ไทยแลนด์
Wednesday 13th of November 2024
0
نفر 0

มุอ์ญิซะฮ์ (ปาฏิหาริย์) หมายถึงอะไร?

มุอ์ญิซะฮ์ (ปาฏิหาริย์) หมายถึงอะไร?

มุอ์ญิซะฮ์ (ปาฏิหาริย์) หมายถึงอะไร?

 

มุอ์ญิซะฮ์ (ปาฏิหาริย์) หมายถึง ภารกิจหรือการกระทำหนึ่งที่เหนือธรรมชาติ ซึ่งพระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ประสงค์ที่จะให้ปาฏิหาริย์นี้เกิดขึ้นมา โดยผ่านผู้ที่กล่าวอ้างว่าตนเป็นศาสดา เพื่อพิสูจน์ความสัจจริงอันเป็นสัญลักษณ์ของคำกล่าวอ้างที่ถูกต้อง

 

ดังนั้น ถ้าหากพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนจะเห็นว่าความหมายตามนิยามที่กล่าวมา ครอบคลุมอยู่บน 3 ประเด็นดังต่อไปนี้

 

1. มีปรากฏการณ์ที่อยู่เหนือธรรมชาติ ซึ่งมิได้เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุธรรมดาทั่วไป หรือบนสาเหตุของวิชาการทั้งหลาย

 

2. บางปรากฏการณ์ที่อยู่เหนือธรรมชาตินั้น เกิดขึ้นโดยน้ำมือของศาสดา ซึ่งเป็นพระประสงค์อันเฉพาะของพระเจ้าและโดยอนุมัติของพระองค์เท่านั้น

 

3. ปรากฏการณ์ที่อยู่เหนือธรรมชาตินั้น เป็นเครื่องหมายที่ยืนยันและรับรองคำกล่าวอ้างการเป็นศาสดาของศาสดา ซึ่งตามหลักภาษาเรียกปรากฏการที่อยู่เหนือธรรมชาตินั้นว่า มุอ์ญิซะฮ์ (ปาฏิหาริย์)

 

ลำดับต่อไปจะอธิบายถึงองค์ประกอบสำคัญของทั้งสามนั้นตามความหมายที่กล่าวมา

 

ภารกิจเหนือธรรมชาติ


ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกนี้โดยปกติแล้วเกิดบนเงื่อนไขของเหตุและผล ซึ่งสามารถรู้จักสิ่งเหล่านั้นได้ด้วยการตรวจสอบหรือการทดลองต่าง ๆ เช่น ส่วนใหญ่ของปรากฏการที่เกิดขึ้นเป็นปรากฏการด้านฟิสิกซ์ เคมี ชีววิทยา และจิตวิทยา ส่วนปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นส่วนน้อย ถือว่าเป็นเสี้ยวส่วนของปรากฏการณ์เหล่านี้ซึ่งมีการเกิดในอีกลักษณะหนึ่ง ไม่สามารถรู้จักเหตุและผลของทั้งหมดได้ด้วยการทดสอบหรือทดลองผ่านปราสาทสัมผัส เพื่อที่จะยกเอาสิ่งนั้นเป็นหลักฐานของการเกิดปรากฏการ แน่นอน การค้นพบปรากฏการณ์ประเภทนี้ต้องอาศัยปัจจัยและตัวการอื่นอันมีผลต่อการเกิด เช่น ภารกิจที่เหนือความคาดหมายของพวกมุรตาฎอน (ผู้ฝึกฝนพลังจิตจนเข็มแข็งพิเศษสามารถใช้จิตบังคับหรือควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในแถบประเทศอินเดีย) ที่กระทำกัน ซึ่งนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญวิชาการในสาขาต่าง ๆ ลงความเห็นว่าภารกิจเหนือความคาดหมายเหล่านี้ มิได้เกิดตามกฎเกณฑ์ของวิชาการด้านวัตถุ หรือวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด ซึ่งภารกิจเหล่านี้เรียกว่า ภารกิจเหนือธรรมชาติ

 

ภารกิจเหนือธรรมชาติของพระเจ้า


ภารกิจเหนือธรรมชาติสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ ประเภทแรกภารกิจต่าง ๆ แม้ว่าจะไม่มีเหตุและผลทั่ว ๆ ไปกำกับก็ตาม ส่วนสาเหตุที่มิได้เป็นสาเหตุทั่วไปไม่มากก็น้อยถูกจัดวางไว้ในเจตนารมณ์เสรีของมนุษย์ ซึ่งสามารถค้นพบสิ่งเหล่านั้นได้จากการทดลองและการฝึกฝนเป็นพิเศษ เช่น การฝึกฝนของพวกมุรตาฎอนอินเดีย

 

ประเภทที่สอง มีภารกิจเหนือธรรมชาติบางประเภท เวลาจะปรากฏขึ้นต้องอาศัยคำอนุญาตพิเศษจากพระเจ้าเท่านั้นจึงจะปรากฏขึ้นได้ การครอบครองปรากฏการเหล่านั้นจะไม่ตกไปอยู่ในมือของบุคคลที่ไม่มีสายสัมพันธ์พิเศษกับพระเจ้า ซึ่งปรากฏการดังกล่าวนี้มีคุณลักษณะพิเศษอันเป็นพื้นฐานสำคัญ 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก ไม่สามารถเรียนรู้หรือสอนได้ ประการที่สอง ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจหรืออิทธิพลที่เหนือกว่า และไม่พ่ายแพ้แก่ปัจจัยอื่นเด็ดขาด แน่นอน ภารกิจเหนือธรรมชาติเหล่านี้จะตกอยู่ในน้ำมือของปวงบ่าวที่ได้รับการเลือกสรรพิเศษแล้วจากพระเจ้า จะไม่ตกอยู่ในมือของพวกที่บูชาอารมณ์เป็นพระเจ้า หรือพวกที่หลงผิดเด็ดขาด ขณะเดียวกันจะไม่จำกัดอยู่แค่บุคคลที่เป็นศาสดาเท่านั้น ทว่าบางครั้งหมู่มวลมิตรของพระเจ้าบางท่านก็สามารถแสดงภารกิจเหล่านี้ได้เช่นกัน ด้วยสาเหตุนี้เอง ถ้าพิจารณาตามวิชาการด้านศาสนศาสตร์แล้วไม่สามารถเรียกทั้งหมดว่าเป็น มุอฺญิซะฮฺ (ปาฏิหาริย์) ได้ เพราะโดยปกติแล้วภารกิจเหนือธรรมชาติบางอย่างที่เกิดกับบุคคลที่มิได้เป็นศาสดา จะเรียกว่า กะรอมัต (สิ่งประหลาดใจอันน่าพิศวง) เหมือนกับความรู้ที่มิใช่ความรู้ธรรมดาทั่วไปของพระเจ้า มิได้จำกัดอยู่แค่วะฮฺยูและนบูวัติ เมื่อความรู้เหล่านี้ถูกมอบให้แก่บุคคลอื่นจะเรียกว่า อิลฮาม (การดลใจ)

 

ขณะเดียวกันแนวทางการรู้จักภารกิจเหนือธรรมชาติ 2 ประเภทนี้ (เพื่อพระเจ้าและมิใช่เพื่อพระเจ้า) ก็ถูกรู้จักไปโดยปริยาย หมายถึงภารกิจเหนือธรรมชาติใดที่เกิดจากการเรียนรู้และการฝึกฝน หรือมีปัจจัยอื่นสามารถหยุดหรือดำเนินภารกิจนั้นต่อไปได้ หรือสามารถทำลายผลของภารกิจนั้นได้ จะไม่ถือว่าภารกิจนั้นเป็นปาฏิหาริย์ของพระเจ้า เช่น คนทำบาปหรือคนที่มีความเชื่อไม่ถูกต้อง หรือมีจริยธรรมต่ำทราม สามารถแสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์อื่นที่บ่งบอกว่าตนมิได้สัมพันธ์อยู่กับพระเจ้า แต่สัมพันธ์อยู่กับชัยฏอนหรืออำนาจใฝ่ต่ำ

 

ตรงนี้จะชี้ให้เห็นอีกประเด็นหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า ตัวการของภารกิจเหนือธรรมชาตินั้นคือพระเจ้า (นอกเหนือจากตัวการที่สัมพันธ์กับสิ่งถูกสร้างทั้งหมดอันเป็นปรากฏการธรรมดาทั่วไป) จากสาเหตุนี้เองการเกิดปรากฏการเหล่านั้นต้องอาศัยอำนาจและคำอนุญาตของพระเจ้าแต่เพียงอย่างเดียว อัลกุรอาน กล่าวว่า

 

وَكَذَلِكَ أَنزَلْنَاهُ حُكْمًا عَرَبِيًّا وَلَئِنِ اتَّبَعْتَ أَهْوَاءَهُم بَعْدَ مَا جَاءَكَ مِنَ الْعِلْمِ مَا لَكَ مِنَ اللّهِ مِن وَلِيٍّ وَلاَ وَاقٍ  

 

และในทำนองนั้น เราได้ประทานอัลกุรอานแก่เขา เพื่อเป็นข้อตัดสินอันชัดแจ้งเป็นภาษาอาหรับ ถ้าหากเจ้าปฏิบัติตามอำนาจใฝ่ต่ำของพวกเขา หลังจากหลักฐานได้มายังเจ้าแล้ว จะไม่มีผู้ช่วยเหลือและผู้คุ้มกันเจ้าจากการลงโทษของอัลลอฮ์ (ซ.บ) (บทอัรเราะอ์ดุ / 37)

 

หรือโดยผ่านสื่อ เช่น เหล่าเทวทูตของพระองค์หรือเราะซูล โดยถือเอาทั้งเทวทูต(มะลาอิกะฮ์) และเราะซูลเป็นเพียงสื่อกลางหรือตัวการใกล้ชิดที่ก่อให้เกิดปาฏิหาริย์ ดังที่อัลกุรอาน กล่าวถึงการชุบชีวิตคนตายให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมา หรือการรักษาเยียวยาคนป่วยที่เป็นโรคเรื้อนเรื้อรัง ตลอดจนการบันดาลนกให้มีชีวิตโดยน้ำมือของศาสดาอีซา (อ.) อัลกุรอานกล่าวว่า

 

وَرَسُولاً إِلَى بَنِي إِسْرَائِيلَ أَنِّي قَدْ جِئْتُكُم بِآيَةٍ مِّن رَّبِّكُمْ أَنِّي أَخْلُقُ لَكُم مِّنَ الطِّينِ كَهَيْئَةِ الطَّيْرِ فَأَنفُخُ فِيهِ فَيَكُونُ طَيْرًا بِإِذْنِ اللّهِ وَأُبْرِىءُ الأكْمَهَ والأَبْرَصَ وَأُحْيِي الْمَوْتَى بِإِذْنِ اللّهِ وَأُنَبِّئُكُم بِمَا تَأْكُلُونَ وَمَا تَدَّخِرُونَ فِي بُيُوتِكُمْ إِنَّ فِي ذَلِكَ لَآيَةً لَّكُمْ إِن كُنتُم مُّؤْمِنِينَ  

 

และ (อีซา) ในฐานะที่เป็นศาสดาได้ถูกส่งไปยังวงศ์วานอิสรออีล (กล่าวว่า) แท้จริง ฉันได้นำสัญญาณหนึ่งจากพระผู้อภิบาลของพวกเจ้ามายังพวกเจ้าแล้ว ฉันจะบันดาลสิ่งที่มีรูปร่างคล้ายนกขึ้นจากดินให้แก่พวกเจ้า แล้วฉันจะเป่าไปบนมันแล้วสิ่งนั้นก็จะกลายเป็นนกด้วยอนุมัติของอัลลอฮ์ ฉันจะรักษาคนตาบอดแต่กำเนิดและคนเป็นโรคเรื้อนให้หายปกติ ฉันจะให้ผู้ที่ตายแล้วฟื้นมีชีวิตขึ้นมาใหม่ด้วยอนุมัติของอัลลอฮ์(ซ.บ) แล้วฉันจะบอกพวกเจ้าถึงสิ่งที่พวกเจ้าบริโภคและสิ่งที่พวกเจ้าสะสมไว้ในบ้านของพวกเจ้า แน่นอนในนั้นย่อมมีสัญญาณหนึ่งสำหรับพวกท่าน หากพวกท่านเป็นผู้ศรัทธา (บทอาลิอิมรอน / 49)

 

หรือในบทอัล-มาอิดะฮ์ โองการที่ 110 กล่าวว่า

 

إِذْ قَالَ اللّهُ يَا عِيسى ابْنَ مَرْيَمَ اذْكُرْ نِعْمَتِي عَلَيْكَ وَعَلَى وَالِدَتِكَ إِذْ أَيَّدتُّكَ بِرُوحِ الْقُدُسِ تُكَلِّمُ النَّاسَ فِي الْمَهْدِ وَكَهْلاً وَإِذْ عَلَّمْتُكَ الْكِتَابَ وَالْحِكْمَةَ وَالتَّوْرَاةَ وَالإِنجِيلَ وَإِذْ تَخْلُقُ مِنَ الطِّينِ كَهَيْئَةِ الطَّيْرِ بِإِذْنِي فَتَنفُخُ فِيهَا فَتَكُونُ طَيْرًا بِإِذْنِي وَتُبْرِىءُ الأَكْمَهَ وَالأَبْرَصَ بِإِذْنِي وَإِذْ تُخْرِجُ الْمَوتَى بِإِذْنِي وَإِذْ كَفَفْتُ بَنِي إِسْرَائِيلَ عَنكَ إِذْ جِئْتَهُمْ بِالْبَيِّنَاتِ فَقَالَ ا لَّذِينَ كَفَرُواْ مِنْهُمْ إِنْ هَذَا إِلاَّ سِحْرٌ مُّبِينٌ  

 

จงรำลึกถึงครั้นอัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงตรัสแก่อีซาบุตรของมัรยัมว่า จงรำลึกถึงความโปรดปรานของข้าที่มีต่อเจ้า และมารดาของเจ้า ขณะที่ข้าได้สนับสนุนเจ้าด้วยวิญญาณอันบริสุทธิ์โดยให้เจ้าพูดกับประชาชน ขณะที่อยู่ในเปล และขณะที่อยู่ในวัยกลางคน ข้าได้สอนคัมภีร์และวิทยปัญญาตลอดจนอัต-เตารอตและอัล-อินญีลแก่เจ้า ขณะที่เจ้าสร้างดั่งรูปนกขึ้นจากดินด้วยอนุมัติของข้า แล้วเจ้าเป่าเข้าไปบนนกนั้นสิ่งนั้นก็กลายเป็นนกด้วยอนุมัติของข้า และที่เจ้าทำให้คนตาบอดแต่กำเนิด คนเป็นโรคผิวหนังหายขาดด้วยอนุมัติของข้า เจ้าทำให้คนตายฟื้นคืนชีพขึ้นมาด้วยอนุมัติของข้า ขณะที่ข้าได้ยับยั้งและหันเหวงศ์วานอิสรออีลออกจากไปเจ้า ขณะนั้นเจ้าได้นำบรรดาหลักฐานอันชัดแจ้งมายังพวกเขา บรรดาผู้ฝ่าฝืนในหมู่พวกเขาก็กล่าวว่า สิ่งนี้มิใช่อื่นใด นอกจากมายากลอันชัดแจ้งเท่านั้น

 

ถ้าหากพิจารณาระหว่างทั้งสองกรณีที่เกิดขึ้นจะพบว่าไม่มีความขัดแย้งกัน เนื่องจากตัวการคือพระเจ้า ซึ่งอยู่ในแนวตั้งของตัวการที่เป็นบ่าวของพระองค์

 

ความแตกต่างระหว่างมุอฺญิซะฮ์กับภารกิจที่พ้นความสามารถอื่นของมนุษย์ มีดังนี้

 

1. ไม่ต้องเรียนรู้ การแสดงปาฏิหาริย์ของบรรดาศาสดา (อ.) ไม่ต้องผ่านการเรียนรู้ ส่วนการกระทำอื่นจากนี้เป็นผลลัพธ์มาจากการเรียนรู้ หรือการฝึกฝน หลังจากผ่านช่วงวัยหนุ่ม ท่านศาสดามูซา (อ.) ได้เดินทางไปอียิปต์ ในระหว่างทางท่านได้รับเลือกตั้งให้เป็นศาสดา หลังจากนั้นได้มีพระบัญชามายังท่านว่า ให้โยนไม้เท้าออกไป และในทันใดนั้นไม้เท้าได้กลายเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายงู ซึ่งแม้กระทั่งตัวท่านยังตกใจ  และได้มีพระบัญชามายังท่านว่าให้เอามือสอดไว้ในทรวงอกเมื่อดึงมือออก ฝ่ามือของท่านสว่างไสวเต็มไปด้วยรัศมี และทำให้สายตาพร่ามัว อัล-กุรอานกล่าวว่า

 

وَأَنْ أَلْقِ عَصَاكَ فَلَمَّا رَآهَا تَهْتَزُّ كَأَنَّهَا جَانٌّ وَلَّى مُدْبِرًا وَلَمْ يُعَقِّبْ يَا مُوسَى أَقْبِلْ وَلَا تَخَفْ إِنَّكَ مِنَ الْآمِنِينَ   اسْلُكْ يَدَكَ فِي جَيْبِكَ تَخْرُجْ بَيْضَاءَ مِنْ غَيْرِ سُوءٍ وَاضْمُمْ إِلَيْكَ جَنَاحَكَ مِنَ الرَّهْبِ فَذَانِكَ بُرْهَانَانِ مِن رَّبِّكَ إِلَى فِرْعَوْنَ وَمَلاَئِهِ إِنَّهُمْ كَانُوا قَوْمًا فَاسِقِينَ

 

 “และจงโยนไม้เท้าของเจ้าออกไป ครั้นเมื่อเขาเห็นมันเคลื่อนไหวคล้ายกับงูเขาได้หันหลังกลับและไม่เหลียวมามองอีก (ทรงตรัสว่า) โอ้มูซาเอ๋ย จงเข้าไปใกล้ ๆ และอย่าหวาดกลัว แท้จริงเจ้าเป็นผู้หนึ่งจากบรรดาผู้ปลอดภัย จงสอดมือของเจ้าเข้าไปในทรวงอกของเจ้า เมื่อดึงออกจะเป็นสีขาวปราศจากราคีใด ๆ และจงเอามือแนบตัวเจ้าไว้เพื่อให้คลายความตกใจ และนี่คือหลักฐานสองประการจากพระผู้อภิบาลของเจ้าไปยังฟิรเอานฺ และพวกผู้นำของเขา แท้จริงพวกเขาเป็นหมู่ชนผู้ฝ่าฝืน” (บทอัล-เกาะซ็อซ/๓๑-๓๒)

 

แต่เกี่ยวกับนักมายากลในสมัยของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) อัล-กุรอานกล่าว่า

 

وَاتَّبَعُواْ مَا تَتْلُواْ الشَّيَاطِينُ عَلَى مُلْكِ سُلَيْمَانَ وَمَا كَفَرَ سُلَيْمَانُ وَلَكِنَّ الشَّيْاطِينَ كَفَرُواْ يُعَلِّمُونَ النَّاسَ السِّحْرَ وَمَا أُنزِلَ عَلَى الْمَلَكَيْنِ بِبَابِلَ هَارُوتَ وَمَارُوتَ وَمَا يُعَلِّمَانِ مِنْ أَحَدٍ حَتَّى يَقُولاَ إِنَّمَا نَحْنُ فِتْنَةٌ فَلاَ تَكْفُرْ فَيَتَعَلَّمُونَ مِنْهُمَا مَا يُفَرِّقُونَ بِهِ بَيْنَ الْمَرْءِ وَزَوْجِهِ وَمَا هُم بِضَآرِّينَ بِهِ مِنْ أَحَدٍ إِلاَّ بِإِذْنِ اللّهِ وَيَتَعَلَّمُونَ مَا يَضُرُّهُمْ وَلاَ يَنفَعُهُمْ وَلَقَدْ عَلِمُواْ لَمَنِ اشْتَرَاهُ مَا لَهُ فِي الآخِرَةِ مِنْ خَلاَقٍ وَلَبِئْسَ مَا شَرَوْاْ بِهِ أَنفُسَهُمْ لَوْ كَانُواْ يَعْلَمُونَ

 

 “และพวกเขาปฏิบัติตามที่พวกมารร้ายชัยฏอนได้เสี้ยมสอน ในสมัยของสุลัยมาน แต่สุลัยมานมิได้ปฏิเสธ แต่ว่ามารร้ายชัยฏอนปฏิเสธ พร่ำสอนผู้คนซึ่งวิชาไสยศาสตร์และสิ่งที่ถูกประทานแก่มะลาอิกะฮฺทั้งสอง  ฮารูตและมารูต ณ เมืองบาบิล และทั้งสองมิได้สอนแก่ผู้ใดจนกระทั่งทั้งสองกล่าวว่า แท้จริงเราเป็นเพียงผู้ทดสอบเท่านั้น ดังนั้นจงอย่าปฏิเสธ แล้วพวกเขาก็ศึกษาจากทั้งสอง ข้อที่จะทำให้แตกร้าวระหว่างสามีกับภรรยาของเขา ทั้งที่พวกเขาไม่อาจทำอันตรายผู้ใดในข้อนั้นได้  เว้นแต่โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ แต่พวกเขาได้เรียนสิ่งที่ให้โทษแก่พวกเขา และไม่ได้ให้คุณแก่พวกเขา แน่นอนพวกเขารู้ดีว่าผู้ที่ซื้อมัน ในปรโลกจะไม่มีส่วนบุญสำหรับเขาเลย และชั่วช้าแน่นอนที่พวกเขาขายตัวของพวกเขาด้วยสิ่งนั้น  มาตรว่าพวกเขาได้รู้” (บทอัล-บะเกาะเราะฮฺ/๑๐๒)

 

2. ปราศจากคู่แข่งขัน มุอ์ญิซะฮ์เกิดจากอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าที่ไม่มีที่สิ้นสุด จึงปราศจากคู่แข่งขัน แต่มายากลเป็นวิชามารที่ผ่านการเรียนรู้ หรือผ่านการฝึกฝนจำพวกผู้บำเพ็ญพรต หรือผู้ถือสันโดษ ซึ่งเป็นอำนาจที่อยู่ในขอบเขตจำกัด จึงมีคู่แข่งหรือทำให้คล้ายคลึงได้

 

3. ปราศจากขอบเขตที่สิ้นสุด มุอ์ญิซะฮ์ของบรรดาศาสดา (อ.) ไม่ได้จำกัดอยู่แค่หนึ่งหรือสองประเภทเท่านั้น แต่มีจำนวนมากโดยไม่อาจทำสิ่งที่คล้ายเหมือนได้ อย่างเช่น ท่านศาสดามูซา (อ.) ได้โยนไม้เท้าไปแล้วกลายเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายงู หรือเอามือสอดเข้าไปในทรวงอกแล้วมีรัศมีติดออกมา สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร หรือการที่ท่านได้เอาไม้เท้าฟาดลงบนก้อนหินแล้วมีตาน้ำไหลออกมา อัล-กุรอานกล่าวว่า

 

وَإِذِ اسْتَسْقَى مُوسَى لِقَوْمِهِ فَقُلْنَا اضْرِب بِّعَصَاكَ الْحَجَرَ فَانفَجَرَتْ مِنْهُ اثْنَتَا عَشْرَةَ عَيْناً

 

 “และจงรำลึกถึงมูซา ขณะที่ได้ขอน้ำให้แก่กลุ่มชนของเขา แล้วเราได้กล่าวว่า เจ้าจงฟาดหินก้อนนั้นด้วยไม้เท้าของเจ้า ดังนั้นได้มีตาน้ำพุ่งออกจากมันสิบสองตา”

(บทอัล-บะเกาะเราะฮฺ/๖๐)

 

นอกจากมุอ์ญิซะฮ์ทั้ง ๓ ประการแล้ว พระองค์ยังได้มีพระบัญชาให้ท่านเอาไม้เท้าฟาดไปที่น้ำทะเล แล้วน้ำทะเลก็ได้แยกออกเป็นทางเดิน อัล-กุรอานกล่าวว่า

 

فَأَوْحَيْنَا إِلَى مُوسَى أَنِ اضْرِب بِّعَصَاكَ الْبَحْرَ فَانفَلَقَ فَكَانَ كُلُّ فِرْقٍ كَالطَّوْدِ الْعَظِيمِ

 

ดังนั้น เราได้ดลใจมูซาว่า จงใช้ไม้เท้าของเจ้าฟาดลงทะเลเถิด แล้วมันก็ได้แยกออก แต่ละข้างประหนึ่งภูเขาที่ใหญ่โต” (บทชุอะรออ์/๖๓)

 

เรื่องราวเกี่ยวกับท่านศาสดาอีซา (อ.) เช่นกัน จะเห็นว่าท่านได้สร้างปาฏิหาริย์ไว้มากมาย เช่นได้สร้างนกจากโคลน แล้วได้เป่าวิญญาณไปในร่างนกและนกนั้นได้มีชีวิตโดยอนุมัติของอัลลอฮ์ ( (ซบ.) นอกจากนั้นแล้ว ท่านได้เอามือลูบไปที่ดวงตาที่บอดสนิทของคนๆ หนึ่งและลูบไปบนคนที่ป่วยด้วยโรคเรื้อน แล้วทั้งสองก็ได้รับชะฟาอ์ ท่านได้ทำให้คนตายฟื้นคืนชีพและได้แจ้งข่าวที่เศร้าสลดภายในบ้านให้รับรู้ อัล-กุรอานกล่าวถึงเรื่องราวเหล่านี้ว่า

 

وَرَسُولاً إِلَى بَنِي إِسْرَائِيلَ أَنِّي قَدْ جِئْتُكُم بِآيَةٍ مِّن رَّبِّكُمْ أَنِّي أَخْلُقُ لَكُم مِّنَ الطِّينِ كَهَيْئَةِ الطَّيْرِ فَأَنفُخُ فِيهِ فَيَكُونُ طَيْرًا بِإِذْنِ اللّهِ وَأُبْرِىءُ الأكْمَهَ والأَبْرَصَ وَأُحْيِي الْمَوْتَى بِإِذْنِ اللّهِ وَأُنَبِّئُكُم بِمَا تَأْكُلُونَ وَمَا تَدَّخِرُونَ فِي بُيُوتِكُمْ إِنَّ فِي ذَلِكَ لَآيَةً لَّكُمْ إِن كُنتُم مُّؤْمِنِينَ

 

“และพระองค์จะทรงสอนเขา ซึ่งคัมภีร์ และวิทยปัญญา และเตารอต และอินญีล และเป็นศาสนทูตแก่วงศ์วานของอิสรออีล (เขาจะกล่าวว่า) แท้จริงฉันได้มายังพวกท่านด้วยสัญญาณหนึ่งจากพระผู้อภิบาลของพวกท่าน โดยที่ฉันจำลองขึ้นจากดินดั่งรูปนกสำหรับพวกท่าน แล้วฉันได้เป่าเข้าไปในมัน แล้วมันกลายเป็นนก โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ และฉันรักษาคนตาบอดแต่กำเนิด และคนโรคเรื้อน และให้ชีวิตแก่คนตาย โดยอนุมัติของอัลลอฮ์ (ซ.บ) และฉันแจ้งแก่พวกท่านถึงสิ่งที่พวกท่านบริโภค และสิ่งที่พวกท่านสะสมในบ้านของพวกท่าน แท้จริงในนั้นมีสัญญาณสำหรับสูเจ้า ถ้าสูเจ้าเป็นผู้ศรัทธา” (อาลิอิมรอน/๔๘-๔๙)

 

4. มีเป้าหมายต่างกัน โดยปรกติผู้ที่นำมุอ์ญิซะฮ์และกะรอมัตมา จะมีความแตกต่างกับผู้ที่แสดงมายากล ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายหรือผลที่เกิดกับจิตวิญญาณก็ตาม จะเห็นว่ากลุ่มแรกมีเป้าหมายที่สูงส่ง (เพื่อการชี้นำประชาชาติ) แต่สำหรับกลุ่มที่สองมีเป้าหมายอยู่ที่ผลประโยชน์ อำนาจบารมี และเพื่อวัตถุปัจจัยทางโลกเท่านั้น และแน่นอนจิตวิญญาณของสองกลุ่มย่อมแตกต่างกันไปด้วย

 


ขอขอบคุณเว็บไซต์อัชชีอะฮ์

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

จริยธรรม : รูห์ (วิญญาณ) ของศาสนา
มุอ์ญิซะฮ์ (ปาฏิหาริย์) ...
ยะกีนมีกี่ระดับ?
สุภาษิตจากอิมามฮะซัน ...
ความกตัญญูต่อบิดามารดา
ชีวประวัติของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...
สุภาษิตจากอิมามฮะซัน ...
ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ...
กุรอานกับบิ๊กแบง
รู้จัก “วีรชนแห่งกัรบะลาอฺ” ...

 
user comment