ไทยแลนด์
Monday 25th of November 2024
0
نفر 0

ความสำคัญของ "อัรบะอีน"ในอิสลาม

ความสำคัญของ "อัรบะอีน"ในอิสลาม อัรบะอีน เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า "สี่สิบ" สำหรับมุสลิมชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ ถือว่า วันอัรบะอีน คือวาระครบรอบ 40 วัน หลังจากเหตุการณ์แห่งอาชูรอหรือการพลีชีพและถูกตัดศีรษะของท่านอิมามฮุเซน (อ.) หลานชายของศาสดามุฮัมมัด (ศ.) ซึ่งตรงกับวันที่ 20 ซอฟัร เป็นอีกวันหนึ่งแห่งการรำลึกถึงอิมามฮุเซน (อ.) และผู้สนั
ความสำคัญของ "อัรบะอีน"ในอิสลาม

ความสำคัญของ "อัรบะอีน"ในอิสลาม

อัรบะอีน เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า "สี่สิบ" สำหรับมุสลิมชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ ถือว่า วันอัรบะอีน คือวาระครบรอบ 40 วัน หลังจากเหตุการณ์แห่งอาชูรอหรือการพลีชีพและถูกตัดศีรษะของท่านอิมามฮุเซน (อ.) หลานชายของศาสดามุฮัมมัด (ศ.) ซึ่งตรงกับวันที่ 20 ซอฟัร เป็นอีกวันหนึ่งแห่งการรำลึกถึงอิมามฮุเซน (อ.) และผู้สนับสนุนท่านอีก 72 คนที่พลีชีพในสงครามแห่งกัรบะลา ระยะเวลา 40 วัน คือช่วงเวลาแห่งความเศร้าโศกตามวัฒนธรรมของมุสลิม

 

ตามวัฒนธรรมของอิสลาม หากผู้ใดกระทำความดีอย่างหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 40 วัน มันจะเป็นนิสัยติดตัวของเขาและนำไปสู่ความโปรดปรานจากอัลลอฮ์

 

ศาสดามุฮัมมัด(ศ.) กล่าวว่า "ใครก็ตามที่ทุ่มเทตนเองเพื่ออัลลอฮ์(ซ.บ.) เป็นเวลาสี่สิบวัน เขาจะพบบ่อเกิดแห่งปัญญางอกเงยออกมาจากหัวใจของเขาและพร่างพรูมาสู่ลิ้นของเขา"

 

วันอัรบะอีน ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในเหตุการณ์แห่งกัรบะลา วันนี้มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าวันอาชูรอด้วยเหตุผลหลายประการ เหตุผลแรกคือในวันอัรบะอีน หรือวันครบรอบ 40 วันนี้ สมาชิกจากอะฮ์ลุลบัยต์ได้กลับมาถึงยังแผ่นดินกัรบะลาเพื่อเยี่ยมคารวะอิมามฮุเซน (อ.) นายแห่งชุฮะดา (ผู้พลีชีพ) และสมาชิกครอบครัวรวมถึงสาวกผู้จงรักภักดีของท่านที่สละชีวิตไปเพื่ออิสลาม

 

รำลึกโศกนาฏกรรมแห่งกัรบะลา

 

แม้นักประวัติศาสตร์จะบันทึกเหตุการณ์นี้แตกต่างกัน บางคนกล่าวพวกท่านเหล่านั้นกลับมาถึงกัรบะลาในปีเดียวกับที่เกิดเหตุการณ์กัรบะลาคือปีฮ.ศ.61 ในขณะที่บางคนกล่าวว่าพวกท่านกลับมาในปีต่อมาคือ ฮ.ศ.62 แต่อย่างไรก็ตาม ความร้ายกาจและความยากลำบากที่ยะสีดได้มอบให้แก่ตระกูลวงศ์ของท่านศาสดา (ศ.) และการเดินทางอันยาวไกลสู่กัรบะลามาสิ้นสุดลงเอยในวันที่ 20 ซอฟัร บนแผ่นดินเวิ้งว้างว่างเปล่าของกัรบะลา

 

ตามรายงานทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด สมาชิกแห่งตระกูลวงศ์ของท่านศาสดา(ศ.) ถูกยะสีด คอลีฟะฮ์แห่งวงศ์อุมัยยัด จองจำอยู่ในดามัสกัสเป็นเวลาประมาณหนึ่งปี หลังจากเจ้าผู้ครองเมืองชาม(ซีเรีย) ถูกบีบจนต้องปล่อยตัวพวกท่าน ท่านหญิงซัยนับ(อ.) ได้ปรารภกับอิมามอะลี บิน ฮุเซน ซัยนุลอาบิดีน(อ.) ว่า ท่านต้องการกลับไปที่กัรบะลาเพื่อแสดงความอาลัยต่อพี่ชายของท่านและบรรดาผู้พลีชีพทั้งหมดที่กัรบะลา บรรดาสตรีทุกคนที่ร่วมทางด้วยกันมาต่างก็ปรารถนาสิ่งเดียวกัน อิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.) จึงได้นำพวกท่านไปยังกัรบะลา

 

สุสานของอิมามฮุเซน(อ.) ไม่ได้เปล่าเปลี่ยวเหมือนที่หลายคนคาดคิด เมื่อสมาชิกแห่งอะฮ์ลุลบัยต์เดินทางมาถึงกัรบะลา ได้มีประชาชนจำนวนหนึ่งอยู่ที่นั่นก่อนแล้วเพื่อรำลึกถึงการพลีชีพของท่านด้วยความเศร้าโศก บุคคลสำคัญท่านหนึ่งซึ่งเป็นสาวกคนหนึ่งของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ.) คือท่านญาบิร อิบนฺ อับดุลลอฮ์ อัล-อันซอรี(ในขณะนั้นเป็นคนตาบอด) พร้อมกับอาตียา บิน สะอัด ผู้ช่วยของเขา ได้เดินทางจากมะดีนะฮ์มายังสถานที่พลีชีพของอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นอิมามและนายของเขา ญาบิร อิบนฺ อับดุลลอฮ์ อัล-อันซอรี ได้ร่ำร้องต่ออิมามของเขาว่า "ฉันขอเป็นพยานว่าท่านคือบุตรของศาสดาท่านสุดท้าย(ศ.) คือบุตรของนายแห่งผู้ศรัทธา, คือบุตรของพันมิตรตลอดกาลของผู้ยำเกรง คือผู้สืบสกุลของผู้ชี้นำทาง"

 

อาตียา บิน สะอัด บอกเขาว่ามีกองคาราวานกำลังเดินทางใกล้เข้ามายังสถานที่นี้ เมื่อพวกเขาเหล่านั้นเข้ามาถึง จึงได้รู้ว่ากองคาราวานนี้ไม่ใช่ใครอื่นนอกจากกองคาราวานของอิมามอะลี บิน ฮุเซน ซัยนุลอาบีดีน(อ.) อิมามคนปัจจุบัน พร้อมกับสมาชิกครอบครัวและผู้ช่วยเหลือของท่านนั่นเอง

 

นักประวัติศาสตร์รายงานว่า ถึงตอนนี้ ญาบิร อิบนฺ อับดุลลอฮ์ อัล-อันซอรี และอาตียา บิน สะอัด ผู้ช่วยของเขา ได้หลีกทางให้บรรดาสตรีแห่งอะฮ์ลุลบัยต์และคนอื่นๆ ได้เข้าไปแสดงความเศร้าโศกเสียใจ และอาลัยรำลึกที่สุสานอันบริสุทธิ์ของอิมามฮุเซน(อ.) และรายงานประวัติศาสตร์ยังระบุอีกว่า ศีรษะของบรรดาผู้พลีชีพได้ถูกนำมาฝังในโอกาสนี้ด้วย เพราะก่อนออกจากซีเรีย ทรราชย์ยะสีดได้มอบคืนศีรษะของบรรดาชุฮะดาทั้งหมดมาพร้อมกับกองคาราวานของอะฮ์ลุลบัยต์ด้วย

 

อัรบะอีนรำลึก

 

วันอัรบะอีน เตือนใจให้ผู้ศรัทธารำลึกถึงสาส์นสำคัญเบื้องหลังการพลีชีพของอิมามฮุเซน(อ.) นั่นก็คือการสถาปนาความยุติธรรมและการต่อสู้กับความอยุติธรรม ไม่ว่ามันจะมาในรูปแบบใด เป็นสาส์นที่มีอิทธิพลอย่างแรงกล้าในการลุกฮือขึ้นของบรรดาชีอะฮ์ในเวลาต่อมาเพื่อต่อต้านทรราชย์แห่งวงศ์อุมัยยัดและปกครองของวงศ์อับบาสิด

 

สี่สิบวันนี้เป็นโอกาสอันเหมาะสมสำหรับมุสลิมที่จะได้เสริมสร้างความรักต่ออิมามฮุเซน(อ.) และเพิ่มพูนความเกลียดชังต่อฆาตกรผู้สังหารท่าน สี่สิบวันต่อเนื่องกันนับจากวันอาชูรอจนกระทั่งถึงวันอัรบะอีนยังเป็นวาระอันสำคัญของการประกาศความรังเกียจการกดขี่ข่มเหงของผู้ถูกกดขี่ในประวัติศาสตร์

 

โอ้ฮุเซน การรำลึกถึงการปฏิบัติของท่านตั้งแต่วันอาชูรอจนถึงวันอัรบะอีน ทำให้โลกให้ความสนใจต่อสาส์นแห่งการรื้อฟื้นเรื่องราวของท่าน อาชูรอคือวันแห่งการพลีชีพของผู้สร้างประวัติศาสตร์ และวันอัรบะอีนคือวันแห่งการเยือนคารวะของผู้สร้างอาชูรอ

 

ปรัชญาของวันอัรบะอีนแสดงตัวตนของมันเอง และเราสามารถสอนบทเรียนแห่งการพลีชีพจากชั้นเรียนนี้และเตรียมตัวเราให้พร้อมเพื่อช่วยอิมามมะฮ์ดีย์(อ.) ผู้เป็นนายของเรา

 

ซิยารัตอัรบะอีน

 

อิมามฮะซัน อัสกะรีย์(อ.) กล่าวถึงคุณสมบัติอย่างหนึ่งของผู้ศรัทธาว่า เขาจะต้องอ่านซิยารัตอัรบะอีนในวันครบรอบสี่สิบวันของการพลีชีพของอิมามฮุเซน(อ.) (วันที่ 20 ซอฟัร)

 

ซิยารัต หมายถึงการพูดคุยและการเยี่ยมเยือนผู้เป็นแบบอย่างของเรา การไปซิยารัตเพื่ออ่านซิยารัตอัรบอีนที่กัรบะลาในความเป็นจริงนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้สำหรับผู้ศรัทธาทุกคน แต่การแสดงการคารวะหรือซิยารัตต่ออิมามฮุเซน(อ.) จากที่ห่างไกลก็มีความหมายเหมือนกันกับการได้ไปเยือนแผ่นดินกัรบะลา หากผู้ที่อ่านซิยารัตมีความเข้าใจถึงสถานะของอิมามฮุเซน(อ.) อย่างแท้จริง

 

อิมามมุฮัมมัด บากิร(อ.) กล่าวว่า ชั้นฟ้าร่ำไห้ต่ออิมามฮุเซน(อ.) เป็นเวลาสี่สิบวัน อาทิตย์ขึ้นเป็นสีแดงและตกเป็นสีแดง เมื่อเรารำลึกถึงอิมามของเราเป็นเวลาสี่สิบวันอย่างครบถ้วน เท่ากับเราได้ยืนยันการให้สัตยาบันที่จะจงรักภักดีและเชื่อฟังท่าน

 

"ฉันขอยืนยันว่า ท่านคืออิมาม ผู้เที่ยงตรง ผู้ยำเกรง ผู้พึงพอใจ ผู้บริสุทธิ์ ผู้เป็นทางนำ และได้รับทางนำที่ถูกต้อง ฉันขอยืนยันว่าท่านได้รักษาปฏิญาณต่ออัลลอฮ์อย่างสมบูรณ์แล้วและได้ต่อสู้ในหนทางของพระองค์ ฉันจะเป็นมิตรกับผู้ที่เป็นมิตรกับท่าน..."

 

ด้วยการอ่านซิยารัตอัรบะอีน เราได้ให้คำปฏิญาณว่าเราจะดำเนินตามแนวทางแห่งความยุติธรรมและเที่ยงตรง และจะปฏิเสธความอยุติธรรม และจะลุกขึ้นโต้ตอบกับผู้กดขี่แห่งยุคสมัย

 

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ.) กล่าวว่า "แผ่นดินโศกเศร้าอาลัยต่อการเสียชีวิตของผู้ศรัทธาคนหนึ่งเป็นเวลาสี่สิบวัน" ดังนั้น จึงควรรำลึกถึงและไว้อาลัยต่อผู้ตายเป็นเวลาสี่สิบวัน การรำลึกถึงการพลีชีพของอิมามฮุเซนเป็นระยะเวลา 40 วันอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เราจดจำถึงวีรกรรมและความเสียสละอย่างกล้าหาญของท่านเท่านั้น แต่ยังทำให้เราน้อมนำเอาแบบอย่างของท่านมาปฏิบัติไปจนตลอดชีวิตของเราอีกด้วย

 

ด้วยการอ่านซิยารัตอัรบะอีน และการรำลึกถึง 40 วันแห่งการไว้อาลัยต่ออิมามฮุเซน(อ.) เราหวังและขอให้ 40 วันนี้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในตัวเรา ที่จะทำให้เราสามารถดำเนินตามแนวทางของอิมามฮุเซน(อ.) และสืบทอดสาส์นแห่งการยึดมั่นต่อความยุติธรรมด้วยความศรัทธาและด้วยสำนึกแห่งการยอมพลีตนเช่นเดียวกับท่านด้วยเถิด

 

ขอขอบคุณเว็บไซต์อะฮฺลุลบัยต์อะคาเดมี


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ถุงเท้ามุสลิมะฮ์
ดุอาอ์ คือ ตัวกำหนดอิหม่าน”
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือศีลอด
อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ในอัล-กุรอาน
อัลกุรอาน คัมภีร์แห่งทางนำ
...
คุณลักษณะของมนุษย์ผู้สมบูรณ์
...
การเป็นศาสดาคนสุดท้ายของโลก
ความโลภคือรากของความชั่วร้าย

 
user comment