ไทยแลนด์
Thursday 9th of January 2025
0
نفر 0

เพราะเหตุใดท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงไม่ลงโทษบรรดาพวกกลับกลอกเสียตั้งแต่แรก ทั้งที่ทราบถึงแผนการ การก่อกรรมชั่วของพวกเขาเป็นอย่างดี? ขณะที่ท่านคิเฎรสังหารเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ด้วยเหตุผลที่ว่าเมื่อโตขึ้นเขาจะก่อความเสียหาย?

สาเหตุที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นิ่งเงียบเมื่อเผชิญหน้ากับกลุ่มผู้กลับกลอก และบุคคลที่เป็นปรปักษ์คืออะไร? ทำไมท่านไม่ทำลายพวกเขาตั้งแต่แรก เพื่อว่าจะได้ไม่เกิดเหตุการณ์เลวร้ายภายหลังท่านจากไป ถ้าคิดว่าหากมีการลงโทษก่อนที่จะทำความผิด สิ่งนี้จะกลายเป็นข้ออ้างสำหรับชนบางกลุ่ม, แล้วทำไม่ท่านคิเฎรได้สังหารเด็กชายคนนั้น เพียงเพราะทราบว่าเมื่อโตขึ้นเขาจะก่อความเสียหาย? ทัศนะของท่านเกี่ยวกับคำพูดที่ว่า อัลลอฮฺต้องการทดสอบมนุษย์ด้วยภารกิจดังกล่าว เป็นอย่างไร ท่านคิดว่าถูกต้องหรือไม่ ซึ่งปัจจุบันเราต่างเห็นอาชญากรรมและความป่าเถื่อนของพวกวะฮาบีอยู่ทั่วไป ...ซึ่งไม่เพียงแต่ประชาชนชาวซาอุดิอาระเบียเท่านั้น ที่ถูกพวกเขาสังหารอย่างเหี้ยมโหด ทว่าประชาชนในประเทศอื่นก็ถูกเขาสังหารด้วยเช่นกัน
คำตอบโดยสังเขป

ถ้าหากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) สังหารพวกเขาตั้งแต่วันนั้นให้หมดไป ก่อนที่แผนการของพวกเขาจะถูกปฏิบัต และวันนี้ก็จะไม่มีคำพูดว่า แล้วทำไมท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก่อนที่จะดำเนินการไม่ประณาม หรือไม่ตักเตือนพวกเขาเสียก่อน ทำไมไม่ให้โอกาสพวกเขา บางทีพวกเขาอาจเปลี่ยนแปลงก็ได้ นอกจากนั้นแล้วท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีหน้าที่ปฏิบัติไปตามกฎภายนอก และท่านมิได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺให้ทำการเข้มงวดกับบุคคลที่เป็นผู้กลับกลอก หรือปฏิบัติกับพวกเขาโดยความเข้มงวดอย่างเปิดเผย ดั่งที่บางตอนของคำเทศนาเฆาะดีรได้กล่าวว่า  »ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า วัตถุประสงค์ของอัลลอฮฺ จากโองการดังกล่าวคือ เซาะฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่ง ซึ่งท่านรู้จักทั้งนามและสถานภาพของเขา, แต่ท่านมีหน้าที่ปกปิดพวกเขาไปตามสภาพ«

คำตอบเชิงรายละเอียด

เกี่ยวกับเหตุผลที่ว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นิ่งเงียบในช่วงสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ เมื่อเผชิญกับบรรดาพวกกลับกลอก ต้องกล่าวว่า :

1.ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีหน้าที่ปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ภายนอก นอกจากนั้นท่านมิได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺ ให้ตรวจสอบบุคคลที่เป็นมุนาฟิกีน หรือแสดงท่าที่เข็มงวดกับพวกเขาอย่างเปิดเผย ดังที่บางตอนจากคำเทศนาเฆาะดีรกล่าวถึงโองการที่ว่า ..

«يا أَيُّهَا الَّذينَ أُوتُوا الْكِتابَ آمِنُوا بِما نَزَّلْنا مُصَدِّقاً لِما مَعَكُمْ مِنْ قَبْلِ أَنْ نَطْمِسَ وُجُوهاً فَنَرُدَّها عَلى أَدْبارِها أَوْ نَلْعَنَهُمْ كَما لَعَنَّا أَصْحابَ السَّبْت »،

โอ้ บรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์! จงมีศรัทธาต่อสิ่งที่เราได้ให้ลงมา เพื่อยืนยันสิ่งที่มีอยู่กับพวกเจ้าเถิด ก่อนที่เราจะลบใบหน้าของพวกเขา แล้วให้มันกลับไปอยู่ข้างหลัง หรือไม่ก็จะสาปพวกเขา เช่นเดียวกับที่เราได้สาปบรรดาผู้ที่ทำการละเมิดในวันเสาร์ และคําสั่งของอัลลอฮฺนั้นย่อมถูกปฏิบัติตามเสมอ[1]  ท่านกล่าวว่า »ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า จุดประสงค์ของอัลลอฮฺ จากโองการนี้คือ เซาะฮาบะกลุ่มหนึ่ง ซึ่งฉันรู้จักพวกเขาทั้งชื่อและตระกูล แต่ฉันมีหน้าที่ต้องปกปิดพวกเขา«[2]

2. ต้องพิจารณาว่าเรื่องราวเกี่ยวกับท่านคิเฎรนั้น เป็นกรณียกเว้นพิเศษ ซึ่งไม่อาจนำมาเทียบได้กับทุกเรื่องราว ในยุคสมัยของอิมามมะอฺซูม (อ.) สิ่งเหล่านี้ก็เคยเกิดขึ้นเหมือนกัน ซึ่งอิมามทราบล่วงหน้าถึงความผิดพลาดของประชาชนบางคน ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ก่อนที่เหตุการณ์นั้นจะเกิด ท่านอิมามก็มิได้จัดการกับผู้ที่จะทำให้เหตุการณ์นั้นเกิดแต่อย่างใด แต่จะใช้วิธีโน้มน้าวเพื่อมิให้เขากระทำการนั้น อิมาม (อ.) ทราบดีว่าผู้ใดจะเป็นผู้สังหารท่าน เช่น  »อิมามอะลี (อ.) กับอิบนุมุลญิม« หรือ »อิมามฮะซัน (อ.) กับภรรยาของท่าน«

3.เรื่องราวท่านศาสดายะอฺกูบ (อ.) เช่นกันท่านได้ปฏิบัติตามกฎภายนอก ซึ่งท่านศาสดาทราบดีถึงความอิจฉาริษยาของบรรดาบุตรของท่านที่มีต่อบุตรอีกคนหนึ่ง กระนั้นท่านก็ยังอนุญาตให้ศาสดายูซุบ (อ.) ออกไปเล่น ณ ทะเลทราย จนกระทั่งถูกพี่ๆ จับโยนลงไปในบ่อน้ำ ซึ่งทำให้ท่านต้องแยกกับท่านศาสดายูซุบนานหลายปี[3]

4.อัลกุรอาน กล่าวว่า อัลลอฮฺทรงมีบัญชาแก่ท่านศาสดาว่า  »ดังนั้น เจ้าจงให้โอกาสแก่บรรดาผู้ปฏิเสธเถิด ข้าก็จะให้โอกาสแก่พวกเขาระยะหนึ่ง«[4] แล้วโอกาสเช่นนี้จะไม่ให้แก่บรรดามุสลิมผู้ปฏิบัติตามท่านศาสดา (ซ็อลฯ) บ้างเชียวหรือ

5.ถ้าหากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เผชิญหน้ากับพวกเขา ก่อนที่แผนการของพวกเขาจะถูกดำเนินต่อไป และวันนี้ก็จะไม่มีคำพูดว่า แล้วทำไมท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก่อนที่จะดำเนินการไม่ประณาม หรือไม่ตักเตือนพวกเขาเสียก่อน ทำไมไม่ให้โอกาสพวกเขา บางทีพวกเขาอาจเปลี่ยนแปลงก็ได้ เป็นไปไม่ได้หรือเมื่อเวลาล่วงเลยผ่านไปพวกเขาจะลุแก่โทษ หรือสำนึกผิดในการงานของตน และเป็นไปได้ไหมที่จะลงโทษใครสักคนหนึ่งบนโลกนี้ เพียงแค่เขาคิดจะทำความผิดเท่านั้น และ ...

6. แน่นอน ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ทราบดีถึงความอคติ และเปลวเพลิงแห่งการอาฆาตมาตรร้ายของพวกเขา ประกอบกับพวกกลับกลอกมีจำนวนมาก จึงไม่มีความเหมาะสมที่จะทำการอันใดที่เป็นอันตรายต่ออิสลาม ที่เพิ่งจะวางรากฐานใหม่ๆ

7.อาชญากรรมที่บรรดาวะฮาบีย์ ได้ก่อขึ้นทุกวันนั้น เมื่อพิจารณาตามหลักการของอะฮฺลิซซุนนะฮฺแล้ว ถือว่าไม่ถูกต้อง ไม่ได้รับการยอมรับ และถูกประณามอย่างหนัด สิ่งนี้โดยตัวของมันบ่งบอกให้เห็นถึงโองการที่กล่าวว่า “มวลผู้ศรัทธาเป็นพี่น้องกัน”[5] แต่พวกเขากระทำสิ่งที่สวนทางกัน พวกเขายังเข่นฆ่าพี่น้องมุสลิม สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่ามุสลิมบางกลุ่มมิได้ใส่ใจต่อพื้นฐานกฎระเบียบ จึงได้กระทำทุกอย่างตามอำเภอใจ ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

ท้ายสุดจำเป็นต้องกล่าวว่า ถ้าหากจำเป็นต้องชี้แจงบางสิ่งแก่ประชาชน เกี่ยวกับอนาคตของอิสลาม และการตื่นตัวของมุสลิมละก็ ท่านศาดา (ซ็อล ฯ) ได้กระทำสิ่งนั้นแล้ว อีกด้านหนึ่งท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มิให้สั่งให้กระทำสิ่งใดเกินเลยไปมากกว่านี้ บางทีอาจเป็นเพราะว่าสิ่งนั้นอาจเป็นอันตรายกับอิสลามก็ได้ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงมิได้กระทำมากไปกว่านี้ เพื่อรักษาอิสลาม สายตระกูล และอนุชนรุ่นหลังดำรงสืบต่อไป จนถึงวันหนึ่งซึ่งตัวแทนคนสุดท้ายของท่าน ได้ปรากฏตัวและดำเนินการตามหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายมาทำให้เป้าหมายแห่งการแต่งตั้งศาสดาสำเร็จสมบูรณ์

 


[1] นิซาอฺ, 47.

[2] อิบนุฏอวูส, อะลีบินมูซา, อัลยะกีน บิอิคติซอซิ เมาลานา อะลี อะลัยฮิสลาม บิอิมเราะอะติล มุอฺมีนีน, ค้นคว้าโดย อันซอรรียฺ ซันญานี คูอี, อิสลามอีล, หน้า 354, ดารุลกิตาบ, กุม, พิมพ์ครั้งแรก, ปี 1413.

[3] ยูซุบ, 11,12.

[4] ฏอริก, 17.

[5] ฮุจญฺรอต, 10.

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ชีวประวัติอิมามซัยนุลอาบิดีน ...
...
อัลกุรอาน ...
...
...
บทเรียนจากตัฟซีรเนะฮ์มูเนะฮ์ ...
...
มหัศจรรย์ 7 ประการของศาสดาอีซา ...
ความรู้สึกของท่านนบีมุฮัมมัด ศ. ...
บทเรียนจากนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์

 
user comment