قیلَ لَهُ(علیه السلام) مَا الزُّهْدُ؟ قالَ: أَلرَّغْبَةُ فِى التَّقْوى وَ الزَّهادَةُ فِى الدُّنْیا.
(تحف العقول، ص 227)
1.มีผู้ถามอิมามว่า ซุฮ์ด์ หมายถึงอะไร ท่านอิมามตอบว่า คือความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่มีต่อความยำเกรง และปล่อยวางความปรารถนาที่มีต่อโลก (ตุฮัฟฟุลอุกูล หน้า 227)
قیل له علیه السلام: فما المروة؟ قال علیه السلام: حفظ الدین، و اعزازالنفس، ولین الکنف،
و تعهد الصنیعة، و اداء الحقوق،والتحبب الی الناس.
(تحف العقول، ص 227)
2.มีผู้ถามอิมามว่า มุรูวะฮ์ หมายถึงอะไร ท่านอิมามตอบว่า หมายถึง การระวังรักษาและการปกป้องศาสนา การยกระดับจิตใจ ความอ่อนโยน ความดี การคืนสิทธิของบุคคลอื่น การแสดงความเป็นมิตรภาพกับประชาชน (ตุฮัฟฟุลอุกูล หน้า 227)
قیل له علیه السلام: فما الکرم؟ قال علیه السلام: الابتداء بالعطیة قبل المسئلة و اطعام الطعام فی المحل.
(تحف العقول، ص 227)
3. มีผู้ถามอิมามว่า การมีเกียรติ หมายถึงอะไร ท่านอิมามตอบว่า หมายถึง การเริ่มต้นด้วยกับการให้ก่อนการขอ และการให้อาหารในเวลายากลำบาก (ตุฮัฟฟุลอุกูล หน้า 227)
سُئِلَ(علیه السلام): عَنِ الْبُخْلِ؟ فَقالَ: هُوَ أنْ یَرىَ الرَّجُلُ ما أنْفَقَهُ تَلَفاً، وَما أمْسَكَهُ شَرَفاً
(تحف العقول، ص234)
4. มีผู้ถามอิมามว่า ตระหนี่ หมายถึงอะไร ท่านอิมามตอบว่า หมายถึง ผู้ที่คิดว่าสิ่งที่เขาใช้จ่ายไปจะสูญเปล่า และสิ่งที่มีอยู่กับเขานั้นมีค่า
(ตุฮัฟฟุลอุกูล หน้า 234)
قیل له - علیه السلام - ما الغنی ؟ قال : رضی النفس بما قسم لها وإن قل
(تحف العقول ، ص 228)
5. มีผู้ถามอิมามว่า ความไม่ต้องการ หมายถึงอะไร กล่าวว่า หมายถึง พึงพอใจกับสิ่งที่ตนมีอยู่ แม้ว่าจะน้อยก็ตาม (ตุฮัฟฟุลอุกูล หน้า 228)
قیل له - علیه السلام - ما الفقر ؟ قال : شره النفس الی کل شیء
تحف العقول ، ص228 ))
6. มีผู้ถามอิมามว่า ความขัดสน หมายถึงอะไร ท่านอิมามตอบว่า หมายถึง ความปรารถนา และความลุ่มหลงในทุกสิ่ง (ตุฮัฟฟุลอุกูล หน้า 228)
قیل له - علیه السلام - ما الشرف ؟ قال : موافقة الاخوان وحفظ الجیران
تحف العقول ، ص 228))
7. มีผู้ถามอิมามว่า ความประเสริฐ หมายถึงอะไร ท่านอิมามตอบว่า หมายถึง การเห็นด้วยกับเพื่อนฝูง และการรักษาน้ำใจเพื่อนบ้าน (ตุฮัฟฟุลอุกูล หน้า 228)
قیل له - علیه السلام - ما اللؤم ؟ قال : احراز المرء نفسه واسلامه عرسه
تحف العقول ، ص 228))
8. มีผู้ถามอิมามว่า ต่ำทราม หมายถึงอะไร ท่านอิมามตอบว่า หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม การมองอย่างมีเลศในการไปถึงตนเอง และการไม่สนใจภรรยา (ตุฮัฟฟุลอุกูล หน้า 227)
اعلموا ان الله لم یخلقکم عبثا ولیس بتارککم سدی، کتب آجالکم و قسم بینکم معائشکم
لیعرف کل ذی لب منزلته و ان ما قدر له و ما صرف عنه فلن یصیبه.
(تحف العقول، ص 234)
9. จงรู้ไว้เถิดว่าพระเจ้ามิทรงสร้างเจ้ามาอย่างไร้สาระ และมิเคยปล่อยให้เจ้าอยู่อย่างโดดเดี่ยว ทรงกำหนดอายุขัยแน่นอนสำหรับเจ้า ทรงจัดสรรเครื่องยังชีพแก่สูเจ้า เพื่อว่าผู้มีสติปัญญาจะได้รู้จักคุณค่าของตนเอง และจะได้เข้าใจว่าทุกสิ่งที่ถูกกำหนดสำหรับตน ต้องมาถึงตนแน่นอน แต่ถ้าสิ่งใดไม่ได้ถูกกำหนดสำหรับตน สิ่งนั้นย่อมไม่มาถึง (ตุฮัฟฟุลอุกูล หน้า 234)
ما تشاور قوم الا هدوا الی رشدهم
تحف العقول ، ص236 ))
10. ไม่มีปวงบ่าวคนใดที่จะไม่ปรึกษาหารือ เว้นเสียแต่ว่าได้รับการชี้นำที่ถูกต้อง
(ตุฮัฟฟุลอุกูล หน้า 236)
قیل: فَمَا الْحِلْمُ؟ قالَ كَظْمُ الْغَیظِ وَ مَلْكُ النَّفْسِ
(تحف العقول ، ص227 )
11. มีผู้ถามอิมามว่า ความอดทนหมายถึงอะไร กล่าวว่า หมายถึง การกลืนกินความโกรธกริ้ว และการควบคุมอารมณ์ใฝ่ต่ำ
(ตุฮัฟฟุลอุกูล หน้า 227)
قیلَ مَا السَّدادُ؟ قالَ: دَفْعُ الْمُنْكَرِ بِالْمَعْرُوفِ
تحف العقول ، ص227 ))
12. มีผู้ถามว่า ความถูกต้องหมายถึงอะไร กล่าวว่า หมายถึง การขจัดสิ่งไม่ดีด้วยกับความดีงาม (ตุฮัฟฟุลอุกูล หน้า 227)
ان الله جعل شهر رمضان مضمارا لخلقه ، فیستبقون فیه بطاعته الی مرضاته
تحف العقول ، ص 239
13. พระเจ้าทรงกำหนดเดือนรอมฎอน ให้เป็นสนามแข่งขันแก่ปวงบ่าว เพื่อว่าจะได้แข่งขันไปยังความพึงพอใจของพระองค์ ด้วยการแสดงความเคารพภักดี (ตุฮัฟฟุลอุกูล หน้า 239)