มีรายงานกล่าวว่า ท่านสุลัยมานหลังจากได้สูญเสียบุตรชายไป และเมื่อเข้าไปสู่โศกนาฏกรรมนั้น ท่านได้ดุอาอว่า? قَالَ رَبِّ اغْفِرْ لىِ وَ هَبْ لىِ مُلْكاً لَّا يَنبَغِى لِأَحَدٍ مِّن بَعْدِى إِنَّكَ أَنتَ الْوَهَّاب » จากดุอาอฺของท่านจะพบว่าท่านมิได้สิ้นหวังจากโลกเลยแม้แต่น้อย
คำตอบโดยสังเขป
เหตุการณ์แห่งกัรบะลาอฺ เราได้เห็นท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คือแบบอย่างของความอดทน และการยืนหยัด ขณะที่ท่านมีความประเสริฐและฐานันดรที่สูงส่ง เมื่อเทียบกับบรรดาศาสดาทั้งหลาย (อ.) หรือแม้แต่ศาสดาที่เป็นเจ้าบทบัญญัติก็ตาม แต่ท่านได้กล่าวขณะท่านอิมามอะลี (อ.) ชะฮาดัตว่า “โอ้ อะลีเอ๋ย หลังจากเจ้าแล้วโลกจะพบกับหายนะ”
ถ้าพิจารณาตามอัลกุรอาน โองการที่กล่าวถึงสอนให้รู้ว่า ทั้งคำพูดและความประพฤติของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) เป็นความประเสริฐหนึ่ง ดังนั้น เรามีคำอธิบายอย่างไรกับคำกล่าวอย่างสิ้นหวังของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กรุณาหักล้างคำพูดดังกล่าวด้วยเหตุผลเชิงสติปัญญา แม้ว่าคำพูดของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) จะชี้ให้เห็นถึง ฐานะภาพความยิ่งใหญ่ของท่านก็ตาม และความโปรดปรานอันอเนกอนันต์จากอัลลอฮฺ ซึ่งเมือเทียบกับสามัญชนทั่วไปแล้ว ดีกว่ามากยิ่งนัก แต่เมื่อเทียบกับฐานะภาพเฉพาะของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ไม่อาจเทียบเทียมกันได้ เนื่องจากโองการเหล่านี้ หนึ่ง,แสดงให้เห็นว่าท่านศาสดาสุลัยมาน ในชั่วขณะหนึ่งเกิดความลังเล แต่มิได้ละทิ้งสิ่งที่ดีกว่า และการที่ท่านได้สูญเสียบุตรชายไปนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในชะตากรรม สอง, บุตรชายที่ท่านได้สูญเสียไปนั้นเป็นเด็กที่ไม่สมบูรณ์ และคลอดเร็วเกินกว่ากำหนด ดังนั้น โดยปรกติการสูญเสียบุตรลักษณะนี้ จะไม่เป็นสาเหตุทำให้ผู้เป็นบิดามารดาต้องเสียใจหรือระทมทุกข์อย่างหนัก แต่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในวันอาชูรอได้กล่าวคำพูดนั้นออกมา หนึ่ง, ท่านมีสติและมีความรักในอัลลอฮฺอย่างเต็มเปี่ยมหัวใจ สอง,ท่านได้อุทิศบุตรหลานในหนทางของพระเจ้า ซึ่งเป็นบุตรที่มี่ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีจริยธรรม มีคำพูดที่คล้ายคลึงศาสดา (ซ็อลฯ) มากที่สุด ดังนั้น การร้องไห้เสียใจ เนื่องจากการสูญเสียบุตรทำนองนี้ ย่อมทำให้สูญเสียกำลังใจ และทำให้ผู้มีหัวใจแข็งเป็นหินเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ หนึ่ง,เป็นธรรมชาติโดยสมบูรณ์ สอง,อธิบายถึงความสมบูรณ์ของการมีอิมาม ความกล้าหาญ จิตใจที่แข็งแรงและยืนหยัดในการต่อสู้ จิตใจเปี่ยมด้วยความรัก สาม,ประโยคที่ท่านอิมาม (อ.) กล่าวนั้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเสียสละอย่างที่สุดของท่านอิมาม (อ.) ซึ่งมีค่าที่สุดที่มีอยู่ในครอบครองของท่าน ที่ท่านได้อุทิศในหนทางของพระเจ้า
ด้วยเหตุนี้ คำพูดของท่านอิมาม มิใช่เป็นการแสดงให้เห็นการสิ้นหวัง หรือสิ้นหวังจากความเมตตาของพระเจ้า ทว่าเป็นการบ่งบอกให้เห็นถึงความหวัง และความศรัทธาอันสูงส่งในการดำเนินชีวิตที่ดีกว่า และมีความมั่นคงในปรโลก
คำตอบเชิงรายละเอียด
เกี่ยวกับสาเหตุของการประทานโองการ 34, 39 ซูเราะฮฺซ็อด[1] มีรายงานและเรื่องเล่ามากมาย ที่บันทึกไว้ในหนังสือตัฟซีร หรือประวัติศาสตร์ ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจที่สุด เมือพิจารณาตำแหน่งความเป็นมะอฺซูมของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) แล้ว[2]
ศาสดาสุลัยมาน (อ.) มีความหวังว่าจะได้บุตรที่มีความแข็งแรง กล้าหาญคนหนึ่ง เพื่อจะได้ช่วยเหลือท่านในการดูแลการปกครอง โดยเฉพาะการต่อสู้กับศัตรู, ท่านมีภรรยาหลายคนและกล่าวกับตนเองว่า : ฉันใกล้ชิดกับพวกนาง เพื่อหวังว่าจะได้มีบุตรหลายคน เพื่อให้พวกเขาช่วยเหลือฉันไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่ในที่นี้ประหนึ่งว่าเขามิได้กล่าวคำว่า “อินชาอัลลอฮฺ” ประโยคที่อธิบายภารกิจของมนุษย์ที่มีต่อัลลอฮฺในทุกสภาพ และในเวลานั้นเขาจึงไม่มีบุตรเกิดกับภรรยาสักคน เว้นเสียแต่บุตรพิการคนหนึ่ง ประหนึ่งร่างที่ปราศจากวิญญาณ สุลัยมานคิดหนักและเสีนใจว่าเพราะอะไรเขาจึงได้ลืมอัลลอฮฺ ไปชั่วขณะหนึ่ง และอาศัยพลังที่มีอยู่ในตัวเอง เขาได้กลับตัวกลับใจ และกลับคืนสู่อัลลอฮฺอีกครั้ง[3]
อัลกุรอาน โองการข้างต้น หนึ่ง,เป็นการแสดงให้เห็นถึงเรื่องราวของสุลัยมานและชะตากรรมของเขา สอง,บุตรที่ท่านได้สูญเสียไปนั้นเป็นเด็กพิการโดยกำเนิด ดังนั้น การสูญเสียบุตรลักษณะนี้ แม้ว่าจะเสียใจอยู่บ้างแต่ก็จะไม่มีอิทธิพลต่อความรักแต่อย่างใด แต่สำหรับท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในวันอาชูรอขณะที่ท่านกล่าวคำพูดนี้ ท่านมีสติสัมปชัญญะ เป็นการอธิบายให้เห็นว่า หนึ่ง,ท่านอยู่ในสภาพของความสูงส่งในการรู้จักและความรักที่มีต่อพระเจ้า สอง,บุตรที่ท่านอิมาม (อ.) ได้อุทิศในหนทางของอัลลอฮฺ เป็นคนที่มีความละม้ายคล้ายคลึงท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) มากที่สุด ในแง่ของบุคลิกภาพ หน้าตา และความประพฤติ และแม้แต่คำพูด เป็นบุคคลที่ได้พลีชีวิตเพื่ออิมามแห่งยุคของตน ขณะที่ท่านอะลีอักบัร มุ่งหน้าไปสู่สนามรบ กล่าว่า “ข้าฯคืออะลี บุตรของฮุซัยนฺ บุตรของอะลี บุตรของอบีฏอลิบ ข้ฯมาจากครอบครัวซึ่งตาของข้าฯคือเราะซูล (ซ็อลฯ) ข้าฯขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า บุตรซินา จะไม่ได้เป็นผู้ปกครองในหมู่พวกเรา ข้าฯจะส่งพวกเขาไปสู่ความอัปยศ ข้าฯจะต่อสู้กับพวกเจ้าด้วยดาบ และจะปกป้องบิดาของข้าฯ ข้าฯจะสู้รบกับพวกเจ้าเยี่ยงชายหนุ่มแห่งบนูฮาชิมและอัลละวี[4]
การร้องไห้คือสัญลักษณ์ของความเสียใจ เนื่องจากได้สูญเสียสิ่งที่ตนรักโดยเฉพาะบุตรเช่นอะลีอักบัร ในสภาพเช่นนั้นย่อมทำให้หัวใจ แม้จะแข็งแกร่งเยี่ยงหินก็เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ หนึ่ง,เป็นเรื่องธรรมดาทั่วไป สอง,อธิบายถึงความสมบูรณ์ของการมีอิมาม ความกล้าหาญ จิตใจที่แข็งแรงและยืนหยัดในการต่อสู้ จิตใจเปี่ยมด้วยความรัก เนื่องจากอิมามคือแหล่งที่มาของความสมบูรณ์ความเป็นมนุษย์ ความเมตตา ซึ่งความรักนั้นเป็นหนึ่งในความสมบูรณ์ของมนุษย์ ดังที่ศาสดา (ซ็อลฯ) เมื่อสูญเสียบุตรสุดที่ร้กคืออิบรอฮีม ท่านได้ร้องไห้ และได้ตอบคำถามถึงสาเหตุของการร้องไห้ว่า นี่มิใช่เป็นการร้องไห้ ทว่าเป็นความเมตตาซึ่งผู้ใดไม่มีความเมตตา เขาก็จะไม่ได้รับความเมตา[5] ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) ก็เช่นกันท่านได้ร้องไห้ ณ หลุมศพของบิดาของท่านนบี (ซ็อลฯ) โดยรำพันจากจิตภายในว่า “โอ้ บิดาท่านได้จากไปแล้ว การจากไปของท่าน โลกแห่งความสดใสได้มืดลงสำหรับพวกเราแล้ว ความสุขที่เราได้เคยมีได้เบี่ยงเบนไปจากเรา โลกได้ดีขึ้นและสวยงามด้วยความไพโรจน์ของท่าน แต่บัดนี้วันที่สดใสได้มืดมิดลง ความแห้งแล้งของมัน เป็นการรายงานให้เห็นถึงกลางคืนที่มืดมิด[6]
สาม, ท่านอิมามได้กล่าวประโยคนั้น ขณะนั่งอยู่เหนือศีรษะของอะลีอักบัร ที่ร่างกายเต็มไปด้วยบาดแผลฉกรรจ์ว่า “โอ้ อะลีเอ๋ย โลกจะพบกับความหายนะหลังเจ้าจากไป” แสดงให้เห็นถึงฐานะภาพอันยิ่งใหญ่ของอะลี อักบัร ซึ่งการมีท่านสำหรับอิมามแล้วเสมือนชีวิตของอิมาม
สี่,ประโยคที่ท่านอิมาม (อ.) กล่าวนั้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเสียสละอย่างที่สุดของท่านอิมาม (อ.) ซึ่งมีค่าที่สุดที่มีอยู่ในครอบครองของท่าน ที่ท่านได้อุทิศในหนทางของพระเจ้า
นอกเหนือจากที่กล่าวมา บุคคลที่มีสมบูรณ์สูงสุดในครอบครัว และบุตรของท่านล้วนเป็นความยินดี และความพึงพอใจของพระเจ้า ดังนั้น เขาจะไม่มีความหวังต่อพระเจ้าเชียวหรือ หรือว่าบุคคลที่มีบุตรที่พิการจะมีความหวังมากกว่า ในสภาพเช่นนั้นเขาจึงได้เรียกร้องต่อพระเจ้ากระนั้นหรือ แม้ว่าคำพูดของสุลัยมานจะบ่งชี้ให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่แห่งจิตวิญญาณ และความเชื่อมั่นในความเมตตาอันอเนกอนันต์ของพระเจ้า เมื่อเทียบกับสามัญชนทั่วไปแล้วถือว่าดีกว่าอย่างยิ่ง แต่เมื่อเทียบกับสถานภาพอันเฉพาะสำหรับท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) แล้วไม่อาจเปรียบเทียบกันได้แน่นอน ด้วยเหตุนี้ คำพูดของท่านอิมาม นอกจากจะมิได้เป็นการบ่งชี้ให้เห็นถึงการสิ้นหวังจากความเมตตาของพระเจ้าแล้ว ทว่ายังเป็นการบ่งชี้ให้เห็นถึงความหวัง และอีมานอันสูงส่ง เมื่อเทียบกับวิถีชีวิตที่ดีกว่าและมั่นคงแห่งชีวิตในปรโลก ประโยคที่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าวออกไปนั้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงสถานภาพที่ไม่เอาไหนของชนในตอนนั้น ซึ่งท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวในประเด็นอื่นอีกถึงสาเหตุของการไม่ใส่ใจของผู้คน และความเหน็ดเหนื่อยของท่านที่มีต่อโลก ขณะเดินทางไปกัรบะลาอฺ ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า “ใช่แล้ว โลกไปเปลี่ยนโฉมหน้าไปแล้ว จนจำไม่ได้คนที่ทำความดีกำลังจะสูญสิ้นไป ความดีไม่คงหลงเหลืออยู่อีกแล้ว นอกจากหยดน้ำบนภาชนะ และชีวิตที่ไร้สาระ ประหนึ่งทุ่งหญ้าที่มิได้หญ้างอกเงย นอกจากหญ้าที่นำไปสู่การเจ็บป่วย ซึ่งไม่อาจใช้ประโยชน์อันใดได้ พวกเจ้าไม่เห็นดอกหรือว่า ความจริงมิได้ถูกปฏิบัติ ขณะที่สิ่งโมฆะมิได้ถูกละเว้น ในลักษณะที่ว่าผู้ศรัทธามีสิทธิ์เสรี ต่างเรียกร้องกลับคืนสู่พระเจ้า ดังเช่นผู้ที่ลุ่มหลงโลก คำสอนของศาสนามิได้เกินเลยไปจากคำพูดที่อยู่บนปลายลิ้นของพวกเขา[7]
และอีกหลายตอนที่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้กล่าวถึงสาเหตุของความเบื่อหน่ายและเกลียดชังชีวิตทางโลกคือ การดูหมิ่นศาสนา และการชะฮาดัตของมวลผู้ศรัทธา
ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) กล่าวว่า บ้านทุกหลังที่ฉันได้เข้าไป บิดาของฉันได้กล่าวถึงการเป็นชะฮีดของ ยะฮฺยาบินซักกะรียา (อ.) ว่า “วันหนึ่งความอัปยศของโลก ณ พระผู้อภิบาลคือ ศีรษะของยะฮฺยาได้ถูกตัดขาด ในฐานะของกำนัลที่ถูกส่งไปยังสตรีชั่วช้าผิดประเวณี แห่งบนีอิสราเอล[8] ในทำนองนั้นท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ขณะชะฮาดัตอะลี อักบัร ท่านกล่าวว่า พวกเขากล้าแสดงความถ่อยต่ออาตมันบริสุทธิ์ของพระเจ้า และเราะซูลของพระองค์ และดูหมิ่นศาสนาได้เยี่ยงนี้ได้อย่างไร[9]
[1] กล่าวว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลของข้าฯ โปรดอภัยให้แก่ข้าฯ โปรดประทานอำนาจปกครองแก่ข้าฯ ซึ่งหลังจากข้าฯ แล้วจะไม่คู่ควรแก่ผู้ใดทั้งสิ้น เนื่องจากเฉพาะพระองค์เท่านั้นเป็นผู้ทรงประทานให้อย่างมากมาย ดังนั้น เราได้บันดาลให้ลมพัดแผ่วเบาสำหรับเขา โดยพัดไปตามคำสั่งของเขายังทิศทางที่เขาต้อง”
[2] ความสัมพันธ์แง่ของตัฟซีร ระหว่างสองโองการนี้เกี่ยวกับการละทิ้งสิ่งที่ดีกว่าของสุลัยมาน (อ.) และข้อท้วงติงที่มีต่อคำตอบเกี่ยวกับการขออำนาจการปกครอง โดยเฉพาะท่านสุลัยมาน (อ.) โปรดพิจารณาตัฟซีรอัลมีซานฉบับภาษาอาหรับ เล่ม 17, หน้า 204, ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 19, หน้า 281, เราะฮฺเนะมอเชะนอซียฺ, หน้า 174, อุสตาดมิซบาฮฺ ยัซดียฺ
[3] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 19, หน้า 281
[4] บิฮารุลอันวาร เล่ม 45, หน้ 43
[5] วะซาอิลชีอะฮฺ เล่ม 2,บาบดะฟั่น , บาบ 17, หน้า 922, รายงานที่ 8.
[6] บิฮารุลอันวาร เล่ม 43, หน้า 174-180
[7] ตะฮฺฟุลอุกูล, สุนทรพจน์ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หน้า 427
[8] บิฮารุลอันวาร เล่ม 45, หน้า 299, ซีดีวิชาการ กันญีเนะฮฺ ริวายาต นูร, คำถามตอบต่างๆ สำหรับนักศึกษา ลำดับที่ 13 สำนักตัวแทนท่านผู้นำในมหาวิทยาลัยต่างๆ, มัรกัซฟังฮังกี, ฝ่ายให้คำปรึกษาและคำตอบ
[9] บิฮารุลอันวาร เล่ม 45, หน้า 44.
source : islamquest