ไทยแลนด์
Sunday 24th of November 2024
0
نفر 0

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ตอนที่ 4

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ตอนที่ 4

บทเรียนอูศูลุดดีน (รากฐานของศาสนา)

 

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ตอนที่ 4

 

อัลกุรอานกล่าวไว้ในซูเราะฮ์ อัลมาอิดะฮ์ โองการที่ 40

 

“فَيَغْفِرُ لِمَنْ يَشَاءُ وَيُعَذِّبُ مَنْ يَشَاءُ.”

“พระองค์จะให้อภัยแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และจะทรงลงโทษกับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์”

 

 

กรณี ผู้กระทำผิดบางคนถูกลงโทษ แต่บางคนได้รับการอภัย

 

อธิบายความ : สำหรับผู้กระทำผิดที่ที่ถูกลงโทษนั้น เขาก็ได้ตามสิทธิของเขาตามนิยามที่สาม ส่วนผู้กระทำผิดที่ได้รับการอภัย เขาได้รับความเมตตาซึ่งสูงส่งกว่าความยุติธรรม ด้วยการได้รับการอภัยโทษ สิทธิตามนิยามที่สี่

 

กรณีเช่นนี้ มนุษย์ไม่มีสิทธิที่จะกล่าวว่ามันไม่ยุติธรรม เพราะสิทธิของผู้กระทำผิดคือการถูกลงโทษ ส่วนการให้อภัยนั้นเป็นสิทธิของผู้ตัดสิน ซึ่งหากมีการลงโทษจะต้องพิจารณาตามรายบุคคลว่า ใครควรได้สิทธิ ใครได้รับการอภัยทั้งนี้จะต้องมีฮิกมะห์หรือเหตุผลที่เพียงพอ ตามนิยามที่สี่

 

ดังนั้น กรณี ผู้กระทำผิด ทำไม คนนี้ได้รับการอภัยแต่คนนั้นไม่ได้รับการอภัย จึงเป็นศาสตร์ของวิชาการด้านอัคลาก ซึ่งมีรายละเอียดที่ลึกซึ้งอีกมาก

 

ตัวอย่าง : นักเรียนสองคนกระทำผิดเหมือนกัน คนหนึ่งถูกลงโทษ แต่อีกคนหนึ่งกลับไม่ถูกลงโทษ ถ้าเป็นเช่นนี้ มีประเด็นที่ต้องพิจารณาสองประการ คือยุติธรรม หรือ ไม่ยุติธรรม

 

คำถาม : เราจะอธิบายกรณีนี้ อย่างผู้มีสติปัญญาได้อย่างไร

 

ในที่นี้เราอาจอธิบาย เหตุผลประกอบในรายละเอียดเพิ่มเติมว่า แม้ทั้งสองจะกระทำผิดเหมือนกัน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายเอ กระทำผิดเช่นนี้เป็นประจำ ในขณะที่นายบีกระทำผิดเป็นครั้งแรก เมื่อพิจารณาตามตรรกะ นายเอจึงสมควรถูกลงโทษ ส่วนนายบีสมควรได้รับการอภัยโทษ

 

โดยทั่วไป สังคมก็จะคล้อยตามเช่นนี้ ทั้งๆที่ทั้งสองกระทำผิดเหมือนกัน จะเห็นได้ว่า มีการพิจารณาตรงรายละเอียดบางอย่าง จึงทำให้มีเหตุผลที่เหมาะสม ต่อการลงโทษหรือไม่ลงโทษ แต่ทว่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความยุติธรรมของพระเจ้านั้น มีรายละเอียดที่ลึกซึ้งและสูงส่งกว่า ทั้งนี้ในอัลกุรอานได้กล่าวไว้ใน ซูเราะฮ์ข้างต้น ความว่า

 

فَيَغْفِرُ لِمَنْ يَشَاءُ

“พระองค์จะรับการเตาบัต(การขออภัยโทษ)จากผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์”

 

ดังนั้น หากเราไม่เข้าใจความหมายความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า แน่นอนว่า เราจะไม่เข้าใจโองการในอัลกรุอานอีกจำนวนมาก

 

ตัวอย่าง :

ครูคนหนึ่ง เขาทำโทษนักเรียนทุกคนที่กระทำผิด ถือว่ายุติธรรม เพราะนักเรียนที่ทำผิด ย่อมสมควรต้องได้รับการลงโทษ แต่หากครูคนนั้นยกโทษให้กับนักเรียนบางคน เนื่องจากมีการสอบสวนหาข้อเท็จจริงถึงสาเหตุ พบว่านักเรียนบางคนกระทำผิดเป็นครั้งแรก หรืออาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรืออาจจะแค่เพียงตามเพื่อน เช่นนี้แล้ว การได้รับการอภัยโทษ ถือว่ามีเรื่องเกี่ยวกับฮิกมะฮ์อยู่ด้วย

 

สรุป ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้านั้นมีความหมายตามนิยาม ที่สาม และสี่ และในนิยามที่สี่ เป็นชัดเจนว่า ละเอียดลึกซึ้งกว่าเพราะมีเรื่องของฮิกมะฮ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

 

ประเด็นการทำความเข้าใจฮิกมะฮ์ของพระผู้เป็นเจ้าเป็นเรื่องยาก เป็นเพราะเหตุผลที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังในแต่ละเรื่อง ตัวอย่างเช่น คนสองคนทำมาหากินด้วยความขยันเหมือนกัน คนหนึ่งประสบความสำเร็จ อีกคนหนึ่งไม่ประสบความสำเร็จ

 

คำถาม : ประเด็นนี้ จะกล่าวสรุปได้หรือไม่ว่า พระองค์ไม่ยุติธรรม

 

คำตอบคือ ไม่ได้ เพราะในหลักเตาฮีด "อิสติกลาลี” ได้อธิบายไว้ว่า พระองค์คือผู้ทรงกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวแต่เพียงผู้เดียว

 

เตาฮีดอิสติกลาลี คือ ผลของการกระทำทั้งหมดอยู่ในอำนาจของพระองค์แต่เพียงผู้เดียว

 

คำถามต่อมา : กรณีคนที่ไม่สำเร็จ ทำไมพระองค์ไม่ทรงประทานให้กับเขา

 

ในที่นี้ตามหลักปรัชญาอัคลากนั้น บางครั้งเพื่อความปลอดภัยในหลักศรัทธาของเขา จำเป็นที่จะต้องให้เขาอยู่อย่างยากลำบากและอยู่อย่างยากจนในโลกนี้ เพื่อจะรักษาอีหม่านความศรัทธาของเขาให้ดำรงอยู่ได้ เพราะเป็นไปได้ว่าหากเขาร่ำรวยอาจจะเปิดโอกาสให้ไปทำอะไรที่จะสูญเสียอิหม่านได้

 

ฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่าที่พระองค์จะให้เขาอยู่อย่างยากจนเพื่อความปลอดภัยในหลักศรัทธาของเขา

 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

อิมามอะลี ...
"ฝน"ในอัลกุรอาน
ชีวประวัติท่านฮัมซะฮ์ บิน ...
หลักปฏิบัติในอิสลาม ...
สิทธิมนุษยชนในอิสลาม
ความพอเพียงในอิสลาม
อิมามมุฮัมมัด บากิร (อ) ...
ฮะดีษนี้น่าเชื่อถือหรือไม่? : ...
ศาสดาและวงศ์วานผู้ทรงเกียรติ
ถ้าหากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ...

 
user comment