เทววิทยาอิสลาม บทที่ 5
คำนิยามและเนื้อหาของเทววิทยาอิสลาม
เทววิทยาอิสลาม คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับหลักศรัทธาพื้นฐานของศาสนาอิสลาม
สืบค้น พิสูจน์ ยืนยัน หลักฐานถึงหลักความเชื่อของศาสนาอิสลาม
จำแนกหลักความเชื่อพื้นฐานของศาสนาเป็นอย่างไร
มีอะไรบ้างที่มุสลิมต้องเชื่อต้องศรัทธา อีกทั้งยังพิสูจน์ด้วยเหตุผลอีกด้วย
โดยจำแนกว่า ควรจะนำหลักฐานประเภทใดมาอ้างอิงและพิสูจน์
และโต้ตอบข้อขัดแย้งและตอบคำถามข้อข้องใจทั้งหลายที่เป็นปัญหาทางความเชื่อ
ตรรกวิทยาและปรัชญาได้นำเนื้อหาหนึ่ง มาพูดคุยและแจกแจงไว้ในตำราทั้งสองว่าด้วยเรื่องหนึ่งคือ
ทุกวิชาและทุกศาสตร์นั้น จะต้องมีเนื้อหาที่เฉพาะและมีความเป็นอัตลักษณ์ของศาสตร์นั้น
และในตำราตรรกศาสตร์ยังได้กล่าว อีกว่า ความแตกต่างของแต่ศาสตร์หรือแต่ละสาขาวิชา ขึ้นอยู่กับความแตกต่างๆของเนื้อหา หรือขึ้นอยู่กับเนื้อหาของศาสตร์นั้นๆ และนี่คือทฤษฏีทางปรัชญาและตรรกวิทยา
เมื่อพิจารณาดูทฤษฎีดังกล่าว ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงและหลักการที่ถูกต้อง เพราะว่าศาสตร์ใดที่เนื้อหามีความเป็นเอกานุภาพ ก็จะมีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองมายิ่งขึ้น
แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไร หากว่ามีบางศาสตร์จะถูกกำหนดให้มีความเป็นเอกานุภาพทางเนื้อหาขึ้นมา
หรือให้มีเนื้อหา ที่หลากหลายมีความเป็นสหวิทยาและแตกต่างกันแต่มีเป้าหมายร่วมกันที่จะเป็น จุดกำหนดให้เกิดความเป็นเอกานุภาพของศาสตร์นั้น
เทววิทยาอิสลามนับเป็นศาสตร์ประเภทที่สอง หมายความว่า เป็นศาสตร์ที่ไม่มีความเป็นเอกานุภาพทางด้านเนื้อหา
ฉะนั้น ศาสตร์นี้จึงไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่กับเนื้อหาเดียว และเทววิทยามีเนื้อหาเป็นสหวิทยา(ความรู้ที่รวมเอาหลายสาขาวิชามาประกอบกัน)
ศาสตร์สาขาต่างๆที่มีความเป็น เอกานุภาพทางด้านเนื้อหาอย่างแท้จริงในแง่มุมของประเด็นปัญหาเป็นไปไม่ได้ ที่จะข้ามขอบเขตของกันและกันนั้น เรียกว่าวิทยาการแท้หรือศาสตร์บริสุทธิ์ คือปัญหาของแต่ละศาสตร์ต้องไม่มาเป็นปัญหาร่วมกัน
แต่ถ้ามีบางศาสตร์ซึ่งมีความเป็น เอกานุภาพทางเนื้อหาในลักษณะที่ถูกกำหนดขึ้นมาไม่ได้อยู่ในกฎเกณท์ เรียกศาสตร์นั้นว่าเป็นศาสตร์ประยุกต์
ดังนั้นสาเหตุนี้เอง ที่ประเด็นปัญหาทางปรัชญาและเทววิทยาอิสลามจึงมีหลายปัญหาที่ใช้ร่วมกันอยู่
หรือประเด็นปัญหาของวิชาจิตวิทยากับเทววิทยาอิสลาม หรือประเด็นปัญหาบางปัญหาของวิชาสังคมศาสตร์กับเทววิทยาอิสลาม
นักวิชาการอิสลามบางท่านได้นำเสนอทัศนะเกี่ยวกับเนื้อหาและการให้คำนิยามสำหรับเทววิทยาเหมือนที่วิชาปรัชญามีเนื้อหาและคำนิยาม
กล่าวคือกล่าวว่า ปรัชญาและเทววิทยาเป็นศาสตร์เดียวกัน ทัศนะดังกล่าวนั้นถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะเนื้อหาที่เฉพาะของแต่ละศาสตร์และความเป็นอัตลักษณ์ของแต่ละศาสตร์ยัง มีอยู่
ซึ่งศาสตร์ปรัชญาก็มีอัตลักษณ์ ส่วนศาสตร์ด้านเทววิทยาก็มีอัตลักษณ์ของตัวมันเอง
เพียงแต่มีการเกื้อกูลกันและกันนั้น ไม่ใช่บ่งบอกว่าเป็นศาสตร์เดียวกัน
บทความโดย เชคญะวาด สว่างวรรณ