สุภาษิตจากอิมามฮะซัน อัลมุจญตะบา (อ)
ชีวิตของบรรดาอิมาม(อ)แห่งอะฮฺลุลบัยตฺนั้นคือ พลังที่นำมวลมุสลิมไปสู่วิถีทางของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และความปิติชื่นชมยังพระองค์และเป็นการเน้นให้มีการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์ กล่าวคือ บรรดาอิมาม(อ) เป็นสื่อในเรื่องเหล่านี้ทุกๆ วิถีทาง แบบแผนชีวิตของบรรดาอิมาม(อ)มิได้เป็นเพียงบทเรียนอย่างเดียวเท่านั้น หากยังหมายความไปถึงคำปราศรัย พินัยกรรม คำสั่งเสีย จดหมาย
ดังที่บรรดานักประวัติศาสตร์ได้ รวบรวมถ้อยคำของพวกท่านมาบันทึกไว้โดยสังเขป
ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)พระองค์ทรงเป็นจักพยานได้ว่า
ไม่มีเรื่องราวของผู้ใดที่มีรายละเอียดเสมอเหมือนกับบรรดาท่านเหล่านั้น เรื่องราวเหล่านี้คือ ขุมคลังแห่งคำสอน และเป็นโอสถหลายขนานสำหรับบำบัดรักษาโรคต่างๆ ทางสังคมของพวกเรา และเป็นการเรียกร้องเชิญชวนสู่สัจธรรมและความดีงาม
ในบทความนี้เราจะขอเสนอสุภาษิตบางประการจากถ้อยคำของท่านอิมามฮะซัน(อ) ดังนี้
๑. จงอย่าเร่งให้ความบาปต้องพบกับบทลงโทษ แต่จงหาวิธีทางอย่างใดอย่างหนึ่งมาแก้ไขในระหว่างนั้น
๒. การหยอกล้อจะกัดกร่อนบารมี แต่การเพิ่มบารมีอยู่ที่การนิ่งเงียบ
๓. โอกาสที่ดีมักจะจากไปอย่างรวดเร็ว และกลับมาช้าเสมอ
๔. ความสุขจะไม่เป็นที่รับรู้เสมอในยามที่มันมีอยู่ แต่มันจะเป็นที่รู้จักทันทีที่มันจากไป
๕. จะปรึกษาหารือกับคนกลุ่มใดก็จะเป็นไปตามแนวชี้นำของคนกลุ่มนั้น
๖. คนเลวย่อมไม่รู้คุณของความดีงาม
๗. ความดีที่ไม่มีความชั่วใดๆ แอบแฝงได้แก่ การรู้คุณค่าของความโปรดปราน และอดทนต่อความทุกข์ยาก
๘. ความอับอายยังให้ความเจ็บน้อยกว่าไฟนรก
๙. มนุษย์จะวิบัติด้วยเหตุ ๓ ประการ : การทะนงตัว, ความโลภ และการริษยา
การทะนงตัว คือ การทำลายศาสนา และด้วยเหตุนี้เอง อิบลิสจึงถูกสาปแช่ง
ความโลภคือ ศัตรูของตนเองและด้วยเหตุนี้ ที่อาดัม(อ)ถูกขับออกจากสวรรค์
การริษยาคือ ที่ตั้งของความชั่ว และด้วยเหตุนี้ ที่กอบีลจึงสังหารฮาบีล
๑๐. ไม่มีการมีมารยาทใดสำหรับคนที่ไร้ปัญญา ไม่มีลักษณะของชายชาตรีสำหรับคนที่ไม่
มีความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง ไม่มีความละอายใดสำหรับคนที่ไม่มีศาสนา
สุดยอดแห่งการมีปัญญาคือ การพบปะพูดคุยกับผู้คนด้วยลักษณะที่สวยงาม ด้วยกับปัญญาเท่านั้นที่จะเข้าถึงซึ่งโลกทั้งสอง ผู้ใดที่ไม่ใช้สติปัญญา เขาก็จะไม่สามารถเข้าถึงซึ่งโลกนี้ และโลกหน้า(๑)
๑๑. จริยธรรมที่สูงสุดยอดมี ๑๐ ประการ
(๑) รักษาสัจจะไว้โดยวาจา
(๒) รักษาสัจจะไว้โดยความเดือดร้อน
(๓) บริจาคแก่ผู้ขอ
(๔) มีมารยาทที่ดีงาม
(๕) มีความบากบั่นในการทำงาน
(๖) มีไมตรีต่อญาติมิตร
(๗) มีเมตตาธรรมต่อเพื่อนบ้าน
(๘) รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น
(๙) ให้เกียรติต่อแขก
(๑๐) หัวใจของสิ่งเหล่านี้คือความละอาย
๑๒. การสูญเสียสิ่งที่ต้องการดีกว่าการขอจากคนที่มิได้เป็นเจ้าของในสิ่งนั้นจริง(๒)
๑๓. ฉันไม่เห็นผู้อธรรมคนใดที่ละม้ายคล้ายคลึงกับผู้ถูกอธรรม มากกว่าผู้ที่อิจฉาริษยา
(หมายความว่า ผู้มีจิตอิจฉาริษยานั้นมีสภาพเป็นทั้งผู้อธรรม (ต่อผู้อื่น) และตัวเองก็ถูกอธรรมจาก
การอิจฉาริษยานั้น)(๓)
๑๔. จงเอาความรู้ของเจ้าสอนผู้อื่นและจงศึกษาความรู้จากคนอื่น เมื่อนั้นความร้อนของเจ้า
จะแข็งแกร่ง และเจ้าจะรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้(๔)
๑๕. แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงรำลึกถึงเจ้าอยู่ ดังนั้นเจ้าจงรำลึกถึงพระองค์ และทรงเลี้ยงดู
เจ้าอยู่ ดังนั้นจงขอบคุณต่อพระองค์
๑๖. ถ้ากิจกรรมอันเป็นนะวาฟิล(ที่ควรแก่การกระทำ)จะทำลายกิจกรรมอันเป็นวาญิบ
(ข้อบังคับ) เจ้าก็จงละทิ้งนะวาฟิลนั้นเสีย
๑๗. ผู้ใดที่เตือนสติตัวเองอยู่เสมอ หลังจากการเดินทางเขาก็ถูกยอมรับ
๑๘. ระหว่างพวกเจ้ากับคำตักเตือน แท้จริงมันคือม่านแห่งเกียรติยศ
๑๙. ใครที่แสวงหาการเคารพภักดี เขาก็จะได้รับการขัดเกลา
๒๐. การตัดขาดจากความรู้ คือข้อบกพร่องของผู้ศึกษาเล่าเรียน(๕)
๒๑. สิ่งที่ดีที่สุดของความดีงามคือมารยาทที่ดี(๖)
แหล่งอ้างอิง
(๑) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ ๔ กอฟ ๑๐๗/๑
(๒) อัลฮะซัน บินอะลี ของอัลดุล-กอดิร อะหมัด อัล-ยูซุฟ หน้า ๖๐
(๓) มะฏอลิบุซซุอุล หน้า ๖๙ พิมพ์ครั้งที่ ๑
(๔) กัซฟุล-ฆุมมะฮฺ หน้า ๑๗๐
(๕) ตะฮัฟฟุล-อุกูล หน้า ๑๖๙
(๖) อัล-คิศอล หน้า ๒๙
คัดลอกจากหนังสือชีวประวัติอิมามฮะซัน บิน อะลี (อ)