ไทยแลนด์
Wednesday 25th of December 2024
0
نفر 0

อิสลามกับการบริจาค

อิสลามกับการบริจาค

อิสลามกับการบริจาค

 
การแบ่งปันและแจกจ่ายให้แก่ผู้อื่นที่ด้อยโอกาสกว่า ไม่เพียงแต่เป็นหน้าที่ของมุสลิมเท่านั้น แต่ยังถือเป็นการกระทำอันสูงส่งที่สุด ที่สามารถนำคนผู้นั้นเข้าใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้ามากยิ่งขึ้น การบริจาคเป็นการทำให้บุคคลและสังคมได้รับประโยชน์ มันเป็นการชำระขัดเกลาจิตวิญญาณจากความตระหนี่ถี่เหนียวและคับแคบ
ในโองการจากอัล-กุรอาน อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงตรัสว่า
خُذۡ مِنۡ أَمۡوَٰلِهِمۡ صَدَقَةٗ تُطَهِّرُهُمۡ وَتُزَكِّيهِم بِهَا وَصَلِّ عَلَيۡهِمۡۖ إِنَّ صَلَوٰتَكَ سَكَنٞ لَّهُمۡۗ وَٱللَّهُ سَمِيعٌ عَلِيمٌ
“(มุฮัมมัด) เจ้าจงเอาส่วนหนึ่งจากทรัพย์สมบัติของพวกเขาเป็นทาน เพื่อทำให้พวกเขาบริสุทธิ์ และล้างมลทินของพวกเขาด้วยส่วนตัวที่เป็นทานนั้น และเจ้าจงขอพรให้แก่พวกเขาเถิด เพราะแท้จริงการขอพรของพวกเจ้านั้น ทำให้เกิดความสุขใจแก่พวกเขา และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้” (อัล-กุรอาน 9/103)

 
จากหลักคำสอนของอิสลาม บทบัญญัติในการจ่ายซะกาต(เงินบริจาค) มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าบทบัญญัติในเรื่องการนมาซ เมื่อใดก็ตามที่อัล-กุรอานกล่าวถึงผู้ดำรงการนมาซ ก็จะกล่าวถึงผู้จ่ายซะกาตด้วยเช่นกัน
การบริจาคในอิสลาม ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นของกำนัลที่มอบแก่คนยากจน แต่มันถือเป็นสิทธิของคนยากจนต่างหาก ดังโองการจากอัล-กุรอานที่ระบุว่า
وَفِيٓ أَمۡوَٰلِهِمۡ حَقّٞ لِّلسَّآئِلِ وَٱلۡمَحۡرُومِ
 “และในทรัพย์สมบัติของพวกเขาจัดไว้เป็นส่วนของผู้เอ่ยขอ และผู้ไม่เอ่ยขอ” (อัล-กุรอาน 51/19)

 
อิสลามถือว่าเงินทองหรือทรัพย์สินที่มนุษย์ขวนขวายนั้นได้มาด้วยความกรุณาจากพระผู้เป็นเจ้า ท่านหญิงมัรยัม (พระนางแมรี่) มารดาของศาสดาอีซา(อ.) (พระเยซู) ได้รับปัจจัยยังชีพจากพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่โดยปราศจากเงื่อนไข
فَتَقَبَّلَهَا رَبُّهَا بِقَبُولٍ حَسَنٖ وَأَنۢبَتَهَا نَبَاتًا حَسَنٗا وَكَفَّلَهَا زَكَرِيَّاۖ كُلَّمَا دَخَلَ عَلَيۡهَا زَكَرِيَّا ٱلۡمِحۡرَابَ وَجَدَ عِندَهَا رِزۡقٗاۖ قَالَ يَٰمَرۡيَمُ أَنَّىٰ لَكِ هَٰذَاۖ قَالَتۡ هُوَ مِنۡ عِندِ ٱللَّهِۖ إِنَّ ٱللَّهَ يَرۡزُقُ مَن يَشَآءُ بِغَيۡرِ حِسَابٍ
  “แล้วพระเจ้าของนางก็ทรงรับมัรยัมไว้อย่างดี และทรงให้นางเจริญวัยอย่างดีด้วยและได้ทรงให้ซะกะรียาอุปการะนาง คราใดที่ซะกะรียาเข้าไปหานางที่อัลมิห์รอบ เขาก็พบปัจจัยยังชีพอยู่ที่นาง เขากล่าวว่า มัรยัมเอ๋ย! เธอได้สิ่งนี้มาอย่างไร?นางกล่าวว่า มันมาจากที่อัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นจะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์โดย ปราศจากการคิดคำนวณ” (อัล-กุรอาน 3:37)

 
ถึงแม้ว่ามนุษย์ต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพ แต่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) คือผู้ทรงกำหนดจำนวนและรูปแบบของปัจจัยที่พวกเขาจะได้รับตลอดชั่วชีวิตของเขา ดังนั้นเมื่อมนุษย์ได้รับคำสั่งให้คืนทรัพย์สินบางส่วนของพวกเขาไปในการบริจาค แท้จริงแล้วพวกเขาไม่ได้เสียสละทรัพย์สินของเขาแต่งอย่างไร มันเป็นเพียงแต่การคืนสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงให้พวกเขายืมมาเท่านั้น อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงตรัสว่า
…يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ أَنفِقُواْ مِمَّا رَزَقۡنَٰكُم
“บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงบริจาคส่วนหนึ่งจากสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า…”
(อัล-กุรอาน 2:254)

 
ปัจจัยยังชีพเหล่านั้นไม่ได้ถูกจัดเตรียมไว้เพื่อมนุษย์เท่านั้น แต่เพื่อให้แก่บรรดาสิ่งถูกสร้างอื่นทั้งหมดด้วย ไม่ว่าจะเป็น พืช, สัตว์, ต้นไม้ ฯลฯ
เงินที่มาจากการบริจาค ช่วยสร้างความมั่นคงและเสริมเกียรติยศให้แก่สังคมด้วยการช่วยเหลือต่อผู้ที่ขาดแคลน เป็นการเติมช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน และทำให้ความอดอยากยากจนหายไป

 

 
ศาสดามุฮัมมัด(ศ.) กล่าวว่า “ประชาชาติของฉันจะมีชีวิตอยู่อย่างสงบสุขถ้าพวกเขาเชื่อมั่นต่อกันและกัน คืนสิ่งที่รับฝากไว้ให้แก่เจ้าของ และจ่ายซะกาต(เงินบริจาค) ให้แก่คนยากจน แต่ถ้าพวกเขาไม่ปฏิบัติตามหน้าที่เหล่านี้ พวกเขาจะเผชิญกับความอดอยากยากแค้น”
อิมามอะลี(อ.) กล่าวว่า “อัลลอฮฺผู้ทรงเกริกเกียรติ ได้กำหนดให้การยังชีพของคนขัดสนอยู่ที่ทรัพย์สินของคนรวย ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อคนขัดสนยังคงหิวอยู่ นั่นก็เป็นเพราะคนรวยบางคนไม่ยอมแบ่งปันส่วนที่เป็นสิทธิ์ของเขาให้แก่เขา”
 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

เราะห์มัต (ความเมตตา) ...
ท่านหญิงคอดีญะฮฺ บินติคุวัยลิด ...
มุอ์มิน (ผู้ศรัทธา) คือใคร?
ความประเสริฐของท่านอะลี ...
...
...
วันที่ฉันสวมฮิญาบ
อิสลามกับการบริจาค
อิมามบากิรฺกับศัตรูอิมามอะลี
ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการีย์ (อ.) ...

 
user comment