บทเรียนจากอาชูรอ
บทที่ 1 บทเรียนด้านการเมืองจากอาชูรอ
การเคลื่อนไหวและขบวนการของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) มิได้เป็นขบวนการภายในครอบครัวหรือเป็นเรื่องส่วนตัวแต่อย่างใด ทว่าเป็นการเคลื่อนไหวและเป็นการปฏิวัติครั้งยิ่งใหญ่ที่มีต่อรัฐบาลแห่งราชวงศ์อุมัยยะฮฺ ดัวยสาเหตุนี้เองจึงถือว่าการเคลื่อนไหวของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เป็นเรื่องการเมือง ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญหลายประการในการเกิดขึ้นของขบวนการนี้ และหนึ่งในองค์ประกอบเหล่านั้นคือ
ก. การรักษารักษาคำมั่นสัญญาด้านการเมืองเว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม
อิมามฮุซัยนฺ (อ.) ทั้่งที่ทราบดีว่ามุอาวิยะฮฺมิได้มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการเป็นผู้ปกครองสังคมอิสลามแต่อย่างใด แต่ตราบที่มุอาวิยะฮฺมีชีวิตอยู่ท่านอิมามมิได้แสดงท่าทีต่อต้านแม้แต่เล็กน้อย เนื่องจากอิมามต้องการให้เกี่ยรติและรักษาสัญญาที่อิมามฮะซัน (อ.) มีต่อมุอาวิยะฮฺ (1)
แต่เมื่อมุอาวิยะฮฺพยายามผลักดันบุตรชายของตน ขึ้นเป็นผู้ปกครองก่อนที่ตนจะอำลาจากไป และต้องการให้ประชาชนทั้งหลายให้สัตยาบันกับยะซีด แต่อิมาม (อ.) ไม่ยอมทำตาม ท่านได้รอการยืนหยัดต่อต้านจนมุอาวิยะฮฺได้ตายจากไป (2)
ประเด็นสำคัญตรงนี้คือ มีประชาชนชาวกูฟะฮฺจำนวนไม่น้อยหลังจากชะฮาดัตอิมามฮะซัน (อ.) ได้เรียกเชิญให้ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ยืนหยัดต่อต้านมุอาวิยะฮฺ แต่ท่านอิมาม (อ.) ไม่ยอมรับเนื่องจากอิมามฮะซัน (อ.) ทำสนธิสัญญาสงบศึกกับมุอาวิยะฮฺไว้นั่นเอง (3)
แต่อิมาม (อ.) ยอมรับคำเชิญของประชาชนชาวกูฟะฮฺหลังจากมุอาวิยะฮฺได้เสียชีวิตลง สาเหตุที่ยอมรับเนื่องจากว่าท่านอิมามมิได้ทำสนธิสัญญาสงบศึกกับยะซีดไว้นั่นเอง
ข. การเจรจาทางการเมืองในฐานะขั้นตอนการต่อสู้
อิมามฮุซัยนฺ (อ.) ยอมเจรจาการเมืองกับศัตรู เนื่องจากเป็นการต่อสู้ในอีกขั้นตอนหนึ่ง ขณะที่เจรจานั้นท่านจะรักษาสิทธิไว้อย่างหน้าชื่นชม ซึ่งสิทธิสำคัญเหล่านั้นได้แก่
1. ขณะที่อยู่ในมะดีนะฮฺ ท่านจะไม่ตอบข้อเสนอแนะของศัตรูอย่างตรงไปตรงมา และท่านไม่ยอมเปิดโอกาสให้ศัตรูมีข้ออ้างแต่อย่างใด เมื่อวะลีดบุตรของอุตบะฮฺเรียกร้องให้ท่านให้สัตยาบันกับยะซีด ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า เจ้าจงไปเชิญชวนประชาชนมากันให้พร้อมหน้าเพราะคนอย่างข้าจะไม่ให้สัตยาบันอย่างลับ ๆ เด็ดขาด (4)
2. ท่านอิมาม (อ.) จะชลอศัตรูให้ล่าช้าออกไปด้วยการให้สัญญา
3.ท่านอิมาม (อ.) รักษาความปลอดภัยด้วยการนำเอาผู้คุ้มกันติดตามไปด้วย ขณะที่ท่านเดินทางไปพบผู้ปกครองมะดีนะฮฺ (วะลีด) หรือขณะเจรจากับอุมัรบุตรของสะดฺอฺ ซึ่งจะสังเกตพบว่าท่านอิมาม (อ.) คอยระวังตนอยู่ตลอดเวลา จะไม่เผลอไผลเมื่ออยู่ต่อหน้าศัตรู
4. อิมาม (อ.) จะให้สัญญากับเหล่าแม่ทัพนายกองของฝ่ายศัตรู และพยายาที่จะเชิญชวนให้พวกเขากลับใจมาเป็นพรรคพวกของตน (5)
5. อิมาม (อ.) ไม่เคยกลัวการขู่บังคับของศัตรู ยิ่งถ้าเป็นการขู่บังคับทางการเมืองหรือทางทหารด้วยแล้ว ท่านจะตอบศัตรูกลับไปอย่างรุนแรง (6)
6. ท่านอิมาม (อ.) รู้จักศัตรูและเป้าหมายของพวกเขาเป็นอย่างดี ซึ่งประเด็นนี้จะสังเกตเห็นว่าเมื่อบุตรของซุเบร (คู่แข่งทางการเมืองของอิมามในมักกะฮฺ) มาหาท่าน ท่านได้เตือนเขาโดยกล่าวว่า สิ่งที่บุคคลนี้ชอบมากเป็นพิเศษคือ เขาต้องการให้ฉันเดินทางไปอิรัก เนื่องจากเขารู้ดีว่าหากมีฉันอยู่ที่มักกะฮฺ ประชาชนในมักกะฮฺจะไม่มีผู้ใดสนใจเขา
7. บางครั้งท่านอิมาม (อ.) ไม่ตอบข้อซักถามของศัตรู เพื่อไม่ให้เขาดูถูกดูแคลนท่านและท่านจะคอยดูว่าศัตรูจะวางท่าทีอย่างไร ด้วยเหตุนี้เอง ท่านจึงตอบจดหมายของอุมัรบุตรของสะดฺอฺถึง 2 ฉบับ
ค. สาเหตุการยืนหยัดต่อสู้ของรัฐบาลหนึ่ง (สาเหตุการยืนหยัดต่อสู้ของอิมามจากคำพูดของอิมาม)
ทำไมท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ไม่ยอมให้สัตยาบันกับยะซีด ดังเช่นที่พี่ชายของท่านคือ ท่านอิมามฮะซัน (อ.) ได้ลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกกับมุอาวิยะฮฺ
ทำไมท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ต้องออกจากมักกะฮฺด้วย
ทำไมต้องตอบรับคำเชิญของชาวกูฟะฮฺ ทั้งที่รู้ว่าพวกเขาเป็นพวกบิดพลิ้วคำมั่นสัญญาและไม่ซื่อสัตย์
และทำไมอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ต้องเลือกหนทางชะฮาดัต (สละชีพในหนทางของพระเจ้า) ด้วย
ทั้งหมดเหล่านี้เป็นคำถาม ที่ได้ถามท่านอิมาม (อ.) หลายต่อหลายครั้งทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นคำพูด ซึ่งท่านอิมาม (อ.) ได้ตอบคำถามเหล่านั้นอย่างละเอียดแต่จะขอกล่าวเฉพาะที่มีความสำคัญที่สุดเท่านั้น
1. ความไร้เกียรติยศและความชั่วร้ายจากบุคลิกภาพของยะซีด
و يزيد رجل فاسق معلن باالفاسق يشرب الخمر ويلعب بالکلاب و الفهود ويبغض بقيةآل الرسول قاتل نفس المحرمة و مثلي لا يبيع مثله
- ยะซีดเป็นคนชั่วร้ายก่อกรรมชั่วและฝ่าฝืน
- ยะซีดก่อกรรมชั่วอย่างเปิดเผย
- ยะซีดดื่มสุราเมรัยเป็นนิจศีล
- ยะซีดชอบเล่นกับสุนัขและเสือดาว
- ยะซีดเป็นศัตรูกับอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) (7)
- ยะซีดสังหารผู้บริสุทธิ์ (8)
- ข้าจะไม่ให้สัตยาบันกับคนเยี่ยงยะซีดแน่นอน (9)
2. เกรงว่าอิสลามจะถูกขุดรากถอนโคน
ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าวว่า
وعلي الاسلام السلام اذ قدبليت الامه براع مثل يؤزيد
ถ้าหากประชาชาติอิสลามมีผู้นำเยี่ยงยะซีด อิสลามคงพบกับกาลอวสานแน่แท้ (10)
3. ความชั่วร้ายในองค์กรรัฐบาล
يافرزدق ان هولاء القوم لزموا طاعة الشيطان
- โอ้ ฟะรัซดุกเอ๋ย ประชาชนถูกบังคับให้ปฏิบัติตามชัยฏอนเสียแล้ว
و ترکوا طاعة الرحمان
- พวกเขาละเว้นการเคารพภักดีต่อพระเจ้าผู้ทรงเมตตาเสียแล้ว
واظهارو االفساد في الارض
- พวกเขาได้ก่อความเสียหายบนหน้าแผ่นดินอย่างเปิดเผย
وابطلوالحدود
- พวกเขาได้ยกเลิกบทบัญญัติและบทลงโทษของพระเจ้าเสียแล้ว
وشربواالخمور
- พวกเขาดื่มสุราอย่างเปิดเผย
واستأثروا في الموال الفقراء والمساکين
- พวกเขาฉกฉวยทรัพย์สินของคนยากจนและคนอนาถา (11)
واحلوا حرام الله و حرموا حلاله
- พวกเขาได้ทำให้สิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) ของพระเจ้ากลายเป็นสิ่งอนุมัติ (ฮะลาล) และทำให้สิ่งอนุมัติกลายเป็นสิ่งต้องห้าม
واستأثرو بالفي
- พวกเขาได้ฉกฉวยเงินกองคลังเป็นสมบัติของตนเอง (12)
4. การยืนหยัดต่อนามของพระเจ้าและการช่วยเหลือศาสนาของพระองค์
انا اولي من قام بنصرة دين
- ข้า (ฮุซัยนฺ) เป็นผู้มีความเหมาะสมและคู่ควรที่สุดต่อการช่วยเหลือศาสนาของพระเจ้า
واعزاز شرعه
- ข้าต้องการให้บทบัญญัติของพระเจ้าสูงส่งและยิ่งใหญ่
والجهاد في سبيله
- ข้าต้องการต่อสู้ดิ้นรนในหนทางของพระเจ้า
لتکون کلمه الله هي العليا
- ข้อต้องการให้นามของพระเจ้ายืนหยัดและสูงส่ง (13)
5. เพื่อให้ข้อพิสูจน์เสร็จสมบูรณ์สำหรับชาวกูฟะฮฺ
จดหมายมากมายหลายฉบับจากประชาชนชาวกูฟะฮฺที่ได้ส่งมาถึงอิมามฮุซัยนฺ (อ.) โดยเขียนว่า พวกเราไม่มีอิมาม และเราต้องการให้สัตยาบันกับท่าน ท่านอิมาม (อ.) ได้ส่งมุสลิมบินอะกีล ไปยังกูฟะฮฺเพื่อทดสอบความพร้อมเพรียงของพวกเขา และรายงานสถานการส่งมาให้ท่านอิมาม เมื่อประชาชนชาวกูฟะฮฺให้สัตยาบันกับมุสลิมถือว่าข้อพิสูจน์และเหตุผลสำหรับท่านอิมามเสร็จสมบูรณ์แล้ว ดังนั้น เป็นวาญิบสำหรับท่านต้องเดินทางไปอิรัก ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า
هذه کتب اهل الکوفه ورسلهم وقد وجب علي احابتهم وقام لهم العذر علي عند الله سبحانه
นี่คือจดหมายของชาวเมืองกูฟะฮฺและความตั้งใจจริงของพวกเขา ดังนั้น การตอบรับคำเชิญของพวกเขาเป็นวาญิบสำหรับฉัน ซึ่งพวกเขาจะมีข้ออ้าง (เหตุผล) แก่ฉันได้ ณ อัลลอฮฺ (14)
ท่านอิมาม (อ.) ได้ตอบบุคคลเยี่ยงอับดุลลอฮฺ บุตของอุมัร ซึ่งเป็นหนึ่งในบุคคลที่ขัดขวางท่านอิมามไม่ให้เดินทางไปยังอิรัก อิมาม (อ.) กล่าวกับเขาว่า เหล่านี้คือจดหมายและคำสัตยาบันของชาวกูฟะฮที่ให้ฉัน
6. เป็นคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)
คำสั่งแรกเป็นฮะดีซของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ดังที่อิมามได้กล่าวแก่ วะลีด บุตรของอุตบะฮฺ (เจ้าเมืองนครมะดีนะฮฺในสมัยนั้น) ว่า
قال رسول الله (ص) ان الخلافة محرمة علي ولد ابي سفيان
- ข้าได้ยินพระเจ้าตาของข้ากล่าวว่า เคาะลิฟะฮฺเป็นฮะรอมสำหรับวงศ์วานอุมัยยะฮฺ (จะให้อิมามให้สัตยาบันกับยะซีดได้อย่างไร)
- ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) กล่าวกับอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ขณะที่ท่านอยู่ระหว่างครึ่งหลับครึ่งตื่นหลายครั้ง ครั้งแรก ขณะที่ท่านอิมาม (อ.) ต้องการอำลาหลุมฝังศพของท่านศาสดา, ครั้งที่สอง เมื่อท่านต้องการเดินทางออกจากมักกะฮฺ เพื่อมุ่งหน้าไปยังอิรัก ระหว่างนั้นท่านได้พบกับมุฮัมมัด บุตรของ ฮะนะฟียฺ ท่านได้กล่าวกับฮะนะฟียฺว่า
اتاني رسول الله (ص) بعد فارقتک فقال : ياحسين اخرج فان الله قدشاء ان يراک قتيلا
วันที่มุฮัมัดบินฮะนีฟะฮฺ แนะนำท่านอิมามว่าให้เดินทางไปประเทศเยเมน ท่านอิมาม (อ.) กล่าวกับเขาว่า ฉันเก็บคำพูดของเจ้าไปคิด แต่ในวันต่อมาเขาได้มาหาอิมามเพื่อเอาคำตอบ ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า หลังจากเจ้าจากไปแล้ว ท่านศาสดาได้มาหาฉันและกล่าวว่า โอ้ ฮุซัยนฺ จงออกไปเถิด เพราะอัลลอฮฺทรงประสงค์ทีจะเห็นเจ้าถูกสังหาร (15)
7. เชิดชูความศักดิ์สิทธิ์ของมักกะฮฺ
ถ้าอิมามฮุซัยนฺ (อ.) อยู่ในมะดีนะฮฺหรือมักกะฮฺก็ต้องถูกสังหารแน่นอน ซึ่งท่านไม่ต้องการทำลายเกียรติยศและความศักดิ์สิทธิ์ หรือไม่ต้องการให้มีเลือดหลั่งรินในเมืองทั้งองสอง ดังนั้น ท่านจึงได้ตอบจะหมายของ อับดุลลอฮฺ บิน ญะอฺฟัร ที่ได้เขียนมายังท่านเพื่อห้ามปรามมิให้อิมามเดินทางไปประเทศอิรักว่า ไม่ว่าฉันจะหลบซ่อนอยู่ ณ ที่ใด พวกเขาก็ต้องหาฉันจนพบเพื่อสังหารฉัน (16)
ทำนองเดียวกันท่านตอบคำตักเตือนของอิบนุอับบาสที่เขียนมาถึงท่านว่า โอ้ บุตรของท่านลุง ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า ฉันปรารถนาที่จะถูกสังหารในอิรักมากกว่าที่จะถูกสังหารในมักกะฮฺ (เพื่อปกป้องความศักดิ์สิทธิ์ของมักกะฮฺ) (17)
ท่านอิมาม (อ.) ตอบคำถามของชายคนหนึ่งที่ซักถามอิมามขณะเดินทางออกจากมะดีนะฮฺว่า เนื่องจากพวกเขาต้องการหลั่งเลือดฉัน ด้วยเหตุนี้ ฉันจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง (18) ประเด็นดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงข้อความที่ยะซีดส่งถึงวะลีด บิน อุตบะฮฺ เจ้าเมืองมะดีนะฮฺในสมัยนั้นที่ว่า จงส่งศีรษะฮุซัยนฺมาพร้อมกับจดหมาย (19)
ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) บำเพ็ญฮัจญฺไม่สมบูรณ์ ซึ่งท่านได้เปลี่ยนเป็นอุมเราะฮฺแทนเพราะต้องรีบเดินทางออกจากมักกะฮฺโดยด่วน เนื่องจากต้องการรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของมักกะฮฺไม่ให้แปดเปื้อนเลือดของท่าน
ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า แม้นว่าฉันจะหลบซ่อนตัวอยู่ในรูพวกเขาก็จะต้องขุดจนพบฉัน เพื่อให้สมประสงค์ของพวกเขา (คือสังหารฉัน) (20)
8. เหตุผลของสติปัญญาบ่งบอกถึงความจำเป็นของการยืนหยัด
ถ้าหากท่านอิมาม (อ.) อยู่ในมักกะฮฺ หรือมะดีนะฮฺต่อไปต้องถูกสังหารแน่นอน แต่ถ้าเดินทางไปยังประเทศอิรักท่านจะได้รับสิ่งดีงามหนึ่งในสองประการ ท่านจึงกล่าวว่า
ان بيني و بين القوم موعدا اکره ان اخلفهم فان يدفع الله عنا فقديما ما انعم علينا وکفي وان يکن ما لابد منه ففوز وشهادة ان شاء الله
บทสรุปจากเหตุผลของท่านอิมาม (อ.) คือ ถ้าหากประชาชนให้การช่วยเหลือสนับสนุนท่านอิมาม รัฐบาลของยะซีดต้องล่มสลายแน่นอน และสิ่งนั้นย่อมเป็นประโยชน์มหาศาลกับอิสลาม ชัยชนะย่อมเกิดขึ้นซึ่งถือว่าเป็นความโปรดอันใหญ่หลวงจากพระเจ้า
แต่ถ้าประชาชนไม่ช่วยเหลือท่าน แน่นอนอิมาม (อ.) ต้องได้รับชะฮีด และรัฐบาลของยะซีดย่อมล่มสลายเช่นเดียวกัน ขณะที่อิสลามถูกฟื้นฟูอีกครั้งด้วยเลือดของฮุซัยนฺ
ดังนั้น ทั้งสองกรณีจึงถือว่าการเดินทางออกจากมะดีนะฮฺและมักกะฮฺนั้น ดีกว่าการให้สัตยาบันกับยะซีด
หมายถึง ชะฮาดัตของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ที่ถูกกระทำด้วยการกดขี่ทารุณและโหดร้ายที่สุด ณ แผ่นดินกัรบะลาอฺ โดยกองทัพมหึมาของยะซีดจะเป็นสาเหตุให้มีการโฆษณาอย่างใหญ่หลวงอันเป็นประโยชน์กับอิสลาม เพื่อการต่อสู้กับการกดขี่ข่มเหงการกดขี่ทั้งหมดบนโลกนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับราชวงศ์อุมัยยะฮฺอันเป็นหลักประกันอันปลอดภัยแก่อิสลามตลอดหน้าประวัติศาสตร์
9. การปรับปรุงประชาชาติด้วยการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว
ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าวถึงการยืนหยัดของตนว่า
اني لم اخرج اشرا ولا بطرا و لا مفسدا و لا ظالما انما خرجت لطلب الا صلاح في امة جدي اريد ان امر بالمعروف وانهي عن المنکر واسير بسيرة جدي و ابي علي بن ابي طالب
ฉันมิได้ออกไปเพื่อแสวงหาอำนาจ หรือก่อความเสียหาย หรือเพื่อการกดขี่แต่อย่างใด แท้จริง ฉันออกไปเพื่อต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงประชาชาติของพระเจ้าตาของฉัน และฉันปรารถนาที่จะกำชับความดี และความปรามความชั่วร้าย อีกทั้งต้องการปฏิบัติตามแนวทางของพระเจ้าตาของฉันและของบิดาของฉัน อะลี บุตรของอบีฏอลิบ (21)
10. วาญิบสำหรับอิมามฮุซัยนฺต้องยืนหยัดต่อสู้กับผู้ปกครองที่กดขี่
ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ตอบจดหมายชาวกูฟะฮฺกล่าวปราศรัยกับสาวกของตนและกองทัพของฮุร โดยอ้างถึงรายงานหนึ่งของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) และท่านได้อธิบายรายงานนั้นให้ทุกคนได้รับรู้หลังจากนั้นท่านได้เปรียบเทียบกับพฤติกรรมของ ราชวงศ์อุมัยยะฮฺ โดยกล่าวว่า
من ري سلطانا جائزا مستحلا لحرم الله ناکثا لعهد الله مخالفا لسنة رسول الله يعمل في عبادالله بالاثم والعدوان فلم يغير عليه بفعل ولا قول کان حقا علي الله ان يدخله مدخله
บุคคลใดก็ตามเห็นผู้ปกครองที่กดขี่ ซึ่งเขาได้ทำสิ่งอนุมัติของอัลลอฮฺให้กลายเป็นสิ่งต้องห้าม ทำลายพันธสัญญาของอัลลอฮฺ ฝ่าฝืนต่อแบบฉบับของท่านเราะซูล ก่อกรรมชั่วและกดขี่ข่มเหงในหมู่ประชาชน ถ้าหากไม่ต่อต้านเขาด้วยการกระทำหรือคำพูด เป็นสิทธิของอัลลอฮฺที่จะจับเขาโยนเข้าไปในไฟนรก (22)
บางทีอาจเป็นไปได้ว่าการยืนหยัดของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เป็นวาญิบต้องปฏิบัติ ฉะนั้น เมื่อท่านต้องการเดินทางออกจากมะดีนะฮฺ ท่านจึงเลือกเส้นทางสายหลัก เพื่อให้ทุกคนได้รับทราบว่าการเดินทางออกจากมะดีนะฮฺของท่านเป็นการต่อต้านรัฐบาลยะซีด (23)
11. เพื่อฟื้นฟูแบบฉบับของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) วิชาการและทำลายสิ่งบิดเบือน
ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าวถึงสาเหตุและเป้าหมายของการยืนหยัดของท่านว่า
انا ادعو کم الي کتاب الله وسنة نبيه فان السنة قد اميتت و ان البدعة قد احييت
ฉันขอเชิญชวนพวกเจ้าทั้งหลายหันมาสู่อัล-กุรอาน และแบบฉบับของท่านเราะซูลแห่งอัลลอฮฺ แท้จริง แบบฉบับของท่านเราะซูลได้ตายจากไปเสียแล้ว แต่ความบิดเบือนกลับถูกฟื้นฟูให้มีชีวิตชีวาขึ้นมา (24)
อีกที่หนึ่งท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า
يسالونني ان اقدم عليهم لما رجوا من احياء ماعالم الحق واماتة البدع
พวกเขาต้องการให้ฉันไปยังพวกเขาเพื่อฟื้นฟูวิชาการแห่งความจริง และทำลายความบิดเบือน (25)
ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าวแก่กองทัพของฮุรว่า
الا ترون الي الحق لا يعمل به و الي الباطل لا يتناهي عنه ليرغب المؤمن في لقاء ربه حقاحقا
เจ้าไม่เห็นดอกหรือว่าสัจธรรมถูกทอดทิ้ง และความเท็จก็มิได้ถูกห้ามปราม ประหนึ่งเป็นแรงผลักดันให้ผู้ศรัทธารีบเร่งที่จะไปพบพระเจ้า (26)
ง. ขั้นตอนการเผชิญหน้ากับรัฐบาลกดขี่
เมื่อพิจารณาถึงขั้นตอนการยืนหยัดของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) อย่างละเอียด จะพบว่าท่านอิมามมีหลักการเผชิญหน้ากับรัฐบาลอุมัยยะฮฺอยู่ 3 ประการ ซึ่งแต่ละขั้นตอนนั้นแตกต่างกันและตามความเป็นจริงแล้ว อิมาม (อ.) ได้สอนขั้นตอนการต่อสู้กับรัฐบาลกดขี่ทั้งหลายบนโลกนี้แก่ประชาชาติ ซึ่งขั้นตอนเหล่านั้นประกอบด้วย
1. การให้คำแนะนำแก่ศัตรู
เมื่อวะลีด บุตรของอุตบะฮฺ เจ้าเมืองมะดีนะฮฺ ยื่นข้อเสนอให้ท่านอิมาม (อ.) ว่า จำเป็นต้องให้สัตยาบันกับยะซีดโดยปฏิบัติไปตามคำสั่งของยะซีดอย่างเคร่งครัด ท่านอิมาม (อ.) อ้างเหตุผลกับเขาว่า พวกเราคืออะฮฺลุลบัยตฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งท่านกล่าวเสมอว่า ตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺฮะรอม (ไม่อนุมัติ) สำหรับบุตรหลานของอบูซุฟยาน ดังนั้น จะให้ข้าให้สัตยาบันกับยะซีดได้อย่างไร ขณะที่ศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวถึงพวกเขาไว้เช่นนี้ (27)
เช่นเดียวกันขณะที่ท่านอิมาม (อ.) เผชิญหน้ากับกองทัพของฮุร ท่านได้กล่าวแนะนำเพื่อเป็นการตักเตือนพวกเขา (28) หรือขณะที่ท่านเผชิญหน้ากับอุมัร บิน สะอฺดฺ ในแผ่นดินกัรบะลาอฺ อันดับแรกท่านจะกล่าวแนะนำและตักเตือนพวกเขาก่อน (29)
[1] เมาซูอะฮฺ สุนทรพจน์อิมามฮุซัยนฺ หน้า 238
[2] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 252
[3] บิฮารุลอันวาร อัลลามะฮฺมุฮัมมัดบากิร มัจญลิซีย์ (เสียชีวิต 1111 ฮศ.) เล่มที่ 45
[4] เมาซูอะฮฺ สุนทรพจน์อิมามฮุซัยนฺ หน้า 281, 283, 286
[5] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า387
[6] อ้างแล้ว เล่มเดิม หน้า 282
[7] อ้างแล้ว เล่มเดิม หน้า 278
[8] อ้างแล้ว เล่มเดิม หน้า 283
[9] บิฮารุลอันวาร เล่ม 44 หน้า 283
[10] อัลฟุตูฮฺ 5 / 17, มักตัลฮุซัยนฺ คอรัซมียฺ 1 / 184
[11] เมาซูอะฮฺ สุนทรพจน์อิมามฮุซัยนฺ หน้า 336
[12] อ้างแล้ว เล่มเดิม หน้า 137, มักตัลฮุซัยนฺ คอรัซมียฺ 1 / 234, บิอารุลอันวาร เล่ม 44/381
[13] เมาซูอะฮฺ สุนทรพจน์อิมามฮุซัยนฺ หน้า 336, 337
[14] มะอาลี อัซซิบตัยนฺ 1 / 264
[15] เมาซูอะฮฺ สุนทรพจน์อิมามฮุซัยนฺ หน้า 329
[16] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 331
[17] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 319
[18] บิฮารุลอันวาร เล่ม 44 หน้า 314
[19] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 312
[20] เมาซูอะฮฺ สุนทรพจน์อิมามฮุซัยนฺ หน้า 324, 327
[21] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 291 คัดลอกมาจากบิฮารุลอันวาร เล่ม 44/329
[22] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 377, ตารีคฏ็อบรียฺ 3/306, อ้ลกามิลฟิลตารีค 2/ 552, อะฮฺกอกุลฮัก 11 / 609
[23] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 300
[24] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 315, 316
[25] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 341
[26] บิฮารุลอันวาร เล่ม 44 หน้า 192
[27] บิฮารุลอันวาร เล่ม 44 หน้า 312
[28] เมาซูอะฮฺ สุนทรพจน์อิมามฮุซัยนฺ หน้า 335, 337, ตารีค ฏ็อบรียฺ 3 / 306, อัลฟุตูฮะฮฺ 5 / 87
[29] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 387
ขอขอบคุณเว็บไซต์อัชชีอะฮ์
source : alhassanain