ไทยแลนด์
Saturday 23rd of November 2024
0
نفر 0

อัคบารีย์ คือใคร ตอนที่ 6

อัคบารีย์ คือใคร ตอนที่ 6



อัคบารีย์ คือใคร ตอนที่ 6


โดย เชคอับดุลญะวาด สว่างวรรณ

 

วิจารณ์กลุ่มอัคบารีย์


1.เชคกุลัยนีย์ มรณะ ฮ.ศ.329 ได้ระบุสถานะฮะดีษนี้ไว้ในหมวด นะวาดิร เอกพจน์ของมันคือ นาดิร หมายถึงฮะดีษช๊าษ ซึ่งฮะดีษช๊าษคือฮะดีษ “ดออีฟ” ซึ่งเชื่อถือไม่ได้


2.ฮะดีษบทนี้ขัดกับฮะดีษมุตะวาติร ที่ท่านอาลี(อ)รายงานว่า อัลกุรอ่านมีจำนวน6,236 โองการเท่านั้น และจำนวน 6,236 โองการนี้คือมติของอุละมาอ์อีกด้วย


3.ต้องทำความเข้าใจด้วยว่า คำวิจารณ์สถานะฮะดีษบทหนึ่งว่าเชื่อได้ของนักปราชญ์คนหนึ่งในอดีตมันคือหลักฐานสำหรับตัวเขาเอง แต่มันมิได้เป็นหลักฐานสำหรับนักปราชญ์คนอื่น เพราะนักปราชญ์ระดับมุจญ์ตะฮิดแต่ละคน จะมีเงื่อนไขต่างๆที่นำมาเป็นเกณฑ์เป็นหลักฐานในการยอมรับที่แตกต่างกันไป ฮะดีษบทหนึ่งอาจมีสถานะเชื่อได้ตามทัศนะของเชคศอดูก แต่มันอาจไม่ถูกยอมรับในทัศนะของนักปราชญ์ยุคหลังเชคศอดูกก็ได้


นักปราชญ์ฮะดีษฝ่ายซุนนะฮ์ก็มีเงื่อนไขในการยอมรับฮะดีษที่แตกต่างกันเช่นนี้ เช่น


อัลบัซซาร มรณะ ฮ.ศ. 292 บันทึก ท่านอิบนุอับบาสรายงาน ท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า


إن لله ملائكة في الأرض سوى الحفظة يكتبون ما يسقط من ورق الشجر فإذا أصاب أحدكم عرجة بأرض فلاة فليناد : أعينوا عباد الله
 

แท้จริงสำหรับอัลลอฮ์ ทรงมีมลาอิกะฮ์ในแผ่นดิน อื่นจากมลาอิกะฮ์ที่คอยเฝ้าดูแล พวกเขาทำหน้าที่คอยบันทึกสิ่งที่ร่วงหล่นจากใบไม้ ดังนั้นเมื่อคนหนึ่งคนใดของพวกท่านประสบกับความพิการ ณ.แผ่นดินหนึ่ง ให้เขาจงร้องเรียก(ขอความช่วยเหลือว่า) พวกท่านโปรดช่วยฉันด้วย โอ้ปวงบ่าวของอัลลอฮ์


อิบนุฮะญัร อัลฮัยตะมีย์ มรณะ ฮ.ศ. 973 วิจารณ์ว่า นักรายงานฮะดีษนี้ทุกคนเชื่อได้


ดูมัจญ์มะอุซซะวาอิด เล่ม 10 : 188 ฮะดีษที่ 17104


ส่วนเชคอัลบานีย์ มรณะ ฮ.ศ. 1420 วิจารณ์ว่า ฮะดีษนี้ ดออีฟ เชื่อไม่ได้


ดูอัซ-ซิลซิละฮ์ อัฏ-เฏาะอีฟะฮ์ เล่ม 2 : 109 ฮะดีษที่ 656

 

บทสรุป


ในอดีต


เฮาซะฮ์เมืองกุม อิหร่าน คือศูนย์กลางของกลุ่มอัคบารีย์


ส่วนเฮาซะฮ์ที่นะญัฟ อิรัก คือศูนย์กลางของกลุ่มอุซูลีย์


ปัจจุบัน


เฮาซะฮ์ในอิรัก กลับกลายเป็นศูนย์กลางของแนวคิดอัคบารีย์


ส่วนเฮาซะฮ์เมืองกุม กลับกลายเป็นศูนย์กลางของแนวคิดอุซูลีย์


แนวคิดอัคบารีย์ ที่มีต่อฮะดีษใน ”กุตุบอัรบะอะฮ์” ว่าเชื่อได้หมด ไม่ต้องตรวจสอบสายรายงานฮะดีษ จึงกลายเป็นความเจ็บปวดของโลกชีอะฮ์จนถึงทุกวันนี้
เพราะผู้มีอคติต่อชีอะฮ์ มักหยิบยกฮะดีษชีอะฮ์ในกุตุบอัรบะอะฮ์หรือตำราที่พวกอัคบารีย์เขียนมาประณามโจมตีชีอะฮ์ แถมบีบชีอะฮ์ให้ยอมรับว่า ต้องเชื่อแบบนั้นและเอาผิดกับเขา โดยฝ่ายอคติมักอ้างว่า แม้แต่นักปราชญ์ชีอะฮ์คนนั้นคนนี้ยังยอมรับว่าฮะดีษนั้นนี้เชื่อได้


ซึ่งความจริงนักปราชญ์ชีอะฮ์ที่ถูกยกมาอ้างคือ นักปราชญ์สายอัคบารีย์ ซึ่งต่างจากนักปราชญ์ชีอะฮ์ฝ่ายอุซูลีย์ที่มีมาตรการในการรับฮะดีษด้วยการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้เล่าผู้รายงานเป็นหลัก


ทัศนะเรื่องฮะดีษของพวกอัคบารีย์แบบฆูล๊าตได้ส่งผลเสียหายต่ออะกีดะฮ์ชีอะฮ์หลายเรื่องอาทิเช่น เรื่องความสมบูรณ์ของคัมภีร์กุรอ่าน เนื่องจากมีรายงานฮะดีษของพวกฆูล๊าตที่มีเนื้อหาแทะเล็มคัมภีร์กุรอ่านในทำนองมีเพิ่มมีตัดทอน ซึ่งพวกอัคบารีย์ก็เชื่อและนำฮะดีษเหล่านั้นมาอ้างอิงไว้ตำราของพวกเขา


การตรวจสอบสถานะฮะดีษในตำราชีอะฮ์ไม่ใช่วิวัฒนาการใหม่ที่ชีอะฮ์อุปโลกน์ขึ้น


เพราะสถานะของนักรายงานฮะดีษชีอะฮ์ได้ถูกวิจารณ์ไว้ในตำราริญาลชีอะฮ์ตั้งแต่ยุคสามร้อยปีแรก เช่น


อัลกัชชีย์ เจ้าของหนังสือริญาลอัลกัชชีย์ มรณะฮ.ศ. 340
อัลนะญาชีย์ เจ้าของหนังสือริญาลนะญาชีย์ มรณะฮ.ศ. 450
อัตตูซีย์ เจ้าของหนังสือริญาลอัตตูซีย์ มรณะฮ.ศ. 460


เราสามารถกล่าวได้ว่า


รายชื่อของนักรายงานฮะดีษชีอะฮ์ใน กุตุบ อัรบะอะฮ์ ล้วนถูกตำราริญาลดังกล่าววิจารณ์ถึงความน่าเชื่อถือของพวกเขาเอาไว้แทบทั้งหมดทุกคน


อย่างไรก็ตามคำอธิบายทางวิชาการนี้ ผู้มีอคติจะไม่มีวันยอมรับฟังได้เลย เพราะถ้าหากพวกเขายอมรับฟังสิ่งเหล่านี้ด้วยใจเป็นธรรม นั่นหมายความว่า ความเชื่อหลายประการที่พวกอคติหยิบมาจากตำราของพวกอัคบารีย์ก็จะหมดสภาพไปโดยปริยายนั่นเอง แล้วทีนี้พวกอคติจะไม่เหลืออะไรให้นำมาตำหนิชีอะฮ์ นอกจากเรื่องฮะดีษดออีฟ เท่านั้น

 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
...
ฆอดีรคุม ...
ชีวิตคู่ในอิสลาม
...
ฟะดักในประวัติศาสตร์อิสลาม
...
วันสำคัญในเดือนรอบีอุลเอาวัล
อรรถาธิบายซูเราะฮ์ อัลฆอชิยะฮ์
ท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...

 
user comment