ท่านลูกมานได้สอนบุตรชายของท่านว่า “เมื่อใดที่เจ้าต้องการกระทำความผิดบาปกับพระองค์ เจ้าจงเดินออกไปให้พ้นออกจากอำนาจปกครองของพระองค์”
คำพูดของท่านได้แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าท่านจะไปทางไหน หรือทำอะไร ท่านก็ไม่อาจหลีกหนีอำนาจการปกครองของพระองค์ไปได้ ดังนั้นเจ้าอย่าได้คิดทำความผิดอย่างเด็ดขาด
อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสว่า وَهُوَ مَعَكُمْ أَيْنَ مَا كُنتُمْ وَاللَّهُ بِمَا تَعْمَلُونَ بَصِيرٌ
หมายถึง “พระองค์ทรงอยู่กับ พวกเจ้าไม่ว่าพวกเจ้าจะอยู่ ณ แห่งหนใด และ อัลลอฮฺทรงเห็นสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ”[๘]
ได้มีเรื่องเล่าว่า มีอุละมาอ์ท่านหนึ่งท่านได้แสดงความรักและเอ็นดูลูกศิษย์ที่เป็นเด็กหนุ่มและมีความฉลาดไหวพริบดีมากกว่าลูกศิษย์คนอื่นๆ ซึ่งเป็นที่ไม่พอใจของลูกศิษย์คนอื่นๆ พวกเขาได้ท้วงติงอาจารย์ของตนเอง อุละมาอ์คนดังกล่าวต้องการพิสูจน์ด้วยกับหลักการให้ลูกศิษย์ของตนเห็นว่าการกระทำของเขาเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ท่านจึงได้แจกนกให้กับลูกศิษย์ของท่านคนละหนึ่งตัวและพูดว่า “พวกเธอจงเอานกไปเชือดในที่ๆ ไม่มีคนเห็นพวกเธอ” หลังจากนั้นไม่นานนักบันดาลูกทุกคนศิษย์ของท่านได้กลับมาพร้อมกับนกที่เชือดแล้ว และหลังจากนั้นไม่นานลูกศิษย์คนที่ฉลาดที่สุดของท่านก็ได้กลับมาแต่ว่าเขาไม่ได้เชือดนกตัวดังกล่าว อาจารย์ได้ถามเขาว่า “ทำไมเจ้าถึงไม่เชือดนกล่ะ ?”
เขาได้ตอบว่า “เพราะท่านได้สั่งฉันให้เอานกไปเชือดในที่ ๆไม่มีคนเห็น ฉันได้ไปทุกที่แล้ว แต่ไม่พบสถานที่ใดที่ปราศจากอัลลอฮฺ (ซบ.) พระผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงเป็นหนึ่งเดียว และทรงดำรงอยู่ทุกๆ ที่” อาจารย์ได้กล่าวชมว่า “เจ้านั้นเยี่ยมยอดมาก” และได้กล่าวกับลูกศิษย์คนอื่นๆ ว่า “ด้วยเหตุนี้เองที่ฉันได้รักเขา ให้เกียรติเขาและเอ็นดูเขามากกว่าคนอื่นๆ”
ผลลัพธ์บางอย่างที่เกิดจากการระมัดระวังตนเอง
๑. จงเลือกในสิ่งที่พระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้เลือกให้กับเรา
๒. จงให้เกียรติและเคารพต่อสิ่งที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงให้เกียรติและเคารพมัน
๓. ให้ถือเป็นเรื่องเล็กน้อยในสิ่งที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงถือว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องเล็กน้อย
ด้วยเหตุนี้ จงมีความหวังต่อพระผู้เป็นเจ้าเพื่อพระองค์จะได้ให้ความหวังต่อเจ้าในการปฏิบัติอิบาดะฮฺ จงกลัวในความยุติธรรมของพระองค์เพื่อจะปกป้องเจ้าให้หลอดพ้นจากการกระทำความผิดบาป และเป็นสาเหตุนำเจ้าไปสู่การระมัดระวังตนเอง.
ได้มีเด็กหนุ่มในสมัยนั้นเขียนจดหมายไปหาอัลลามะฮฺเพื่อขอคำแนะนำจากท่านี้
เขาได้เล่าว่า ผมเป็นวัยรุ่นคนหนึ่ง อายุ ๒๓ ปี มีความหวังว่าท่านน่าจะให้คำแนะนำที่ดีต่อกระผมได้ กระผมได้ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้เงื่อนไขในสังคมที่อารมณ์ใฝ่ต่ำมีอิทธิพลครอบงำอยู่เหนือจิตใจของกระผม ซึ่งกระผมยอมรับว่าได้ตกเป็นทาสของมัน และมันเป็นสาเหตุทำให้กระผมต้องออกห่างจากแนวทางของพระองค์
ดังนั้นสิ่งที่กระผมต้องการจากท่านคือ โปรดแนะนำการกระทำบางอย่างที่ทำให้กระผมสามารถควบคุมอารมณ์ใฝ่ต่ำของตัวเองได้ และนำพากระผมไปสู่ความผาสุกอันเป็นนิรันดร์ได้
หมายเหตุ กระผมไม่ต้องการคำแนะนำที่เป็นทฤษฏีเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการทฤษฏีเชิงปฏิบัติการเพื่อตัวกระผมจะได้รอดพ้นจากสภาพดังกล่าว
ท่านอัลลามะฮฺได้กล่าวว่า
เพื่อความสำเร็จและเพื่อการบรรลุไปสู่เป้าหมายตามที่ผู้เขียนได้เขียนขอคำแนะนำมาสิ่งจำเป็น
ประการแรก คือเธอต้องแสดงความอดทนอย่างสูง และต้องทำการขออภัยโทษต่อพระองค์
ประการที่สอง เธอต้องทำการตรวจสอบจิตใจ การกระทำ และต้องระมัดระวังตนเอง
ด้วยกับขั้นตอนการปฏิบัติดังต่อไปนี้
๑. เมื่อตื่นนอนมาในตอนเช้าทุกๆ วันต้องตั้งเจตนาอย่างมั่นคงว่าการกระทำทุกอย่างที่จะกระทำในวันนี้ฉันจะระมัดระวังต่อความพึงพอพระทัยของพระองค์
๒.ภารกิจที่จะทำทั้งหมดต้องคำนึงถึงประโยชน์ทั้งผลบุญ และผลกรรมที่จะได้รับในวันปรโลกหน้า ถ้ามันไม่มีประโยชน์ต่อปรโลกหน้าต้องไม่ทำมันอย่างเด็ดขาด
๓. ก่อนนอนสักประมาณสี่ห้านาทีให้ทบทวนการกระทำที่ได้ทำลงไปในวันนี้อย่างละเอียดที่ละอัน ภารกิจใดตรงกับความพึงพอพระทัยของพระองค์ จงกล่าวขอบคุณ และสิ่งใดเป็นความผิดจงขออภัยและขอลุกโทษกับพระองค์
สิ่งเหล่านี้ให้ปฏิบัติทุกวันแม้ว่าในตอนแรกจะมีความยากลำบาก และเป็นความขมขื่นของจิตใจก็ตาม แต่จงรู้ไว้เถิดว่าสิ่งนี้เป็นกุญแจสำหรับการช่วยเหลือที่ถูกต้อง
๔.ทุกๆ คืนก่อนนอนหากเป็นไปได้ให้อ่านอัล-กุรอานซูเราะฮฺที่เป็นมุสตะฮับอย่างเช่น ซูเราะฮฺหะดีด,หัชร์,ซอฟ, ญุมุอะฮฺ, และตะฆอบุน แต่ถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้ให้อ่านซูเราะฮฺหัชร์เพียงซูเราะฮฺเดียว และหลังจาก ๒๐ วันผ่านไปแล้วโปรดแจ้งให้ฉันทราบด้วยว่า สภาพของเธอเป็นอย่างไร? อินชาอัลลอฮฺขอให้ประสบกับความสำเร็จ
มุฮัมมัดฮุซัยนฺ ฏ่อบาฏ่อบาอีย์
[๑] ริซาละฮฺ ซีรฺวะซุลูก, บะหฺรุลอุลูม หน้าที่ ๑๕๐-๑๕๑
[๒] อุศูลกาฟีย์ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๔๕๓, มะการิมุลอัคลาค ฟัศล์ที่ ๕ บาบที่ ๔
[๓] ริซาละฮฺ ซีรฺวะซุลูก, บะหฺรุลอุลูม หน้าที่ ๑๕๐
[๔] อัล-ฟุรกอน ๗๐
[๕] มาอิดะฮฺ ๕๔
[๖] อะหฺซาบ ๕๒
[๗] บิฮารุลอันวารฺ เล่มที่ ๗๗ หน้าที่ ๗๔ หะดีษที่ ๓
[๘] หะดีด ๔