ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

โองการที่ 144 ซูเราะฮ์อาลิอิมรอนบ่งบอกว่าท่านนบี(ซ.ล.)เป็นชะฮีดหรือไม่?

โองการที่ 144 ซูเราะฮ์อาลิอิมรอนบ่งบอกว่าท่านนบี(ซ.ล.)เป็นชะฮีดหรือไม่?

โองการ وَ مَا محُمَّدٌ إِلَّا رَسُولٌ قَدْ خَلَتْ مِن قَبْلِهِ الرُّسُلُ أَ فَإِیْن مَّاتَ أَوْ قُتِلَ انقَلَبْتُمْ عَلىَ أَعْقَابِکُمْ (อาลิอิมรอน,144) บ่งบอกว่าท่านนบี(ซ.ล.)เป็นชะฮีดหรือไม่?

คำตอบโดยสังเขป

ขณะที่เกิดข่าวลือในหมู่มุสลิมขณะทำสงครามอุฮุดว่าท่านนบีถูกสังหารแล้ว อันทำให้มุสลิมบางส่วนถอนตัวจากสงคราม ถึงขั้นที่บางคนหวังจะขอประนีประนอมกับพวกศัตรูและยอมออกจากศาสนาอิสลาม ในสถานการณ์ดังกล่าว โองการข้างต้นได้ประทานลงมาเพื่อตำหนิมุสลิมที่คิดจะปลีกตัวจากสงครามอย่างเผ็ดร้อน โดยสอนว่ามุสลิมจะต้องมั่นคง ในศาสนาไม่ว่าท่านนบีจะมีชีวิตอยู่หรือถูกสังหารไปแล้วก็ตาม จงอย่าหวั่นไหวในศรัทธาเด็ดขาด
ฉะนั้น กริยา قُتِلَ (ถูกสังหาร) เป็นเพียงสมมุติฐานหนึ่งที่กุรอานนำเสนอว่า แม้ท่านนบีจะเพลี่ยงพล้ำถึงขั้นถูกสังหารก็ตาม มุสลิมจะต้องมั่นคงในศาสนาและไม่หวั่นไหวในภารกิจของตน ด้วยเหตุนี้ โองการดังกล่าวจึงใช้พิสูจน์ว่าท่านนบี(ซ.ล.)เป็นชะฮีดไม่ได้

คำตอบเชิงรายละเอียด

ประเด็นที่ว่าท่านนบีเป็นชะฮีดหรือเสียชีวิตโดยปกตินั้น เป็นเรื่องที่มีการพิสูจน์กันไปแล้ว โดยตำราฮะดีษและประวัติศาสตร์ยืนยันว่าท่านเป็นชะฮีด[1]

แต่กรณีเนื้อหาของโองการที่ว่า “มุฮัมมัด(ซ.ล.)คือศาสนทูตของอัลลอฮ์เท่านั้น โดยก่อนหน้าเขาก็มีศาสนทูตท่านอื่นๆมาก่อน มาตรว่าเขาตายหรือถูกสังหาร สูเจ้าจะถอยร่นกระนั้นหรือ? (จะผละจากอิสลามแล้วกลับไปสู่กุฟร์กระนั้นหรือ?) และผู้ใดที่ถอยร่น ก็ย่อมมิได้เป็นภัยแก่พระองค์แต่อย่างใด”[2] หากจะถือเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าท่านนบี(ซ.ล.)เป็นชะฮีด คงต้องชี้แจงเกี่ยวกับเหตุแห่งการประทานโองการข้างต้นเสียก่อน:

ขณะที่การต่อสู้ในสงคราม(อุฮุด)ดำเนินไปอย่างดุเดือด มีผู้ตะโกนว่า “ข้าได้สังหารมุฮัมมัดแล้ว...” ซึ่งในขณะนั้น ชายที่ชื่ออัมร์ บิน กุมัยอะฮ์ ฮาริซีได้ขว้างก้อนหินใส่ท่านนบีกระทั่งทำให้ศีรษะแตก ฟันหักและริมผีปากล่างฉีก และเมื่อศัตรูโถมเข้าหมายจะสังหารท่านนบี(ซ.ล.) มุศอับ บิน อุมัยร์ (หนึ่งในผู้ถือธงกองทัพอิสลาม) ได้เข้าขวางและถูกสังหารแทน จากการที่มุศอับมีหน้าตาคล้ายคลึงท่านนบี ทำให้ศัตรูคิดว่าสังหารท่านเป็นผลสำเร็จ จึงรีบแจ้งแก่กองทัพฝ่ายตนด้วยความดีใจ[3]

ข่าวลือที่แพร่ออกไปช่วยทำให้ฝ่ายศัตรูฮึกเหิมขึ้นฉันใด ก็ทำให้ฝ่ายมุสลิมประหวั่นพรั่นพรึงฉันนั้น มุสลิมกลุ่มใหญ่รีบตะเกียกตะกายเอาตัวรอดจากสมรภูมิอย่างรวดเร็ว บางคนถึงขั้นเตรียมจะกลับไปเป็นกาฟิรแล้วขอใบเบิกทางจากพวกบูชาเจว็ด แต่ยังมีมุสลิมเพียงหยิบมือที่ยอมเสียสละอย่างมั่นคงอย่างเช่น ท่านอิมามอลี(อ.), อบูดุญานะฮ์, ฏ็อลฮะฮ์ และเศาะฮาบะฮ์อีกบางส่วนที่เรียกร้องให้ฝ่ายมุสลิมฮึกเหิมและกลับมาต่อสู้ กระทั่งทราบในภายหลังว่าท่านนบี(ซ.ล.)ยังมีชีวิตอยู่ ในเวลานี้เองที่โองการข้างต้นประทานลงมา โดยได้ตำหนิมุสลิมบางคนที่คิดจะปลีกตัวจากสงครามอย่างเผ็ดร้อน[4] ฉะนั้น โองการข้างต้นต้องการจะสอนว่า อิสลามไม่ไช่ศาสนาที่บูชาตัวบุคคล และแม้ว่าท่านนบี(ซ.ล.)จะถูกสังหารในสมรภูมิจริงๆ มวลมุสลิมก็มีหน้าที่ๆจะต้องดำเนินการต่อสู้ต่อไปและจะต้องยืนหยัดในศาสนาอย่างมั่นคง ทั้งนี้ก็เนื่องจากอิสลามมิได้สูญสลายไปกับการเสียชีวิตหรือการถูกสังหารของท่านนบี ทว่าเป็นศาสนาแห่งสัจธรรมที่จะคงอยู่ตราบชั่วนิรันดร์[5]

ฉะนั้น กริยา قُتِلَ (ถูกสังหาร) เป็นเพียงสมมุติฐานหนึ่งที่กุรอานนำเสนอว่า แม้ท่านนบีจะเพลี่ยงพล้ำถึงขั้นถูกสังหารก็ตาม มุสลิมจะต้องมั่นคงในศาสนาและไม่หวั่นไหวในภารกิจของตน ด้วยเหตุนี้ โองการดังกล่าวจึงใช้พิสูจน์ว่าท่านนบี(ซ.ล.)เป็นชะฮีดไม่ได้

 

[1] ดู: ระเบียน “ท่านนบี(ซ.ล.)เป็นชะฮีดหรือเสียชีวิตปกติ” คำถามที่ 4073 (ลำดับในเว็บไซต์ 4348)

[2] อาลิอิมรอน,144 وَ مَا محُمَّدٌ إِلَّا رَسُولٌ قَدْ خَلَتْ مِن قَبْلِهِ الرُّسُلُ أَ فَإِیْن مَّاتَ أَوْ قُتِلَ انقَلَبْتُمْ عَلىَ أَعْقَابِکُمْ

[3] มะการิม ชีรอซี,นาศิร, ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 3,หน้า 115,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,ปี1374

[4] เพิ่งอ้าง

[5] เพิ่งอ้าง,หน้า 115, และ ดู: ฟัครุรรอซี, อบูอับดิลลาฮ์ มุฮัมมัด บิน อุมัร, มะฟาตีฮุ้ลฆ็อยบ์,เล่ม 9,หน้า 377,ดารอิห์ยาอิตตุรอษิลอะเราะบียะฮ์,เบรุต,ฮ.ศ.1420

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
วะฮฺยูคืออะไร ...
ตัฟซีรซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ ...
ดุอากุเมล คำอ่านพร้อมความหมาย
...
เปชวาร์ราตรี : เสวนาคืนที่ 1 ...
...
สระน้ำเกาษัรคืออะไร?
ความอธรรมในอัลกุรอาน
...

 
user comment