ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

อิสลามชวนให้คิดและศึกษา

อิสลามให้คุณค่าอย่างยิ่งต่อการใช้ความคิด อิสลามสอนให้ผู้เรียนและผู้รู้ได้ใช้ความคิดใคร่ครวญถึงการสร้างสรรค์ กาลเวลา กลางวันกลางคืน ท้องฟ้า โลก ชีวิตสัตว์ มนุษย์ จักรวาลและสิ่งที่อยู่ภายในจักรวาล

 อิสลามให้คุณค่าอย่างยิ่งต่อการใช้ความคิด อิสลามสอนให้ผู้เรียนและผู้รู้ได้ใช้ความคิดใคร่ครวญถึงการสร้างสรรค์ กาลเวลา กลางวันกลางคืน ท้องฟ้า โลก ชีวิตสัตว์ มนุษย์ จักรวาลและสิ่งที่อยู่ภายในจักรวาล

 
 
“แท้จริงในการสร้าง บรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน และสับเปลี่ยนกลางคืนและกลางวัน และเรือที่วิ่งอยู่ในทะเล พร้อมด้วยสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ และน้ำ ที่อัลลอฮ์ได้ทรงให้หลั่งลงมาจากฟากฟ้า แล้วทรงให้แผ่นดินมีชีวิตชีวาขึ้น  ด้วยน้ำนั้นหลังจากที่มันตายไปแล้ว และได้ทรงให้สัตว์แต่ละชนิด แพร่สะพัดไปในแผ่นดิน และในการให้ลมเปลี่ยนทิศทาง และให้เมฆซึ่งถูกกำหนดให้บริการ(แก่โลก) ผันแปรไประหว่างฟากฟ้าและแผ่นดินนั้น แน่นอนล้วนเป็นสัญญาณนานาประการแก่กลุ่มชนที่ใช้ปัญญา” (อัล-กุรอาน 2/164)

 
 
อิสลามยังได้สอนให้พวกเขาศึกษาค้นคว้าถึงการใช้ชีวิตอยู่ของบรรดาผู้ที่มาก่อนพวกเขา ทั้งการใช้ความคิดและสิ่งที่เป็นสาเหตุให้พวกเขาเหล่านั้นต้องตกต่ำและล่มสลาย เพื่อว่าพวกเขาจะได้ระวังตัวจากอันตรายที่อาจสร้างความเสียหายแก่พวกเขาได้

 
 
“แน่นอนได้ผ่านพ้นมาแล้วก่อนพวกเจ้า ซึ่งแนวทางต่างๆ ดังนั้นพวกเจ้าจงท่องเที่ยวไปในแผ่นดิน แล้วจงดูว่าบั้นปลายของบรรดาผู้ปฏิเสธเป็นอย่างไร  นี่คือข้อชี้แจงอันชัดเจสำหรับมนุษย์และเป็นคำแนะนำที่ถูกต้อง และเป็นคำตักเตือนสำหรับผู้ยำเกรงทั้งหลาย“ (อัล-กุรอาน 3/137-8)

 
 
สรุปได้ว่า อิสลามปรารถนาจะให้มนุษย์ได้ใช้ความคิดอย่างลึกซึ้งและอิสระ และสำรวจไปในความไกลโพ้นของความคิดและความรู้ และเก็บเกี่ยวทุกสิ่งทุกอย่างที่ดีที่สุดมาใช้เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของเขา ด้วยเหตุนี้เองที่อิสลามได้ให้คุณค่าและความก้าวหน้าและการค้นพบทางวิทยาการต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ และเป็นเหตุผลว่าทำไมนักวิทยาศาสตร์และผู้ทรงความรู้จึงได้ผุดขึ้นอย่างมากมายในช่วงหลายศตวรรษภายหลังการมาถึงของอิสลาม เพื่อประดับประดาเส้นทางแห่งอารยธรรมของมนุษย์ด้วยอัญมณีแห่งความอุตสาหะทางวิทยาศาสตร์ของพวกเขา เช่นเดียวกับที่ชื่อเสียงอันยิ่งใหญ่ของพวกเขาจะได้ปรากฏอยู่ตลอดไปด้วยการยอมรับในประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์

 
 
ในบรรดาพวกเขาเหล่านั้นรวมถึง ญาบิร อิบนฺ ฮัยยัน, ราซี, อิบนฺ ซีนา(เอวิเซ็นนา) และควาญะฮฺ นาซิร อัด-ดิน ตูซี ซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในด้านวิทยาศาสตร์ทุกสาขาในยุคสมัยของพวกเขา ทั้งด้านวิทยาศาสตร์การคิดค้น, วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, ดาราสาสตร์, เคมีวิทยา ฯลฯ ตำราหลายเล่มของอิบนฺ ซีนา ถูกนำมาใช้สอนในมหาวิทยาลัยหลายแห่งในยุโรปจนถึงปลายศตวรรษที่แล้ว เจอร์จี เซย์ดัน นักเขียนชาวคริสเตียนจากเลบานอนผู้มีชื่อเสียงได้เขียนในหนังสือของเขาชื่อ ประวัติศาสตร์แห่งอารยธรรมอิสลาม หน้า 598 ว่า “เพียงไม่นานหลังจากที่อารยธรรมอิสลามได้สถาปนาตนเองขึ้น วิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ ได้แพร่หลายในหมู่ชาวมุสลิม นักปราชมุสลิมปรากฏมีขึ้น ซึ่งความคิดของพวกเขามีความสำคัญมากกว่าผู้วางรากฐานของวิทยาศาสตร์ในแขนงนั้นๆ เองบางคนเสียอีก แท้ที่จริงแล้ว วิทยาศาสตร์สาขาเหล่านี้ได้ถูกแต้มสีสันใหม่ด้วยการศึกษาค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์มุสลิม และเจริญก้าวหน้าไปตามอารยธรรมของอิสลาม”

 
บทบัญญัติอิสลาม และความก้าวหน้าของยุคสมัย

 
 
การเปลี่ยนแปลง การประดิษฐ์คิดค้น และการพัฒนาวิธีการต่างๆ ในการใช้ชีวิต และความก้าวหน้าทางด้านเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ของอารยธรรมไม่มีสิ่งใดที่เข้ากันไม่ได้กับบทบัญญัติที่เหนือกาลเวลาของอิสลาม เพราะกฎเกณฑ์ย่อมขึ้นอยู่กับวิธีการดั้งเดิมและปัจจัยพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีคนกำหนดกฎเกณฑ์ว่า ต้องใช้มือเท่านั้นในการเขียน, ต้องใช้ลาเท่านั้นในการเดินทาง ฯลฯ กฎเกณฑ์ประเภทนี้ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงเมื่อมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และอารยธรรมของมนุษย์ แต่ถ้ามันไม่ขัดแย้งกันกับวิธีการดั้งเดิม และในขณะที่กฎเกณฑ์นี้ถูกตั้งขึ้นนั้น วิธีการเหล่านั้นถูกใช้อยู่ดังตัวอย่าง กฎเกณฑ์เหล่านั้นก็จะไม่ขัดแย้งกับวิธีการและความก้าวหน้าทางอารยธรรมที่จะเกิดขึ้นมาใหม่

 
 
กฎเกณฑ์ของอิสลามอยู่ในประเภทหลัง ซึ่งไม่ได้มองแต่เฉพาะวิธีการในช่วงเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์ ยกตัวอย่างเช่น การกล่าวว่า “มนุษย์ต้องไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจภายนอก เพื่อปกป้องสิทธิและชีวิตของตน” กฎข้อนี้ แม้จะถูกประกาศใช้ในยุคสมัยของการใช้ดาบ แต่มันไม่เคยระบุถึงเครื่องมือที่ต้องใช้ในเวลานั้น อิสลามไม่เคยพูดว่า “การญิฮาด(ต่อสู้เพื่อศาสนา) ต้องใช้ดาบเท่านั้น” มันจึงยังคงเป็นกฎเกณฑ์ที่ปฏิบัติกันได้อยู่ในปัจจุบัน เช่นเดียวกับการติดต่อทางด้านธุรกิจ การค้าขาย และอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่ออารยธรรมและวิธีการและเครื่องมือเครื่องใช้ได้ขยายตัวออกไป แต่มันจะต้องไม่ออกห่างไปจากขอบเขตของกฎเกณฑ์ในอิสลาม และนี่คือความลึกลับอย่างหนึ่งของการเหนือกาลเวลาในอิสลาม

 
อิสลามได้กำหนดแนวคิดร่วมสมัยและระบบการคิดไว้หรือไม่?

 
 
ไม่ข้อสงสัยเลยว่ามนุษย์ได้พัฒนาไปไกลทางด้านการศึกษาเรียนรู้ แต่นักวิทยาศาสตร์เองยังสารภาพว่า สิ่งที่พวกเขารู้ในโลกแห่งการสร้างสรรค์นั้นยังเทียบไม่ได้กับสิ่งที่พวกเขาไม่รู้ และด้วยวิสัยทัศน์ของพวกเขาที่มีจำกัดนั้น พวกเขาไม่สามารถค้นพบความลับของโลกนี้ได้ทั้งหมดอย่างแน่นอน ยิ่งกว่านั้น แต่ละก้าวของการพัฒนาไปข้างหน้าของมนุษย์นั้น ก็ใช่ว่าจะปราศจากความผิดพลาด
 

 
เพราะฉะนั้น ในขอบเขตของความทะเยอทะยานของมนุษย์นั้น ใช่ว่าจะสามารถแน่ใจได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าถูกต้องแม่ยำในทุกความก้าวหน้าของทุกสาขาวิชา เพราะเป็นไปได้ว่า ปัจจัยแวดล้อมและสิ่งที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้อื่นๆ อาจส่งผลกระทบต่อความคิดและสายตาของมนุษย์จนทำให้เขาออกห่างไกลไปจากความเป็นจริง แต่รากฐานของอิสลาม ซึ่งเกิดมาจากรากของการประทานบทบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า จึงไม่มีทางที่ว่าอาจจะเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ และสามารถให้การชี้นำได้อย่างน่าเชื่อถือในทุกยุคสมัย ด้วยเงื่อนไขที่ว่ากฎเกณฑ์อันบริสุทธิ์เหล่านี้ไม่ได้ถูกแต่งเติมด้วยระบบที่บิดเบือน ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถรองรับกับความก้าวหน้าที่จะเกิดขึ้นได้

 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
ชีวประวัติของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...
...
เดือนรอมฎอน เดือนแห่งอัลอิสลาม
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัลอิคลาศ ตอนที่ ...
อาลัมบัรซัค ...
ความสำคัญของพ่อแม่ในอิสลาม
ความกตัญญูต่อบิดามารดา
ท่านอะบูฏอลิบ คือ ใคร
ฮิดายะฮ์ (การชี้นำ)ในอัลกุรอาน

 
user comment