รับผลบุญ ๒๕ ความดี ส่วนผู้ที่อ่านโดยไม่มีวุฎูอฺจะได้รับ ๑๐ ความดี (มะฮัจตุลบัยฎอ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๒๑, วะซาอิลุชชีอะฮฺ บาบที่ ๑๓ อับวาบกะรออะตุลกุรอาน กิตาบุซเซาะลาฮฺ ฮะดีซที่ ๓)

๒. การให้ความสำคัญต่อสุขภาพ (ความสะอาด)

ประเด็นดังกล่าวสามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้

ความสะอาดของปาก ริวายะฮฺกล่าวว่าคุณสมบัติพิเศษประการหนึ่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือท่านจะแปรงฟันก่อนทุกครั้ง ก่อนอิบาดะฮฺโดยเฉพาะอย่างยิ่งอ่านอัล-กุรอาน และนะมาซเซาะลาตุลลัยลฺ ท่านได้กล่าวกับบรรดาสาวกของท่านว่า

พวกท่านทั้งหลายจงทำความสะอาดทางเดินของอัล-กุรอาน

มีผู้ถามว่า โอ้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ท่านหมายถึงสิ่งใดหรือ

ท่านตอบว่า มันคือปากาของพวกท่าน

มีผู้ถามว่า เราจะทำความสะอาดด้วยวิธีใด

ท่านตอบว่า ด้วยการแปรงฟัน (มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๘๕ , ๘๖)

ความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้า เป็นการดีขณะอ่านอัล-กุรอาน ร่างกายและเสื้อผ้าต้องสะอาดปราศจากนะยิซ เช่น เลือด ปัสสาวะ และอื่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้อัล-กุรอานเปื้อนนะยิซและถูกดูถูก และเป็นการดีสำหรับผู้อ่านอัล-กุรอานควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด สุภาพ และใส่น้ำหอมเพื่อเป็นแบบอย่างแก่คนอื่นทั่วไป

๓. ดุอาอฺก่อนอ่านอัล-กุรอาน

สำหรับการปฏิบัติภารกิจทั้งหลาย การเตรียมพร้อมถือเป็นความจำเป็น ดังนั้นการที่มนุษย์จะเข้าสู่อัล-กุรอานเป็นการดีควรมีการเตรียมพร้อมตนเองเสียก่อน ซึ่งการเตรียมพร้อมสามารถสัมฤทธิ์ผลได้โดยผ่านสื่อของดุอาอฺ

บรรดาอิมาม (อ.) ได้แนะนำดุอาอฺไว้มากมายสำหรับเริ่มต้นอ่านอัล-กุรอาน เช่น ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า

اّللَّهُمَّ اِنِّى اَشْهَدُ اَنَّ هَذَا كِتَا بُكَ الْمُنْزَلُ مِنْ عِنْدِ كَ علَى رَسُوْلِكَ مُحَمَّدِ بْنِ عَبْدِ اللّهِ صَلَّ اللَّهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ وَ كَلَامُكَ النَّاطِقُ عَلَى لِسَانِ نَبِيِّكَ جَعَلْتَهُ هَادِيًا مِنْكَ اِلَى خَلْقِكَ وَ حَبْلاً مُتِّصِلاً فِيْمَا بَيْنَكَ وَ بَيْنِ عِبَادِكَ اَللَّهُمَّ اِنَّى نَشَرْتُ عَهْدَكَ وَ كِتَابَكَ اَللَّهُمَّ فَاجْعَلْ نَظَرِىْ فِيْهِ عِبَادَةً وَ قِرَائَتِى فِيْهِ فِكْرًا وَ فِكْرِىْ فِيْهِ اِعْتِبَارًا


โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงข้าพระองค์ขอเป็นสักขีพยานว่า แท้จริงนี่คือคัมภีร์ของพระองค์ที่ถูกประทานจากพระองค์ ยังศาสนทูตของพระองค์ มุฮัมมัด บิน อับดุลลอฮฺ ขออัลลอฮฺทรงประสาทพรแด่ท่านและลูกหลานของท่าน ถ้อยคำของพระองค์ที่เอื้อนเอ่ยโดยคำพูดของศาสนดาแห่งพระองค์ ขอทรงโปรดบันดาลให้ถ้อยคำเป็นเครื่องชี้นำจากพระองค์ แก่บรรดาสิ่งถูกสร้างของพระองค์ และเป็นสายเชือกที่ผูกสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับปวงบ่าวของพระองค์ โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงข้าพระองค์ได้แผ่ขยายสัญญาของพระองค์ และคัมภีร์ของพระองค์ โอ้อัลลอฮฺ ดังนั้น โปรดทรงบันดาลให้การมองคัมภีร์ของข้าฯ เป็นอิบาดะฮฺ และการอ่านคัมภีร์ของข้าฯ เป็นการคิดใคร่ครวญ และโปรดทำให้การคิดของข้าฯ เป็นอุทาหรณ์เตือนสติ..


๔. การขอความคุ้มครองจากพระผู้เป็นเจ้า (อิซติอาซะฮฺ)

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า ดังนั้น เมื่อเจ้าอ่านอัล-กรุอาน จงขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฏอนมารร้ายที่ถูกสาปแช่ง (อัล-นะฮฺลิ / ๙๘)

อิซติอาซะฮฺ เป็นพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าแก่บรรดานักอ่านอัล-กุรอานทั้งหลาย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก่อนที่จะอ่านอัล-กุรอาน ท่านจะกล่าวว่า อะอูซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอนิรเราะญีม
 ( اَعُوذُ بِاللَّهِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ)

ข้าฯขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฏอนมารร้ายที่ถูกสาปแช่ง

อิซติอาอะฮฺ ในพจนานุกรมหมายถึงการขอความคุ้มครอง

ส่วนในความหมายของนักปราชญ์ หมายถึงผู้อ่านอัล-กุรอานก่อนที่จะเริ่มอ่านอัล-กุรอานไม่ว่าตรงส่วนไหนของอัล-กุรอานก็ตาม (เริ่มต้น ตรงกลาง หรือตอนท้ายของซูเราะฮฺ) ก่อนบิซมิลลาฮฺ จะกล่าวว่า อะอูซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอนิรเราะญีม หมายถึง ข้าฯขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฏอนมารร้ายที่ถูกสาปแช่ง

ด้วยเหตุนี้ก่อนอ่านอัล-กุรอานจึงทูลขอกับอัลลอฮฺ (ซบ.) ว่า โปรดคุ้มครองตนให้พ้นจากความชั่วของชัยฏอนมารร้ายที่ถูกสาปแช่ง เพื่อมิให้การอ่านของตนเป็นการโอ้อวด หรือเป็นการแสดงเอาหน้าเอาตา ขณะที่อ่านต้องการให้จิตใจมีความนอบน้อมมุ่งมั่นแต่อัลลอฮฺ (ซบ.) เพื่อให้อัล-กุรอานมีผลต่อจิตวิญญาณของตน

คำเตือน

 อิซติอาซะฮฺมี ๒ ส่วนคือ ความหมายตามคำ กับความหมายที่แท้จริง

หมายถึง บางครั้งมนุษย์ขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ด้วยความสมบูรณ์ แต่จิตใจมิได้เป็นเช่นนั้น และในบางครั้งแค่กล่าวคำเท่านั้น แต่การมีอยู่ทั้งหมดได้นอบน้อม ยอมจำนน และขอความคุ้มครองเฉพาะพระองค์เท่านั้น

อิสติอาซะฮฺ ต้องแสดงออกอย่างแท้จริงเพื่อให้เกิดผล อัลลอฮฺ (ซบ.) จะได้ให้ความคุ้มครองและปรับปรุงแก้ไขเรา

การขอความคุ้มครองที่แท้จริง ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ท่านทั้งหลาย จงปิดประตูการละเมิดฝ่าฝืนด้วยการขอความคุ้มครอง (อิซติอาซะฮฺ) และจงเปิดประตูแห่งการเชื่อฟังปฏิบัติตาม (ฏออะฮฺ) ด้วยการกล่าวบิซมิลลาฮฺ

เกียวกับเรื่องนี้ลองพิจารณาคำพูดของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กล่าวว่า ส่วนหนึ่งจากมารยาทที่สำคัญของการอ่านอัล-กุรอานคือ การขอความคุ้มครองจากพระผู้เป็นเจ้าให้พ้นจากชัยฏอนมารร้ายผู้ถูกสาปแช่ง ซึ่งเป็นขวากหนามในหนทางแห่งมะอฺริฟะฮฺ (การรู้จัก) และการเดินทางไปสู่พระผู้เป็นเจ้า การขอความคุ้มครองจะไม่สัมฤทธิ์ผลเพียงแค่การกระดิกลิ้น รูปคำที่ไร้จิญญาณ และดุนยาที่ปราศจากอาคิเราะฮฺ ดังเช่นที่มีบุคคงจำนวนมากที่กล่าวคำ ๆ นี้ตลอดระยะเวลา ๔๐-๕๐ ปี แต่พวกกเขากลับไม่รอดพ้นจากความชั่วร้ายของชัยฏอนมารร้าย ในทางกลับกันมารย่ทต่าง ๆ และการกระของพวกเขายิ่งไปกว่านั้น ตวามเชื่อถือต่าง ๆ ของเขากลับดำเนินและปฏิบัติตามชัยฏอนมารร้าย (อาดาบุซเซาะลาฮฺ อิมามโคมัยนี หน้าที่ ๒๒๑)

๕.การกล่าวบิซมิลลาฮิรเราะมานิรเราะฮีม

อัล-กุรอานได้มีบัญชาแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า จงอ่านด้วยพระนามแห่งพระผู้อภิบาลของเจ้า (อัล-อะลัก/๑)

บิซมิลลาฮฺ คือคำขวัญที่บริสุทธิ์เฉพาะมวลมุสลิมทีจะเริ่มต้นคำพูดและการงานต่าง ๆ ของตน เพื่อให้การงานเหล่านั้นมีสัญลักษณ์ของพระผู้เป็นเจ้า

เกี่ยวกับอัล-กุรอานมี ๒ ประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้

๑. บิซมิลลาฮฺ ในส่วนเริ่มต้นของทุกซูเราะฮฺ เป็นส่วนหนึ่งของโองการอัล-กุรอาน เฉพาะซูเราะฮฺบะรออะฮฺเท่านั้นที่ไม่มี บิซมิลลาฮฺ จากจุดนี้เมื่อขึ้นซูเราะฮฺใหม่ทุกครั้งจำเป็นต้องอ่านบิซมิลลาฮฺทุกครั้ง เนื่องถือเป็นโองการแรกของซูเราะฮฺ ยกเว้นซูเราะฮฺบะรออะฮฺ

๒.กรณีที่เริ่มต้นอ่านจากตรงกลางซูเราะฮฺ (ระหว่างโองการต่าง ๆ) ไม่ว่าซูเราะฮฺใดก็ตามสามารถกล่าวหรือไม่กล่าวบิซมิลลาฮฺก็ได้

คำเตือน ไม่ว่าจะเริ่มต้นอ่านตรงส่วนใดของอัล-กุรอานก็ตามจำเป็นต้องเริ่มต้นด้วย อะอูซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอนิรเราะญีม

หมายถึงถ้าผู้อ่านต้องการกล่าวบิซมิลลาฮฺ เป็นการดีให้กล่าว อิซติอาซะฮฺก่อน
๖.การอ่านจากอัล-กุรอาน

ริวายะฮฺจำนวนได้แจ้งว่าควรอ่านอัล-กุรอานจากที่เขียนไว้ เซาะฮาบะฮฺท่านหนึ่งของท่านอิมามซอดิก (อ.) นามว่าอิกฮาก บิน อัมมารได้ถามท่านว่า โอ้บุตรของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ฉันควรจะอ่านอัล-กุรอานจากความจำหรือจากที่บันทึกไว้ดี

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า มองและอ่านจากที่เขียนไว้ดีกว่า ท่านไม่รู้ดอกหรือว่าการมองอัล-กุรอานเป็นอิบาดะฮฺ[๑]

เกียวกับเรื่องการเน้นให้อ่านอัล-กุรอานจากที่บันทึกไว้มีรายงานมากมายและแตกต่างกัน

๑. การมองอัล-กุรอานเป็นอิบาดะฮฺ :และสายตาที่จ้องมองอัล-กุรอานจะได้รับประโยชน์มากมาย ดังเช่นริวายะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า

النظر فى المصحف يعنى صحيفة القرآن عبادة

การมองในมุซฮับ หมายถึงการมองที่หน้ากระดาษของอัล-กุรอานเป็นอิบาดะฮฺ[๒]

จากริวายะฮฺดังกล่าวจะเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับคนที่อ่านไม่เป็นเขียนไม่ได้ เนื่องจากไม่สามารถอ่านอัล-กุรอานแต่ได้รับประโยชน์จากการมอง

๒. การให้ความสำคัญต่อสิทธิของอัล-กุรอาน: อ่านและย้อนกลับไปหาอัล-กุรอานบ่อย ๆ เป็นการทำให้อัล-กุรอานที่อยู่ในบ้านและมัสญิดลดความแปลกหน้าลงไป

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่จะทำการร้องเรียนต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) คืออัล-กุรอานถึงการถูกทอดทิ้งที่ไม่ได้ถูกอ่านและฝุ่นละอองที่เกาะจับ[๓]

๓. การอ่านอัล-กุรอานจากที่บันทึกไว้เป็นสาเหตุทำให้บาปของบิดามารดาของคนอ่านถูกลบล้าง ริวายะฮฺกล่าวว่า

عن ابي عبد الله : قرائة القرآن فى المصحف تخفف العذاب عن الوالدين ولو كانا كافرين

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า การอ่านอัล-กุรอานจากที่บันทึกไว้เป็นเหตุทำให้บาปของบิดามารดาถูกลบล้าง แม้ว่าทั้งสองจะเป็นกาฟิรก็ตาม [๔]

๔. ทำให้มีการพิมพ์อัล-กุรอานซ้ำหลายครั้ง ซึ่งสิ่งนี้เท่ากับเป็นการเผยแผ่วัฒนธรรมของอัล-กุรอาน

คำเตือน สำหรับผู้ที่ท่องจำอัล-กุรอานเป็นการดีให้ท่องจำจากที่บันทึกเอาไว้ ดังที่ท่านอิมามได้กล่าวกับอิซฮาก บิน อัมมาร ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการท่องจำ

๗.การอ่านอัล-กุรอาน ด้วยเสียงค่อยดังและสูงต่ำ

ก. อ่านด้วยเสียงดังและสูง

ริวายะฮฺกล่าวว่า ท่านอิมามซัจญาด (อ.) อ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงดังเสมอเพื่อให้คนในบ้านได้ยิน ท่านซักกอยาน ขณะที่เดินผ่านบ้านท่านอิมามบากิร (อ.) ท่านได้หยุดเพื่อฟังการอ่านอัล-กุรอาน สำหรับการอ่านอัล-กุรอานเสียงดังมีประโยชน์ดังต่อไปนี้

๑. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดังของบิดามารดา มีผลต่อการอบรมสั่งสอนบุตร

๒. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นสาเหตุทำให้มีความสำรวม และจิตใจสงบมั่น

๓. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นการรักษาความบกพร่อง และอาการป่วยไข้ของผู้อ่าน

๔. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นการเรียกร้องบุคคลอื่นให้สนใจอัล-กุรอาน และทำให้มีผลสะท้อนทางจิตวิญญาณ

๕. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เท่ากับเป็นการทำให้วัฒนธรรมของอัล-กุรอานแพร่หลายในสังคม

๖. การอ่านอัล-กุรอานเสียงดัง ซูเราะฮฺฮัม และซูเราะฮฺในนะมาซซุบฮฺ มัฆริบ และอิชาอฺเป็นวาญิบสำหรับผู้ชาย

ข. การอ่านอัล-กุรอานเสียงค่อย จำเป็นสำหรับกรณีต่อไปนี้

๑. เมื่ออ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นสาเหตุทำให้เกิดการโอ้อวด ซึ่งสิ่งนี้เป็นการกระทำที่ไม่มีคุณค่าแต่อย่างใด

๒. เมื่ออ่านอัล-กุรอานเสียงดัง เป็นสาเหตุสร้างความรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น อ่านขณะที่บุคคลอื่นกำลังพักผ่อน หรือเพื่อนบ้านกำลังนอนหลับ อ่านในมัสญิด หรืออ่านขณะที่บุคคลอื่นกำลังอิบาดะฮฺ

๓. เมื่ออ่านอัล-กุรอานเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย เนื่องจากการทำให้ร่างกายเป็นอันตรายไม่ว่าด้วยวิธีการใดก็ตามเป็นฮะรอม ส่วนการอ่านอัล-กุรอานเป็นมุซตะฮับ

๔. การอ่านอัล-กุรอานเสียงค่อยในนะมาซซุฮรฺ และอัซรฺสำหรับบุรุษและสตรีเป็นวาญิบ ส่วนสตรีนั้นไม่ว่าเวลานะมาซใดก็ตามถ้ามีชายอื่นอยู่ด้วยไม่อนุญาตให้อ่านเสียงดัง

๘. การอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะ

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า แน่นอนการอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะถือว่าเป็นเครื่องประดับของอัล-กุรอาน ( انّ حسن الصوت زينة القرآن )

การอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะเป็นสาเหตุให้บุคคลอื่นสนใจอัล-กุรอาน ด้วยเหตุนี้จึงเห็นว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มักอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะเสมอจนกระทั่งกล่าวกันว่าเสียงอ่านอัล-กุรอานที่ไพเราะที่สุดคือเสียงของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

คำเตือน ๑. มีผู้ถามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่าบุคคลใดอ่านอัล-กุรอานเสียงเพราะที่สุด ท่านกล่าวว่า บุคคลที่ได้ยินเสียงอ่านของตนเองแล้วคิดว่าตนอยู่ ณ พระพักตร์ของพระองค์

จากริวายะฮฺดังกล่าวทำให้รู้ว่าการอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะนั้นมี ๒ ลักษณะ

- เสียงไพเราะทั้งภายนอกและคำ

- เสียงไพเราะทั้งคำและความหมาย ซึ่งเป็นผลแก่จิตใจของผู้อ่านและทำให้มีความนอบน้อมเมื่ออยู่ต่อหน้าอัล-กุรอาน

๒. การอ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงไพเราะนอกเหนือไปจากการอ่านควบคู่ด้วยเสียงดนตรี ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานสนุกสนานร่าเริง ถือว่าฮะรอม

๙. การอ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงอาหรับ

ประเด็นดังกล่าวสามารถพิจารณาได้หลายขั้นตอนด้วยกัน กล่าวคือ

ขั้นตอนที ๑ เป็นการอ่านอัล-กุรอานที่ถูกต้อง หมายถึงผู้ที่ต้องการอ่านอัล-กุรอานจำเป็นต้องเรียนรู้การอ่านจากครูบาอาจารย์ หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเพีอเรียนรู้การอ่านที่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺ หรือซูเราะฮฺอื่นเพื่อนะมาซ การเรียนรู้เป็นวาญิบเสียด้วยซ้ำ ส่วนการอ่านอย่างอื่นที่นอกเหนือจากนะมาซถือว่าจำเป็นแต่ไม่ถึงขั้นของวาญิบ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากว่าการออกเสียงอักษรภาษาอาหรับบางตัวไม่เหมือนกับภาษาอื่น เช่น อักษร ( ظ ض ز ذ)ซึ่งบางครั้งเป็นสาเหตุทำให้ผิดพลาดในการออกเสียงและทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปเช่น คำว่า ( عَظِيْم )แปลว่า ใหญ่ ถ้าออกเสียงเป็น ( عِزِيْم )ความหมายจะเปลี่ยนไปทันที่เนื่องจากคำนี้หมายถึง ศัตรู

ข้อควรจำ จะสังเกตเห็นว่าบุคคลที่กำลังเรียนรู้การอ่านอัล-กุรอานมักจะอ่านผิดพลาด แม้ว่าพยายามแก้ไขแล้วก็ยังผิดพลาดอยู่ ซึ่งไม่สามารถอ่านให้ถูกต้องได้ ฉะนั้นบุคคลเหล่านี้ถือว่ามีอุปสรรค แต่เป็นอุปสรรคที่ได้รับการอภัย ณ พระผู้เป็นเจ้า (แต่อย่างไรก็ตามในนะมาซหน้าที่ของเขาจะแตกต่างออกไป) ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ผู้ที่อ่านอัล-กุรอานถ้าระหว่างที่อ่านได้อ่านผิด หรือ่านวรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง หรือออกเสียงภาษาอาหรับไม่ถูกต้อง มะลาอิกะฮฺผู้ที่มีหน้าที่บันทึกความดีงามจะบันทึกการอ่านที่ถูกต้องให้เขา [๕]

ขั้นตอนที่ ๒ การเอาใจใส่ต่อกฎเกณฑ์ของการอ่าน (ตัจวีด) เช่น ใส่ใจต่อการหยุดวรรคตอน การอ่านอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงจุดต่าง ๆ ของตัจวีดที่เป็นสาเหตุของความถูกต้องสมบูรณ์ในการอ่านอัล-กุรอาน ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้นอกจากต้องมีการเรียนรู้จากครูบาอาจารย์และผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องหลักการอ่าน

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า จงอ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงภาษาอาหรับ เพราะอัล-กุรอานถูกประทานลงมาเป็นภาษาอาหรับ [๖]

ขั้นตอนที่ ๓ การเอาใจใส่ต่อท้วงทำนองของการอ่าน หมายถึงถ้าผู้อ่านได้อ่านด้วยสำเนียงภาษาอาหรับ โดยเป็นการส่งความหมายของโองการด้วยสำเนียงและท้วงทำนองอันเฉพาะเจาะจง ที่ไม่ต้องอิงอาศัยเสียงดนตรีประกอบเท่ากับเป็นการเรียกร้องความสนใจได้ดีอย่างยิ่ง

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า จงอ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงภาษาอาหรับ [๗]มีนักอักษรศาสตร์ภาษาอาหรับจำนวนมาก ประกอบกับผู้วิจัยและค้นคว้าเกี่ยวกับอัล-กุรอานได้ยืนยันว่า อัล-กุรอานมีท้วงทำนองที่เฉพาะพิเศษ ซึ่งภาษาอาหรับอื่นที่ไม่ใช่อัล-กุรอานไม่มี

ชะฮีดมุรตะฎอ มุเฏาะฮะรียฺ กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่เรียกร้องให้คนอื่นสนใจอัล-กุรอานคือท้วงทำนอง และลีลาที่ไพเราะจับใจนั่นเอง

๑๐. สถานที่อ่านอัล-กุรอาน

อัล-กุรอานสามารถอ่านได้ทุกที่ถือว่าอนุญาตและเป็นสิ่งที่ดี แต่มีอยู่ ๒ สถานที่ ๆ ได้รับการแนะนำพิเศษ ให้อ่านอัล-กุรอานรกล่าวคือ

- มัสญิด ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ( انما نصب المساجد للقرآن )

มัสญิดทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการอ่านอัล-กุรอาน [๘]

- บ้าน ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า

نوروا بيوتكم بيلاوة القرآن و لا تتخذوها قبورا كما فعلت اليهود و النصارى صلوا فى الكنائس والبيع و عطلوا بيوتكم فان البيت اذا كثر فيه تلاوة القرآن كثر خيره و اتسمع اهله و اضاء لاهل السماء كما يضى النجوم السماء لاهل الدنيا


จงประดับรัศมีบ้านของท่านด้วยการอ่านอัล-กุรอาน จงอย่าทำบ้านของท่านให้เป็นสุสาน ดั่งที่ยะฮูดียฺ และนัซรอนียฺได้กระทำซึ่งพวกเขานมัสการเฉพาะในโบสถ์เท่านั้น พวกเขาไม่ให้ทำการนมัสการในบ้าน และบ้านหลังใดก็ตามมีการอ่านอัล-กุรอานมากความดีและความจำเริญก็จะมากตามไปด้วยและผู้ที่อยู่ในบ้านนั้นก็จะได้รับความดีมากมาย และบ้านหลังนั้นจะกลายเป็นรัศมีที่เจิดจรัสสำหรับชาวฟ้า ดุจดังเช่นดวงดาวแห่งฟากฟ้าได้เจิดจรัสสำหรับชาวดิน[๙]

สรุปประโยชน์ของการอ่านอัล-กุรอานที่บ้าน

๑.เป็นรัศมีประดับประดาบ้านตามกล่าวของฮะดีซที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งการอ่านอัล-กุรอานที่บ้านจะเพิ่มชีวิตชีวา ความดี และความจำเริญมากมายแก่เจ้าของบ้านและคนในบ้าน

๒.เป็นการอบรมจิตวิญญาณที่ดีอย่างหนึ่งสำหรับบุตรหลาน และทำให้ชีวิตของพวกเขามีความผูกพันอยู่กับอัล-กุรอาน

๓.เสียงอ่านอัล-กุรอานภายในบ้านส่งผลจูงใจเพื่อนบ้านให้สนใจการอ่านอัล-กุรอาน อันเป็นผลดีกับสังคม และเป็นการเชิดชูวัฒนธรรมของอัล-กุรอาน

๔.หลีกเลี่ยงการโอ้อวดในการอ่านอัล-กุรอานย่อมทำให้ได้รับผลสรุปอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามกล่าวมาข้างต้น

- การอ่านอัล-กุรอานให้จบที่มักกะฮฺมีผลบุญพิเศษที่เฉพาะเจาะจงมากมาย ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้งซุนียฺและชีอะฮฺ

ข้อควรจำ ไม่อนุญาตให้อ่านอัล-กุรอานในสถานที่ ๆ เป็นการดูถูกอัล-กุรอาน

ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่าบางริวายะฮฺห้ามไม่ให้มีการอ่านอัล-กุรอานในห้องอาบน้ำ หรือห้องส้วมแต่บางริวายะฮฺก็อนุญาต เช่น ริวายะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่กล่าวว่า

سبعة لا يقرون القرآ ن الراكع و الساجد و فى الكنيف و فى الحمام و الجنب و النفساء و الحائض


มี ๗ สถานที่ไม่สมควรอ่านอัล-กุรอาน...ในห้องอาบน้ำ ห้องส้วม ขณะมีญุนุบ โลหิตหลังการคลอดบุตร และรอบเดือน

หมายถึงการอ่านอัล-กุรอานตามสถานทีหรือด้วยสภาพตามกล่าวมาโดยมีเจตนาเพื่อดูถูกอัล-กุรอาน หรือไม่ได้มีเจตนาเพื่อการดูถูกแต่ในทัศนะคนอื่นถือว่าเป็นการดูถูกอัล-กุรอาน ดังนั้นการอ่านอัล-กุรอานเช่นนี้ ถือว่าไม่อนุญาต แต่ถ้าเป็นการรำลึกพระผู้เป็นเจ้า โดยไม่ได้มีเจตนาดูถูกถือว่าไม่เป็นไร










อ้างอืง

[๑](อุซูล อัล กาฟีย์ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๔,๖๑๓ ฮะดีซที่ ๕ ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ เตหราน)

[๒](บิฮารุลอันวาร อัลลามะฮฺ มัจลิซซียฺ เล่มที่ ๘๙ หน้าที่ ๑๙๙)

[๓](อุซูล อัล กาฟียฺ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๖๑๓ ฮะดีซที่ ๓)

[๔](เล่มเดิม ฮะดีซที่ ๔)

[๕](อุซูล อัลกาฟียฺ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๖๑๙ ฮะดีซที่ ๑)

[๖](อุซูล อัลกาฟียฺ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๔๕๐)

[๗](อุซูล อัลกาฟียฺ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๔๕๐)

[๘](วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๔๙๓)

[๙](อุซูลกาฟียฺ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๔๔๖)

ขอขอบคุณเว็บไซต์อัชชีอะฮ์

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
อัลกุรอาน โองการสุดท้ายคืออะไร ...
วะฮฺยูคืออะไร ...
พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างชัยฏอน ...
...
สระน้ำเกาษัรคืออะไร?
กุรอานกับบิ๊กแบง
วันอารอฟะห์ ...
โองการ اخْلُفْنِی فِی قَوْمِی وَأَصْلِحْ ...
...

 
user comment