ไทยแลนด์
Friday 5th of July 2024
0
نفر 0

การไว้อาลัยต่อผู้ตายและชะฮีดจากอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ (ตอนที่ 1)

การไว้อาลัยต่อผู้ตายและชะฮีดจากอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ (ตอนที่ 1)

มีผู้ตั้งคำถามอย่างมากมายเกี่ยวกับการไว้อาลัยแก่อิมามฮุเซน(อ.) จึงจำเป็นต้องหาคำตอบเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจและทราบถึงสัจธรรม มีรายงานจากอะฮ์ลิซซุนนะฮ์มากมายที่แสดงให้เห็นว่าการไว้อาลัยและการรำลึกถึงอิมามฮุเซน(อ.) เป็นซุนนะฮ์(แบบอย่าง)อย่างหนึ่งเนื่องจากสถานะอันสูงส่งและการพลีอย่างใหญ่หลวงเพื่อรักษาอิสลามของท่าน อิมามฮุเซน(อ.) มีสถานะสูงส่งในสายตาของมนุษยชาติ และแม้แต่ต่างศาสนิกยังรำลึกถึงการพลีของท่านทุกปี…  

 
การรำลึกถึงบรรดาชะฮีด(ผู้พลีชีพในหนทางของศาสนา) ไม่เพียงแต่เป็นซุนนะฮ์ของท่านศาสดา(ศ.) เท่านั้น แต่ยังเป็นการปฏิบัติของบรรดาซอฮาบะฮ์ด้วยเช่นกัน

 
ในหนังสืออัล-บิดายะฮ์ วะ อัล-นิฮายา เล่ม 4 หน้า 45 พิมพ์ที่เบรุต มีรายงานจากอะบู ฮุรอยเราะฮ์ว่า ท่านศาสดา(ศ.) เคยไปเยี่ยมสุสานของบรรดาชะฮีดทุกปี เมื่อท่าน(ศ.) ไปถึงทางเข้าของภูเขา ท่านจะกล่าว(แก่บรรดาชะฮีด) ว่า “อัสลามมุ อะลัยกุม บิมา ซอบัรตุม” หมายความว่า “ขอความสันติจงมีแด่พวกท่านเนื่องจากความอดทนของพวกท่าน และพวกท่านได้ไปถึงสถานที่อันน่าพึงพอใจเนื่องจากสิ่งนี้” ภายหลังจากท่านศาสดา(ศ.) อะบูบักรก็เคยไป(ทุกปี) เช่นกัน หลังจากอะบูบักร อุมัรก็เคยทำเช่นเดียวกัน และอุษมานก็ทำเช่นเดียวกัน” หลังจากรายงานนี้ คำว่า “ทุกปี” ถูกบันทึกในรายงานของวากิดี

 
ชีอะฮ์จึงทำการรำลึกถึงบรรดาผู้พลีชีพแห่งกัรบะลาทุกปี ท่านศาสดา(ศ.) และสาวกของท่านจะไปเยี่ยมสุสานของบรรดาผู้พลีชีพจากสงครามอุฮุดทุกปี เช่นเดียวกัน บรรดาชีอะฮ์ไปยังสุสานของอิมามฮุเซน(อ.) ทุกปีในเดือนมุฮัรรอม

 
การไว้อาลัยจากประวัติศาตร์

 

    การไว้อาลัยของศาสดาอาดัม(อ.) และนางฮาวา(อ.) ต่อบุตรชายที่ถูกสังหาร “บิดาและมารดาแห่งมวลมนุษยชาติร้องไห้คร่ำครวญให้แก่ฮาบีลบุตรชายของพวกเขาเป็นเวลานาน จนน้ำตาของพวกเขากลายเป็นสายน้ำ” (ตารีค ยะกูบี เล่ม 1 หน้า 3)
    ศาสดายะอ์กูบ(อ.) ร้องไห้ให้แก่ยูซุฟ(อ.) บุตรของท่านอย่างมากมายจนดวงตาของท่านเปลี่ยนเป็นสีขาว

           “และเขาผินหลังจากพวกเขา และกล่าวว่า “โอ้อนิจจา ยูซุฟเอ๋ย” และตาทั้งสองข้างของเขาพร่ามัวเนื่องจากความโศกเศร้า…” (ซูเราะฮ์ยูซุฟ 12 : 84)

 
      3. มุสลิมทั้งหมดเห็นพ้องต้องกันว่า ท่านศาสดา(ศ.) ให้ชื่อปีที่ท่านหญิงคอดีญะฮ์(อ.) และท่านอบูฏอลิบ(อ.) เสียชีวิตว่าเป็น “อาม อัล-ฮุซน์” (ปีแห่งความโศกเศร้า)

 
อะไรคือเหตุผลในการตั้งชื่อปีนั้นว่า “ปีแห่งความโศกเศร้า” นอกเสียจากว่า ท่านศาสดา(ศ.) หมายให้มันเป็นการรำลึกถึงการสูญเสียท่านลุงและภรรยาสุดที่รักของท่าน? การกระทำเช่นนี้ของท่านศาสดา(ศ.) เป็นซุนนะฮ์หรือไม่? ชาวชีอะฮ์ไว้อาลัยให้แก่อิมามฮุเซน(อ.) เป็นเวลาสิบวัน ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์(ศ.) ไว้อาลัยตลอดทั้งปี แม้หลังจากปีหนึ่งแล้ว ท่านศาสดา(ศ.) ก็ไม่เคยคลายจากความเศร้าโศกนี้เลย เรื่องนี้เป็นที่รู้กันจากท่านหญิงอาอีชะฮ์ที่ต้องการให้ท่านเลิกนึกถึงภรรยาที่ตายแล้วของท่านเสีย

 

 
ศอฮิห์บุคอรี ฮะดีษ 5.166 รายงานจากท่านหญิงอาอีชะฮ์ว่า

 
“ฉันไม่รู้สึกริษยาภรรยาคนใดของท่านศาสดามากเท่าที่ฉันริษยาคอดีญะฮ์ ถึงแม้ฉันจะไม่ได้เห็นเธอ แต่ท่านศาสดาพูดถึงเธออยู่เสมอ และเมื่อใดก็ตามที่ท่านเลือดแกะ ท่านจะตัดส่วนหนึ่งของมันส่งไปให้แก่บรรดาเพื่อนหญิงของคอดีญะฮ์ เมื่อฉันพูดกับท่านว่า ‘ท่านปฏิบัติ(กับคอดีญะฮ์)ราวกับว่าไม่มีผู้หญิงคนไหนบนโลกนี้แล้วนอกจากคอดีญะฮ์’ ท่านกล่าวว่า ‘คอดีญะฮ์เป็นเช่นนั้นเช่นนี้ และฉันมีลูกๆ จากนาง'”

 
รายงานจากท่านหญิงอาอีชะฮ์ในบันทึกของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่า ท่านศาสดา(ศ.) ไม่เคยคลายความเศร้าโศกถึงภรรยาของท่าน และการรำลึกถึงท่านหญิงคอดีญะฮ์(อ.) ก็เคยเกิดขึ้นให้เข้าหูคนฟัง การกล่าวรำลึกถึงในระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังเรียกว่าการร่วมชุมนุม(มัจลิส) การรำลึกถึงการเสียชีวิตของท่านหญิงคอดีญะฮ์(อ.) และท่านอบูฏอลิบ(อ.) ก็เป็นเช่นเดียวกันกับการรำลึกถึงการพลีชีพของอิมามฮุเซน(อ.) ถ้าหากมุสลิมไม่มีการเฉลิมฉลองค่ำคืนต่างๆ เช่น การมิอฺรอจ(ขึ้นสู่ฟากฟ้า) ของท่านศาสดา(ศ.) ก็คงไม่มีเหตุผลอะไรให้ละทิ้งการรำลึกถึงความโศกเศร้า เพราะทั้งความเศร้าและความสุขคือสิ่งสำคัญในชีวิต

 
4. อุมัร บิน คอฏฏอบ กล่าวว่า “เมื่อใดก็ตามที่ฉันได้ออกไปในยามรุ่งสาง ฉันจะนึกถึงการตายของเซด บิน คอฏฏอบ พี่ชายของฉัน” (อัล-บิดายา วะ อัล-นิฮายา เล่ม 6 หน้า 370)

 
ท่านอุมัร คอลีฟะฮ์คนที่สอง ยังรำลึกถึงความตายของพี่ชายท่านตลอดชีวิต ดังนั้น จะเป็นอันตรายอะไรในการรำลึกถึงการวายชนม์ของท่านศาสดา(ศ.) หรือการพลีชีพของหลานชายท่าน คืออิมามฮุเซน(อ.)

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
...
คำสั่งเสียของท่านหญิง
ร็อจอะฮฺคืออะไร ?
อีด อัฎฮา ตรุษใหญ่ของอิสลาม
ข้อคิดจากซูเราะฮ์อันนาส
ถุงเท้ามุสลิมะฮ์
การขออภัยโทษ (เตาบะฮ์) ...
...
ดุอาอ์ คือ ตัวกำหนดอิหม่าน”

 
user comment