บทเรียนอูศูลุดดีน (รากฐานของศาสนา)
เตาฮีด (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า) ตอนที่ 33
ความเป็นเอกะในการวางบทบัญญัติข้อกฎหมายที่ต้องตัดสินและการปกครองการจากทัศนะของอัลกุรอาน
- คำว่า “ตัชรีอ์” มีความหมายว่า “การวางบทบัญญัติ” ซึ่งในอัลกุรอานได้กล่าวไว้เพียงครั้งเดียวในซูเราะฮ์อัชชูรออ์ โองการที่ 13
شَرَعَ لَكُم مِّنَ الدِّينِ مَا وَصىَ بِهِ نُوحًا وَ الَّذِى أَوْحَيْنَا إِلَيْكَ وَ مَا وَصَّيْنَا بِهِ إِبْرَاهِيمَ وَ مُوسىَ وَ عِيسىَ أَنْ أَقِيمُواْ الدِّينَ
“อัลลอฮ์(ซบ)ได้ทรงกำหนดศาสนาแก่พวกเจ้าเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงบัญชาแก่นูฮ์ และเราได้วะฮีแก่เจ้าเช่นเดียวกับที่เราได้บัญชาแก่อิบรอฮีม และมูซาและอีซาว่าพวกเจ้าจงดำรงศาสนาไว้ให้มั่นคง”
ด้วยเหตุนี้จำเป็นที่ต้องทำความเข้าใจคำว่า “ฮุก่ม” และ “วิลายะห์”
“ฮุก่ม”
คำว่า “ฮุก่ม” ความหมายเดิมคือ “การห้ามปรามการปกป้อง” และเมื่อใช้ในรูปอื่นๆจะให้ความหมาย การวางบทบัญญัติ, การตัดสิน และการบริหารกิจการทางสังคม” ซึ่งความหมาย “การปกป้องการห้ามปราม” ที่เป็นความหมายเดิมของ ‘ฮุก่ม’ ครอบคลุมความหมายทั้งสามอยู่ด้วย
ในอัลกุรอานได้กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งว่า ผู้ที่สามารออกกฎหมายปกครองได้นั้นคือ อัลลอฮ์(ซบ)เท่านั้น ในซูเราะฮ์ยูซุฟ โองการที่ 40
إِنِ الْحُكْمُ إِلَّا لِلَّهِ
“การตัดสินไม่ได้เป็นสิทธิของผู้ใดนอกจากอัลลอฮ์”
ซูเราะฮ์อัลกอศอศ โองการที่ 88
كلُُّ شىَْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ لَهُ الحُْكْمُ وَ إِلَيْهِ تُرْجَعُون
“และทุกๆสิ่งจะสูญสิ้นไป นอกจากพระพักตร์ของพระองค์ การตัดสินนั้นมาจากพระองค์และพวกเจ้าจะถูกนำคืนสู่พระองค์”
โองการทั้งสองได้เน้น การจำกัดอำนาจในการตัดสินเพียงอัลลอฮ์(ซบ) ซึ่งความหมายที่กว้างๆของคำว่า “ฮุก่ม” ทำให้เข้าใจว่า พระองค์เท่านั้นที่มีสิทธิและเหมาะสมอย่างเป็นเอกเทศในการตัดสินหรือออกกฎหมายปกครองในการจัดระเบียบและบริหารสังคมมนุษย์และตัดสินการงานต่างๆของมนุษย์ อีกทั้งส่วนที่พระองค์อนุมัติและอนุญาตให้มนุษย์กลุ่มหนึ่งทำหน้าที่แทนพระองค์ในการเป็นผู้ตัดสินปกครองของพระองค์และดูแลบริหารการงานของมนุษย์ก็ไม่ได้ขัดกับความความเป็นเอกะเพราะแหล่งอำนาจที่แท้จริงมาจากอัลลอฮ์องค์เดียว
คำว่า "ฮุก่ม” ที่ปรากฏในอัลกุรอาน พระองค์ได้กล่าวถึงความจำเป็นที่ชาวคัมภีร์ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในการตัดสินต่างๆตามคัมภีร์เตารอตและอินญีล และส่วนผู้ที่ฝ่าฟืนเท่ากับเขาคือผู้ปฏิเสธ ผู้อธรรมและผู้ที่ละเมิด ซึ่งซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ได้ยืนยันไว้ โองการที่ 44 – 45 - 47 ตามลำดับ ดังนี้
وَ مَن لَّمْ يحَْكُم بِمَا أَنزَلَ اللَّهُ فَأُوْلَئكَ هُمُ الْكَافِرُون
“และผู้ใดมิได้ตัดสินตามที่อัลลอฮ์ได้ประทานลงมาแล้ว ชนเหล่านั้นคือผู้ปฏิเสธการศรัทธา”
وَ مَن لَّمْ يحَْكُم بِمَا أَنزَلَ اللَّهُ فَأُوْلَئكَ هُمُ الظَّالِمُون
“และผู้ใดมิได้ตัดสินตามที่อัลลอฮ์ได้ประทานลงมาแล้ว ชนเหล่านั้นคือผู้อธรรม”
وَ مَن لَّمْ يحَْكُم بِمَا أَنزَلَ اللَّهُ فَأُوْلَئكَ هُمُ الْفَاسِقُون
“และผู้ใดมิได้ตัดสินตามที่อัลลอฮ์ได้ประทานลงมาแล้ว ชนเหล่านั้นคือผู้ที่ละเมิด”
โองการที่ 44 ได้พูดถึงเกี่ยวกับชาวยิว และโองการที่ 47 ได้พูดถึงเกี่ยวกับชาวคริสต์ แต่ทว่าความหมายของการตัดสินในโองการดังกล่าวให้ความหมายที่กว้างและไม่ได้จำกัดอยู่เพียงหมู่ชนใดหมู่ชนหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ผู้ใดก็ตามที่ไม่ได้ตัดสินด้วยกฎหมายของพระองค์ก็เท่ากับเขาคือผู้ปฏิเสธ ผู้อธรรมและเป็นผู้ที่ละเมิดเช่นเดียวกัน
“วิลายะห์”
คำว่า “วีลายะห์"ให้ความหมายว่า “อำนาจการปกครอง” และ ในบางกรณี หมายถึง“มิตร” ซึ่งการจะใช้ความหมายให้ได้อย่างถูกต้องนั้น ขึ้นกับสภาพแวดล้อมของประโยคหรือสถานการณ์
โองการอีกจำนวนหนึ่งที่พูดถึงเรื่อง “วิลายะห์” อำนาจการปกครองซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะพระองค์ในซูเราะฮ์อัชชูรออ์โองการที่ 9
أَمِ اتخََّذُواْ مِن دُونِهِ أَوْلِيَاءَ فَاللَّهُ هُوَ الْوَلىُِّ وَ هُوَ يحُْىِ الْمَوْتىَ وَ هُوَ عَلىَ كلُِّ شىَْءٍ قَدِير
“หรือว่าพวกเขาได้ยึดถือผู้อื่นจากพระองค์เป็นผู้ปกครอง แต่อัลลอฮ์คือผู้ปกครองและพระองค์คือผู้ให้ชีวิตแก่คนตาย และพระองค์คือผู้ทรงอานุภาพเหนือทุกสรรพสิ่ง”
โองการดังกล่าวบ่งบอกว่า ผู้ปกครองที่แท้จริงคืออัลลอฮ์(ซบ) อย่างไรก็ตามการที่พระองค์ได้เลือกและแต่งตั้งให้คนกลุ่มหนึ่งเป็นผู้ตัดสินหรือเป็นผู้ปกครองไม่ได้ขัดกับความเป็นเอกะในอำนาจการครองของพระองค์แต่อย่างใด จะเห็นได้ว่า โองการจำนวนหนึ่งได้กล่าวถึงความเป็นผู้ปกครองของบรรดาศาสดาและตัวแทนของศาสดา ซึ่งอัลกุรอานในซูเราะฮ์มาอิดะฮ์ โองการที่ 55 ได้ยืนยัน จากตัฟซีร เนมูนะฮ์ เล่มที่ 4 หน้า 424
إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَ رَسُولُهُ وَ الَّذِينَ ءَامَنُواْ الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلَوةَ وَ يُؤْتُونَ الزَّكَوةَ وَ هُمْ رَاكِعُون
“แท้จริงผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าคือ อัลลอฮ์และศาสดาของพระองค์และบรรดาผู้ศรัทธาที่ดำรงไว้ซึ่งการนมาซและบริจาคทานในขณะที่โค้งอย่างผู้นอบน้อม(รุกูอ์)”
สาเหตุของการประทานโองการดังกล่าว มีฮาดีษรายงานเป็นจำนวนมาก ดั่งประโยค “ผู้ศรัทธาที่ดำรงไว้ซึ่งการนมาซและบริจาคทานในขณะที่โค้งอย่างผู้นอบน้อม(รุกูอ์)” คือ ท่านอาลี อิบนิ อาบีฏอลิบ ซึ่งท่านได้บริจาคแหวนแก่คนยากจนในขณะที่ท่านโค้งรูกูอ์ในนมาซ
คำว่า “วะลี” มีความหมายว่าผู้ปกครองทั้งทางโลกและทางธรรม จุดสำคัญในโองการดังกล่าวคือ คำว่า “วะลี” (ผู้ปกครอง) ซึ่งสาเหตุการประทาน ยืนยันว่า คือ ท่านอาลี อิบนิ อาบีฏอลิบ ใช้คำเดียวกับ “วะลี” ของท่านศาสดา และ “วะลี” ของอัลลอฮ์” ซึ่งก็หมายถึงว่าอำนาจการปกครองของท่านอาลี บิน อาบีฏอลิบ คือ อำนาจการปกครองของท่านศาสดา และอำนาจการปกครองของท่านศาสดาก็คืออำนาจการปกครองของอัลลอฮ์(ซบ) ซึ่งเป็นอำนาจการปกครองที่อัลลอฮ์ได้มอบให้แก่ท่านศาสดามูฮัมหมัด(ศ็อล) ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวนี้ได้ถูกบันทึกไว้ในตำราพี่น้องซุนนี่เป็นจำนวนมากเช่นกัน หนังสือตัฟซีรฏอบารี หน้า 165. อิบนิกะซีร ในหนังสืออัลบิดายะฮ์ วัลนิฮายะฮ์ เล่มที่ 7 หน้า 357. อิบนิฮะญัร ในหนังสือ อัศศอวาอิก หน้า 25
ถึงแม้ว่าผู้ตัดสินที่แท้จริงและผู้มีอำนาจในการปกครองที่แท้จริงคือ อัลลอฮ์(ซบ) ทว่าเนื่องจากว่าการบริหารสังคมและการปกครองนั้นมีความสัมพันธ์กับโลกแห่งวัตถุที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ และความสัมพันธ์ทางวัตถุนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นโดยตรงได้จากพระองค์ ดังนั้นแล้ว จึงจำเป็นที่จะต้องมีตัวแทนของพระองค์จำนวนหนึ่งที่ได้รับอำนาจนี้ มาทำหน้าที่วางบทบัญญัติและการปกครองในนามตัวแทนบนหน้าแผ่นดิน (คอลีฟะห์ตุลลอฮ ฟิล อัรฎ) ซึ่งอำนาจของพวกเขานั้นได้รับมาจากพระองค์โดยตรง
ขอขอบคุณสถาบันศึกษาศาสนาอัลมะฮ์ดี