ไทยแลนด์
Wednesday 13th of November 2024
0
نفر 0

อาชญากรรมยะซีด บุตรมุอาวียะฮ์ในนครมะดีนะฮ์ ตอนที่ 1

อาชญากรรมยะซีด บุตรมุอาวียะฮ์ในนครมะดีนะฮ์ ตอนที่ 1

อาชญากรรมยะซีด บุตรมุอาวียะฮ์ในนครมะดีนะฮ์ ตอนที่ 1    


การที่ประชาชนจำนวนมากได้ให้การบัยอัต (สัตยาบัน) ต่ออับดุลลอฮ์ อิบนิซุบัยร์ ซึ่งในช่วงเวลานั้นเขาพำนักอยู่ในนครมักกะฮ์ และกล่าวอ้างตนเป็นค่อลีฟะฮ์ (ผู้ปกครอง) ของอิสลาม


 บะลาซุรี เขียนว่า : เมื่ออับดุลลอฮ์ อิบนิซุบัยร์ ได้สังหารอัมร์ อิบนิซุบัยร์ ผู้เป็นน้องชายของตน และเรียกร้องประชาชนให้ยกเลิกการบัยอัต (สัตยาบัน) และกระด้างกระเดื่องต่อยะซีด และทำการญิฮาด (ต่อสู้) เขาได้เรียกร้องประชาชนชาวมะดีนะฮ์ในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน และจากผลดังกล่าวนี้เองชาวฮิญาซจึงให้การเชื่อฟังต่อเขาด้วย


อับดุลลอฮ์ บินมุเฏี๊ยะอ์ เป็นตัวแทนของอับดุลลอฮ์ อิบนิซุบัยร์ในการเอาบัยอัต (สัตยาบัน) จากประชาชนชาวมะดีนะฮ์ให้แก่เขา ยะซีดได้รับรู้ข่าวดังกล่าวจึงออกคำสั่งให้ผู้ครองหัวเมือง (มะดีนะฮ์) ของตนส่งบรรดาแกนนำชาวมะดีนะฮ์กลุ่มหนึ่งไปยังเขาเพื่อที่จะเอาใจพวกเขา (2)


ในริวายะฮ์ (คำรายงาน) นี้ ประเด็นหลักก็คือ ชาวมะดีนะฮ์เนื่องจากการบัยอัต (ให้สัตยาบัน) ต่ออับดุลลอฮ์ อิบนิซุบัยร์ พวกเขาจึงลุกขึ้นต่อต้านยะซีด ประจักษ์พยานในเรื่องนี้ก็คือว่า ภายหลังจากเหตุการณ์ "ฮัรเราะฮ์" อิบนิซุบัยร์ได้กล่าวกับบรรดาสหายของตนว่า "มิตรสหายของพวกท่านได้ถูกสังหารในเหตุการณ์ครั้งนี้" (3) เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า ภายหลังการเริ่มต้นของการก่อจลาจล ประชาชนชาวมะดีนะฮ์ได้ถอดถอนการบัยอัต (สัตยาบัน) จากยะซีดนั้น และให้การบัยอัต (สัตยาบัน) ต่ออิบนิซุบัยร์นั้น อบุลฟะรัจญ์ อัลอิศฟะฮานี ก็ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้เช่นกัน (4)


 เมื่ออุษมาน บินมุฮัมมัด ได้เป็นผู้ปกครองหัวเมือง (วาลีย์) มะดีนะฮ์ เจ้าหน้าที่คนหนึ่งของยะซีด บินมุอาวิยะฮ์ได้มายังมะดีนะฮ์ เพื่อที่จะนำทรัพย์สินต่างๆ ที่มีค่าจากบัยตุ้ลมาลกลับไปให้ยะซีด แต่ประชาชนกลุ่มหนึ่งไม่พอใจและถือว่าทรัพย์สินเหล่านี้เป็นสิทธิ์ของตน พวกเขาจึงทำการยับยั้ง และสิ่งนี้เองที่เป็นสาเหตุของการก่อจลาจลของประชาชนชาวมะดีนะฮ์และการขับไล่บนีอุมัยยะฮ์ออกจากเมืองนี้ (5)


   
 แกนนำชาวมะดีนะฮ์กลุ่มหนึ่ง ภายใต้การนำของอับดุลลอฮ์ บินฮันซอละฮ์ ได้เดินทางไปยังเมืองชามและได้เข้าพบกับยะซีด ภายหลังจากการเดินทางกลับ พวกเขาได้กล่าวประณามยะซีดและได้อธิบายถึงพฤติกรรมที่ชั่วช้าสามาลย์ของยะซีดให้ประชาชนชาวมะดีนะฮ์ได้รับรู้ โดยกล่าวว่า

 

لیس له دین، یشرب الخمر، یغرف بالطنابیر و یضرب عنده القیان و یلعب بالکلاب

“ยะซีดเป็นคนไม่มีศาสนา ดื่มสุราเมรัย หมกมุ่นอยู่กับการร้องรำทำเพลง บรรดาข้าทาสบริวารจะขับกล่อมร้องป่าวต่อหน้าเขา และเขานั้นเล่นกับสุนัข”

 

       
ด้วยเหตุนี้ ประชาชนชาวมะดีนะฮ์จึงกล่าวว่า เราไม่สามารถที่จะเชื่อฟังเขาและยอมรับอำนาจการปกครองของเขาได้อีกต่อไป ดังนั้นพวกเขาจึงก่อการกบฏ (6) ดูเหมือนว่าทั้งสามประเด็นข้างต้นนี้มีส่วนสำคัญด้วยกันทั้งสิ้นที่ทำให้ประชาชนชาวมะดีนะฮ์ก่อการจลาจลและลุกขึ้นต่อต้านอำนาจการปกครองของยะซีด

 

       
อย่างไรก็ตาม ผู้นำในการก่อกบฏในมะดีนะฮ์ (จากสาเหตุประการที่สาม) นั่นคือ "อับดุลลอฮ์ บินฮันซอละฮ์" บุตรชายของชะฮีดผู้เรืองนามของอิสลาม คือ "ฮันซอละฮ์ ฆอซีลุลมะลาอิกะฮ์" (ผู้ที่ได้รับการฆุซุลโดยมะลาอิกะฮ์) บิดาของเขานั้น เพียงวันเดียวหลังจากการแต่งงานก็ได้เป็นชะฮีด (เสียชีวิต) ลงในสงครามอุฮุด และได้รับฉายานามจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ว่า "ฮันซอละฮ์ ฆอซีลุลมะลาอิกะฮ์" (ผู้ได้รับการทำฆุซุลโดยมะลาอิกะฮ์) เขามีบุตรชายกับภรรยาผู้เป็นหม้ายหลังการแต่งงานเพียงวันเดียว ซึ่งมีนามว่า "อับดุลลอฮ์ บินฮันซอละฮ์" มารดาของเขาได้อบรมเลี้ยงดูเขาเป็นอย่างดี จนกระทั่งเติบใหญ่และกลายเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญและมีชื่อเสียงคนหนึ่งของนคร “มะดีนะตุ้ลมุเนาวะเราะฮ์”

       
บรรดาผู้ก่อจลาจลและทำการกบฏได้ปิดล้อมบนีอุมัยยะฮ์ บรรดามิตรสหายและข้าทาสบริวารของบนีอุมัยยะฮ์ไว้ในบ้านของมัรวาน บินฮะกัม ซึ่งมีประมาณหนึ่งพันคน (7) และต่อจากนั้นได้ทำการขับไล่พวกเขาออกจากเมืองอย่างน่าอัปยศอดสูและน่าสะพรึงกลัว ในสภาพที่เด็กๆ เองก็ได้ขว้างปาพวกเขาด้วยก้อนหิน (8) พวกเขาได้วางเงื่อนไขกับพวกที่ถูกขับไล่ออกจากเมืองเหล่านี้ว่า ถ้าหากคนเหล่านี้ให้คำสาบานว่าจะไม่ย้อนกลับมาอีกพร้อมกับกองทัพของเมืองชามแล้ว พวกเขาจะยอมปล่อยให้คนเหล่านี้ออกไปจากเมือง พวกเขาก็ยอมทำตาม แต่ทว่าพวกที่ชั่วร้ายอย่างเช่น มัรวาน บินฮะกัม (9) และคนอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งที่ผิดคำสาบานและละเมิดคำมั่นสัญญาของตน

       
อัลวากิดีย์ เชื่อว่าการขับไล่ครั้งนี้เกิดขึ้นโดยฝีมือของอับดุลลอฮ์ อิบนุซุบัยร์ และเขาได้เขียนว่า : ผู้ที่ถูกขับไล่ทั้งหมด ทั้งจากนครมักกะฮ์ นครมะดีนะฮ์และจากพื้นที่อื่นๆ รวมทั้งสิ้นมีประมาณสี่พันคน (10) แต่อิบนุอะอ์ซัม ได้เขียนว่า ผู้นำการก่อกบฏในนครมะดีนะฮ์ครั้งนี้คือ อับดุลลอฮ์ บุตรชายของอันซอละฮ์ ฆอซีลุลมะลาอิกะฮ์ ซึ่งถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้ครองหัวเมือง (วาลีย์) มะดีนะฮ์ โดยอับดุลลอฮ์ อิบนุซุบัยร์ (11)

 

แหล่งอ้างอิง:


(1) อัลอิมามะฮ์ วัซซิยาซะฮ์, เล่มที่ 1, หน้าที่ 220 ; ตารีค อัฏฏอบะรี, เล่มที่ 4, หน้าที่ 374-380 ; อันซาบุลอัชร๊อฟ, เล่มที่ 4, หน้าที่ 41
(2) อันซาบุลอัชร๊อฟ, เล่มที่ 4, หน้าที่ 31
(3) มุคตะศ็อร ตารีค ดิมิชก์, เล่มที่ 3, หน้าที่ 156
(4) อัลอะฆอนี, เล่มที่ 1, หน้าที่ 21–24
(5) ตารีคยะอ์กูบี, เล่มที่ 2, หน้าที่ 250 ; อัลอิมามะฮ์วัซซิยาซะฮ์, เล่มที่ 1, หน้าที่ 206
(6) ตารีค อัฏฏอบะรี, เล่มที่ 4, หน้าที่ 368 ; อันซาบุลอัชร๊อฟ, เล่มที่ 4, หน้าที่ 31
(7) ตารีค อัฏฏอบะรี, เล่มที่ 4, หน้าที่ 370 ; อันซาบุลอัชร๊อฟ, เล่มที่ 4, หน้าที่ 32
(8) อัลอิมามะฮ์ วัซซิยาซะฮ์, เล่มที่ 1, หน้าที่ 208
(9) อัลอิมามะฮ์ วัซซิยาซะฮ์, เล่มที่ 1, หน้าที่ 210
(10) อันซาบุลอัชร๊อฟ, เล่มที่ 4, หน้าที่ 37–38
(11) อัลฟุตูห์, เล่มที่ 5, หน้าที่ 292–293

แปล/เรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนะอีม ประดับญาติ

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

อาชญากรรมยะซีด ...
อิคลาศ คืออะไร?
อัคบารีย์ คือใคร ตอนที่ 6
เยเมนก้าวสู่วิกฤตด้านมนุษยธรรม
โลกทัศน์ในมุมมองของศาสนาอิสลาม
“การอดทนต่อความยากจน”
...
คำตอบจากท่านศาสดา
ซากีนะฮ์(อ.) ...
อรรถาธิบายซูเราะฮ์ อัลฆอชิยะฮ์

 
user comment