ไทยแลนด์
Friday 19th of April 2024
0
نفر 0

ค่ำคืนแห่งความมุ่งหวัง (ลัยละตุลเราะฆออิบ)

ในวัฒนธรรมอิสลาม และในคัมภีร์อัลกุรอานได้มีการกล่าวถึงความพิเศษของบางเวลา บางสถานที่ เอาไว้อย่างมากมาย อาธิเช่นความพิเศษบัยตุลมุก๊อดดัส ความพิเศษของบัยตุลฮะรอม ซึ่งเป็นสถานที่พิเศษทางด้านจิตวิญญาณ
ค่ำคืนแห่งความมุ่งหวัง (ลัยละตุลเราะฆออิบ)

  ในวัฒนธรรมอิสลาม และในคัมภีร์อัลกุรอานได้มีการกล่าวถึงความพิเศษของบางเวลา บางสถานที่ เอาไว้อย่างมากมาย อาธิเช่นความพิเศษบัยตุลมุก๊อดดัส ความพิเศษของบัยตุลฮะรอม ซึ่งเป็นสถานที่พิเศษทางด้านจิตวิญญาณ การปฏิบัติเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าในสถานที่ดังกล่าวก็มีความพิเศษตามไปด้วย

 
เช่นเดียวกันบางเวลาในแต่ละวัน หรือเดือน หรือปี ก็มีความพิเศษด้วย อาธิเช่นช่วงเวลาค่ำคืนดึกดื่น ช่วงเวลารุ่งสาง ค่ำคืนแห่งกัดร์ ค่ำคืนนิสฟุชะอ์บาน ค่ำคืนอีด วันอีดต่างๆ เหล่านี้คือวันและเวลาที่มีความพิเศษในการปฏิบัติอามั้ล ซึ่งการปฏิบัติอามั้ลในวันเวลาที่พิเศษ จะมีความพิเศษตามไปด้วย

 
ความพิเศษของวันและเวลามีบันทึกไว้ในแต่ละเดือน เช่นเดือนรอมฎอนอันทรงเกียรติ เดือนชะอ์บาน โดยเฉพาะช่วงนี้เรากำลังอยู่ในเดือนรอญับ จึงใคร่นำเสนอวันพิเศษ ในเดือนพิเศษนี้แก่ผู้ศรัทธาทุกท่าน เพื่อการปฏิบัติอามั้ลอิบาดะฮ์

 
ลัยละตุลเราะฆออิบ (ค่ำคืนแห่งความมุ่งหวัง) เป็นค่ำคืนพิเศษหนึ่ง ในเดือนที่พิเศษรอญับ คือค่ำวันศุกร์แรกของเดือนรอญับนั่นเอง

 
ลัยละตุลเราะฆออิบ คือค่ำคืนแห่งความตั้งใจและมุ่งหวัง และอีกความหมายคือ การประทานอย่างมากมาย ดังนั้น “ลัยละตุลเราะฆออิบ” มีสองความหมาย ความหมายแรกคือ ค่ำคืนหนึ่ง ซึ่งความตั้งใจและมุ่งหวังในการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าอันมากมาย ปวงบ่าวผู้ศรัทธาของพระองค์มีความตั้งใจและมุ่งหวังจะมุ่งมั่นอยู่กับการกราบกราน เคารพภักดีต่อพระองค์อย่างมากมาย
ความหมายที่สอง คือการประทาน การอภัยโทษอันมากมายจากพระองค์ จะมีสำหรับปวงบ่าวผู้ศรัทธาที่ปฏิบัติอามั้ลต่อพระองค์อย่างบริสุทธิ์ใจ
เราสามารถเข้าใจถึงความประเสริฐของค่ำคืนดังกล่าวได้จากสองเหตุผล คือ

 
1-ในมิติแห่งความประเสริฐ และคุณค่าของค่ำวันศุกร์ ก็มีอยู่ในตัวของมันแล้ว ซึ่งในหนังสือนับพันเล่มต่างยืนยันถึงความประเสริฐของค่ำวันศุกร์ อามั้ลอิบาดะฮ์ต่างๆ อย่างมากมายที่ควรปฏิบัติในค่ำวันศุกร์ ก็เป็นสิ่งยืนยันว่าพิเศษเพียงใด

 
2-ในมิติแห่งความประเสริฐ และคุณค่าของเดือนรอญับ ก็เช่นกัน ในรายงานมากมายได้กล่าวว่า เดือนรอญับ คือเดือนแห่งการวิงวอน การขออภัยโทษ ในเดือนนี้ความเมตตา ความปรานีอันมากมายโปรยปรายลงมายังปวงบ่าวของพระองค์อย่างมหาศาล

 
ดังนั้นสรุปว่า “ลัยละตุลเราะฆออิบ” คือค่ำคืนที่ประเสริฐยิ่ง เพราะเป็นการรวมความประเสริฐของค่ำวันศุกร์ และความประเสริฐของเดือนรอญับเข้าด้วยกัน
เชคอับบาสกุมมีย์ ได้บันทึกไว้ในหนังสือมะฟาติฮุลญินาน ว่า “คืนวันศุกร์แรกของเดือนรอญับ ถูกขนามนามว่า “ลัยละตุลเราะฆออิบ” มีอามั้ลหนึ่ง ซึ่งรายงานจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ถึงความประเสริฐไว้อย่างมากมาย เช่น ผู้ปฏิบัติอามั้ลดังกล่าวจะได้รับการอภัยโทษบาปต่างๆทั้งหมดของเขาทันที คือการปฏิบัตินมาซหนึ่งในคืนนั้น
หากผู้ใดปฏิบัตินมาซนี้แล้ว คืนแรกในหลุมฝังศพของเขาท่ามกลางความมืดมิด และเดียวดาย พระองค์จะส่งผลบุญจากการปฏิบัตินมาซดังกล่าวมายังเขาในกุบูร ซึ่งจะมาในรูปของผู้หนึ่งที่มีใบหน้างดงามยิ่งนัก เปล่งปลั่งด้วยรัศมีอันเจิดจ้า มีวจีที่เพราะพริ้ง และจะกล่าวแก่เจ้าของอามั้ลว่า “โอ้ผู้เป็นที่รักของฉัน ฉันมาแจ้งข่าวดีแก่ท่านว่า ท่านจะได้รับการคุ้มครอง ให้รอดพ้นจากมหันตภัย และความทุกข์ยากต่างๆ”

 
เจ้าของอามั้ลจึงกล่าวขึ้นว่า “แล้วท่านคือผู้ใดกันเล่า? ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ) ว่า ฉันไม่เคยเห็นใบหน้าของผู้ใดมีความงดงามกว่าใบหน้าของท่านมาก่อนเลย และไม่เคยรับฟังคำพูดใดที่มีความหวานซึ้งและเพราะพริ้งจับใจมากกว่านี้มากก่อนเลยเช่นกัน และฉันไม่เคยสุดดมกลิ่นหอมใดที่หอมหวลอบอวล มากไปกว่ากลิ่นกายของท่านมาก่อนเลย”
ผู้นั้นได้ตอบว่า “ฉันคือผลบุญจากการปฏิบัตินมาซของท่านในคืนนั้น เดือนนั้น และในปีนั้นนั่นเอง ฉันมาหาท่านในค่ำคืนนี้ เพื่อตอบแทนท่านตามสิทธิที่ท่านพึงจะได้รับ ฉันจะอยู่เคียงข้างท่านในขณะที่ท่านถูกโดดเดี่ยว ฉันจะคอยกำจัดความน่าสะพรึงกลัวออกไปจากท่าน และเมื่อแตรสังข์ (ในวันกิยามัต) ฉันจะคอยเป็นเงาอยู่เหนือศรีษะของท่าน ในห้วงเวลาแห่งการฟื้นคืนชีพ ดังนั้นท่านจงปลื้มปีติเถิดว่า ความดีดังกล่าวจะไม่มีวันสลายไปจากท่าน”

 
วิธีการปฏิบัตินมาซในค่ำคืนลัยละตุลเราะฆออิบ

 
เมื่อวันพฤหัสบดีแรกของเดือนรอญับมาถึง จงถือศีลอดในวันนั้น และเมื่อค่ำลงจงปฏิบัตินมาซนี้ระหว่างนมาซมัฆริบและอิชาอ์ ซึ่งมีทั้งหมด 12 รอกาอัต ปฏิบัติครั้งละสองรอกาอัต (เหมือนนมาซซุบฮ์) ในทุกๆ รอกาอัตหลังจากอ่านฟาติฮะฮ์แล้ว ให้อ่านซูเราะฮ์อัลก๊อดร์ 3 จบ และซูเราะฮ์เตาฮีด 12 จบ เมื่อเสร็จสิ้นทั้ง 12 รอกาอัตแล้ว ให้กล่าวศอลาวาตดังนี้ 70 ครั้ง

 

 
                                                         اَللهمَ صَلِّ عَلی مُحَمّدِ النّبی الاُمّیِّ وَ عَلی آله    ”     
               
อัลลอฮุมมะศ้อลลิอะลามุฮัมมัด อัลนะบียิ้ลอุมมียี วะอะลาอาลิฮี”

 
จากนั้นก้มลงซุญูด และกล่าวในขณะซุญูด 70 ครั้งว่า

 
                                                                    سُبُّوحٌ قُدُّسٌ، ربُ الملائکةِ و الرّوحِ
“สุบบูฮุ้ลกุ๊ดดู๊ส ร๊อบบุลมะลาอิกะฮ์ วัรรูฮ์”

 
เมื่อลุกขึ้นจากการซูญูดให้กล่าว 70 ครั้งว่า

 
                                             رَبِّ اغْفِرْ وَ ارْحَمْ وَ تَجاوَزْ عَمّا تَعلَمُ اِنَّکِ اَنْتَ الْعَلیُّ الأَعْظَمُ
“ร๊อบบิรฟิรวัรฮัม วะตะญาวัซอัมมา ตะอ์ละมู อินนะกาอันตันอะลียุ้ลอะซีม”

 
และก้มลงซูญูดอีกครั้งหนึ่ง และกล่าวในขณะซูญูดอีก 70 ครั้งว่า

 
                                                                    سُبُّوحٌ قُدُّسٌ، ربُ الملائکةِ و الرّوحِ
“สุบบูฮุ้ลกุ๊ดดู๊ส ร๊อบบุลมะลาอิกะฮ์ วัรรูฮ์”

 
เสร็จแล้วจงวิงวอนขอสิ่งที่ตนเองประสงค์จากพระองค์ อินชาอัลลอฮ์ ท่านจะได้รับการตอบรับจากพระองค์อย่างแน่นอน”

 

 

 
โดยเชคมาลีกี ภักดี

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

สงคราม “อาร์มาเกดอน” ...
ความสำคัญของน้ำนมแม่ ...
อิมามญะอ์ฟัร ซอดิก (อ.) ...
อาลัมบัรซัค ...
อิสลาม : ศาสนาแห่งสันติ
สถานภาพการเมือง ...
คุณค่าของการเศาะลาวาต
หมายเหตุการเข้ารับอิสลาม ...
...
การพลี” สูงสุดของการพิสูจน์ ...

 
user comment