ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

นะบูวะห์ ตอนที่ 2

นะบูวะห์ ตอนที่ 2

นะบูวะห์ ตอนที่ 2


สภาวะความเป็นศาสดา


ปรัชญาการปรากฏศาสดาในทัศนะของอัลกุรอาน

 

ศาสดาถูกส่งมาเพื่อเชิญชวนมนุษย์เข้าสู่การเคารพภักดีอัลลอฮ(ซ.บ)และออกห่างจากผู้ปกครองที่อธรรม

 

หากพิจารณาด้วยการใช้สติปัญญา พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาอย่างประเสริฐจะเป็นไปได้อย่างไร ที่พระองค์จะปล่อยให้มนุษย์ดำเนินชีวิตอยู่ไปตามลำพัง โดยไม่ทรงเหลียวแล หรือปล่อยให้สังคมมนุษย์ และสิ่งมีชีวิต กำเนิดขึ้น แล้วดำเนินไปตามยถากรรมของตัวเอง

 

ดังนั้น ด้วยเนี๊ยะอฺมัต (ความโปรดปราน)ของพระองค์ การปรากฏของบรรดาศาสดา จึงถูกส่งมาเพื่อเรียกร้องเชิญชวนมนุษย์เข้าสู่การเคารพพระเจ้าองค์เดียวและออกห่างจากผู้ปกครองที่อธรรม (ฏอฆูต)

 

ซูเราะฮฺอันนะฮฺลฺ โองการที่ 36

 

وَ لَقَدْ بَعَثْنَا فىِ كُلِّ أُمَّةٍ رَّسُولاً أَنِ اعْبُدُواْ اللَّهَ وَ اجْتَنِبُواْ الطَّغُوت
 

“และแท้จริงเราได้ส่งศาสดาไปยังทุกๆประชาชาติเพื่อเชิญชวนพวกเขาสู่การเคารพภักดีอัลลอฮฺ(ซ.บ)และออกห่างจากการปกครองที่หลงผิด(ฏอฆูต)”

 

คำอธิบาย : บรรดาศาสดานอกจากมาเพื่อเชิญชวนมนุษย์เข้าสู่การเคารพภักดีและออกห่างจากผู้ปกครองที่อธรรมรวมทั้งเจว็ดทางวัตถุแล้ว ยังเชิญชวนให้มนุษย์ออกห่างจากเจว็ดทางจิตวิญญาณอีกด้วย ซึ่งเจว็ดที่ชั่วร้ายที่สุดคือเจว็ดแห่งอัตตาของมนุษย์

 

ศาสดามาเรียกร้องให้มนุษย์ออกห่างการจากปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำกิเลสที่เป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ออกห่างจากหนทางแห่งความเที่ยงตรงและเพื่อนำมนุษย์เข้าสู่หนทางแห่งความใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้า

 

บรรดาศาสดาถูกส่งมาเพื่ออบรมและสั่งสอนมนุษย์

 

การแต่งตั้งบรรดาศาสดา ถือว่าเป็นเป้าหมายที่สำคัญประการหนึ่งในการแต่งตั้งบรรดาศาสดา และเพื่อที่จะเตรียมพร้อมความสามารถของมนุษย์ให้เข้าสู่การรู้จักสัจธรรมซึ่งจะนำไปสู่ความสมบูรณ์ผาสุกและความรอดพ้นและสอนให้รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของเขาเอง และอีกด้านหนึ่งเพื่อที่จะชำระขัดเกลาจิตวิญญาณของมนุษย์

 

ซูเราะฮ์อัลญุมอะฮฺ โองการที่ 2

 

هُوَ الَّذِى بَعَثَ فىِ الْأُمِّيِّنَ رَسُولًا مِّنهُمْ يَتْلُواْ عَلَيهِمْ ءَايَاتِهِ وَ يُزَكِّيهِمْ وَ يُعَلِّمُهُمُ الْكِتَابَ وَ الحِكْمَةَ وَ إِن كاَنُواْ مِن قَبْلُ لَفِى ضَلَالٍ مُّبِين

 

“พระองค์ผู้ทรงแต่งตั้งศาสดาขึ้นในหมู่ผู้ไม่ได้เรียนรู้จากที่ใดจากหมู่พวกเขา เพื่อสาธยายโองการต่างๆของพระองค์แก่พวกเขา และเพื่อทำการขัดเกลาพวกเขา และทรงสอนคัมภีร์และวิทยะปัญญาแก่พวกเขาถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้พวกเขาจะอยู่ในความหลงผิดอันชัดแจ้งก็ตาม”

 

มนุษย์ได้รับแบบอย่างที่ดี

 

ปัจจุบันนักจิตวิทยาได้ยอมรับว่าสิ่งหนึ่งที่มีผลเป็นอย่างมากต่อการอบรมสั่งสอนและพัฒนามนุษย์ คือ การมีแบบอย่างที่ดีให้เห็นให้ประจักษ์ การมีศาสดาเป้าหมายหนึ่งเพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่มนุษย์ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์

 

ซูเราะฮฺอัลอะฮฺซาบ โองการที่ 21

 

لَقَدْ كَانَ لَكُمْ فِي رَسُولِ اللَّهِ أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ لِمَنْ كَانَ يَرْجُو اللَّهَ وَالْيَوْمَ الْآخِرَ وَذَكَرَ اللَّهَ كَثِيرًا

 

“แท้จริงในศาสดาของอัลลอฮฺ(ซบ)มีแบบฉบับอันดีงามสำหรับพวกเจ้าแล้ว และสำหรับผู้ที่หวังจะพบเจออัลลอฮฺ(ซบ)และวันปรโลก และเขารำลึกถึงอัลลอฮฺ(ซบ)อย่างมากมาย”

 

ศาสดามาเพื่อเตือนมนุษย์ให้รำลึก

 

พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างมนุษย์ การรับรู้โดยฟิตเราะฮฺ(มโนธรรม)และสติปัญญาของมนุษย์ติดตัวมาด้วย เนี๊ยะอฺมัตนี้เพื่อคอยชี้นำมนุษย์ไปสู่สัจธรรมความจริง และคอยเชิญชวนมนุษย์ไปสู่การยอมรับการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าและการเคารพภักดีต่อพระองค์รวมถึงการทำความดีต่างๆและอีกด้านหนึ่ง เป็นการเตือนเพื่อช่วยยับยั้งให้มนุษย์ออกห่างจากความชั่วความโสมมต่างๆ

 

ทว่าบ่อยครั้งที่มนุษย์หลงลืมพลังแห่งสติปัญญาและฟิตรัต(มโนธรรม)ของเขา จนทำให้เขาเผอเรอ{ขาดความเอาใจใส่ในสิ่งที่ต้องทํา} ด้วยเหตุนี้เป้าหมายหลักอีกประการหนึ่งของศาสดา จึงมาเพื่อตักเตือนมนุษย์

 

ซูเราะฮฺอิบรอฮีม โองการที่ 52

 

هَذَا بَلَاغٌ لِّلنَّاسِ وَ لِيُنذَرُواْ بِهِ وَ لِيَعْلَمُواْ أَنَّمَا هُوَ إِلَاهٌ وَاحِدٌ وَ لِيَذَّكَّرَ أُوْلُواْ الْأَلْبَاب

 

“นี่คือการประกาศแก่ปวงมนุษย์เพื่อพวกเขาจะถูกเตือนด้วยมันและเพื่อพวกเขาจะได้รู้ว่าแท้จริงพระองค์คือผู้ทรงเอกะและเพื่อบรรดาผู้มีสติปัญญาจะได้รำลึก”

 

คำอธิบาย : จากโองการดังกล่าวอัลลอฮฺ(ซบ) ถือได้ว่าอัลกุรอานคือข้อตักเตือนรำลึก(ตะซักกุร)และท่านศาสาดามูฮัมหมัด(ศ็อล)คือผู้ตักเตือน(มุซักกิร) ซึ่งโองการที่มายืนยัน คือ ซูเราะฮฺอัลฆอชียะฮฺ โองการที่ 21

 

فَذَكِّرْ إِنَّمَا أَنتَ مُذَكِّر

“ดังนั้นจงตักเตือนเถิดเพราะแท้จริงเจ้าเป็นผู้ตักเตือนเท่านั้น”

 

ทำให้มนุษย์ได้รับเสรีภาพ

 

เพื่อความเป็นเสรีภาพที่แท้จริงของมนุษย์ ซึ่งตามทัศนะของอิสลาม ด้วยกับความโง่เขล่า ทำให้มนุษย์บางกลุ่มมีความเชื่อประเพณีพิธีกรรมที่ชั่วร้ายต่างๆ อีกทั้งการปฏิบัติตามกิเลสใฝ่ต่ำ และการตกอยู่ภายใต้การครอบงำของบรรดาผู้กดขี่และผู้อหังการ จึงทำให้มนุษย์ประสพปัญหาต่างๆอย่างมากมาย จนเกิดปัญหาใหญ่ส่งผลทำให้จิตวิญญาณของมนุษย์ถูกพันธนาการ ซึ่งเป็นสิ่งขวางกั้นเสรีภาพมนุษย์อย่างแท้จริง

 

ด้วยเหตุนี้บรรดาศาสดา จึงถูกส่งมาเพื่อทำลายกรงขังทางจิตวิญญาณต่างๆเหล่านี้ให้หมดสิ้น และนำมนุษย์ออกห่างจากกรงเล็บของการตกเป็นทาสบรรดาผู้อธรรมและการตกเป็นทาสของกิเลสของตัวเอง

 

ซูเราะฮ์อัลอะอฺรอฟ โองการที่ 157

 

وَ يَضَعُ عَنْهُمْ إِصْرَهُمْ وَ الْأَغْلَالَ الَّتىِ كاَنَتْ عَلَيْهِمْ

 

“และจะปลดเปลื้องออกจากพวกเขาซึ่งภาระหนักของพวกเขาและห่วงคอที่ปรากฏอยู่บนพวกเขา”

 

คำอธิบาย : ความหมายหนึ่งจากโองการดังกล่าว ในที่นี้หมายถึง เสรีภาพที่แท้จริงของมนุษย์และความสำเร็จในทุกๆด้านของมนุษย์ ด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของบรรดาศาสดาของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น

 

ดังนั้นแล้ว เมื่อทุกย่างก้าวในวิถีชีวิตของมนุษย์ดำเนินตามรอยบรรดาศาสดา แน่นอนว่า เขาจะไม่ตกเป็นทาสและการถูกครอบงำจากสิ่งใดๆ

 

ขอขอบคุณสถาบันศึกษาศาสนาอัลมะฮ์ดี

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ประวัติย่อของอิมามมุฮัมมัด ...
คุณสมบัติของอัล-กุรอาน
สานสัมพันธ์กับอิมามซะมาน
...
...
...
...
อิมามญะอฺฟัรกับวิทยาศาสตร์
ผู้ป่วยแห่งกัรบาลาอฺ (ตอนที่2)
อิมามริฎอ คือ ผู้ค้ำประกันกวาง

 
user comment