เราสามารถปฏิบัติตามอัลกุรอานเฉพาะโองการที่เข้าใจได้หรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป
มนุษย์เราจำเป็นจะต้องขวนขวายหาความรู้อยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าหากเลือกปฏิบัติตามที่ตนรู้ตามกระบวนการดังกล่าวอย่างบริสุทธิ์ใจ อัลลอฮ์จะทรงชี้นำเขาสู่ความถูกต้องอย่างแน่นอน กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า
«وَ الَّذینَ جاهَدُوا فینا لَنَهْدِیَنَّهُمْ سُبُلَنا وَ إِنَّ اللَّهَ لَمَعَ الْمُحْسِنین»[1]
“และเหล่าผู้ที่ต่อสู้ในแนวทางของเรา(อย่างบริสุทธิ์ใจ) แน่แท้ เราจะชี้นำพวกเขา และพระองค์ทรงอยู่เคียงข้างผู้บำเพ็ญความดี”
ท่านนบีกล่าวว่า “مَنْ عَمِلَ بِمَا یَعْلَمُ وَرَّثَهُ اللَّهُ عِلْمَ مَا لَمْ یَعْلَمْ”[2] ผู้ที่ปฏิบัติตามสิ่งที่ตนรู้ พระองค์จะทรงสอนสั่งในสิ่งที่เขาไม่รู้”
จำเป็นต้องทราบว่า กุรอานมีทั้งโองการที่มีสำนวนเข้าใจง่ายและมีความหมายไม่ซับซ้อน อย่างเช่นโองการที่บัญชาให้นมาซ ห้ามมิให้พูดปด ห้ามนินทา ฯลฯ แน่นอนว่าเราสามารถปฏิบัติตามโองการเหล่านี้ได้โดยตรง
แต่ยังมีบางโองการที่สอดแทรกคำสั่งหรือบทบัญญัติต่างๆที่อาจมีเนื้อหาที่เข้าใจไม่ง่ายนัก ในกรณีเช่นนี้จะต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาเสียก่อน ดังที่กุรอานได้กล่าวว่า
“فَسْئَلُوا أَهْلَ الذِّکْرِ إِنْ کُنْتُمْ لا تَعْلَمُون”[3] หากพวกท่านไม่รู้ ก็จงถามผู้แตกฉานทางความรู้
แน่นอนว่ามุสลิมไม่ควรจะหยุดอยู่เพียงแค่สิ่งที่ตนรู้ โดยไม่สนใจบทบัญญัติอื่นๆที่ไม่เคยทราบ แต่จะต้องกระทำควบคู่ไประหว่างการปฏิบัติในสิ่งที่รู้ และเรียนรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่ไม่รู้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การปฏิบัติแต่เพียงสิ่งที่ตนรู้ ไม่ไช่เหตุผลที่จะสามารถใช้ปัดความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนไม่รู้
[1] ซูเราะฮ์อังกะบูต,69
[2] มุฮัมมัด บากิร มัจลิซี,บิฮารุลอันวาร, เล่ม 40,หน้า 128, ดาร อิห์ยาอิตตุรอษ อัลอะเราะบี,เบรุต,พิมพ์ครั้งที่สอง,ฮศ.1403.
[3] ซูเราะฮ์อันนะห์ลิ,42