ไทยแลนด์
Tuesday 15th of October 2024
0
نفر 0

เรื่องเล่าในกุรอาน ตอนที่ 1

เรื่องเล่าในกุรอาน ตอนที่ 1

 


กิซเซาะฮ์คืออะไร ?


กิซเซาะฮ์ (เรื่องเล่า) กุรอานเป็นอย่างไร ?

 

คำนิยามของคำว่า “กิซเซาะตุลกุรอาน”


ประเด็นเกี่ยวกับคำว่า กิซเซาะตุลกุรอาน นักวิชาการมีทัศนะแตกต่างกันดังต่อไปนี้ นักวิชาการบางท่านเชื่อว่า โองการที่ถือว่าเป็นเรื่องเล่าคือโองการที่นำเอาศิลปะและองค์ประกอบในการเล่าเรื่องมาใช้ในการนำเสนอ ตามทัศนะนี้เรื่องราวของ อัซฮาบุลฟีล ไม่ถือว่าเป็นเรื่องเล่าเพราะมีเนื้อหาสั้นไปไม่มีองค์ประกอบในการเล่าเรื่อง


นักวิชาการอีกส่วนหนึ่งเชื่อว่า โองการที่ถูกเรียกว่า “กิซเซาะตุลกุรอาน” คือโองการที่เล่าเรื่องราวของบรรพชนในอดีตเท่านั้น ตามทัศนะนี้ เรื่องราวที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) ซึ่งถือเป็นเรื่องเล่าที่อยู่ร่วมสมัยกับการประทานอัลกุรอานจึงไม่ถูกเรียกว่า “กิซเซาะตุลกุรอาน”


นักวิชาการอีกกลุ่มเชื่อว่า กิซเซาะตุลกุรอาน คือโองการที่กล่าวถึงเรื่องราวในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตามทัศนะนี้ทุกเรื่องราวที่กุรอานเล่าให้ผู้ฟังรวมทั้งเรื่องราวในสมัยนบีถือเป็น “กิซเซาะตุลกุรอาน” ทั้งหมด บางกลุ่มก็เชื่อว่าตัวอย่างที่ถูกนำเสนอในกุรอานก็ถูกนับว่าเป็น กิซเซาะตุลกุรอานด้วยเช่นกัน


จากความขัดแย้งตรงนี้ทำให้มีการคำนวนโองการที่ถือเป็นเรื่องเล่าของกุรอานไปในจำนวนที่ขัดแย้งแตกต่างกันออกไปด้วย บางท่านเชื่อว่าหนึ่งในสี่ของโองการทั้งหมดเป็นเรื่องเล่า บางท่านเชื่อว่า มีเพียง116 เรื่องเล่าด้วยกัน


เพื่อทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “กิซเซาะ” ตามคำนิยามของกุรอานเราจะขอนำเสนอความหมายตามรากศัพย์ของคำว่ากิซเซาะตามคำนิยามของกุรอานและนำเสนอตัวอย่างการนำคำนี้มาใช้ในกุรอานในวาระต่าง ๆ ด้วย

 

1.การเล่าเรื่องราวในอดีตหรือเรื่องราวของชนรุ่นก่อน


فَلَمَّا جَاءَهُ وَقَصَّ عَلَيْهِ الْقَصَصَ قَالَ لَا تَخَفْ نَجَوْتَ مِنَ الْقَوْمِ الظَّالِمِينَ
 

“เมื่อมูซามาหาชุเอบและเล่าเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาให้เขาฟัง ชุเอบจึงกล่าวกับมูซาว่า อย่ากลัวเลยบัดนี้ท่านได้หนีรอดพ้นจากกลุ่มชนผู้กดขี่แล้ว”

 

2.การติดตามร่องรอยของคนหรือสิ่งของ


บางครั้งกุรอานใช้คำว่า กิซเซาะ ไปในความหมายที่สื่อให้เห็นถึงการติดตามร่องรอยของคนหรือสิ่งของ โดยกล่าวว่า


وَقَالَتْ لِأُخْتِهِ قُصِّيهِ فَبَصُرَتْ بِهِ عَنْ جُنُبٍ وَهُمْ لَا يَشْعُرُونَ
 

“มารดาของนบีมูซากล่าวกับลูกสาว (พี่สาวนบีมูซา) ว่า จงติดตามมูซาไปเถิด ต่อมาพี่สาวของนบีมูซาก็เห็นท่านนบีมูซาจากระยะไกลในขณะที่พวกศัตรูไม่ได้สนใจมอง”

 

3.ข่าวคราว , เรื่องราว , เรื่องเล่า


หนึ่งในความหมายของคำว่า กิซเซาะฮ์ คือข่าวที่ถูกเล่าหรือเรื่องเล่า ความหมายนี้ในพจนานุกรมใช้คำว่า กิซเซาะฮ์ ส่วนในกุรอานใช้คำว่า เกาะศอศ โดยคำว่า เกาะศอศ ถูกนำเสนอในกุรอาน 6 ที่ด้วยกัน ซึ่งบางครั้งให้ความหมายเป็นคำนาม ที่หมายถึง ข่าวที่ถูกเล่าหรือข่าวที่ได้รับการติดตาม ดังในโองการนี้ที่กล่าวว่า


لَقَدْ كَانَ فِي قَصَصِهِمْ عِبْرَةٌ لِأُولِي الْأَلْبَابِ
 

แท้จริงเรื่องเล่าของพวกเขา (นบียูซุฟ) มีคำสอนสำหรับผู้มีปัญญา


บางทีก็ให้ความหมายในเชิงอาการนาม หมายถึงการติดตามข่าวและติดตามร่องรอยของคนหรือสิ่งของ เช่น


فارْتَدّا عَلَى آثَارِهِما قَصَصًا
 

หลังจากนั้นมูซาและเด็กหนุ่มที่ติดตามเขา


บทความโดย เชคมูฮัมหมัดอะลี ประดับญาติ

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

วจนะศาสดาจากท่านหญิง
ปรัชญาฮัจญ์ ...
...
ดุอาประจำวันที่ 19 ...
...
...
ในประโยคคำปฏิญาณ (อัชฮะดุ อันลา ...
...
พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ...
เสาหลักของความศรัทธาคืออะไร?

 
user comment