๔๐ หะดีษจากท่านศาสดามุฮัมมัด ตอนที่สอง
๕. หลักเกณฑ์ในการตอบรับการกระทำ
لا يُقْبَلُ قَوْلٌ إِلاّ بِعَمَل وَ لا يُقْبَلُ قَوْلٌ وَ لا عَمَلٌ إِلاّ بِنِيَّة وَ لا يُقْبَلُ قَوْلٌ وَ لا عَمَلٌ وَ لا نِيَّةٌ إِلاّ بِإِصابَةِ السُّنَّةِ
อัลลอฮฺไม่ทรงตอบรับคำพูดใดนอกจากต้องมีการปฏิบัติ ไม่ทรงตอบรับคำพูดและการปฏิบัติใดนอกจากต้องมีเจตนาบริสุทธิ์ และไม่ทรงตอบรับคำพูด การปฏิบัติพร้อมเจตนาที่บริสุทธิ์ใดๆ นอกจากต้องถูกต้องตรงกับแบบฉบับของฉัน
๖. คุณลักษณะชาวสวรรค์
أَلا أُخْبِرُكُمْ بِمَنْ تَحْرُمُ عَلَيْهِ النّارُ غَدًا؟ قيلَ بَلى يا رَسُولَ اللّهِ.
فَقالَ: أَلْهَيِّنُ الْقَريبُ اللَّيِّنُ السَّهْلُ
พวกท่านปรารถนาให้ฉันแนะนำบุคคลที่ไฟนรกเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับพวกเขาไหม มาตรว่าวันพรุ่งนี้เป็นวันสิ้นโลก ได้พูดว่า พวกเราปรารถนาแน่นอนโอ้ศาสดาแห่งอัลลอฮฺ ท่านได้กล่าวว่า ได้แก่คนที่มีความหนักแน่น และมีความเมตตากรุณา
๗. สัญลักษณ์ของผู้กดขี่
عَلامَةُ الظّالِم أَرْبَعَةٌ: يَظْلِمُ مَنْ فَوْقَهُ بِالْمَعْصِيَةِ، وَ يَمْلِكُ مَنْ دُونَهُ بِالْغَلَبَةِ، وَ يُبْغِضُ الْحَقَّ وَ يُظْهِرُ الظُّلْمَ
สัญลักษณ์ของผู้กดขี่นั้น มีด้วยกันสี่ประการได้แก่..
(๑) ทำการกดขี่ผู้ที่ตนเองอยู่เหนือเขาด้วยการทำความผิดบาป
(๒) ทำการกดขี่ผู้ที่อยู่ใต้บังคบบัญชาด้วยการออกคำสั่ง
(๓) เป็นปรปักษ์กับสัจธรรมความจริง
(๔) เปิดเผยความอธรรม
๘. สาขาของความรู้ศาสนา
إِنَّمَا الْعِلْمُ ثَلاثَةٌ: آيَةٌ مُحْكَمَةٌ أَوْ فَريضَةٌ عادِلَةٌ أَوْ سُنَّةٌ قائِمَةٌ وَ ما خَلاهُنَّ فَهُوَ فَضْلٌ
แท้จริงความรู้ วิชาการนั้น มีด้วยกันสามประการ ถ้าสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากนี้ถือว่าเป็นความประเสริฐ ได้แก่
(๑) อายะฮฺมุหฺกะมะฮฺ (โองการที่ชัดเจนอันหมายถึง ความรู้เกี่ยวกับหลักความศรัทธา)
(๒) ฟะรีเฎาะฮฺ อาดิละฮฺ (จุดประสงค์คือความรู้ด้านจริยศาสตร์)
(๓) ซุนนะฮฺ กออิมมะฮฺ (จุดประสงค์คือความรู้ด้านอหฺกามกฎเกณฑ์การปฏิบัติต่างๆ)
๙.คำวินิจฉัยที่ไม่ได้ออกมาจากผู้รู้
مَنْ أَفْتى النّاسَ بِغَيْرِ عِلْم... فَقَدْ هَلَكَ وَ أَهْلَكَ
บุคคลใดก็ตามได้ออกคำวินิจฉัยแก่ประชาชนโดยไม่ได้มาจากพื้นฐานความรู้ เท่ากับเขาได้ทำให้ตัวเองและคนพบกับความหายนะ
๑๐.ศีลอดที่แท้จริง
أَلصّائِمُ فى عِبادَة وَ إِنْ كانَ فى فِراشِهِ ما لَمْ يَغْتَبْ مُسْلِمًا
การถือศีลอด-เป็นดำรงอิบาดะฮฺแม้ว่าจะอยู่บนเตียงนอนก็ตาม-ถ้าเขาไม่ได้นินทาพี่น้องมุสลิมด้วยกัน
๑๑.ความประเสริฐของเดือนรอมฎอน
شَهْرُ رَمضانَ شَهْرُ اللّهِ عَزَّوَجَلَّ وَ هُوَ شَهْرٌ يُضاعَفُ فيهِ الْحَسَناتُ وَ يَمْحُو فيهِ السَّيِّئاتُ وَ هُوَ شَهْرُ الْبَرَكَةِ وَ هُوَ شَهْرُ الاِْنابَةِ وَ هُوَ شَهْرُ التَّوبَةِ وَ هُوَ شَهْرُ الْمَغْفِرَةِ وَ هُوَ شَهْرُ الْعِتْقِ مِنَ النّارِ وَ الْفَوْزِ بِالْجَنَّةِ أَلا فَاجْتَنِبُوا فيهِ كُلَّ حَرام وَ أَكْثِرُوا فيهِ مِنْ تِلاوَةِ الْقُرآنِ
เดือนรอมฎอนเป็นเดือนของอัลลอฮฺผู้ทรงอานุภาพยิ่ง เดือนที่คุณความดีทั้งหลายได้รับความเพิ่มพูน ความผิดบาปได้รับการลบล้าง เดือนที่มีความจำเริญ เดือนแห่งการกลับไปสู่อัลลอฮฺ เดือนแห่งการกลับตัวกลับใจในความผิดบาป เดือนแห่งการให้อภัยโทษ เดือนแห่งเสรีภาพจากไฟนรกและการย่างก้าวไปสู่สรวงสวรรค์ ดังนั้นในเดือนนี้จงหลีกเลี่ยงจากความผิดบาปทั้งมวล และอ่านอัล-กุรอานให้มาก.
๑๒. สัญลักษณ์ของผู้มีความอดทน
عَلامَةُ الصّابِرِ فى ثَلاث:أَوَّلُها أَنْ لا يَكْسَلَ،و الثّانِيَةُ أَنْ لا يَضْجَرَ،وَ الثّالِثَةُ أَنْ لا يَشْكُوَ مِنْ رَبِّهِ عَزَّوَجَلَّ. لاَِنـَّهُ إِذا كَسِلَ فَقَدْ ضَيَّعَ الْحَقَّ،وَ إِذا ضَجِرَ لَمْ يُؤَدِّ الشُّكْرَ،وَ إِذا شَكى مِنْ رَبِّهِ عَزَّوَجَلَّ فَقَدْ عَصاهُ
สัญลักษณ์ของผู้ที่มีความอดทนมีสามประการดังนี้..
(๑) ต้องไม่แสดงความเกียจคร้าน
(๒) ต้องไม่แสดงความรำคาญขุ่นเคือง
(๓) ต้องไม่แสดงความข้องใจหรือกล่าวหาพระผู้อภิบาลของเขา
เพราะเมื่อใดที่เกียจคร้านสัจธรรมความจริงจะถูกทำลาย เมื่อมีความรำคาญเขาก็จะไม่ทำการขอบคุณ และเมื่อเขาข้องใจต่อพระผู้อภิบาลของเขา เขาก็จะทำความผิดบาป.
๑๓. ชั่วที่สุดของชาวนรก
إِنَّ أَهْلَ النّارِ لَيَتَأَذُّونَ مِنْ ريحِ الْعالِمِ التّارِكِ لِعِلْمِهِ وَ إِنَّ أَشَدَّ أَهْلِ النّارِ نِدامَةً وَ حَسْرَةً رَجُلٌ دَعا عَبْدًا إِلَى اللّهِ فَاسْتَجابَ لَهُ وَ قَبِلَ مِنْهُ فَأَطاعَ اللّهَ فَأَدْخَلَهُ اللّهُ الْجَنَّةَ وَ أَدْخَلَ الدّاعِىَ النّارَ بِتَرْكِهِ عِلْمَهُ
แท้จริงนักปราชญ์ ที่ไม่ปฏิบัติตามความรู้ของตนเอง ถือเป็นชาวนรกที่ชั่วที่สุด ชาวนรกที่สำนึกและลำบากที่สุดคือผู้ที่เชิญชวนคนอื่นไปสู่อัลลอฮฺ และบุคคลนั้นได้ตอบรับ และทำการเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ พระองค์จะทรงนำเขาเข้าสวรรค์ ส่วนผู้ที่ทำการเชิญชวนพระองค์จะจับเขาโยนลงไปในไฟนรก เพราะเขาไม่ปฏิบัติตามความรู้ของตน.
๑๔. นักปราชญ์ที่มีความละโมภต่อโลก
أَوْحَى اللّهُ إِلى داوُدَ(عليه السلام) لا تَجْعَلْ بَيْنى وَ بَيْنَكَ عالِمًا مَفْتُونًا بِالدُّنْيا فَيَصُدَّكَ عَنْ طَريقِ مَحَبَّتى فَإِنَّ أُولئِكَ قُطّاعُ طَريقِ عِبادِى الْمُريدينَ، إِنَّ أَدْنى ما أَنـَا صانِعٌ بِهِمْ أَنْ أَنـْزَعَ حَلاوَةَ مُناجاتى عَنْ قُلوبِهِمْ
อัลลอฮฺทรงมีวิวรณ์แก่ดาวูดว่า จงอย่าให้นักปราชญ์ที่มีความละโมบต่อโลกเป็นสื่อกลางระหว่างฉันกับเจ้า ซึ่งจะเป็นสาเหตุสกัดกั้นเจ้าออกจากหนทางแห่งมิตรภาพของฉัน เพราะว่าพวกเขาได้ปล้นสมดภ์ความอยากรู้อยากเห็นไปปวงบ่าวที่รักยิ่งของฉัน แน่นอนสิ่งเล็กน้อยที่สุดที่ฉันจะทำกับพวกเขาคือถอดถอนความหวานชื่นในมะนาญาตของฉันออกจากจิตใจของพวกเขา.
หมายเหตุ
มะนาญาตหมายถึงการวิงวอนในสิ่งที่ตนปรารถนา คำรำพันที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า และรวมไปถึงการวิงวอนขออภัยในความผิดบาป
๑๕. ผลของความเชื่อมั่น (ยะกีน)
لَوْ كُنْتُم تُوقِنُونَ بِخَيْرِ الاْخِرَةِ وَ شَرِّها كَما تُوقِنُونَ بِالدُّنيا لاَثَرْتُمْ طَلَبَ الآخِرَةِ
ถ้าหากเจ้าเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในความดี และความชั่วของโลกหน้า ดังเช่นที่ท่านมีความเชื่อต่อความดีโลก เจ้าต้องเลือกโลกหน้าอย่างแน่นอน.