ไทยแลนด์
Monday 6th of January 2025
0
نفر 0

อิสลามกับสังคม

อิสลามกับสังคม ไม่มีข้อสงสัยเลยว่า ไม่มีศาสนาใดที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับสังคม และได้กระชับสายโซ่แห่งสังคมไว้อย่างแน่นหนาด้วยบทบัญญัติและกฎระเบียบเหมือนศาสนาอิสลาม แน่นอนว่า ศาสนาเว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลามแห่งพระผู้เป็นเจ้าและความเป็นนิรันดร์นั้น เป็นการรับรองถึงความรู้ในพรสวรรค์ที่ซ่อนอยู่ของมนุษย์ และความสมบูรณ์แบบและความก้าวหน้าของมนุษย์ก็ควรจะเป็นเช่นนั้นด้วยอย่างแน่
อิสลามกับสังคม

อิสลามกับสังคม

ไม่มีข้อสงสัยเลยว่า ไม่มีศาสนาใดที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับสังคม และได้กระชับสายโซ่แห่งสังคมไว้อย่างแน่นหนาด้วยบทบัญญัติและกฎระเบียบเหมือนศาสนาอิสลาม แน่นอนว่า ศาสนาเว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลามแห่งพระผู้เป็นเจ้าและความเป็นนิรันดร์นั้น เป็นการรับรองถึงความรู้ในพรสวรรค์ที่ซ่อนอยู่ของมนุษย์ และความสมบูรณ์แบบและความก้าวหน้าของมนุษย์ก็ควรจะเป็นเช่นนั้นด้วยอย่างแน่นอน

เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องความสำคัญของสังคมในทัศนะของอิสลาม และความห่วงใจเป็นพิเศษของอิสลามต่อเรื่องนี้ การศึกษาคำสอนต่อไปนี้ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เข้าใจได้

1. ไม่ประหลาดใจเลยหรือ ที่ไม่มีคำสอนเป็นรายบุคคลแม้แต่เรื่องเดียวในคำสอนพื้นฐานของอิสลาม คำอธิบายที่ดีที่สุดคือการตราบทบัญญัติในเรื่องหลักกฎหมายอิสลาม(นิติศาสตร์อิสลาม) ที่ประกอบไปด้วยการซึมซับ การติดต่อกัน และนโยบายต่างๆ

ไม่จำเป็นต้องอธิบายสภาพสังคมของส่วนที่สองหรือที่สามที่ทำให้เกิดส่วนสำคัญของหลักกฎหมายอิสลาม ในส่วนแรกก็เช่นเดียวกัน ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้า จิตวิญญาณของสังคมเข้าควบคุมดูแลมันอย่างชัดเจน

หลักปฏิบัติประจำวัน ซึ่งเป็นกฎข้อบังคับที่สำคัญมากที่สุดของอิสลาม ก็มีพัวพันกับแนวคิดทางสังคมจนยากที่จะแยกออกจากกันได้ และเมื่อปฏิบัติสิ่งเหล่านั้นแบบเฉพาะบุคคลไปก็ดูเหมือนว่าการปฏิบัตินั้นได้เสียความหมายที่แท้จริงของมันไป ยกตัวอย่างเช่น การเริ่มต้นของการนมาซ ซึ่งเป็น "การเรียกสู่การนมาซและการปฏิบัตินมาซ" ไม่ใช่อื่นใดเลยนอกจากเป็นการเชิญชวนสาธารณชนและการประกาศต่อสังคม และการปฏิบัติหลักการนี้ร่วมกันเป็นหมู่คณะ และในกรณีที่อยู่ตามลำพัง มันไม่มีความหมายใดนอกจากเพื่อการรักษาการปฏิบัติไว้และเพื่อสร้างความพร้อมทางจิตใจเพื่อเข้าร่วมในหลักปฏิบัติข้อนี้

ในบทฟาฏิฮะฮ์ (การเปิด) ซึ่งเป็นบทเริ่มต้นในการนมาซและเป็นบทภาวนาวิงวอน ใช้ถ้อยคำในรูปพหูพจน์ (نَعْبُدُ - نَسْتَعينُ - اِهْدِنا) และการอำนวยพรตอนเสร็จสิ้นการนมาซก็อยู่ในรูปพหูพจน์ ดังนั้นในกรณีที่ปฏิบัติตามลำพัง การนมาซจึงเกือบจะสูญเสียแนวคิดสำคัญของมันไป ทั้งหมดเหล่านี้แสดงให้เห็นว่ารากฐานของหลักปฏิบัติอันยิ่งใหญ่นี้อยู่บนพื้นฐานของสังคม และยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการเน้นย้ำอย่างน่าแปลกและเป็นพิเศษเพื่อให้ปฏิบัติหลักการสำคัญนี้ร่วมกันเป็นหมู่คณะ

ในบรรดาหลักปฏิบัติของอิสลาม การแสวงบุญ(ฮัจญ์) เป็นสิ่งที่แรงกล้ามากกว่าเรื่องอื่นในมุมมองที่ไม่เกี่ยวข้องกับโลกของวัตถุ และระเบียบกฎเกณฑ์ของมัน และการเข้าร่วมในพิธีการนั้นน่าประทับใจ แต่แปลกที่มันยังอยู่ในมุมมองของ "การปรากฏทางสังคม" และผลกระทบของมัน มันมีความแข็งแกร่งและฝังรากลึกกว่าสิ่งอื่นทั้งหมด

2. ความสำคัญของความสัมพันธ์กันทางสังคมมีความสูงส่งมากในทัศนะของอิสลาม จนถือว่ามันเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า และแสดงถึงการนับถือพระผู้เป็นเจ้าพระองค์เดียว ดังมีโองการอัล-กุรอานกล่าวว่า

"และหนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์คือ ทรงสร้างคู่ครองให้แก่พวกเจ้าจากตัวของพวกเจ้า เพื่อพวกเจ้าจะได้มีความสุขอยู่กับนาง และทรงมีความรักใคร่และความเมตตาระหว่างพวกเจ้า..." (อัร-รูม : 21)

3. คัมภีร์อัล-กุรอานได้กล่าวย้ำว่า การกระทำที่น่ามหัศจรรย์อย่างหนึ่งของท่านศาสดา(ศ.) คือการสร้างมิตรภาพขึ้นในหัวใจทั้งหลายมากยิ่งขึ้น ความว่า

"...พระองค์ได้ทรงสนับสนุนเจ้าด้วยการช่วยเหลือของพระองค์ และด้วยผู้ศรัทธาทั้งหลาย และได้ทรงให้สนิทสนมระหว่างหัวใจของพวกเขา..." (อัล-อันฟาล : 62-63)

จากโองการข้างต้นเป็นหลักฐานอ้างอิงที่น่าสนใจของประเด็นนี้ว่า วัตถุสิ่งของเพียงอย่างเดียวไม่สามารถสร้างมิตรภาพขึ้นได้ เพราะโดยตัวของมันเองแล้วก็เป็นสาเหตุแห่งความแตกแยกกระจัดกระจาย, การกระทบกระทั่ง และการต่อสู้ดิ้นรน ซึ่งตรงกันข้ามกับความศรัทธาและความผ่องแผ้วทางจิตวิญญาณ

สิ่งที่น่าสังเกตคือในโองการนี้ การให้คำรับรองของผู้ศรัทธาถูกกล่าวถึงหลังจากการรับรองของพระผู้เป็นเจ้า และนี่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญอันสูงส่งของเรื่องนี้

4. อัล-กุรอานเรียกการแตกแยกกระจัดกระจายและการหลอกลวงว่าเป็นเสมือนการลงโทษอย่างหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า

"จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) พระองค์สามารถที่จะส่งการลงโทษมายังพวกท่านได้ จากเบื้องบนของพวกท่านหรือจากใต้เท้าของพวกท่าน หรือให้พวกท่านปะปนกันโดยมีหลายพวก และให้บางส่วนของพวกท่านลิ้มรสการรุกรานของอีกบางส่วน..." (อัล-อันอาม : 65)

และในบางแห่งของคัมภีร์อัล-กุรอานได้กล่าวถึงไว้เคียงข้างกับไฟที่เผาไหม้ ซึ่งกวาดกลืนและเผาไหม้ทุกสิ่งทุกอย่าง

"... และพวกเจ้าเคยปรากฏอยู่บนปากหลุมแห่งไฟนรก แล้วพระองค์ก็ทรงช่วยพวกเจ้าให้พ้นจากปากหลุมแห่งนรกนั้น..." (อาลิอิมรอน : 103)

5. อัล-กุรอาน ได้เรียกความสัมพันธ์ระหว่างบรรดาผู้ศรัทธาว่าเป็น "พี่น้องกัน" ซึ่งใกล้ชิดกันที่สุด และความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่นับถือกันมากยิ่งขึ้นได้ถูกจัดตั้งขึ้นบนพื้นฐานของความเท่าเทียมและเคารพซึ่งกันและกัน

ขอขอบคุณเว็บไซต์อะฮ์ลุลบัยต์อะคาเดมี


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
ทำไมซูเราะฮ์ “อัลฟัจร์” ...
บุคลิกของผู้เรียน
อิสลามกับการบริจาค
...
เราะห์มัต (ความเมตตา) ...
บทเรียนจากนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ...
รุก็อยยะฮ์ บินตุล ฮุเซน คือใคร?
ข้อคิดจากซูเราะฮ์อันนาส
ใครคือชีอะฮฺ

 
user comment