ไทยแลนด์
Tuesday 24th of December 2024
0
نفر 0

อิบรอฮีม (อ.) สหายแห่งพระเจ้า

ความมืดมนของการตั้งภาคีต่อพระผู้เป็นเจ้าและการเคารพบูชารูปเจว็ดได้ปกคลุมทั่วทั้งแผ่นดิน รัศมี (นูร) อันเจิดจรัสแห่งพระผู้เป็นเจ้าและมหาบุรุษแห่งฟากฟ้าได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อภารกิจที่ยิ่งใหญ่ เพื่อทำลายรากฐานของการตั้งภาคี
อิบรอฮีม (อ.) สหายแห่งพระเจ้า

ความมืดมนของการตั้งภาคีต่อพระผู้เป็นเจ้าและการเคารพบูชารูปเจว็ดได้ปกคลุมทั่วทั้งแผ่นดิน รัศมี (นูร) อันเจิดจรัสแห่งพระผู้เป็นเจ้าและมหาบุรุษแห่งฟากฟ้าได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อภารกิจที่ยิ่งใหญ่ เพื่อทำลายรากฐานของการตั้งภาคี (ชิรก์) ใช่แล้ว! ศาสดาอิบรอฮีม (อ. ) คือมหาบุรุษผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งมาเพื่อให้มาทำลายรูปเจว็ดสักการะทั้งหลายของบรรดามุชริกีน (ผู้ตั้งภาคี) ให้หมดสิ้นลงอย่างกล้าหาญ ศาสดาผู้จะมาทำลายรูปเจว็ดและวางรากฐาน (ใหม่) แก่อาคารกะอ์บะฮ์ และทำการต่อสู้โดยลำพังตัวคนเดียวกับการตั้งภาคีต่อพระผู้เป็นเจ้าและการเคารพบูชารูปเจว็ด

ในบทความนี้จะชี้ถึงบางส่วนจากคุณลักษณะของท่านศาสดาอิบรอฮีม ค่อลีลุรเราะห์มาน (อ.) ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) มีคุณลักษณะต่างๆ ที่พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งได้ทรงกล่าวขานเกี่ยวกับตัวท่านไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน ในนาม “อุมมะฮ์” (ประชาชาติหนึ่ง) และได้ทรงแนะนำท่านในฐานะผู้เป็นแบบอย่าง

 

อิบรอฮีม (อ.) ผู้เป็นประชาชาติหนึ่ง

           
ในอัลกุรอานบทอันนะห์ลิ พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงสาธยายคุณลักษณะของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ไว้เช่นนี้ว่า :

 

إِنَّ إِبْرَاهِيمَ كَانَ أُمَّةً قَانِتًا لِلّهِ حَنِيفًا وَلَمْ يَكُ مِنَ الْمُشْرِكِينَ

“แท้จริงอิบรอฮีม (เพียงลำพังผู้เดียว) นั้น เป็นประชาชาติหนึ่ง เป็นผู้ภักดีต่ออัลลอฮ์ เป็นผู้มีภูมิธรรม และเขามิได้อยู่ในหมู่ผู้ตั้งภาคี”

(อัลกรุอานบทอันนะห์ลิ โองการที่ 120)

 

شَاكِرًا لِّأَنْعُمِهِ اجْتَبَاهُ وَهَدَاهُ إِلَى صِرَاطٍ مُّسْتَقِيمٍ

“เป็นผู้กตัญญู (ขอบคุณ) ต่อความโปรดปรานของพระองค์ พระองค์ทรงเลือกเขา และทรงชี้นำเขาสู่ทางที่เที่ยงตรง”

(อัลกุรอานบทอันนะห์ลิ โองการที่ 121)

 

          

พระผู้เป็นเจ้าทรงวิวรณ์ (วะห์ยู) แก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ให้ปฏิบัติตามแนวทางของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) โดยตรัสว่า :

 

ثُمَّ أَوْحَيْنَا إِلَيْكَ أَنِ اتَّبِعْ مِلَّةَ إِبْرَاهِيمَ حَنِيفًا وَ مَا كَانَ مِنَ الْمُشْرِكِينَ

“แล้วเราได้วิวรณ์แก่เจ้าว่า จงปฏิบัติตามศาสนาของอิบรอฮีมผู้มีภูมิธรรมเถิด และเขามิได้อยู่ในหมู่ผู้ตั้งภาคี”

(อัลกุรอานบทอันนะห์ลิ โองการที่ 123)

           
ตามโองการต่างๆ ข้างต้นนี้ การกตัญญู (รู้คุณ) ในเนี๊ยะอ์มัต (ความโปรดปราน) ของพระผู้เป็นเจ้า ความมีภูมิธรรมและการไม่ตั้งภาคีต่อพระผู้เป็นเจ้า คือส่วนหนึ่งจากคุณลักษณะของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.)

        
ในโองการต่างๆ ข้างต้นได้พูดถึงหนึ่งจากตัวอย่างที่สมบูรณ์ของผู้เป็นบ่าวที่กตัญญู (ขอบคุณ) ของพระผู้เป็นเจ้า คือท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) มหาบุรุษผู้เรียกร้องเชิญชวนมนุษยชาติสู่เตาฮีด (การศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว) ท่ามกลางบรรดาคุณลักษณะที่โดดเด่นของมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ คุณลักษณะ 5 ประการที่สำคัญได้ถูกกล่าวถึงในโองการเหล่านี้คือ

    
ในช่วงเริ่มต้นได้กล่าวว่า : إِنَّ إِبْرَاهِيمَ كَانَ أُمَّةً "แท้จริงอิบรอฮีม คือประชาชาติหนึ่ง" ใช่แล้ว! อิบรอฮีมเป็นประชาชาติหนึ่ง เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง เป็นมหาบุรุษผู้สร้างประชาชาติ ในสภาพแวดล้อมทางสังคมของท่านในช่วงเวลานั้นไม่มีใครพูดถึงเรื่องของเตาฮีด (การศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว) แต่ท่านเป็นผู้เรียกร้องเชิญชวนไปสู่เตาฮีด (การศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว)  
   
 อีกคุณลักษณะหนึ่งของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) คือ : قَانِتًا لِلّهِ “เป็นผู้ภักดีต่ออัลลอฮ์”
    
อีกคุณลักษณะหนึ่งคือ : حَنِيفًا “เป็นผู้มีภูมิธรรม” เป็นผู้ธำรงตนอยู่บนแนวทางที่เที่ยงตรงและย่างก้าวไปในทางแห่งสัจธรรม
    
ไม่ตั้งสิ่งใดเป็นภาคีต่อพระผู้เป็นเจ้า : وَلَمْ يَكُ مِنَ الْمُشْرِكِينَ “และเขามิได้อยู่ในหมู่ผู้ตั้งภาคี” ชีวิตทั้งหมด และความคิดในทุกเสี้ยวส่วนของหัวใจของท่านบรรจุจนเต็มเปี่ยมไปด้วย “นูร” (รัศมี) แห่งอัลลอฮ์
    
ติดตามด้วยคุณลักษณะที่ 5 คือ : شَاكِرًا لِّأَنْعُمِهِ “เป็นผู้กตัญญูและขอบคุณต่อความโปรดปรานต่างๆ ของพระองค์”

           
หลังจากการอธิบายถึงคุณลักษณะ 5 ประการนี้แล้ว คัมภีร์อัลกุรอานได้ชี้ถึงผลที่สำคัญของคุณลักษณะเหล่านี้ โดยกล่าวว่า :

    พระผู้เป็นเจ้าทรงเลือกฮิบรอฮีมเป็นศาสดา และทำหน้าที่ประกาศสาส์นของพระองค์ اجْتَبَاهُ “และเราได้คัดเลือกเขา”
    ทรงชี้นำเขา وَهَدَاهُ إِلَى صِرَاطٍ مُّسْتَقِيمٍ  “และพระองค์ทรงชี้นำเขาสู่ทางที่เที่ยงตรง” และพระองค์ทรงปกป้องคุ้มครองท่านจากความผิดบาปและความเบี่ยงเบนออกจากทางนำ เนื่องจากการชี้นำของพระผู้เป็นเจ้าจะเกิดขึ้นหลังจากความพร้อมและความคู่ควรต่างๆ ที่มนุษย์ได้ทำให้มันเกิดขึ้น.... (1)

 

อิบรอฮีม (อ.) แบบอย่างของบรรดามุสลิม

        
 ตามตัวบทของคัมภีร์อัลกุรอาน ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) และผู้ที่อยู่กับท่านเป็นแบบอย่างที่ดีงาม

 

قَدْ كَانَتْ لَكُمْ أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ فِي إِبْرَاهِيمَ وَالَّذِينَ مَعَهُ إِذْ قَالُوا لِقَوْمِهِمْ إِنَّا بُرَآءُ مِنكُمْ وَمِمَّا تَعْبُدُونَ مِن دُونِ اللَّهِ كَفَرْنَا بِكُمْ وَبَدَا بَيْنَنَا وَبَيْنَكُمُ الْعَدَاوَةُ وَالْبَغْضَاءُ أَبَدًا حَتَّىٰ تُؤْمِنُوا بِاللَّهِ وَحْدَهُ

“แน่นอน ได้มีแบบอย่างอันดีงามสำหรับพวกเจ้าแล้วใน (ตัว) อิบรอฮีม และผู้ที่อยู่ร่วมกับเขา เมื่อพวกเขากล่าวแก่หมู่ชนของพวกเขาว่า แท้จริงพวกเราขอปลีกตัวออกจากพวกท่าน และจากสิ่งที่พวกท่านเคารพบูชาอื่นจากอัลลอฮ์ พวกเราขอปฏิเสธพวกท่าน และความเป็นศัตรูและความเกลียดชังระหว่างพวกเรากับพวกท่านได้ปรากฏชัดแล้ว (และจะดำเนินเช่นนี้) ตลอดไป จนกว่าพวกท่านจะศรัทธาต่ออัลลอฮ์องค์เดียว”

(อันกุรอานบทอัลมุมตะหะนะฮ์โองการที่ 4)

 

การเชิดชูเกียรติของเหล่าบุรุษแห่งพระเจ้า

     
การรำลึกและการเชิดชูเกียรติของปวงบุรุษแห่งพระผู้เป็นเจ้านั้น จะทำให้สังคมขับเคลื่อนไปสู่คุณงามความดีและค่านิยมต่างๆ ที่ดีงาม ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เองจำเป็นจะต้องทำให้การรำลึกถึงปวงบุรุษเหล่านั้นดำรงอยู่ในสังคมตลอดไป พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเกริกเกียรติได้ทรงบัญชาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ไว้ในซูเราะฮ์มัรยัม ว่า :

 

وَاذْكُرْ فِي الْكِتَابِ إِبْرَاهِيمَ إِنَّهُ كَانَ صِدِّيقًا نَّبِيًّا

“และจงรำลึก (เรื่องของ) อิบรอฮีมที่อยู่ในคัมภีร์เถิด แท้จริงเขาเป็นผู้วาจาสัจจริงยิ่งนัก และเป็นศาสดาคนหนึ่ง”

(อัลกุรอานบทมัรยัม โองการที่ 41)

 

ความภาคภูมิใจในการทดสอบของพระเจ้า

       
ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ได้ผ่านการทดสอบต่างๆ ที่ยิ่งใหญ่และยากเข็ญยิ่งของพระผู้เป็นเจ้าได้ด้วยความภาคภูมิใจ การเชือดพลีศาสดาอิสมาอีล (อ.) บุตรชายผู้เป็นแก้วตาดวงใจที่อยู่ในวัยหนุ่มของท่าน คือหนึ่งในการทดสอบที่หนักหน่วงที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องยากที่ใครจะสามารถทำได้ แต่ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ได้ปฏิบัติภารกิจตามพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้านี้ได้สำเร็จเป็นอย่างดี คัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า :

 

فَلَمَّا أَسْلَمَا وَتَلَّهُ لِلْجَبِينِ

"ครั้นเมื่อทั้งสอง (อิบรอฮีมและอิสมาอีล) ได้ยอมมอบตน (ต่ออัลลอฮ์) และอิบรอฮีมได้ให้อีสมาอีลคว่ำหน้าลงกับพื้น"

(อัลกุรอานบท อัซซ็อฟฟาต โองการที่ 103)

 

نَادَيْنَاهُ أَنْ يَا إِبْرَاهِيمُ

"และเราได้เรียกเขาว่า โอ้อิบรอฮีมเอ๋ย!"

(อัลกุรอานบทอัซซ็อฟฟาต โองการที่ 104)

 

قَدْ صَدَّقْتَ الرُّؤْيَا إِنَّا كَذَلِكَ نَجْزِي الْمُحْسِنِينَ

"แน่นอน เจ้าได้ปฏิบัติตามฝันอย่างแท้จริงแล้ว แท้จริงเช่นนั้นแหละที่เราจะตอบแทนผู้กระทำความดีทั้งหลาย"

(อัลกุรอานบทอัซซ็อฟฟาต โองการที่ 105)

 

อีกคุณลักษณะหนึ่งของอิบรอฮีม ค่อลีลุลลอฮ์ (อ.)

         
ความเอื้ออาทรและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อันเป็นอีกคุณลักษณะหนึ่งของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เนื่องจากคุณธรรมอันสูงส่งดังกล่าวนี้ (การช่วยเหลือและการให้อาหารแก่ประชาชน) ท่านจึงได้รับตำแหน่งอันสูงส่งคือ “ค่อลีลุลลอฮ์” (สหายของอัลลอฮ์) ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้ในวจนะของท่านว่า

 

ما اتَّخَذَ اللّه ُ إبراهيمَ خَليلاً إلّا لإطعامهِ الطَّعامَ، وصَلاتِهِ باللَّيلِ والنّاسُ نِيامٌ

“อัลลอฮ์มิได้ทรงยึดเอาอิบรอฮีมเป็นสหาย (ด้วยเหตุผลอื่นใด) นอกจากการที่เขาได้ให้อาหาร (แก่ผู้อื่น) และการนมาซในยามกลางคืนของเขา ในขณะที่ผู้คนทั้งหลายนอน" (2)

       
ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) จะไม่รับประทานอาหารโดยไม่มีแขกร่วมรับประทานด้วย และหากบางวันไม่มีแขกมา ท่านจะออกเดินทางไปเป็นระยะทางถึงหนึ่งไมล์ เพื่อค้นหาแขกและรับประทานอาหารร่วมกับเขา วันหนึ่งท่านได้ตามหาแขกและเมื่อได้พบบุคคลผู้หนึ่ง ท่านได้เชื้อเชิญเขาให้ร่วมรับประทานอาหารกับท่าน เมื่อทั้งสองนั่งลง ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ได้กล่าว “บิสมิลลาฮ์” (เริ่มต้นการรับประทานอาหารด้วยพระนามของพระผู้เป็นเจ้า)  แต่ชายผู้นั้นไม่ได้เริ่มต้นการรับประทานอาหารด้วยพระนามของพระผู้เป็นเจ้า ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) จึงกล่าวว่า “ทำไมท่านจึงไม่กล่าวพระนามของพระผู้เป็นเจ้า” เขากล่าวว่า “ใครคือพระเจ้า! ฉันไม่รู้จักพระเจ้า” ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ได้กล่าวว่า “ดังนั้นท่านก็จงลุกออกไปเถิด ฉันจะไม่ร่วมรับประทานอาหารกับคนที่ปฏิเสธพระเจ้า”

       
ชายผู้นั้นได้ลุกขึ้นและเดินจากไป เมื่อท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) อยู่เพียงลำพัง วิวรณ์ (วะห์ยู) ได้ถูกประทานลงมายังท่านว่า “โอ้อิบรอฮีมเอ๋ย! บุคคลผู้นี้ เราได้มอบปัจจัยยังชีพให้แก่เขามาเป็นเวลายาวนานหลายปีโดยที่เราไม่เคยท้วงติงใดๆ ต่อเขา มาวันนี้เราได้มอบปัจจัยยังชีพของเขาผ่านเจ้า แล้วไฉนเจ้าจึงได้ผักไสไล่ส่งเขา” ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ลุกขึ้นอย่างฉับพลันและไล่ตามชายผู้นั้นไป และขอให้เขากลับมารับประทานอาหารร่วมกันอีกครั้ง แต่ชายผู้ปฏิเสธผู้นั้นปฏิเสธที่จะทำตามคำขอร้อง แต่ในที่สุดหลังจากการรบเร้าอย่างมากของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เขาจึงกล่าวว่า “ฉันจะไปด้วยเงื่อนไขหนึ่ง นั่นคือ ท่านจะต้องบอกแก่ฉันก่อนว่าทำไมหลังจากที่ท่านได้ไล่ฉันแล้ว จึงมาตามหาฉันและยืนกรานรบเร้าฉันถึงเพียงนี้เพื่อให้กลับไป”

        
ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ได้อธิบายข้อเท็จจริงโดยกล่าวว่า “พระผู้เป็นเจ้าทรงตำหนิฉันว่า ทำไมฉันจึงขับไล่ท่าน” ชายผู้นั้นได้กล่าวว่า “โอ้แผ่นดินจงกลบหน้าฉันเถิด ที่ฉันได้หันหลังให้พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเมตตาเช่นนี้ โอ้อิบรอฮีมเอ๋ย! ท่านจงสอนให้ฉันรู้จักพระเจ้าของฉันเถิด ในที่สุดเขาก็ได้ศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้า (3)

       

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า สังคมอิสลามจะยุดเอาวิถีการดำเนินชีวิตของมหาบุรุษท่านนี้เป็นแบบอย่างสำหรับการดำเนินชีวิตของตน

 

เชิงอรรถ :

(1) ตัฟซีร นะมูเนะฮ์, เล่มที่ 2, อรรถาธิบายอัลกุรอานบทอันนะห์ลิ

(2) มุนตะค็อบ มีซานุ้ลฮิกมะฮ์, ฮะดีษที่ 1697

(3) อุซูลุดดีน, ชะฮีดเมี๊ยะห์ร็อบ อายะตุลลอฮ์ดัสฆีบ, หน้าที่ 31

 


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ...
การผ่าดวงจันทร์ ...
...
เฆาะดีรในอัล-กุรอาน
1 ซุลฮิจญะฮ์ ...
ทำไม อิบลิส (ซาตาน) ...
อิบรอฮีม (อ.) สหายแห่งพระเจ้า
อัล-กุรอาน, ...
...
กลุ่มก่อการร้ายไอซิส ...

 
user comment