ไทยแลนด์
Wednesday 8th of January 2025
0
نفر 0

พลังแห่งการให้

พลังแห่งการให้


อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ในคัมภีร์อัล-กุรอานว่า “ส่วนผู้ที่บริจาคและยำเกรง (อัลลอฮฺ) และเชื่อมั่นในสิ่งที่ดี เราก็จะให้เขาได้รับความสะดวกอย่างง่ายดาย” (อัล-กุรอาน 92/5-7)

ศาสดามุฮัมมัด(ศ.) กล่าวว่า “ไม่มีสิ่งใดที่จะรับรองการบริจาคเพื่อศาสนาของท่านได้ นอกจากด้วยความใจกว้างและการให้ที่ดี”

“คนที่ใจกว้างมากที่สุดคือผู้ที่ทำตามบทบัญญัติของอัลลอฮฺอย่างครบถ้วนสมบูรณ์”

ญาบิร อิบนฺ อับดุลลอฮฺ อันซอรี รายงานว่า ศาสดามุฮัมมัด(ศ.) ไม่เคยทำให้ผู้ที่มาขอความช่วยเหลือจากท่านต้องผิดหวังเลย

เมื่อท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ.) ได้รับอะไรบางอย่างมา ท่านจะไม่นั่งอย่างเป็นสุขเลยจนกว่ามันจะได้หมดไป อุมมุ สลามะฮฺ มารดาของศรัทธาชน ได้รายงานว่า วันหนึ่งศาสดามุฮัมมัด(ศ.) กลับมาบ้านด้วยท่าทางเป็นกังวล ท่านหญิงจึงถามท่านว่ามีปัญหาอะไร ท่านศาสดา(ศ.) ตอบว่า เงินจำนวนเจ็ดดินารฺที่ได้รับมาเมื่อวันก่อนยังอยู่บนที่นอนจนถึงค่ำนี้ และยังไม่ได้แจกจ่ายไป ท่านไม่สบายใจเลยจนกระทั่งได้แจกจ่ายมันไปจนหมด

อบูซัรฺ ฆอฟฟารี รายงานว่า ค่ำวันหนึ่งขณะที่เขากำลังเดินอยู่กับท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ.) นั้น ท่านได้กล่าวว่า “อบูซัรฺ ถ้าแม้นว่าภูเขาอุฮุดเปลี่ยนเป็นทองคำสำหรับฉัน ฉันจะไม่ให้เหลือแม้แต่หนึ่งดินารฺภายในสามคืน นอกเสียจากฉันจะเหลือไว้สำหรับการใช้หนี้ของฉันเท่านั้น” ท่านจะไม่สบายใจจนกระทั่งเงินในบ้านถูกแจกจ่ายไปจนหมดเกลี้ยง

อิมามอะลี(อ.) กล่าวว่า “จงมองข้ามและให้อภัยต่อความอ่อนแอของคนใจกว้างเถิด เพราะถ้าพวกเขาล้มลง อัลลอฮฺ(ซ.บ.) จะยื่นมือไปให้ความช่วยเหลือแก่พวกเขา…”

อิมามอะลี(อ.) ยังกล่าวอีกว่า “การใจบุญสุนทานคือการช่วยเหลือผู้ที่ควรจะช่วยโดยที่เขาไม่ต้องร้องขอ และถ้าท่านช่วยเขาหลังจากเขาได้ร้องขอแล้ว การช่วยเหลือนั้นจะออกมาจากการนับถือตัวเองหรือเพื่อหลีกเลี่ยงข้อตำหนิเท่านั้น”

การบริจาคเป็นจริยธรรมอย่างหนึ่งของบรรดาศาสดา เป็นเสาหลักของความศรัทธาและเป็นรัศมีแห่งแสงความศรัทธาอันมั่นคง ศาสดามุฮัมมัด(ศ.) กล่าวว่า “เอาลิยา อัลลอฮฺ (สหายของอัลลอฮฺ) คือผู้มีใจบุญโดยธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง” ดังนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวนี้ ผู้ศรัทธาควรพยายามอย่างยิ่งที่จะมีความเมตตาและใจกว้างต่อญาติพี่น้อง ผู้ยากไร้และคนอื่นๆ เพื่อความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

เป็นการดียิ่งขึ้นที่บุคคลจะบริจาคพร้อมกับสิ่งที่เขารัก ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เสื้อผ้า หรือเงิน บทบัญญัตินี้ไม่ได้มีสำหรับผู้ที่ตัวเขาเองยังต้องได้รับการบริจาคอยู่ มนุษย์ควรจะมองตัวเองว่าเป็นผู้ได้รับการไว้วางใจ ซึ่งมีหน้าที่ส่งผ่านสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงประทานให้มา ไปยังบุคคลที่จำเป็นและขาดแคลน มนุษย์ควรจะออกห่างจากความตระหนี่และงดเว้นจากการเหนี่ยวรั้งการไว้วางใจอันสูงส่งนั้น เพราะเขาไม่รู้ว่ามันจะให้ประโยชน์อันใดแก่เขาหรือไม่หลังจากตายไปแล้ว และไม่รู้ว่าผู้รับสืบทอดมรดกของเขาจะใช้จ่ายมันไปในหนทางที่ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่?

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัลนัศร์ ตอนที่ ๒
สุภาษิตจากอิมามฮะซัน ...
ชะฮาดะฮ์อิมามอะลี อัลฮาดีย์
ปรัชญาแห่งศีลอด
กุรอานกับการแต่งกาย
สวนฟะดักท่านหญิงฟาฏิมะฮ์
...
...
ตัฟซีรอัลกุรอ่านเบื้องต้น ...

 
user comment