ไทยแลนด์
Sunday 24th of November 2024
0
نفر 0

การ “อิฮ์ยา” กัรบะลา และอาชูรอ พันธกิจมวลชีอะฮ์

การ “อิฮ์ยา” กัรบะลา และอาชูรอ พันธกิจมวลชีอะฮ์

การ “อิฮ์ยา” กัรบะลา และอาชูรอ พันธกิจมวลชีอะฮ์

 

 
‘อิฮ์ยา’ คือการทำให้เรื่องราว เป้าหมาย เนื้อหา ยังคงดำรงอยู่ ยังคงมีชีวิตอยู่ หรือทำให้เรื่องราวนั้นมีชีวิตชีวา การกระทำเหล่านี้ ในภาษาแห่งอัลกุรอาน ภาษาแห่งฮะดีษ คือการ ‘อิฮ์ยา’ และสิ่งสำคัญสุด ที่จะต้องอิฮ์ยา ที่จะต้องทำให้ดำรงอยู่ ให้มีชีวิตอยู่เสมอ ก็คือ ‘วีรกรรมอันยิ่งใหญ่แห่งกัรบาลา’ อันที่จริง เป็น ‘หน้าที่’ สำหรับชีอะฮ์ที่จะต้อง ‘อิฮ์ยา’ เรื่องราวแห่ง ‘อาชูรอ’ ทั้งหมด เพราะแม้แต่บรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ (อ) ก็ได้ ‘เน้น’ เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ดังที่เราเห็นได้ว่าในริวายัต (รายงาน) และในฮะดีษมากมายต่างได้เน้นถึงการรำลึกในเรื่องนี้

 
ในคืนที่ผ่านมา ได้ชี้ให้เห็นกันบ้างแล้วถึงความยิ่งใหญ่แห่งกัรบาลานั้น ซึ่งแท้จริงแล้วถูกกำหนดโดยอัลลอฮ์ (ซบ.) ทั้งในมุมของ ‘ตักวีนีย์’ และ ‘ตัชรีอีย์’ ความหมายด้าน ‘ตักวีนีย์’

แง่มุมทาง ‘ตักวีนีย์’ ก็คือ สิ่งที่เกิดโดยอำนาจ (วิลายัต) ของอัลลอฮ์ (ซบ.) โดยตรง และเป็นสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุมของมนุษย์ การ ‘อิฮ์ยา’ ลักษณะนี้เราเรียกว่า การ “อิฮ์ยาด้านตักวีนีย์” เป็น ‘กอฏอ กอดัร’ (กฎสภาวะที่ถูกกำหนด) ที่อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงประสงค์ให้มีการรำลึก เช่น การทำให้บรรดาศาสดา (อ) ได้รับบาดเจ็บในรูปแบบต่างๆ จนได้มีการหลั่งเลือดออกมา หลังจากนั้นจึงให้เหตุผล

 
หรือแม้แต่สรรพสัตว์ต่างๆ เช่น ฝูงแกะ ม้า ไม่ยอมดื่มน้ำ ไม่ยอมเดิน ในสมัยของบรรดาศาสดา (อ) และเมื่อบรรดาศาสดา (อ) เกิดความสงสัยในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ก็ได้ถามต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) จึงได้รับคำตอบจากพระองค์ว่า “แผ่นดินนี้ ฉันไม่อนุญาตให้บุคลากรของฉันผ่านไป โดยไม่ได้รำลึกถึงฮุเซน (อ)”บางกรณี ‘อิฮ์ยา’ จะมีก่อนสถานการณ์จะเกิดขึ้น ดังนั้นการอิฮ์ยาบางกรณี พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ก็ให้เกิดขึ้นในรูปแบบ ‘ตักวีนีย์’

 
ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซล.) และบรรดาอิมาม (อ.) ในยุคก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์ ก็ได้ทำการรำลึก ทั้ง ‘ตักวีนีย์’ และ ‘ตัชรีอีย์’ ท่านญิบรออีล ก็ลงมาเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ฟ้งแต่สำหรับพวกเรา บรรดาชีอะฮ์ที่มีความรักต่ออะฮ์ลุลบัยต์ (อ) ได้ถูกเสนอ ได้ถูกแนะนำ ได้ถูกบอกเล่า กำชับ ให้ทำการรำลึก ให้ทำการอิฮ์ยาสิ่งต่างๆ เหล่านี้ในรูปแบบของ ‘ตัชรีอีย์’

 
ความหมายด้าน ‘ตัชรีอีย์’‘ตัชรีอีย์’ ก็คือ สิ่งที่ศาสนานำเสนอ มนุษย์มี ‘ทางเลือก’ ที่จะรำลึกหรือไม่รำลึก จะปฏิบัติตามหรือปฏิเสธ เหมือนกับกฎเกณฑ์ต่างๆ ตามศาสนบัญญัติ เช่น การนมาซ เมื่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) กำหนดให้มนุษย์นมาซ มนุษย์สามารถเลือกที่จะปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติก็ได้ ทว่า ‘ปฏิบัติก็ได้’ ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่า ‘ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่ผิด’ แต่หมายถึง เขามีสิทธิที่จะ ‘เลือก’ และพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ก็ได้บอกถึง ‘ผล’ ของการเลือกอันนั้น หากเขาเลือกที่จะ ‘กระทำ’ เขาจะได้รับผลตอบแทน และหากเขาเลือกที่จะ ‘ไม่กระทำ’ เขาก็จะได้รับบทลงโทษ

 
เรื่องราวแห่งการรำลึกถึงอิมามฮุเซน (อ.) และวีรชนทั้งหมดที่ได้แสดงวีรกรรม ณ กัรบาลานั้น ในมุมหนึ่งเป็นการนำเสนอในรูปแบบ ‘ตัชรีอีย์’ โดยบรรดาอิมาม (อ) และศาสดามุฮัมมัด (ซล.)ซึ่งถ้าเราจะมองในรูปแบบของชะรีอัต (ศาสนบัญญัติ) อาจะเรียกว่าเป็นสิ่งมุสตาฮับ หมายถึงเป็นสิ่งที่ศาสนาสนับสนุนให้กระทำ เป็นสิ่งที่มีคำสั่งเสียโดยตรงจากบรรดาอิมาม (อ.) มีริวายัต (รายงาน) จำนวนมากจากบรรดาอิมาม (อ.) ว่า เมื่อเดือนมุฮัรรอมได้มาถึง อิมาม (อ) แต่ละท่านก็ได้นำเสนอแบบฉบับต่างๆ เหล่านี้ เช่น ท่าน อิมามญะฟัร (อ.) และท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้นำเสนอว่า เดือนแห่งการไว้ทุกข์ เดือนแห่งการไว้อาลัยได้มาถึงแล้ว เดือนแห่งการอิฮ์ยาได้มาถึงแล้ว เดือนแห่งการทำให้อาชูรอกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่งได้มาถึงแล้ว

 
มีบางรายงานจากศอฮาบะฮ์ (สาวก) ของท่านอิมามริฎอ (อ.) รายงานว่า นับตั้งแต่จันทร์เสี้ยวของเดือนมุฮัรรอมได้มาถึง ไม่เคยมีผู้ใดได้เห็นรอยยิ้มบนใบหน้าของท่านอิมามริฎอ (อ.) อีกเลย นี่คือหนึ่งในรูปแบบของการอิฮ์ยา กล่าวคือ มนุษย์จะต้องดำเนินชีวิตโดยระมัดระวังมากที่สุด เพราะในด้าน ‘ตักวีนีย์’ ทุกสรรพสิ่งต่างก็ได้รำลึกเช่นกัน

 
 
ดังนั้น เพื่อให้ มนุษย์ มีส่วนร่วมกับ ‘อาลัม’ ทั้งหมด ให้เกิดภาพเดียวกับมัคลูกทั้งหมดที่ถูกสร้าง มนุษย์จึงถูกกำหนดให้วางตัวและดำเนินชีวิตในเดือนนี้ ด้วยความระมัดระวังมากที่สุด ‘เพียงแค่รอยยิ้มก็ไม่มี’ นี่คือหนึ่งในตัวอย่างของการทำให้เรื่องราวต่างๆ เหล่านี้ มีชีวิตมากที่สุด และนั่นเพื่อสอนเราให้รู้ว่า การปฏิบัติตนในเดือนนี้ โดยเฉพาะในสิบวันแรก จะต้องระมัดระวังมากที่สุด

 
สำหรับอิมาม (อ) บางท่าน เช่น ท่านอิมามซัยนุลอาบีดีน (อ.) ผู้ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์กัรบาลา ตลอดชีวิตท่านเป็นผู้ ‘อิฮ์ยา’ โดยตรง ตลอดสามสิบกว่าปีหลังเหตุการณ์อาชูรอ ท่านอิมามซัยนุลอาบีดีน (อ.) จะไม่ดื่มน้ำแม้นสักเพียงแก้วเดียว จนกว่าท่านจะหลั่งน้ำตาให้กับเหตุการณ์ในวันอาชูรอ !!ท่านจะไม่รับประทานอาหารแม้มื้อเดียว จนกว่าท่านจะหลั่งน้ำตาให้กับเหตุการณ์ในวันอาชูรอ !!ทุกครั้งที่ท่านพบคนพลัดถิ่นอยู่ในเมืองมะดีนะฮ์ ท่านจะร้องไห้และรำลึกถึงบรรดาบุคคลผลัดถิ่นแห่งกัรบาลา !! …ซึ่งหมายถึงบรรดาสาวกและลูกหลานของท่านอิมามฮุเซน (อ.)กล่าวได้ว่า ไม่มีเหตุการณ์ใดที่ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) จะไม่รำลึกถึงเหตุการณ์อาชูรอ นอกจากนั้นยังมีอีกหลายกรณีที่ท่านได้แสดงแบบอย่างแห่งการรำลึกและการอิฮ์ยา

 
 
ดังนั้น เรายังอยู่ในค่ำคืนที่สอง วันแรกแห่งการอิฮ์ยาเพิ่งจะผ่านไป พึงอย่าประมาท ข้าพเจ้าต้องการจะเน้นย้ำอีกสักครั้งหนึ่งว่า วิถีชีวิตของเรา อย่างน้อยที่สุด ในช่วงสิบวันนี้ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่ลักษณะของการไว้ทุกข์ และไว้อาลัย ควรหลีกเลี่ยงคำพูดต่างๆ ที่จะนำไปสู่ความสนุกสนาน และเสียงหัวเราะ หลีกเลี่ยงความสุขประการใดก็ตามอันจะทำให้เราลืมว่า ‘กำลังอยู่ในห้วงวันเวลาแห่งการไว้ทุกข์’เพื่อที่จะทำให้เราเป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับ ‘เราะฮ์มัตคอศ’ (ความโปรดปรานพิเศษ) หรือ ‘เราะฮ์มัตจำเพาะ’ ที่อัลลอฮ์ (ซบ.) และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ (อ) มอบให้แก่บรรดาผู้ศรัทธาและบรรดาผู้ที่ให้เกียรติต่ออะฮ์ลุลบัยต์ (อ)

 
 
อันที่จริง มนุษย์ทุกคนดำเนินชีวิตบนโลกนี้ ย่อมได้รับ ‘เราะฮ์มัต’ (ความโปรดปราน) ของอัลลอฮ์ (ซบ.) ทั้ง ‘คอศ’ (พิเศษ) และ ‘อาม’ (ทั่วไป)‘เราะฮ์มัตอาม’ นั้น พระองค์อัลลฮ์ (ซบ.) ทรงประทานให้แก่ทุกสรรพสิ่ง เป็นเราะฮ์มัตทั่วๆ ไป กล่าวคือ เป็นเราะฮ์มัตในรูปปัจจัยต่างๆ ที่บางครั้งบาง บางกรณีพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงประทานให้กับผู้ปฏิเสธมากกว่าผู้ศรัทธา เพราะเราะฮ์มัตเหล่านั้น ไม่มีคุณค่าใดๆ ในทัศนะของพระองค์ และไม่มีคุณค่ามากสักเท่าไหร่ ในทัศนะของผู้ศรัทธาที่แท้จริง

 
เราจะเห็นว่าบางครั้งคนไม่ปฏิบัตินมาซร่ำรวยกว่าคนที่ปฏิบัตินมาซเสียอีก บางครั้งคนไม่เคร่งครัดศาสนามีเครื่องอำนวยความสะดวกอย่างมากมาย แต่สิ่งหนึ่งที่บุคคลเหล่านั้นจะไม่ได้รับก็คือ ความสงบสุขทางจิตวิญญาณที่แท้จริง บางคนยิ่งร่ำรวย ก็ยิ่งสับสน ก็ยิ่งยุ่งเหยิง ยิ่งก่อการกบฏต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) สิ่งที่ต้องการอย่างแท้จริงชีวิตของผู้ศรัทธาก็คือ ‘เราะฮ์มัตคอศ’ อันเป็นเราะฮ์มัตที่เมื่อได้รับแล้ว จักเกิดความสุข เกิดการพัฒนาทางจิตวิญญาณ มีความศรัทธาของที่เข้มแข็งขึ้น ความสว่างไสวในจิตใจ ความสงบสุขในครอบครัวเพิ่มขึ้น การกระทำบาปจะน้อยลง การภักดีจะเพิ่มขึ้น เราะฮ์มัตที่ได้มานั้นทำให้มนุษย์เป็นชาวสวรรค์

 
และเราะฮ์มัตอันนี้บรรดาอิมาม (อ.) ได้เน้นย้ำแก่บรรดาบุคคลที่ ‘อิฮฺยา’ ให้กับเรื่องราวของอะฮ์ลุลบัยต์ (อ) นี่คือ ‘เราะฮ์มัตคอศ’ ซึ่งเราะฮ์มัตอันนี้ ใช่ว่าทุกคนจะได้รับ
บรรดาอิมาม (อ) จึงได้สั่งเสียว่า “จง “อิฮฺยา” เรื่องราวต่างๆ ของเรา” คือทำเรื่องราวต่างๆ ของอะฮลุลบัยต์ (อ) ให้ดำรงอยู่ “ขอให้พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงเมตตาให้แก่ผู้ที่ “อิฮฺยา” เรื่องราวของเรา” และในบรรดาสิ่งที่ต้อง “อิฮ์ยา” มากที่สุด และสำคัญสุดที่จะต้องทำการ “อีฮฺยา” ก็คือเรื่องราวของ ‘อาชูรอ’ เรื่องราวของ ‘กัรบาลา’

 
 
ท่านอิมามริฎอ (อ) กล่าวว่า “มาตรแม้นว่าเจ้าจำเป็นต้องหลั่งน้ำตาให้กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว จงเก็บน้ำตาอนั้นไว้ และร้องไห้ให้กับฮุเซน (อ) เถิด”เพราะในทัศนะของพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) นั้น ไม่มีน้ำตาใดที่จะมีค่าเทียบเท่ากับน้ำตาที่หลั่งให้กับท่านอิมามฮุเซน (อ)ฮาดิษบทนี้ต้องการมาอธิบายว่า สูงสุดของการอิฮ์ยา และเป็นเป้าหมายสูงสุด ก็คือ…เรื่องราวของอะฮ์ลุลบัยต์ (อ)… ก็คือ…ท่านอิมามฮุเซน (อ.)

 
 
จากหนังสือ ปรมัตถ์แห่งการพลี สดุดีอาชูรอ โดยฮุจญตุลอิสลาม ซัยยิดสุไลมาน ฮุซัยนี

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ประวัติย่อของอิมามมุฮัมมัด ...
คุณสมบัติของอัล-กุรอาน
สานสัมพันธ์กับอิมามซะมาน
...
...
...
...
อิมามญะอฺฟัรกับวิทยาศาสตร์
ผู้ป่วยแห่งกัรบาลาอฺ (ตอนที่2)
อิมามริฎอ คือ ผู้ค้ำประกันกวาง

 
user comment