ไทยแลนด์
Sunday 24th of November 2024
0
نفر 0

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ตอนที่ 2

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ตอนที่ 2

อัดลฺอิลาฮี 2
#นิยามของอัดลฺ (ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า)

นิยามทางด้านภาษา หมายถึง
1- ความเสมอภาค ความเท่าเทียม ความยุติธรรม ซึ่งทัศนะนี้บางประเทศยึดหลักความยุติธรรมตามนิยามนี้ คือ ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน แต่บางประเทศคนผิวดำกลับไม่มีสิทธิเลือกตั้งเหมือนกับคนผิวขาว ดังนั้นนิยามนี้บางครั้ง การปฏิบัติก็ถูกต้องแต่บางครั้งก็ผิดพลาด

2- การไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

3- การให้สิทธิตามที่ควรได้รับ “อะฮ์ฏอกุลละซีฮักกินฮักกอฮุ” เป็นนิยามที่ให้ความหมาย ลึกในรายละเอียดกว่านิยามทั้งสองข้างต้น เช่น บุตรคนโตกับบุตรคนเล็ก  ซึ่งมีค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน  พ่อแม่จึงให้สิทธิตามความจำเป็นเหมาะสม เมื่อบุตรคนโตมีความจำเป็นต้องใช้มากกว่า ก็ควรจะได้รับค่าใช้จ่ายมากกว่า ส่วนคนเล็กมีความจำเป็นน้อยกว่าก็ควรจะได้รับน้อยกว่า

4- การวางของถูกที่ หรือการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดถูกต้องตามกาละเทศะ วางของได้ถูกต้องเหมาะสมตามที่ที่มันควรอยู่ ซึ่งนิยามนี้ตรงกับคำว่า (ฮิกมะฮ์=วิทยปัญญา) ฮิกมะฮ์คือความถูกต้อง ความเหมาะสม ความมีเหตุมีผล ความถูกต้องที่สุดที่ควรจะเป็นไปตามนั้น

อะไรคือความแตกต่างระหว่างนิยามที่สามกับนิยามที่สี่?

   สมมุติว่ามีคนสองคนกระทำผิดเหมือนกัน ตามสิทธิที่เขาทั้งสองควรจะได้รับคือการถูกลงโทษ  นี้คือนิยามที่สาม แต่ถ้าหากไม่ลงโทษ เนื่องจากมีเหตุผลที่สำคัญและเหมาะสมกว่าการลงโทษ เพราะบางกรณีการลงโทษอาจจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ให้เกิดปัญหาอื่นๆมากมาย ฉะนั้นเมื่อเกรงว่าจะมีปัญหาตามมามากกว่า ก็ควรวางปัญหาของเขาให้ถูกต้องเหมาะสมด้วยการไม่ลงโทษเสีย ในที่นี้คือนิยามที่สี่ ซึ่งมีความหมายครอบคลุมลึกซึ้งกว่านิยามที่สาม และความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้านั้นส่วนมากอยู่ในนิยามที่สี่ เพราะมีเรื่องฮิกมะฮ์ ความมีเหตุมีผลมีและความเหมาะสมเกี่ยวข้องอยู่ด้วย

อัลกุรอานกล่าวไว้ในซูเราะฮ์ อัลมาอิดะฮ์ โองการที่ 40

“فَيَغْفِرُ لِمَنْ يَشَاءُ وَيُعَذِّبُ مَنْ يَشَاءُ.”

“พระองค์จะให้อภัยแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และจะทรงลงโทษกับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์”

   ผู้กระทำผิดบางคนถูกลงโทษ แต่บางคนได้รับการอภัย สำหรับคนที่ถูกลงโทษนั้นเขาก็ได้ตามสิทธิของเขาตามนิยามที่สาม ส่วนคนที่ได้รับการอภัย เขาได้รับความยุติธรรมที่สูงส่ง ด้วยการได้รับการอภัยโทษ  กรณีเช่นนี้ มนุษย์มีสิทธิพูดได้หรือไม่ว่ามันไม่ยุติธรรม ?  ตามนิยามที่สี่นั้น มีเรื่องของฮิกมะฮ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นการที่ทำไม คนนี้ได้รับการอภัยแต่ คนนั้นไม่ได้รับการอภัย จึงเป็นศาสตร์ของวิชาการด้านอัคลาก ซึ่งมีรายละเอียดที่ลึกซึ้งอีกมาก

   ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนสองคนกระทำผิดเหมือนกัน คนหนึ่งถูกลงโทษ แต่อีกคนหนึ่งกลับไม่ถูกลงโทษ ถ้าเป็นเช่นนี้ มีประเด็นที่ต้องพิจารณาสองประการ คือ ยุติธรรม หรือ ไม่ยุติธรรม เราจะอธิบายกรณีนี้อย่างผู้มีสติปัญญาอย่างไรได้บ้าง?
ในที่นี้เราอาจอธิบายเหตุผลประกอบในรายละเอียดเพิ่มเติมว่า  แม้ทั้งสองจะกระทำผิดเหมือนกัน  แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายเอ กระทำผิดเช่นนี้เป็นประจำ ในขณะที่นายบีเพิ่งกระทำผิดนี้เป็นครั้งแรก  นายเอจึงควรถูกลงโทษ ส่วนนายบีก็ควรได้รับการอภัยโทษ จะเห็นได้ว่าโดยทั่วไป สังคมก็จะคล้อยตามเช่นนี้  ทั้งๆที่ทั้งสองกระทำผิดเหมือนกัน แต่เพราะรายละเอียดบางอย่างจึงทำให้ มีเหตุผลที่เหมาะสม ในการจะลงโทษหรือไม่ลงโทษได้     แต่ทว่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความยุติธรรมของพระเจ้านั้นมันมีรายละเอียดลึกซึ้งและสูงส่งกว่า

ทั้งนี้ในอัลกุรอานกล่าวไว้ใน ซูเราะฮ์ข้างต้น

فَيَغْفِرُ لِمَنْ يَشَاءُ

“พระองค์จะรับการเตาบัต(การขออภัยโทษ)จากผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์”

   ดั้งนั้นหากเราไม่เข้าใจความหมายความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า  เราก็จะไม่เข้าใจโองการอัลกุรอานอีกจำนวนมาก นิยามที่สามนั้นไม่มีเรื่องของฮิกมะฮ์(วิทยะปัญญา) เช่น  ตัวอย่างตามนิยามนี้
ครูคนหนึ่งจะทำโทษนักเรียนทุกคนที่กระทำผิด ถือว่ายุติธรรม เพราะคนที่ทำผิดก็สมควรจะต้องได้รับการลงโทษ แต่ถ้าหากครูคนนั้นจะยกโทษให้กับนักเรียนบางคน เนื่องจากสอบข้อเท็จจริงถึงสาเหตุ พบว่านักเรียนบางคนกระทำเป็นครั้งแรก หรืออาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรืออาจจะแค่เพียงตามเพื่อน เช่นนี้ การได้รับการอภัยโทษ ถือว่ามีเรื่องเกี่ยวกับฮิกมะฮ์อยู่ด้วย

   สรุป ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้านั้นมีความหมายตามนิยาม ที่สาม และสี่ และในนิยามที่สี่  ละเอียดลึกซึ้งกว่าเพราะมีเรื่องของฮิกมะฮ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เรื่องหนึ่งที่ยากคือการทำความเข้าใจฮิกมะฮ์ของพระผู้เป็นเจ้า เหตุผลที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังในแต่ละเรื่อง เช่น คนสองคนทำมาหากินด้วยความขยันเหมือนกัน คนหนึ่งประสบความสำเร็จ อีกคนหนึ่งไม่ประสบความสำเร็จ ถามว่าทำไม จะกล่าวสรุปได้หรือไม่ว่าพระองค์ไม่ยุติธรรม คำตอบคือ ไม่ได้ เพราะในหลักเตาฮีดอิสติกลาลี(ผลของการกระทำทั้งหมดอยู่ในอำนาจของพระองค์แต่เพียงผู้เดียว) ได้อธิบายไว้ว่า พระองค์คือผู้ทรงกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวแต่เพียงผู้เดียว แล้วทำไมคนที่ไม่สำเร็จพระองค์ไม่ประทานให้เขา

ในที่นี้ตามหลักปรัชญาอัคลากนั้นบางครั้งเพื่อความปลอดภัยในหลักศรัทธาของเขา จำเป็นที่จะต้องให้เขาอยู่อย่างยากลำบาก ยากจนในโลกนี้ เพื่อจะรักษาอีหม่านความศรัทธาของเขาให้ดำรงอยู่ได้  เพราะเป็นไปได้ว่าหากเขาร่ำรวยอาจจะเปิดโอกาสให้ไปทำอะไรที่จะสูญเสียอิหม่านได้ ฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่าที่พระองค์จะให้เขาอยู่อย่างยากจนเพื่อความปลอดภัยในหลักศรัทธาของเขา

CR.สถาบันศึกษาศาสนาอัลมะฮ์ดี(อ)

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

สิทธิมนุษยชนในอิสลาม
ความพอเพียงในอิสลาม
อิมามมุฮัมมัด บากิร (อ) ...
ฮะดีษนี้น่าเชื่อถือหรือไม่? : ...
ศาสดาและวงศ์วานผู้ทรงเกียรติ
ถ้าหากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ...
สถานภาพสตรีในอิสลาม
วันอีดกุรบาน ...
ยะกีนมีกี่ระดับ?
การปฏิบัติตามหน้าที่ในกัรบะลา ...

 
user comment