ไทยแลนด์
Monday 25th of November 2024
0
نفر 0

สงครามก็อรกีซียา (Circesium) ในยุคสุดท้าย

สงครามก็อรกีซียา (Circesium) ในยุคสุดท้าย



สงครามก็อรกีซียา (Circesium) ในยุคสุดท้าย หนึ่งในสัญญาณของการปรากฏกาย (ซุฮูร) ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.)

 

เกี่ยวกับสงครามก็อรกีซียา (Qarqisiya หรือ Circesium) นั้น มีคำอธิบายสองลักษณะที่แตกต่างกันคือ

คำอธิบายแรก : นักวิชาการบางคนเชื่อว่า หนึ่งในสัญญาณของการปรากฏกาย

(ซุฮูร) ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) คือการเกิดสงครามในพื้นที่ที่มีชื่อว่า "ฮัรร์ มัจญ์ดู" หรือ

“อาร์มาเกดดอน” (Armageddon) และในสำนวนของริวายะฮ์ (คำรายงาน) ต่างๆ เรียกสถานที่แห่งนี้ว่า

“ก็อรกีซียา”

(Qarqisiya หรือ Circesium) เรื่องราวดังกล่าวนี้ แม้แต่ในคัมภีร์ของชาวคัมภีร์ก็ได้กล่าวถึงไว้เช่นกัน (1)

ชาวคัมภีร์ทั้งชาวยิวและชาวคริสต์เชื่อว่าสงครามครั้งนี้จะเป็นสงครามครั้งใหญ่และอันตรายยิ่ง

ซึ่งจะเกิดขึ้นในยุคสุดท้ายของประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

 

 "ฮัรร์ มัจญ์ดูน" มาจากคำว่า "ฮัรร์ " ซึ่งหมายถึงภูเขา "มัจญ์ดู" ซึ่งเป็นชื่อของหุบหรือภูเขาเล็กๆ ในภาคเหนือของปาเลสไตน์ ชาวคัมภีร์คาดเดาว่า อาณาเขตของสงครามครั้งนี้ จะครอบคลุมจากเขตพื้นที่มัจญ์ดู ในภาคเหนือของปาเลสไตน์ ไปจนถึงเมืองเอโดมทางภาคใต้ (ประมาณ 20 ไมล์) (2) พวกเขาเชื่อว่าในสงครามครั้งนี้ จะมีกองทัพประมาณ 400 ล้านคน เข้าร่วม (3) กองทัพซึ่งจะประกอบไปด้วยชาวอิรัก อิหร่าน ลิเบีย ซูดาน และคอเคซัส ในภาคใต้ของรัสเซีย (4)

 

 ดร.อับดุลการีม ซุบัยดี กล่าวว่า : ...เหตุการณ์นี้ก็คือเหตุการณ์ที่ครั้งยิ่งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นก่อนการปรากฏกาย (ซุฮูร) ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) ในริวายะฮ์ (คำรายงาน) ต่างๆ ได้กล่าวถึงมันในนาม “สงครามก็อรกีซียา” ในเหตุการณ์ครั้งนี้จะมีทหารจำนวนหลายล้านคนจากอเมริกา ยุโรป รัสเซีย ตุรกี อียิปต์ และรัฐบาลต่างๆ จากมัฆริบ อะรอบี (หมายถึง โมร็อกโก แอลจีเรีย ตูนิเซีย ลิเบีย มอริเตเนีย) และทหารจากเมืองต่างๆ ของแผ่นดินชาม หมายถึง ซีเรีย จอร์แดน เลบานอน ปาเลสไตน์และอิสราเอล เข้าร่วมด้วย ทั้งหมดเหล่านี้จะมาเผชิญหน้ากันในพื้นที่ที่เรียกว่า “ก็อรกีซียา” ในแผ่นดินชาม และซุฟยานีจะปรากฏขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวนี้... (5)

 

  เชคกุลัยนี ได้รายงานด้วยสายสืบของท่าน จากท่านอิมามบากิร (อ.) ซึ่งท่านได้กล่าวกับมัยซิรว่า “โอ้มัยซิร! ระยะทางระหว่างเจ้าและเมืองก็อรกีซียาอยู่ห่างกันเพียงใด?” เขากล่าวว่า “ใกล้กับชายฝั่งยูเฟรติส” ท่านกล่าวว่า

 

اما انه سیکون بها وقعة لم یکن مثل‌ها منذ خلق الله تبارک و تعالی السموات و الارض و لا یکون مثل‌ها ما دامت السموات و الارض مادبة للطیر تشبع منها سباع الارض و طیور السماء

 

“จงรู้เถิดว่า จะมีเหตุการณ์ปะทะสงครามกันเกิดขึ้นที่นั่น โดยที่ไม่มีเหตุการณ์ใดเหมือนกับมันนับตั้งแต่ช่วงเวลาที่อัลลอฮ์ผู้ทรงจำเริญผู้ทรงสูงส่งได้ทรงสร้างฟากฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินขึ้นมา และจะไม่มีเหตุการณ์เหมือนกับมันเกิดขึ้นอีก (หลังจากนั้น) สถานที่แห่งนั้นจะกลายเป็นแหล่งอาหารของหมู่นก บรรดาสัตว์ร้ายของแผ่นดิน และหมู่นกจากฟากฟ้าจะอิ่มเอมจากมัน....” (6)

 

จากริวายะฮ์ (คำรายงาน) ต่างๆ สามารถรับรู้ได้ว่า ผู้บัญชาการของสงครามครั้งนี้ของฝ่ายศัตรูของอิสลาม คือบุคคลที่มีนามว่า “ซุฟยานี” เขาคือผู้ที่จะสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน โดยการช่วยเหลือจากหน่วยงานสายลับต่างๆ ของชาวยิวและอเมริกา และจะปลุกปั่นประชาชนให้ทำการต่อต้านชาวชีอะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.) และเช่นเดียวกันนี้ หลังจากที่ท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) ลี้ภัยไปยังกะอ์บะฮ์พร้อมกับสหายผู้ช่วยเหลือจำนวนหนึ่งของท่าน เขาพยายามที่จะเผชิญหน้าต่อสู้กับท่านอิมาม (อ.ญ.) โดยที่ตัวเขาพร้อมกับกองทัพของเขาจะถูกธรณีสูบในพื้นที่ที่มีชื่อว่า "บีดาอ์" ในสงครามครั้งนี้ (หมายถึงสงครามก็อรกีซียา) ความแข็งแกร่งของชาวยิวจะถูกทำลายลง และจำนวนมากของพวกเขาจะถูกทำลาย

 

บุคคอรี ได้รายงานจากศาสดา (ซ็อลฯ) ด้วยสายสืบของตน โดยท่านได้กล่าวว่า

 "วันกิยามะฮ์ (วันสิ้นโลก) จะยังไม่เกิดขึ้น จนกว่าพวกท่านจะทำสงครามกับชาวยิว ในช่วงเวลาดังกล่าวพวกเขาจะถูกฆ่าถึงขั้นที่แม้แต่ก้อนหินที่ชาวยิวไปหลบซ่อนอยู่หลังมันก็จะบอกว่า โอ้ชาวมุสลิมเอ๋ย! ชาวยิวได้หลบซ่อนอยู่ข้างฉันนี้ จงมาฆ่าเขาเถิด” (7)

 

คำอธิบายที่สอง : สงครามก็อรกีซียา : หลังจากการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามแล้ว ซุฟยานีไม่มีเป้าหมายอื่นใดนอกจากการโจมตีอิรัก ด้วยเหตุนี้เองเขาจะเคลื่อนกองทัพขนาดใหญ่มุ่งสู่อิรัก ในระหว่างทางในพื้นที่ที่เรียกว่า “ก็อรกีซียา” (เมืองหนึ่งในซีเรียที่เป็นชุมทางของแม่น้ำยูเฟรติสและแม่น้ำกาบูร (Khabur)) จะเกิดสงครามที่น่ากลัวและผู้คนจะล้มตายเป็นจำนวนมาก ในฮะดีษบางส่วนจากบรรดาผู้นำศาสนาได้แจ้งข่าวเกี่ยวกับสงครามครั้งนี้ไว้ในฮะดีษ (คำรายงาน) บทหนึ่ง ท่านอิมามซอดิก (อ.) ได้กล่าวว่า

 

ان لله مائدة [مأدبة] بقرقیسیاء یطلع مطلع من السماء فینادی: یا طیر السماء و یا سباع الارض، هلموا الی الشبع من لحوم الجبارین

 

“แท้จริงสำหรับอัลลอฮ์ จะมีสำรับอาหารอยู่ในเมืองก็อรกีซียา ผู้ประกาศจะปรากฏขึ้นจากฟากฟ้า โดยที่เขาจะประกาศว่า โอ้หมู่นกแห่งฟากฟ้า! โอ้เหล่าสัตว์ร้ายแห่งแผ่นดิน! จงรีบมาเถิด เพื่อที่จะอิ่มเอมจากเนื้อของบรรดาผู้อธรรม” (8)

 

 ริวายะฮ์ (คำรายงาน) บทหนึ่งได้เรียกคนสองกลุ่มที่ปะทะสงครามกันในครั้งนี้ว่า “บนีอับบาส” และ “บนีมัรวาน” แต่ในฮะดีษอีกสี่บทได้ชี้ให้เห็นว่า ฝ่ายหนึ่งของคู่สงคราม คือซุฟยานี ตัวอย่างเช่นท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวว่า

 

                                     یظهر السفیانی علی الشام ثم یکون بینهم وقعة بقرقیسیا حتی تشبع طیر السماء و سباع الارض من جیفهم

 

“ซุฟยานีจะปรากฏตัวขึ้นในแผ่นดินชาม และจะเกิดสงครามขึ้นในระหว่างพวกเขาในเมืองก็อรกิซียา (ในสงครามครั้งนี้ ผู้คนจะถูกฆ่า) จนถึงขั้นที่ว่า หมู่นกแห่งฟากฟ้าและสัตว์ร้ายของแผ่นดินจะอิ่มเอมจากซากศพของพวกเขา” (9)

 

ในท่ามกลางริวายะฮ์ (คำรายงาน) ดังกล่าว มีเพียงฮะดีษบทนี้ของท่านอิมามบากิร (อ.) ที่มีสายรายงานที่น่าเชื่อถือ (มุอ์ตะบัร) โดยที่ท่านกล่าวว่า

 

و یمر جیشه بقرقیسیا فیقتلون بها فیقتل من الجبارین مأة الف

 

“กองทัพของซุฟยานีจะผ่านมายังเมืองก็อรกิซียา พวกเขาจะทำการต่อสู้ที่นั่น โดยที่ผู้อธรรมจำนวนนับแสนคนจะถูกสังหาร” (10)

 

ท่ามกลางริวายะฮ์ (คำรายงาน) เหล่านี้ ฮะดีษบทหนึ่งซึ่งกล่าวถึงคู่ปฏิปักษ์ในสงคราม “ก็อรกิซียา” ว่า คือบนีอับบาสและบนีมัรวาน แต่เนื่องจากในแง่ของความเป็น “คอบัร วาฮิด” (ฮะดีษที่ถูกรายงานหรือบอกเล่าโดยคนๆ เดียว) ความอ่อนแอของสายรายงานและการขัดแย้งกับคำรายงานอื่นๆ จึงไม่สามารถเชื่อถือได้ แต่บนพื้นฐานของคำรายงานที่น่าเชื่อถือ (มุอ์ตะบัร) ที่กล่าวไปข้างต้น และคำรายงาน (ริวายะฮ์) อื่นๆ ที่มาสนับสนุนฮะดีษบทนี้ สามารถสรุปประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้คือ

 

1. จะเกิดสงครามก็อรกีซียา

2. หนึ่งในฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อซุฟยานี

3. ทั้งสองฝ่ายที่ต่อสู้กันเป็นพวกหลงผิด

4. สงครามครั้งนี้จะเกิดการบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก

5. กองทัพของซุฟยานี แม้จะเกิดความสูญเสียอย่างหนักหน่วง แต่ก็จะเป็นฝ่ายชนะในสงครามครั้งนี้

 

 ริวายะฮ์ (คำรายงาน) ทั้งหลายไม่ได้ชี้ถึงสาเหตุและแรงจูงใจของสงครามครั้งนี้ แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่า สงครามดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุที่บรรดาผู้ปกครองของดินแดนแห่งนี้ได้ยืนหยัดต้านทานความโลภและความไม่รู้จักพอของซุฟยานี ทั้งนี้เนื่องจากก่อนที่ซุฟยานีจะเดินทางไปถึงยังเมืองกูฟะฮ์นั้น จะทำการพิชิตและยึดครองดินแดนทั้งหมดในตลอดเส้นทางจากเมืองชามจนถึงเมืองกูฟะฮ์ ในริวายะฮ์ (คำรายงาน) ต่างๆ ไม่ได้พูดถึงว่าอีกฝ่ายหนึ่งของคู่สงครามเป็นใคร แต่ตามริวายะฮ์ (คำรายงาน) ที่ผ่านไปแล้วนั้น สามารถรับรู้ได้แต่เพียงว่า คู่สงครามครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายคือผู้หลงผิด (ผู้อธรรมทั้งคู่) ในคำรายงานที่เชื่อถือได้ (มุอ์ตะบัร) อีกบทหนึ่ง ท่านอิมามบากิร (อ.) ได้กล่าวว่า

 

کفی بالسفیانی نقمة لکم من عدوکم و هو من العلامات لکم، مع ان الفاسق لو قد خرج لمکثتم شهرین بعد خروجه لم یکن علیکم بأس حتی یقتل خلقا کثیرا دونکم

 

“ซุฟยานีก็เพียงพอแล้วสำหรับการลงโทษบรรดาศัตรูของพวกท่าน และมันคือสัญญาณหนึ่งสำหรับพวกท่านเมื่อคนชั่วผู้นี้ได้ออกมา พวกท่านก็จงรอคอยสักสองเดือนหลังจากการออกมา (ปรากฏตัว) ของเขา ย่อมไม่มีปัญหาใดๆ สำหรับพวกท่าน จนกว่าเขาจะเข่นฆ่าผู้คนจำนวนมากที่ไม่ใช่พวกท่าน” (11)

 

 ริวายะฮ์ (คำรายงาน) บทนี้แม้จะไม่ได้ชี้ชัดถึงสงครามก็อรกิซียาก็ตาม แต่เนื่องจากกรณีแวดล้อมและบริบท (ก่อรีนะฮ์) ของริวายะฮ์ (คำรายงาน) อื่นๆ มีความเป็นไปได้สูงว่าเกี่ยวข้องกับสงครามครั้งนี้ และบนพื้นฐานดังกล่าวนี้เอง จึงสามารถเข้าใจได้จากริวายะฮ์ (คำรายงาน) บทนี้ว่า อีกฝ่ายหนึ่งของคู่สงครามครั้งนี้ ก็เป็นศัตรูของชาวชีอะฮ์เช่นกัน ดูเหมือนว่าสิ่งที่สามารถยอมรับได้ในที่นี้ก็คือ ประเด็นหลักของการเกิดขึ้นของสงคราม แต่ในกรณีเกี่ยวกับรายละเอียดปลีกย่อยของมันนั้นไม่สามารถที่จะกล่าวอย่างชัดเจนได้ จำเป็นจะต้องตระหนักว่า บนพื้นฐานของอำนาจในการเลือกและเจตจำนงเสรีนั้น มนุษย์สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ได้ โดยที่คัมภีร์อัลกุรอานและริวายะฮ์ (คำรายงาน) ทั้งหลายได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนในประเด็นนี้

 

เชิงอรรถ :

 (1) รุอ์ยาเย่ โยฮันนา, 16/16013; ซะฟัร ซะกะรียา, 14/1-5 ; กิตาบ มุก็อดดัส, หน้าที่ 843

(2) ชะบะเกะฮ์ มะอ์ลูมาต, หน้าที่ 4

(3) ชะบะเกะฮ์ มะอ์ลูมาต, หน้าที่ 2

(4) นิตยสาร “อัลฟิกรุลญะดีด” ฉบับที่ 15 และ 16

(5) นิตยสาร “อัลฟิกรุลญะดีด” ฉบับที่ 15 และ 16

(6) อัลกาฟี, เล่มที่ 8, หน้าที่ 245, ฮะดีษที่ 451

(7) บุคอรี, เล่มที่ 3, หน้าที่ 232

(8) อัลฆ็อยบะฮ์, นุอ์มานี, หน้าที่ 389, ฮะดีษที่ 63

(9) อักดุดดุร็อร, หน้าที่ 87, หมวดที่ 4, บทที่ 2

(10) อัลฆ็อยบะฮ์, นุอ์มานี, หน้าที่ 392, บาบที่ 14, ฮะดีษที่ 67

(11) อัลฆ็อยบะฮ์, นุอ์มานี, หน้าที่ 417, บาบที่ 18, ฮะดีษที่ 3

 

แปล/เรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ขอขอบคุณเว็บไซต์ islamicstudiesth

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

กุรอานกับการแต่งกาย
ถุงเท้ามุสลิมะฮ์
ดุอาอ์ คือ ตัวกำหนดอิหม่าน”
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือศีลอด
อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ในอัล-กุรอาน
อัลกุรอาน คัมภีร์แห่งทางนำ
...
คุณลักษณะของมนุษย์ผู้สมบูรณ์
...
การเป็นศาสดาคนสุดท้ายของโลก

 
user comment