ไทยแลนด์
Monday 25th of November 2024
0
نفر 0

อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ท่านใดที่อ่านดุอาอฺฟะรัจญฺ?

อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ท่านใดที่อ่านดุอาอฺฟะรัจญฺ? กรุณาชี้แจงรายละเอียดของแหล่งอ้างอิง
คำตอบโดยสังเขป

คำว่า “ฟะรัจญฺ” (อ่านโดยให้ฟาเป็นฟัตตะฮฺ) ตามรากศัพท์หมายถึง »การหลุดพ้นจากความทุกข์โศกและความหม่นหมอง«[1] ตำราฮะดีซจำนวนมากที่กล่าวถึงดุอาอฺ และการกระทำสำหรับการ ฟะรัจญฺ และการขยายภารกิจให้กว้างออกไป ตามความหมายในเชิงภาษาตามกล่าวมา

ในที่นี้ จะขอกล่าวสักสามตัวอย่างจากดุอาอฺนามว่า ดุอาอฺฟะรัจญฺ หรือนมาซซึ่งมีนามว่า นมาซฟะรัจญฺ เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ :

หนึ่ง. ดุอาอฺกล่าวโดย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ชื่อว่าดุอาอฺ ฟะรัจญฺ

[2]«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ يَا اللَّهُ يَا اللَّهُ يَا اللَّهُ يَا مَنْ عَلَا فَقَهَرَ...».

สอง. ดุอาอฺ ซึ่งกล่าวโดยเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็น »ดุอาอฺฟะรัจญฺอิมามซะมาน (อ.)  «ซึ่งในประโยคของบทดุอาอฺมีคำว่า »ฟะเราะญัน อาญิลัน«[3] ซึ่งได้เริ่มต้นด้วยประโยคว่า «أللٌهُمَ (إلهِی) عَظُمَ البَلاءُ وَبَرِحَ الخَفَاءُ...»[4]

สาม. นมาซซึ่งรายงานไว้โดยท่านอิมามอะลี (อ.) มีชื่อว่า นมาซฟะรัจญฺ[5]

ส่วนดุอาอฺที่กล่าวว่า «أللٌهُمَ کُن لِوَلِیٌکَ...» เมื่อพิจารณาความหมายที่กล่าวถึง, จึงไม่ได้มีชื่อเรียกว่าดุอาอฺ ฟัรัจญฺ, ทว่าเป็นหนึ่งในบทดุอาอฺ ที่บรรดาชีอะฮฺ ได้วอนขอในสิทธิของท่านอิมามซะมาน (อ.) และเป็นหนึ่งใน อิบาดะฮฺ ของค่ำที่ 23 เดือนรอมฏอน, อย่างไรก็ตามดุอาอฺบทนี้ เมื่อรำลึกท่านอิมาซะมาน (อ.) เมื่อใดก็สามารถอ่านได้เสมอ[6]

 

 


[1] อิบนุ มันซูร, มุฮัมมัด บิน มุกัรรัม, ลิซานุลอรับ, เล่ม 2, หน้า 343, คำว่า «الفَرَج» นัชร์ ดาร ซอดิร, เบรุต, พิมพ์ครั้งที่ 3, ปี ฮ.ศ. 1414, เฏาะรีฮีย์, ฟัครุรดีน, มุจญฺมะอฺ อัลบะฮฺรัยน์, ค้นคว้าและวิจัยโดย ฮุซัยนี้, ซัยยิดอะฮฺมัด, เล่ม 2, หน้า 322, นัชร์ กิตาบ ฟุรูชี มุรตะฎะวียฺ, เตหะราน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ปี ฮ.ศ. 1416

[2] อิบนุ ฏอวูส, อะลี บิน มูซา, มะฮะญุด ดะอฺวาต วะ มันฮัจญุด อิบาดาต, หน้า 90, ดารุลซะคออิร, กุม, พิมพ์ครั้งแรก, ปี ฮ.ศ. 1411

[3] ในที่อื่นดุอาอฺบทนี้มีกล่าวไว้ แต่มีประโยคแตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งจะอ่านหลังจากนมาซอิมามซะมาน (อ.) เชคโฮรอามิลี มุฮัมมัด บิน ฮะซัน , วะซาอิลชีอะฮฺ, เล่ม 8, หน้า 18, มุอัซเซะเซะ อาลัลบัยตฺ (อ.) กุม, พิมพ์ครั้งแรก, ปี ฮ.ศ. 1409

[4] อามิลี กัฟอัมมี, อิบรอฮีม บิน อะลี, อัลมิซบาฮฺ, ญันนะตุลอะมาน อัลวากียะฮฺ วะญันนะตุลอีมาน อัลบากียะฮฺ, หน้า 176, นัชร์ ดาร อัรริฏอ, กุม, พิมพ์ครั้งที่ สอง, ปี ฮ.ศ. 1405

[5]เฏาะบัรซีย์, ฮะซันบินฟัฎล์, มะการิมุลอัคลาก, หน้า 329, ชรีฟ เราะฎียฺ, กุม, พิมพ์ครั้งที่ 4, ปี ฮ.ศ. 1412.

[6] เชคฏูซียฺ, มุฮัมมัด บิน ฮะซัน, ตะฮฺซีบุลอะฮฺกาม, ค้นคว้าโดย : โครอซอนนี,ฮะซันมุซาวี, เล่ม 3, หน้า 103, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, พิมพ์ครั้งที่ 4, ปี ฮ.ศ. 1407, มะฟาตีฮุลญันนาน, อะอฺมาลเดือนรอมฏอน, ดุอาอฺค่ำที่ 23

 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ดุอาอ์ คือ ตัวกำหนดอิหม่าน”
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือศีลอด
อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ในอัล-กุรอาน
อัลกุรอาน คัมภีร์แห่งทางนำ
...
คุณลักษณะของมนุษย์ผู้สมบูรณ์
...
การเป็นศาสดาคนสุดท้ายของโลก
ความโลภคือรากของความชั่วร้าย
...

 
user comment